ทำไมถึงต้องใช้เลขอารบิค

เลขอารบิค อยู่กับเรามาตั้งแต่จำความได้สงสัยครับว่าทำไมเราถึงต้องใช้เลขอารบิคกัน ภาษาอังกฤษก็ใช้เลขอารบิคมันเกี่ยวข้องกันยังไงครับ และภาษาไทยของเราเองก็มีเลขไทย นอกจากสถานที่ราชการแล้วไม่ค่อยมีที่ไหนเค้าใช้เลขไทยกันเลย
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
สมัยก่อนตัวเลขที่นิยมใช้กันมากจะมี ตัวเลข อียิปต์ ตัวเลขโรมัน
เช่น ถ้าเราจะเขียนเลขแสดงจำนวน 489 ถ้าเราใช้ตัวเลขอียิปต์เขียนจะยืดยาว ระบบตัวเลขฮินดูอารบิกดีกว่าตัวเลขอื่นเพราะ
1.มีค่าประจำหลัก 2.การใช้สัญลักษณ์แทนศูนย์ซึ่งทำให้เราสามารถเขียนแสดงจำนวนได้ง่ายและสะดวกต่อการคิดคำนวณ

credit สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สสวท.

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

การใช้เลขไทยในเอกสารราชการ
สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ซึ่งขอความร่วมมือให้ส่วนราชการไทยใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เลขไทย ดังรายละเอียด

คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับการดูแลกำชับให้หน่วยราชการทุกแห่งใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของหน่วยราชการ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกของประชาชนชาวไทยในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติ เพื่อมิให้วัฒนธรรมต่างชาติครอบงำ และโดยที่ต้องขอให้หน่วยงานของรัฐและเอกชน รวมทั้งสื่อต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติในการใช้เลขปีพุทธศักราช (พ.ศ.) แทนการใช้เลขคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ในกิจกรรมทุกด้าน จึงมีมติ ดังนี้

1. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐต่างๆ สนับสนุนในการใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของทางราชการ

2. ให้ขอความร่วมมือสถานีวิทยุ สถานีวิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชนอื่น และภาคเอกชนให้ใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราช เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการอนุรักษ์เอกลักษณะของชาติต่อไป

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอตามที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ ครั้งที่ 129 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 ได้มีการพิจารณาศึกษาการใช้เลขศักราชของหน่วยราชการที่มีการใช้เลข 2000 กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เนื่องจากมีกระแสวัฒนธรรมต่างชาติครอบงำ กิจกรรมแทบทุกด้านของภาคเอกชนมีการใช้เลขศักราชเป็น 2000 เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง อันอาจจะส่งกระทบต่อเอกลักษณ์ของไทยในอนาคต จนกลายเป็นปัญหาที่จะแก้ไขได้ยาก

นอกจากนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ศึกษาการใช้ปีศักราชแล้ว ปรากฏดังนี้

1. ปีศักราชมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยได้มีการใช้หลายอย่างตามความนิยมของแต่ละยุคสมัย คือ มีทั้งพระพุทธศักราช (พ.ศ.) มหาศักราช จุลศักราช (จ.ศ.) และรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) หรือแม้แต่คริสศักราช (ค.ศ.)

2. ส่วนการใช้พระพุทธศักราชในราชการทั่วไปนั้น เกิดจากพระราชดำริและพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ตามประกาศวิธีนับวันเดือนปีซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 เป็นพระพุทธศักราช 2455 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช 2483 ใช้บังคับก็ยังคงใช้เลขปีศักราชเป็นปีพระพุทธศักราชต่อไป

3. สำหรับในการบริหารงานเอกสารของทางราชการได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ โดยกำหนดให้ใช้เลขปีพุทธศักราชในการออกหนังสือราชการทั่วไป นอกจากนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้เคยมีหนังสือแจ้งเวียนซักซ้อมความเข้าใจและให้ส่วนราชการถือปฏิบัติในการระบุคำว่า “พ.ศ.” ในแบบคำสั่ง ระเบียบ ประกาศ หรือหนังสือรับรองเพื่อให้การปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันอีกด้วย จึงให้ส่วนราชการได้ถือปฏิบัติตามนี้

คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันคนไทยมักใช้ภาษาอังกฤษในกิจกรรมต่างๆ เช่น เสื้อนักกีฬา จึงขอให้รณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยในกิจกรรมต่างๆ แต่อย่างไรก็ดี ภาษาต่างประเทศซึ่งเป็นภาษาที่สองก็ยังมีความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน

–ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)–วันที่ 2 พฤษภาคม 2543–

จากมติดังกล่าวส่งผลให้หน่วยราชการต่างๆ ให้ความสำคัญกับการใช้เลขไทยอย่างมาก แต่ก็สร้างปัญหาให้กับเอกสารหลายลักษณะเช่นกัน ดังเช่น

    การใช้เลขไทยผสมกับคำภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศไทย เช่นคำว่า ASEAN+๖
    thainumber
    การใช้เลขไทยกับสมการ สูตรทางเคมี เช่น H๒O
    การใช้เลขไทย กับข้อมูลในกระดาษทำการ (Spreadsheet) อันส่งผลให้ระบบประมวลผลเกิดความผิดพลาด
    การใช้ฟอนต์ที่ปรับเปลี่ยนแป้นพิมพ์ตัวเลขให้แสดงเป็นเลขไทย อันผิดหลักการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง

ดังนั้น การตีความโดยไม่ใช้ความรอบคอบ หรือตีความรวมๆ ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายกับการทำงาน และองค์กรในภาพรวมได้ ทั้งนี้หากกลับไปศึกษาระบบสอบถามข้อมูลออนไลน์ สำนักนายกรัฐมนตรี จะได้รับคำตอบ ดังนี้

กรณีที่หารือ การใช้เลขไทยในงานราชการเป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ซึ่งขอความร่วมมือให้ส่วนราชการไทยใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เลขไทย ส่วนการใช้เลขไทยในหนังสือราชการนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละส่วนราชการ ในบางกรณีตัวเลขไทยอาจไม่เอื้อต่องานบางประเภท เช่น งานการเงิน งานวิเคราะห์ตารางตัวเลข หรืองานที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ ส่วนราชการก็สามารถพิจารณาใช้เลขอารบิคได้ โดยไม่เป็นการบังคับว่าส่วนราชการจะต้องใช้เลขไทยอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น ขอความกรุณาท่านได้โปรดแนะนำหรือชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ธุรการหรือที่เกี่ยวข้องทราบถึงหลักการและเหตุผลการใช้เลขไทยในงานราชการดังกล่าวข้างต้นต่อไปด้วย

จากรายละเอียดทั้งหมด ก็คงสรุปได้ว่า

   - การใช้เลขไทย เป็นการส่งเสริมไม่ใช่การบังคับ
   - สนับสนุนในการใช้เลขปีพุทธศักราชเป็นเลขไทยในกิจกรรมทุกด้านของทางราชการ โดยเฉพาะในการออกหนังสือราชการทั่วไป
    -เน้นการใช้เลขไทยที่ไม่กระทบกับงานบางประเภท เช่น งานการเงิน งานวิเคราะห์ตารางตัวเลข หรืองานที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ
credit  http://www.thailibrary.in.th/2013/03/24/thai-number/
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศ วิชาการ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่