จากเว็บไซต์ Akibatan ครับ
http://akibatan.com/2017/02/doraemon-movie-rebirth-of-japan-original-vs-remake/
แม้จะเข้าฉายในประเทศไทยไปได้สัปดาห์กว่า ๆ แล้ว แต่เชื่อว่ามีเพื่อน ๆ อีกหลายท่านที่ยังไม่รู้ว่า “โดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ ตอน โนบิตะกับกำเนิดญี่ปุ่น” ฉบับรีเมคที่ฉายในญี่ปุ่นไปเมื่อปี 2016 นั้น มีความน่าสนใจอย่างไร แล้วรีเมค มันจะต่างอะไรกับต้นฉบับที่เคยฉายไปเมื่อปี 1989 กันล่ะ
เราจะมาแนะนำความเปลี่ยนแปลงตลอด 27 ปีของภาพยนตร์เรื่องนี้กันครับ
แฟน ๆ โดราเอมอนเดอะมูฟวี่อาจจะรู้กันดีอยู่แล้ว ว่าเมื่อมีการสร้างภาครีเมค (สลับกับภาคใหม่ที่เป็นเนื้อเรื่องออริจินอล) สิ่งแรกที่เราจะสัมผัสได้ก็คือ ความแตกต่างทางด้านงานสร้าง ทั้งภาพและเสียง ที่เรารู้ ๆ กันอยู่ว่านี่ก็คือโดราเอมอนที่เราคุ้นเคย แต่ไม่ว่าจะเป็นมุมกล้อง แสง สี ล้วนทันสมัยขึ้น งานภาพเคลื่อนไหวก็ทำได้อย่างละเมียดละไมอีกด้วย
ตัวอย่างในภาพนี้ คือฉากที่เหล่าผองเพื่อนกำลังปรับทุกข์เพราะอยากหนีออกจากบ้าน แต่ไม่มีหลักแหล่งให้อยู่เลยเพราะทุกหนแห่งต่างเป็นที่ดินที่มีเจ้าของแล้วนั่นเอง นอกจากจะเปลี่ยนสถานที่จากริมสะพานเป็นภูเขาหลังโรงเรียนแล้ว มุมกล้องและงานภาพยังดูมีมิติมากกว่ากันเลยทีเดียวครับ
ภาพนี้อาจจะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่ง แต่ตลอดทั้งภาพยนตร์นั้น ด้านงานภาพ ก็มีหลาย ๆ องค์ประกอบที่ถูกปรับเปลี่ยนจากต้นฉบับไปบ้างไม่มากก็น้อย เช่น ในช่วงที่ทุก ๆ คนกำลังสร้างดินแดนของตนเองในยุคโบราณนั้น ชิซึกะก็ได้รับหน้าที่ให้ปลูกสวนดอกไม้ ในต้นฉบับจะเป็นทุ่งดอกทานตะวัน ในขณะที่ฉบับรีเมคจะเปลี่ยนเป็นดอก Iceland Poppy ดอกไม้สายพันธุ์เดียวกับฝิ่น แต่เป็นฝิ่นประเภทไม้ประดับที่คนญี่ปุ่นนิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูหนาวครับ ซึ่งถือว่าเหมาะสมกับเนื้อเรื่องมากขึ้น เพราะตามเหตุการณ์ได้ระบุไว้ว่าญี่ปุ่นยุคโบราณมีอากาศหนาวเย็นกว่าปัจจุบัน การปลูกดอก Iceland Poppy จึงเหมาะสมขึ้นครับ
และนอกจากฉากนี้ พวกสัตว์ยุคโบราณหลายชนิดในเรื่องก็มีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยรวมล้วนเป็นองค์ประกอบที่มีสีสันมากขึ้น สวยงามสะดุดตามากขึ้นนั่นเอง
เดิมที ในต้นฉบับนั้นก็นำเสนอมุมที่โนบิตะได้ให้กำเนิดสัตว์วิเศษ 3 ชนิด (เปก้า-เปกาซัส / กุริ-กริฟฟิน และ ดราโก้-มังกร) ขึ้นมาเพื่อตั้งใจให้เป็นสัตว์เลี้ยงขณะอาศัยอยู่ในยุคโบราณ และโนบิตะก็รักพวกมันมากกว่าสิ่งอื่นใด แน่นอนว่าในต้นฉบับเองก็นำเสนอจุดนี้ได้ดี แต่ในฉบับนี้ เราจะได้เห็นการดูแลเอาใจใส่จากโนบิตะมากกว่าเดิมในหลายฉาก เช่น การให้เจ้า 3 ตัวนี้มาซ่อนตัวอยู่ใต้เสื้อในอ้อมกอดของโนบิตะขณะยังเล็ก, โนบิตะเล่นปากิ่งไม้กับกุริ, แปรงขนให้เปก้าตอนกลางคืน หรือแม้แต่นอนหลับพักแรมร่วมกับสัตว์เลี้ยงทั้ง 3 เพื่อไม่ให้มันเหงา และอื่น ๆ อีกมากมาย
รวมไปถึงช่วงท้าย ที่มีการเพิ่มบทบาทให้สัตว์วิเศษทั้ง 3 ตัวนี้มีความสำคัญต่อเนื้อหามากขึ้น ส่งผลให้การปิดฉากภาพยนตร์เรื่องนี้อาจเรียกน้ำตาให้กับคนรักสัตว์เลี้ยงได้ไม่ยาก สำหรับผู้เขียนยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดที่ทีมงานสร้างตีโจทย์เดิมของต้นฉบับและนำเสนอออกมาได้ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจนทีเดียว
อันนี้เหมือนจะขำ ๆ แต่จริงจังทีเดียวครับ ในช่วงที่พวกโนบิตะต้องไปช่วยชาวเผ่าแสงสว่างนั้น โดราเอมอนได้แสดงตนเป็น “โดราซอมบี้” จอมขมังเวทเพื่อแสดงพลังของอุปกรณ์โลกอนาคตในเชิงอภินิหารให้มนุษย์ยุคโบราณฝ่ายเผ่าความมืดหวาดกลัว ในมูฟวี่ต้นฉบับนั้น โดราเอมอนพยายามวางมาดนิ่งเหมือนเทพเจ้า แต่ฉบับรีเมคนั้น นอกจากจะเพิ่มวงแหวนติดจมูกตามฉบับมังงะแล้ว ยังโชว์พาวด้วยการใช้หอกสายฟ้าอย่างดุเดือดอีกต่างหาก และเจ้าตัวเหมือนจะประทับใจกับบทบาทนี้มาก ๆ อย่างออกหน้าออกตาอีกด้วย
สังเกตภาพประกอบใน end credit ให้ดีด้วยนะครับ แล้วจะรู้ว่าโดราจัง “ปลื้ม” บทโดราซอมบี้ตัวนี้ขนาดไหน !
กีก้าซอมบี้ วายร้ายประจำมูฟวี่ภาคนี้ แฟน ๆ โดราเอมอนที่ติดตามทั้งมังงะหรือมูฟวี่ต้นฉบับมาแล้ว คงจะรู้ว่าแท้ที่จริงเขาเป็นใคร มาจากไหน แต่ต้นฉบับนั้นก็เพียงแค่บ่งบอกเป้าหมายเขาไว้อย่างหลวม ๆ เท่านั้น
ซึ่งในรีเมคนี้ เราจะได้เห็นจุดประสงค์ต่าง ๆ ของกีก้าซอมบี้มากขึ้น จนเข้าได้ว่า หลากหลายเหตุการณ์ที่เขาพยายามทำให้มันเกิดขึ้นนั้น จะส่งผลต่อเป้าหมายของเขาอย่างไร ทำให้อุดมการณ์ของวายร้ายคนนี้ไม่ใช่แค่ผู้ร้ายคลั่งอยากครองโลกธรรมดา ๆ รวมไปถึงในช่วงท้ายนั้น เขายังมีลูกสมุนตัวใหม่ที่ไม่มีในต้นฉบับอีกด้วยนะ !
ต้นฉบับเดิม เดอะมูฟวี่ภาคนี้นั้นถูกคลี่คลายฉากไคลแมกซ์ด้วยอุปกรณ์ศักยภาพของพวกโดราเอมอน และตำรวจกาลเวลาที่เข้ามาช่วยได้จังหวะพอดิบพอดี ทว่า ในฉบับรีเมคนี้ก็ดูเหมือนทีมงานจะมองออกว่าแบบนั้นมันขาดนัยยะของโจทย์ “กำเนิดญี่ปุ่น” ไปสักหน่อย ทีมสร้างฉบับรีเมคนี้จึงมีอะไรบางอย่างที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนัยยะที่แฝงไว้กับผู้ชมครับ
ในช่วงกลางเรื่อง จะมีฉากที่โดราเอมอนห้ามไม่ให้พวกไจแอนท์ใช้อุปกรณ์โลกอนาคตช่วยเหลือเผ่าแสงสว่างในการสร้างบ้านด้วยไม้และฟาง เพราะเขากล่าวว่า “ยิ่งมนุษย์เราสร้างอารยธรรมขึ้นมา ด้วยความยากลำบากมากเท่าไหร่ อนาคตก็จะสะดวกสบายมากขึ้นเท่านั้น เพราะมนุษย์เราจะพัฒนาเมื่อต้องสู้ชีวิตไงล่ะ” มันคือหลักของวิวัฒนาการ เพราะเมื่อเราเริ่มต้นด้วยความสะดวกสบาย พัฒนาการก็จะไม่มี
และแก่นตรงนั้นเอง ที่กลายมาเป็นกำลังสำคัญในช่วงท้ายเรื่อง กีก้าซอมบี้มีทั้งเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่าทั้งโดราเอมอนและชาวเผ่าแสงสว่าง แต่ในไคลแมกซ์นี้ จะสอนให้เราได้รู้ว่า การจะสร้างประวัติศาสตร์จอมปลอมด้วยความสะดวกสบาย ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่อาจเอาชนะความบากบั่นอุตสาหะจากประวัติศาสตร์โบราณของแท้ได้นั่นเอง
จริง ๆ มันอาจจะแปลกไปนิดสำหรับฉบับรีเมค แต่นับเป็นผลดีต่อเนื้อหาอยู่ไม่น้อยครับ ตัวคุคุรุ เด็กหนุ่มยุคโบราณนั้น เดิมทีในต้นฉบับเขาเป็นเด็กหนุ่มที่เข้มแข็ง ล่าสัตว์ได้ และมีความกล้าหาญในตัวที่ต่างกับโนบิตะพอสมควร แต่ในฉบับรีเมค เขามีความเข้มแข็งอยู่ แต่แฝงด้วยจุดด้อยที่มีทั้งความอ่อนโยนและอ่อนแอในใจ ทั้งยังมีบุคลิกที่เป็นมิตรมากกว่าเดิม ทำให้เขามีบทเข้าคู่กับโนบิตะที่คล้ายคลึงกับตัวเขาเองอย่างลงตัว และทำให้เราได้สัมผัสถึงมิตรภาพของตัวละครทั้งสองมากขึ้น
และที่สำคัญ จากในข้อที่แล้วในเรื่องของไคลแมกซ์ที่เปลี่ยนไป ได้ขับเน้นบทของคุคุรุในท้ายเรื่องได้อย่างเยี่ยมยอดอีกด้วยครับ
แถมด้วยภาพนี้
ทีมสร้างโดราเอมอนทีมใหม่ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมานี้ เรียกได้ว่ามีความเคารพและศรัทธาในผลงานของ อ.ฟุจิโกะ F ฟุจิโอะ อย่างมากครับ มีการใส่ Easter Egg ลงไปในผลงานแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่เสมอในมูฟวี่แทบทุกภาคนับตั้งแต่ตอนนั้น
ในภาคนี้ก็เช่นเดียวกันครับ โดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ภาคนี้ ท้ายเรื่องที่ตำรวจกาลเวลามาคลี่คลายเรื่องราว ทั้งต้นฉบับหรือในมังงะเองนั้น ตำรวจกาลเวลาที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คือตำรวจชาย รวมไปถึงสารวัตรตำรวจหนวดเข้มตามภาพประกอบ แต่ตำรวจกาลเวลาในฉบับรีเมคนี้ กลับดูเป็นวัยรุ่นกว่าที่คิด (แถมสาว ๆ ยังโมเอะด้วย) โดยพวกเขาและเธอนั้น ที่จริงก็คือ ตัวละคร “รีม” “บง” และ “ยูมิโกะ” จากผลงานเก่าของ อ.ฟุจิโกะ F ฟุจิโอะ เรื่อง T.P.Bon หรือ Time Patron Bon “สายตรวจเหนือเวลา” ผลงานมังงะแนวไซไฟเกี่ยวกับตำรวจที่เดินทางข้ามเวลาได้นั่นเอง
ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานภาพยนตร์โดราเอมอนที่ทำได้ดี และให้แง่คิดอะไรมากมาย จนเรียกได้ว่าเป็นผลงานที่ต่อยอดต้นฉบับมาได้สมบูรณ์แบบครับ น่าเสียดายที่ผู้นำเข้าภาคนี้ไม่ค่อยโปรโมตมากเท่าไหร่ กระแสเงียบมาก บางคนอาจจะยังไม่ทันรู้ว่าฉายด้วยซ้ำ
ตอนนี้ถอดออกจากโรงไปเยอะแล้วครับ ใจจริงอยากจะไปซ้ำอีกรอบแต่หารอบฉายยากซะแล้ว
ต้นฉบับ VS รีเมค มาดูกันว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างใน โดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ โนบิตะกับกำเนิดญี่ปุ่น
http://akibatan.com/2017/02/doraemon-movie-rebirth-of-japan-original-vs-remake/
แม้จะเข้าฉายในประเทศไทยไปได้สัปดาห์กว่า ๆ แล้ว แต่เชื่อว่ามีเพื่อน ๆ อีกหลายท่านที่ยังไม่รู้ว่า “โดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ ตอน โนบิตะกับกำเนิดญี่ปุ่น” ฉบับรีเมคที่ฉายในญี่ปุ่นไปเมื่อปี 2016 นั้น มีความน่าสนใจอย่างไร แล้วรีเมค มันจะต่างอะไรกับต้นฉบับที่เคยฉายไปเมื่อปี 1989 กันล่ะ
เราจะมาแนะนำความเปลี่ยนแปลงตลอด 27 ปีของภาพยนตร์เรื่องนี้กันครับ
แฟน ๆ โดราเอมอนเดอะมูฟวี่อาจจะรู้กันดีอยู่แล้ว ว่าเมื่อมีการสร้างภาครีเมค (สลับกับภาคใหม่ที่เป็นเนื้อเรื่องออริจินอล) สิ่งแรกที่เราจะสัมผัสได้ก็คือ ความแตกต่างทางด้านงานสร้าง ทั้งภาพและเสียง ที่เรารู้ ๆ กันอยู่ว่านี่ก็คือโดราเอมอนที่เราคุ้นเคย แต่ไม่ว่าจะเป็นมุมกล้อง แสง สี ล้วนทันสมัยขึ้น งานภาพเคลื่อนไหวก็ทำได้อย่างละเมียดละไมอีกด้วย
ตัวอย่างในภาพนี้ คือฉากที่เหล่าผองเพื่อนกำลังปรับทุกข์เพราะอยากหนีออกจากบ้าน แต่ไม่มีหลักแหล่งให้อยู่เลยเพราะทุกหนแห่งต่างเป็นที่ดินที่มีเจ้าของแล้วนั่นเอง นอกจากจะเปลี่ยนสถานที่จากริมสะพานเป็นภูเขาหลังโรงเรียนแล้ว มุมกล้องและงานภาพยังดูมีมิติมากกว่ากันเลยทีเดียวครับ
ภาพนี้อาจจะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่ง แต่ตลอดทั้งภาพยนตร์นั้น ด้านงานภาพ ก็มีหลาย ๆ องค์ประกอบที่ถูกปรับเปลี่ยนจากต้นฉบับไปบ้างไม่มากก็น้อย เช่น ในช่วงที่ทุก ๆ คนกำลังสร้างดินแดนของตนเองในยุคโบราณนั้น ชิซึกะก็ได้รับหน้าที่ให้ปลูกสวนดอกไม้ ในต้นฉบับจะเป็นทุ่งดอกทานตะวัน ในขณะที่ฉบับรีเมคจะเปลี่ยนเป็นดอก Iceland Poppy ดอกไม้สายพันธุ์เดียวกับฝิ่น แต่เป็นฝิ่นประเภทไม้ประดับที่คนญี่ปุ่นนิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูหนาวครับ ซึ่งถือว่าเหมาะสมกับเนื้อเรื่องมากขึ้น เพราะตามเหตุการณ์ได้ระบุไว้ว่าญี่ปุ่นยุคโบราณมีอากาศหนาวเย็นกว่าปัจจุบัน การปลูกดอก Iceland Poppy จึงเหมาะสมขึ้นครับ
และนอกจากฉากนี้ พวกสัตว์ยุคโบราณหลายชนิดในเรื่องก็มีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยรวมล้วนเป็นองค์ประกอบที่มีสีสันมากขึ้น สวยงามสะดุดตามากขึ้นนั่นเอง
เดิมที ในต้นฉบับนั้นก็นำเสนอมุมที่โนบิตะได้ให้กำเนิดสัตว์วิเศษ 3 ชนิด (เปก้า-เปกาซัส / กุริ-กริฟฟิน และ ดราโก้-มังกร) ขึ้นมาเพื่อตั้งใจให้เป็นสัตว์เลี้ยงขณะอาศัยอยู่ในยุคโบราณ และโนบิตะก็รักพวกมันมากกว่าสิ่งอื่นใด แน่นอนว่าในต้นฉบับเองก็นำเสนอจุดนี้ได้ดี แต่ในฉบับนี้ เราจะได้เห็นการดูแลเอาใจใส่จากโนบิตะมากกว่าเดิมในหลายฉาก เช่น การให้เจ้า 3 ตัวนี้มาซ่อนตัวอยู่ใต้เสื้อในอ้อมกอดของโนบิตะขณะยังเล็ก, โนบิตะเล่นปากิ่งไม้กับกุริ, แปรงขนให้เปก้าตอนกลางคืน หรือแม้แต่นอนหลับพักแรมร่วมกับสัตว์เลี้ยงทั้ง 3 เพื่อไม่ให้มันเหงา และอื่น ๆ อีกมากมาย
รวมไปถึงช่วงท้าย ที่มีการเพิ่มบทบาทให้สัตว์วิเศษทั้ง 3 ตัวนี้มีความสำคัญต่อเนื้อหามากขึ้น ส่งผลให้การปิดฉากภาพยนตร์เรื่องนี้อาจเรียกน้ำตาให้กับคนรักสัตว์เลี้ยงได้ไม่ยาก สำหรับผู้เขียนยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดที่ทีมงานสร้างตีโจทย์เดิมของต้นฉบับและนำเสนอออกมาได้ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจนทีเดียว
อันนี้เหมือนจะขำ ๆ แต่จริงจังทีเดียวครับ ในช่วงที่พวกโนบิตะต้องไปช่วยชาวเผ่าแสงสว่างนั้น โดราเอมอนได้แสดงตนเป็น “โดราซอมบี้” จอมขมังเวทเพื่อแสดงพลังของอุปกรณ์โลกอนาคตในเชิงอภินิหารให้มนุษย์ยุคโบราณฝ่ายเผ่าความมืดหวาดกลัว ในมูฟวี่ต้นฉบับนั้น โดราเอมอนพยายามวางมาดนิ่งเหมือนเทพเจ้า แต่ฉบับรีเมคนั้น นอกจากจะเพิ่มวงแหวนติดจมูกตามฉบับมังงะแล้ว ยังโชว์พาวด้วยการใช้หอกสายฟ้าอย่างดุเดือดอีกต่างหาก และเจ้าตัวเหมือนจะประทับใจกับบทบาทนี้มาก ๆ อย่างออกหน้าออกตาอีกด้วย
สังเกตภาพประกอบใน end credit ให้ดีด้วยนะครับ แล้วจะรู้ว่าโดราจัง “ปลื้ม” บทโดราซอมบี้ตัวนี้ขนาดไหน !
กีก้าซอมบี้ วายร้ายประจำมูฟวี่ภาคนี้ แฟน ๆ โดราเอมอนที่ติดตามทั้งมังงะหรือมูฟวี่ต้นฉบับมาแล้ว คงจะรู้ว่าแท้ที่จริงเขาเป็นใคร มาจากไหน แต่ต้นฉบับนั้นก็เพียงแค่บ่งบอกเป้าหมายเขาไว้อย่างหลวม ๆ เท่านั้น
ซึ่งในรีเมคนี้ เราจะได้เห็นจุดประสงค์ต่าง ๆ ของกีก้าซอมบี้มากขึ้น จนเข้าได้ว่า หลากหลายเหตุการณ์ที่เขาพยายามทำให้มันเกิดขึ้นนั้น จะส่งผลต่อเป้าหมายของเขาอย่างไร ทำให้อุดมการณ์ของวายร้ายคนนี้ไม่ใช่แค่ผู้ร้ายคลั่งอยากครองโลกธรรมดา ๆ รวมไปถึงในช่วงท้ายนั้น เขายังมีลูกสมุนตัวใหม่ที่ไม่มีในต้นฉบับอีกด้วยนะ !
ต้นฉบับเดิม เดอะมูฟวี่ภาคนี้นั้นถูกคลี่คลายฉากไคลแมกซ์ด้วยอุปกรณ์ศักยภาพของพวกโดราเอมอน และตำรวจกาลเวลาที่เข้ามาช่วยได้จังหวะพอดิบพอดี ทว่า ในฉบับรีเมคนี้ก็ดูเหมือนทีมงานจะมองออกว่าแบบนั้นมันขาดนัยยะของโจทย์ “กำเนิดญี่ปุ่น” ไปสักหน่อย ทีมสร้างฉบับรีเมคนี้จึงมีอะไรบางอย่างที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนัยยะที่แฝงไว้กับผู้ชมครับ
ในช่วงกลางเรื่อง จะมีฉากที่โดราเอมอนห้ามไม่ให้พวกไจแอนท์ใช้อุปกรณ์โลกอนาคตช่วยเหลือเผ่าแสงสว่างในการสร้างบ้านด้วยไม้และฟาง เพราะเขากล่าวว่า “ยิ่งมนุษย์เราสร้างอารยธรรมขึ้นมา ด้วยความยากลำบากมากเท่าไหร่ อนาคตก็จะสะดวกสบายมากขึ้นเท่านั้น เพราะมนุษย์เราจะพัฒนาเมื่อต้องสู้ชีวิตไงล่ะ” มันคือหลักของวิวัฒนาการ เพราะเมื่อเราเริ่มต้นด้วยความสะดวกสบาย พัฒนาการก็จะไม่มี
และแก่นตรงนั้นเอง ที่กลายมาเป็นกำลังสำคัญในช่วงท้ายเรื่อง กีก้าซอมบี้มีทั้งเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่าทั้งโดราเอมอนและชาวเผ่าแสงสว่าง แต่ในไคลแมกซ์นี้ จะสอนให้เราได้รู้ว่า การจะสร้างประวัติศาสตร์จอมปลอมด้วยความสะดวกสบาย ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่อาจเอาชนะความบากบั่นอุตสาหะจากประวัติศาสตร์โบราณของแท้ได้นั่นเอง
จริง ๆ มันอาจจะแปลกไปนิดสำหรับฉบับรีเมค แต่นับเป็นผลดีต่อเนื้อหาอยู่ไม่น้อยครับ ตัวคุคุรุ เด็กหนุ่มยุคโบราณนั้น เดิมทีในต้นฉบับเขาเป็นเด็กหนุ่มที่เข้มแข็ง ล่าสัตว์ได้ และมีความกล้าหาญในตัวที่ต่างกับโนบิตะพอสมควร แต่ในฉบับรีเมค เขามีความเข้มแข็งอยู่ แต่แฝงด้วยจุดด้อยที่มีทั้งความอ่อนโยนและอ่อนแอในใจ ทั้งยังมีบุคลิกที่เป็นมิตรมากกว่าเดิม ทำให้เขามีบทเข้าคู่กับโนบิตะที่คล้ายคลึงกับตัวเขาเองอย่างลงตัว และทำให้เราได้สัมผัสถึงมิตรภาพของตัวละครทั้งสองมากขึ้น
และที่สำคัญ จากในข้อที่แล้วในเรื่องของไคลแมกซ์ที่เปลี่ยนไป ได้ขับเน้นบทของคุคุรุในท้ายเรื่องได้อย่างเยี่ยมยอดอีกด้วยครับ
แถมด้วยภาพนี้
ทีมสร้างโดราเอมอนทีมใหม่ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมานี้ เรียกได้ว่ามีความเคารพและศรัทธาในผลงานของ อ.ฟุจิโกะ F ฟุจิโอะ อย่างมากครับ มีการใส่ Easter Egg ลงไปในผลงานแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่เสมอในมูฟวี่แทบทุกภาคนับตั้งแต่ตอนนั้น
ในภาคนี้ก็เช่นเดียวกันครับ โดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ภาคนี้ ท้ายเรื่องที่ตำรวจกาลเวลามาคลี่คลายเรื่องราว ทั้งต้นฉบับหรือในมังงะเองนั้น ตำรวจกาลเวลาที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คือตำรวจชาย รวมไปถึงสารวัตรตำรวจหนวดเข้มตามภาพประกอบ แต่ตำรวจกาลเวลาในฉบับรีเมคนี้ กลับดูเป็นวัยรุ่นกว่าที่คิด (แถมสาว ๆ ยังโมเอะด้วย) โดยพวกเขาและเธอนั้น ที่จริงก็คือ ตัวละคร “รีม” “บง” และ “ยูมิโกะ” จากผลงานเก่าของ อ.ฟุจิโกะ F ฟุจิโอะ เรื่อง T.P.Bon หรือ Time Patron Bon “สายตรวจเหนือเวลา” ผลงานมังงะแนวไซไฟเกี่ยวกับตำรวจที่เดินทางข้ามเวลาได้นั่นเอง
ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานภาพยนตร์โดราเอมอนที่ทำได้ดี และให้แง่คิดอะไรมากมาย จนเรียกได้ว่าเป็นผลงานที่ต่อยอดต้นฉบับมาได้สมบูรณ์แบบครับ น่าเสียดายที่ผู้นำเข้าภาคนี้ไม่ค่อยโปรโมตมากเท่าไหร่ กระแสเงียบมาก บางคนอาจจะยังไม่ทันรู้ว่าฉายด้วยซ้ำ
ตอนนี้ถอดออกจากโรงไปเยอะแล้วครับ ใจจริงอยากจะไปซ้ำอีกรอบแต่หารอบฉายยากซะแล้ว