เคยฟังท่าน ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลายครั้ง เป็นการพูดถึงเรื่องของเวลาเพื่อโยงกับนโยบายคมนาคม อย่างรถไฟความเร็วสูง แต่ครั้งนี้เพิ่งมีโอกาสได้ฟังแนวคิดเรื่องการจัดการเวลาและนิสัย ซึ่งท่านพูดได้สนุกและเข้าใจง่ายดี โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลง “นิสัย” (Habit) และการสร้าง Willpower, น่าสนใจมากครับ
ท่านชัชชาติเริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบว่า เราทุกคนเหมือนท่อนไม้ที่ขรุขระ ต้องเกลาจนสามารถเอาไปใช้ได้ การที่ท่านเรียนจบปริญญาเอกได้ไม่ใช่เพราะฉลาด แต่เป็นเพราะขยัน ซึ่งสมองอาจเป็นส่วนนึง แต่ความมุ่งมั่นและตั้งใจ ความขยัน การจัดตารางชีวิต เป็นปัจจัยของความสำเร็จ
ชีวิตของท่าน ขึ้นลงไปมา ไม่ได้เป็นขั้นบันได เหมือนคนอื่น จากนักเรียนมาเป็นอาจารย์ ไปเป็นรัฐมนตรี พอโดนรัฐประหารก็ตกงาน แล้วก็ได้มาเป็น CEO ซึ่งมันดูไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่ท่านทำได้ ล้วนมาจากนิสัยเป็นหลัก
ท่านแนะนำให้ลองดูหนังเรื่อง Interview with the Vampire (1994) เป็นเรื่องของผีแวมไพน์สองตัว ที่มีตัวหนึ่งเป็นฝ่ายดี ไม่กินเลือดมนุษย์ กินแต่เลือดสัตว์ เลยทำให้ไม่มีแรงใช้ชีวิต ตรงกันข้ามกับตัวร้ายที่ฆ่าและกินแต่เลือดมนุษย์ ทำให้แข็งแรง และทั้งสองมาเจอกันโดยมีประโยคที่น่าสนใจคือ
“Evil is a point of view” (ความชั่วร้ายเป็นเรื่องของมุมมอง) หมายถึง ทั้งสองเป็นแวมไพน์เหมือนกัน ดังนั้นการฆ่าคนจึงไม่ได้คิดว่าชั่วร้ายอะไร
“God kills indiscriminately, and so shall we” (พระเจ้าเองก็ฆ่าไม่เลือกหน้าเช่นกัน) ดังนั้นมันไม่ผิดอะไรเลยที่แวมไพน์ก็จะไปฆ่าคน
ท่านชัชชาติเปรียบว่า พระเจ้า (God) ในประโยคข้างต้น หมายถึง เวลา (Time),
“เวลาก็ฆ่าเราทุกคนไม่เลือกหน้าเช่นกัน” เพราะ ทุกวินาทีที่ผ่านไป เราได้ใกล้ความตายโดยเราไม่รู้สึกตัว
เรามักไม่เห็นความสำคัญของ “เวลา”
และที่น่าเสียใจคือ “คนไทย” ไม่ค่อยเห็นคุณค่าของเวลา เราเป็นแบบนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ อาจเพราะเรามีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ทำอย่างไรก็รอดตาย ไม่เหมือนกับสิงคโปร์ที่ต้องดิ้นรนหลังจากแยกตัวออกมาจากประเทศมาเลเซีย ดังนั้น เวลา ของเขาจึงสำคัญ
ท่านชัชชาติ ยกตัวอย่าง ประเทศไทยกับสิงคโปร์ ในช่วงปี 2547-2556 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็น “ทศวรรษที่สูญหาย” เพราะเรามีรัฐประหาร น้ำท่วม ยุบพรรค คนเจ็บ คนตาย ซึ่งตีเป็นมูลเสียหาย 1.7ล้านล้านบาท โดยที่เราแทบไม่มีการลงทุนทำอะไรเลย ในขณะที่ช่วงเวลา 10 ปีเดียวกัน สิงคโปร์สร้างโครงการ Marina Bay เริ่มตั้งแต่วางแผน และก่อสร้าง ลงทุนมากกว่า 32.5พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และก็กลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ไป
ถ้ายกตัวอย่างโครงการในอดีตของประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มคิดจนสร้างเสร็จ, ท่าเรือแหลมฉบังไทย เราใช้เวลา 30 ปี, สนามบินสุวรรณภูมิ ใช้เวลา 45 ปี หรือ รถไฟความเร็วสูงเราเริ่มศึกษาในปี 2537 แต่จนทุกวันนี้ เราก็ยังศึกษามันอยู่.. จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับเวลาเท่าไรนัก หรือในกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วง เราสร้างเสร็จแต่ไม่มีคนใช้งาน เราก็ได้แต่บอกว่ารอไปก่อน เดี๋ยวก็มีคนใช้ ซึ่งในขณะที่รอ มันมีมูลค่าเสื่อมวันละ 5ล้านบาท
ย้อนกลับมาดูตนเอง “เราตีมูลค่าชีวิตของเราไว้เท่าไร”
ถ้าชีวิตเรามีมูลค่ามหาศาล แปลว่าในแต่ละวินาทีของเราก็มีมูลค่ามหาศาล
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เคยตรัสไว้ว่า “ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นทางแยก จะไปสูง ไปต่ำ จะไปดี ไปร้าย เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น พึงสำนึกข้อนี้ให้จงดี แล้วจงเลือกเถิด เลือกให้ดีเถิด” ซึ่งสรุปสั้นได้ว่า ทุกนาทีมีความหมาย และสามารถเปลี่ยนชีวิตเราได้
ดังนั้นแล้ว เวลาจึงมีความสำคัญ มีค่ามหาศาล มันไม่ใช่ของฟรี และต้องพัฒนา ปรับใช้ให้มันดีขึ้น
โถแก้วของชีวิต
โดยเปรียบโถแก้วเหมือนชีวิตของเรา มีหิน คือ สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต, มีกรวด คือ สิ่งสำคัญรองลงมา และ มีทราย คือ สิ่งไม่สำคัญ หรือเรื่องไร้สาระ
โดยหน้าที่เรา คือเอาสิ่งสามสิ่งใส่ในโถแก้วชีวิต ซึ่งถ้าเราเอาทรายเข้าไปก่อน กรวดกับหินก็ไม่มีที่ใส่ แต่ถ้าเราเอาหินใส่ไปก่อนแล้วใส่กรวดตามเข้าไป เดี๋ยวทรายมันมีช่องว่างแทรกเข้าไปได้เอง นี่คือการจัดลำดับความสำคัญในการใช้เวลา เพื่อที่จะไม่ต้องบ่นว่า ทำไมเราไม่มีเวลาทำสิ่งใดเลย
ดังนั้น เราต้องกำหนดให้ได้ก่อนว่า หินของเราคืออะไร อะไรสำคัญในชีวิต (ซึ่งอาจมีไม่เยอะนัก) และ กรวดคืออะไร ถ้าเราแยกสองเรื่องออก ก็จะเริ่มแบ่งเวลาได้
ยกตัวอย่าง หินก้อนใหญ่ในชีวิตของท่านชัชชาติ คือเรื่อง สุขภาพ เพราะท่านต้องดูแลครอบครัว คนที่ท่านรัก ลูกน้อง ซึ่งแม้แต่เรื่องงานท่านยังมองเป็นเรื่องรอง เพราะท่านเชื่อว่า ถ้าสุขภาพดี ครอบครัวดี การงานมันก็จะดีตามมาเอง
นอกจากรู้เรื่องจัดเวลา เราต้องมีความฉลาดในการใช้เวลาด้วย ยกตัวอย่างเช่น คนตัดไม้ ตัดเท่าไรก็ไม่ล้ม พอมีคนบอกให้ไปลับขวานให้คมก่อน เขาจะตอบว่าไม่มีเวลาทำ และเขาก็ก้มหน้าตัดต้นไม้ด้วยขวานทื่อๆต่อไป เหมือนที่ลินคอร์นเคยพูดไว้ว่า “ถ้าเขามีเวลา 6ชั่วโมงในการตัดไม้ เขาจะใช้เวลา 4ชมแรกในการลับขวานก่อน” ซึ่งในปัจจุบันเราอาจไม่ได้มีเวลาลับขวานรอได้ขนาดนั้น ดังนั้น เราต้องลับขวานให้คมอยู่เสมอๆ เมื่อมีโอเาส เช่น วันหยุด เวลาว่าง เพราะงานหรือเหตุการณ์ต่างๆ อาจเข้ามาได้โดยที่เราไม่ทันตั้งตัว ก็จะสามารถนำขวานไปใช้ได้ทันที
แบ่งเวลาให้ดีได้ ต้องเริ่มจากนิสัยที่ดีก่อน
ท่านชัชชาตินำตารางเวลาในแต่ละวันของตนเองมากางให้ดู ท่านตื่นแต่เช้า(03:50) อ่านอีเมล หนังสือพิมพ์ ไปออกกำลังกาย ส่งลูกเรียน ทานข้าว ทำงาน รับลูก แล้วก็กลับบ้านนอน(22:00) ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นถ้าใครจัดสรรเวลาอย่างไร ก็สามารถบ่งบอกนิสัยของคนๆนั้นได้
ถ้าคุณมีนิสัยที่ดี เดี๋ยวเวลาที่ดีมันจะตามมา เพราะเราจะนำเวลาไปใช้ในสิ่งที่เป็นโยชน์ในความคิดของเรา เราไม่ต้องไปฝืนอะไรมัน
เพราะ “เวลาส่วนใหญ่ ถูกใช้ไปโดย ‘นิสัย’ ของเรา จะจัดแบ่งเวลาให้ดีได้ ต้องเริ่มจากนิสัยที่ดีก่อน”
คำว่า Motivation มันคือ สิ่งที่เราเริ่มทำ เช่น จะลดนำหนัก จะขยัน
แต่พอเริ่มได้แล้ว สิ่งที่จะทำให้ได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ นั่นคือ “นิสัย” (Habit)
ดังนั้น นิสัย จะเป็นสิ่งที่เราทำได้เป็นกิจวัตรโดยไม่ต้องคิด
-------------------
เดี๋ยวกลับมาต่อนะครับ
เทคนิคจัดการเวลาขั้นเทพ กับ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
เคยฟังท่าน ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลายครั้ง เป็นการพูดถึงเรื่องของเวลาเพื่อโยงกับนโยบายคมนาคม อย่างรถไฟความเร็วสูง แต่ครั้งนี้เพิ่งมีโอกาสได้ฟังแนวคิดเรื่องการจัดการเวลาและนิสัย ซึ่งท่านพูดได้สนุกและเข้าใจง่ายดี โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลง “นิสัย” (Habit) และการสร้าง Willpower, น่าสนใจมากครับ
ท่านชัชชาติเริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบว่า เราทุกคนเหมือนท่อนไม้ที่ขรุขระ ต้องเกลาจนสามารถเอาไปใช้ได้ การที่ท่านเรียนจบปริญญาเอกได้ไม่ใช่เพราะฉลาด แต่เป็นเพราะขยัน ซึ่งสมองอาจเป็นส่วนนึง แต่ความมุ่งมั่นและตั้งใจ ความขยัน การจัดตารางชีวิต เป็นปัจจัยของความสำเร็จ
ชีวิตของท่าน ขึ้นลงไปมา ไม่ได้เป็นขั้นบันได เหมือนคนอื่น จากนักเรียนมาเป็นอาจารย์ ไปเป็นรัฐมนตรี พอโดนรัฐประหารก็ตกงาน แล้วก็ได้มาเป็น CEO ซึ่งมันดูไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่ท่านทำได้ ล้วนมาจากนิสัยเป็นหลัก
ท่านแนะนำให้ลองดูหนังเรื่อง Interview with the Vampire (1994) เป็นเรื่องของผีแวมไพน์สองตัว ที่มีตัวหนึ่งเป็นฝ่ายดี ไม่กินเลือดมนุษย์ กินแต่เลือดสัตว์ เลยทำให้ไม่มีแรงใช้ชีวิต ตรงกันข้ามกับตัวร้ายที่ฆ่าและกินแต่เลือดมนุษย์ ทำให้แข็งแรง และทั้งสองมาเจอกันโดยมีประโยคที่น่าสนใจคือ
“Evil is a point of view” (ความชั่วร้ายเป็นเรื่องของมุมมอง) หมายถึง ทั้งสองเป็นแวมไพน์เหมือนกัน ดังนั้นการฆ่าคนจึงไม่ได้คิดว่าชั่วร้ายอะไร
“God kills indiscriminately, and so shall we” (พระเจ้าเองก็ฆ่าไม่เลือกหน้าเช่นกัน) ดังนั้นมันไม่ผิดอะไรเลยที่แวมไพน์ก็จะไปฆ่าคน
ท่านชัชชาติเปรียบว่า พระเจ้า (God) ในประโยคข้างต้น หมายถึง เวลา (Time),
“เวลาก็ฆ่าเราทุกคนไม่เลือกหน้าเช่นกัน” เพราะ ทุกวินาทีที่ผ่านไป เราได้ใกล้ความตายโดยเราไม่รู้สึกตัว
เรามักไม่เห็นความสำคัญของ “เวลา”
และที่น่าเสียใจคือ “คนไทย” ไม่ค่อยเห็นคุณค่าของเวลา เราเป็นแบบนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ อาจเพราะเรามีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ทำอย่างไรก็รอดตาย ไม่เหมือนกับสิงคโปร์ที่ต้องดิ้นรนหลังจากแยกตัวออกมาจากประเทศมาเลเซีย ดังนั้น เวลา ของเขาจึงสำคัญ
ท่านชัชชาติ ยกตัวอย่าง ประเทศไทยกับสิงคโปร์ ในช่วงปี 2547-2556 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็น “ทศวรรษที่สูญหาย” เพราะเรามีรัฐประหาร น้ำท่วม ยุบพรรค คนเจ็บ คนตาย ซึ่งตีเป็นมูลเสียหาย 1.7ล้านล้านบาท โดยที่เราแทบไม่มีการลงทุนทำอะไรเลย ในขณะที่ช่วงเวลา 10 ปีเดียวกัน สิงคโปร์สร้างโครงการ Marina Bay เริ่มตั้งแต่วางแผน และก่อสร้าง ลงทุนมากกว่า 32.5พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และก็กลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ไป
ถ้ายกตัวอย่างโครงการในอดีตของประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มคิดจนสร้างเสร็จ, ท่าเรือแหลมฉบังไทย เราใช้เวลา 30 ปี, สนามบินสุวรรณภูมิ ใช้เวลา 45 ปี หรือ รถไฟความเร็วสูงเราเริ่มศึกษาในปี 2537 แต่จนทุกวันนี้ เราก็ยังศึกษามันอยู่.. จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับเวลาเท่าไรนัก หรือในกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วง เราสร้างเสร็จแต่ไม่มีคนใช้งาน เราก็ได้แต่บอกว่ารอไปก่อน เดี๋ยวก็มีคนใช้ ซึ่งในขณะที่รอ มันมีมูลค่าเสื่อมวันละ 5ล้านบาท
ย้อนกลับมาดูตนเอง “เราตีมูลค่าชีวิตของเราไว้เท่าไร”
ถ้าชีวิตเรามีมูลค่ามหาศาล แปลว่าในแต่ละวินาทีของเราก็มีมูลค่ามหาศาล
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เคยตรัสไว้ว่า “ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นทางแยก จะไปสูง ไปต่ำ จะไปดี ไปร้าย เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น พึงสำนึกข้อนี้ให้จงดี แล้วจงเลือกเถิด เลือกให้ดีเถิด” ซึ่งสรุปสั้นได้ว่า ทุกนาทีมีความหมาย และสามารถเปลี่ยนชีวิตเราได้
ดังนั้นแล้ว เวลาจึงมีความสำคัญ มีค่ามหาศาล มันไม่ใช่ของฟรี และต้องพัฒนา ปรับใช้ให้มันดีขึ้น
โถแก้วของชีวิต
โดยเปรียบโถแก้วเหมือนชีวิตของเรา มีหิน คือ สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต, มีกรวด คือ สิ่งสำคัญรองลงมา และ มีทราย คือ สิ่งไม่สำคัญ หรือเรื่องไร้สาระ
โดยหน้าที่เรา คือเอาสิ่งสามสิ่งใส่ในโถแก้วชีวิต ซึ่งถ้าเราเอาทรายเข้าไปก่อน กรวดกับหินก็ไม่มีที่ใส่ แต่ถ้าเราเอาหินใส่ไปก่อนแล้วใส่กรวดตามเข้าไป เดี๋ยวทรายมันมีช่องว่างแทรกเข้าไปได้เอง นี่คือการจัดลำดับความสำคัญในการใช้เวลา เพื่อที่จะไม่ต้องบ่นว่า ทำไมเราไม่มีเวลาทำสิ่งใดเลย
ดังนั้น เราต้องกำหนดให้ได้ก่อนว่า หินของเราคืออะไร อะไรสำคัญในชีวิต (ซึ่งอาจมีไม่เยอะนัก) และ กรวดคืออะไร ถ้าเราแยกสองเรื่องออก ก็จะเริ่มแบ่งเวลาได้
ยกตัวอย่าง หินก้อนใหญ่ในชีวิตของท่านชัชชาติ คือเรื่อง สุขภาพ เพราะท่านต้องดูแลครอบครัว คนที่ท่านรัก ลูกน้อง ซึ่งแม้แต่เรื่องงานท่านยังมองเป็นเรื่องรอง เพราะท่านเชื่อว่า ถ้าสุขภาพดี ครอบครัวดี การงานมันก็จะดีตามมาเอง
นอกจากรู้เรื่องจัดเวลา เราต้องมีความฉลาดในการใช้เวลาด้วย ยกตัวอย่างเช่น คนตัดไม้ ตัดเท่าไรก็ไม่ล้ม พอมีคนบอกให้ไปลับขวานให้คมก่อน เขาจะตอบว่าไม่มีเวลาทำ และเขาก็ก้มหน้าตัดต้นไม้ด้วยขวานทื่อๆต่อไป เหมือนที่ลินคอร์นเคยพูดไว้ว่า “ถ้าเขามีเวลา 6ชั่วโมงในการตัดไม้ เขาจะใช้เวลา 4ชมแรกในการลับขวานก่อน” ซึ่งในปัจจุบันเราอาจไม่ได้มีเวลาลับขวานรอได้ขนาดนั้น ดังนั้น เราต้องลับขวานให้คมอยู่เสมอๆ เมื่อมีโอเาส เช่น วันหยุด เวลาว่าง เพราะงานหรือเหตุการณ์ต่างๆ อาจเข้ามาได้โดยที่เราไม่ทันตั้งตัว ก็จะสามารถนำขวานไปใช้ได้ทันที
แบ่งเวลาให้ดีได้ ต้องเริ่มจากนิสัยที่ดีก่อน
ท่านชัชชาตินำตารางเวลาในแต่ละวันของตนเองมากางให้ดู ท่านตื่นแต่เช้า(03:50) อ่านอีเมล หนังสือพิมพ์ ไปออกกำลังกาย ส่งลูกเรียน ทานข้าว ทำงาน รับลูก แล้วก็กลับบ้านนอน(22:00) ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นถ้าใครจัดสรรเวลาอย่างไร ก็สามารถบ่งบอกนิสัยของคนๆนั้นได้
ถ้าคุณมีนิสัยที่ดี เดี๋ยวเวลาที่ดีมันจะตามมา เพราะเราจะนำเวลาไปใช้ในสิ่งที่เป็นโยชน์ในความคิดของเรา เราไม่ต้องไปฝืนอะไรมัน
เพราะ “เวลาส่วนใหญ่ ถูกใช้ไปโดย ‘นิสัย’ ของเรา จะจัดแบ่งเวลาให้ดีได้ ต้องเริ่มจากนิสัยที่ดีก่อน”
คำว่า Motivation มันคือ สิ่งที่เราเริ่มทำ เช่น จะลดนำหนัก จะขยัน
แต่พอเริ่มได้แล้ว สิ่งที่จะทำให้ได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ นั่นคือ “นิสัย” (Habit)
ดังนั้น นิสัย จะเป็นสิ่งที่เราทำได้เป็นกิจวัตรโดยไม่ต้องคิด
-------------------
เดี๋ยวกลับมาต่อนะครับ