ความลับคับอกที่ครูอยากบอกพ่อแม่

เข้าใจเด็กสักนิด จะเร่งให้ครูรีบสอนอ่านเขียนไปทำไม"

ผู้ ปกครองที่มีความต้องการให้ลูกมาโรงเรียนและอ่านเขียนได้เร็ว มักจะทวงถามการบ้าน ถามถึงผลการเรียนของลูกว่าอ่านเขียนไปได้แค่ไหนแล้ว ทั้งๆที่ลูกเพิ่งเข้าเรียนในระดับอนุบาลหนึ่งได้ไม่กี่วัน ถ้าพบว่าลูกยังไม่มีการบ้าน ก็มักไปต่อว่าเอากับคุณครู ว่าลูกมาโรงเรียนแล้วทำอะไร ไม่เห็นเรียนหนังสือ โถ..คุณพ่อคุณแม่คะ เด็กบางคนเพิ่งลงจากตักแม่เดินขาปัดขาเป๋อยู่เลย จะบังคับนิ้วน้อยๆให้เขียนหนังสือเลยเชียวหรือ ขอเวลาให้หนูน้อยได้เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม ให้เหมาะกับวัยและสติปัญญาสักหน่อยเถอะค่ะ รับรองว่าไม่นานเด็กจะสามารถแสดงให้เห็นผลได้ควบคู่กันไป

"ขอความร่วมมือกับทางโรงเรียนด้วย"

บาง ท่านคิดว่า วัยอนุบาลยังเป็นวัยที่ไม่มีความสำคัญเท่าไหร่ จะลึกขึ้นมาตื่นเต้นอีกทีก็ตอนที่ลูกจะต้องไปสอบประถม 1 ดังนั้นหากเป็นช่วงอายุ 0-6 ขวบ หากครูมีเรื่องชี้แจงหรือขอความร่วมมือจากทางบ้าน มักไม่ได้รับความสนใจเลย เคยมีตัวอย่างเสมอๆค่ะ เด็กบางคนมักพลาดกิจกรรมพิเศษไปเพราะครูทำจดหมายแจ้งแล้ว แต่ผู้ปกครองไม่ได้อ่าน ครูให้แต่งชุดไทยมาร่วมกิจกรรมเด็กทั้งโรงเรียนใส่กันพรึบพรับ กลับมีอยู่ไม่กี่คนใส่ชุดนักเรียนมา เด็กเลยรู้สึกเก้ๆกังๆขาดความมั่นใจไปทั้งวัน ซ้ำร้ายบางคนก็ร้องไห้งอแง ไม่อยากมาโรงเรียนเอาเลย

"ลองเปิดโอกาสให้เด็กช่วยเหลือตัวเองบ้าง"
จริง อยู่ ถึงแม้เด็กอนุบาลยังต้องการการดูแลเอาใจใส่จากพ่แม่อย่างใกล้ชิด แต่ก็มีหลายเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องส่งเสริมให้ลูกได้พัฒนาศักยภาพของ เขาเอง โดยเปิดโอกาสให้ลูกได้ลงมือทำเอง มิใช่พ่อแม่ทำให้ทุกเรื่อง เช่น การฝึกแต่งตัว การใส่กางเกง กระโปรง ติดกระดุม สวมถุงเท้ารองเท้า ด้วยการเริ่มทีละเล็กทีละน้อย จะทำให้ลูกสามารถช่วยเหลือตนเองได้ การฝึกเรื่องเหล่านี้ต้องใจเย็น และให้เวลากับเด็ก อย่าเร่งเร้า รีบร้อน การฝึกพื้นฐานเหล่านี้ท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องจุกจิกเสียเวลา แต่จงอดทนเถอะค่ะ เพื่อผลดีที่จะเกิดในภายภาคหน้า สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำขณะที่เด็กลงมือทำงานก็คือ คอยเสริมแรงด้วยการชมเชย เช่น"เก่งมาก ลูกติดกระดุมได้เม็ดนึงแล้ว ลองติดอีกเม็ดสิคะ" ไม่ใช่เสริมแรงด้วยการให้สินจ้างรางวัล เช่น ติดกระดุมได้หนึ่งเม็ด จะได้ลูกอมหนึ่งเม็ด ดังนั้นถ้าทางบ้านให้โอกาสแก่เด็กในการช่วยเหลือตนเอง นั่นเท่ากับว่าท่านได้ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของชีวิต และเด็กจะมีนิสัยพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

ขอบคุณ ผู้เขียนลงนิตยสาร Kids & School  ที่เข้าใจความรุ้สึกครู 😢
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่