ฮสั้นๆไปก่อน! กรมธนารักษ์ตกลงเก็บค่าเช่าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับ AOT ในอัตราเดิมที่ 5% ถึงสิ้นปีงบประมาณ (ต.ค.59-ก.ย.60)
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดเผยว่า จากการหารือกับกรมธนารักษ์ในวันนี้ อธิบดีกรมธนารักษ์ระบุว่าจากเดิมที่จะปรับขึ้นค่าเช่าใช้พื้นที่ราชพัสดุในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) ที่ปัจจุบันเก็บอยู่ 5% เปลี่ยนมาใช้รูปแบบผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ซึ่งจะให้เก็บจากเฉพาะการใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์เท่านั้น ทำให้บริษัทไม่กังวลที่การปรับขึ้นค่าเช่าจะกระทบกับผู้โดยสาร
ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ให้เหตุผลการเก็บค่าเช่าใช้พื้นที่ราชพัสดุรูปแบบ ROA เพราะจะเป็นบรรทัดฐานในการเก็บค่าเช่าพื้นที่ราชพัสดุกับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ โดยปัจจุบันรายได้ของทั้ง 6 ท่าอากาศยานเป็นรายได้จากการบิน (AERO) มีสัดส่วน 63% ส่วนรายได้ที่ไม่ใช้จากการบิน (Non-AERO) อยู่ที่ 47%
โดยหลังจากนี้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อกำหนดเขตพื้นที่ใดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์นอกเหนือพื้นที่ที่คิงเพาเวอร์เช่าอยู่และจะหมดสัญญาในปี 62 คาดว่าไม่น่าจะปรับขึ้นระหว่างทางได้ ส่วนนอกพื้นที่ที่เตรียมจะทำโครงการ Airport City มีประมาณ 700 ไร่ ขณะที่ต้องชี้วัดให้ชัดเจนในเขตพื้นที่แนวร่อนการบิน อาทิ รันเวย์ที่ทางด้านซ้ายและขวาต้องเป็นพื้นที่โล่ง 150 เมตร เป็นต้น
"วันนี้เราสบายใจแล้ว เหมือนยกภูเขาออกจากอกแล้วที่ไม่ต้องไปขึ้นค่า PSC จะกระทบกับการท่องเที่ยวหรือเปล่า เพราะจากเดิมที่จะต้องปรับขึ้นค่า Revenue Sharing แต่ตอนนี้ไม่ปรับแล้ว และเปลี่ยนไปใช้แบบ ROA ที่ใช้เฉพาะกับ Non-Aero " นายนิตินัย กล่าว
ทั้งนี้คาดว่าการจัดทำขอบเขตพื้นที่เชิงพาณิชย์และอัตราการเก็บแบบ ROA น่าจะแล้วเสร็จพร้อมกับการแก้ไขข้อตกลงการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุในไตรมาส 3 ของปีนี้ ดังนั้น ในงวดปี 60 (ต.ค.59-ก.ย.60) AOT ยังคงจ่ายค่าเช่าพื้นที่ราชพัสดุของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบ Revenue Sharing ที่ 5% เหมือนกับปีก่อน
เฮสั้นๆไปก่อน! กรมธนารักษ์ตกลงเก็บค่าเช่าที่ AOT อัตราเดิมถึงสิ้นปีงบประมาณ
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดเผยว่า จากการหารือกับกรมธนารักษ์ในวันนี้ อธิบดีกรมธนารักษ์ระบุว่าจากเดิมที่จะปรับขึ้นค่าเช่าใช้พื้นที่ราชพัสดุในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) ที่ปัจจุบันเก็บอยู่ 5% เปลี่ยนมาใช้รูปแบบผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ซึ่งจะให้เก็บจากเฉพาะการใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์เท่านั้น ทำให้บริษัทไม่กังวลที่การปรับขึ้นค่าเช่าจะกระทบกับผู้โดยสาร
ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ให้เหตุผลการเก็บค่าเช่าใช้พื้นที่ราชพัสดุรูปแบบ ROA เพราะจะเป็นบรรทัดฐานในการเก็บค่าเช่าพื้นที่ราชพัสดุกับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ โดยปัจจุบันรายได้ของทั้ง 6 ท่าอากาศยานเป็นรายได้จากการบิน (AERO) มีสัดส่วน 63% ส่วนรายได้ที่ไม่ใช้จากการบิน (Non-AERO) อยู่ที่ 47%
โดยหลังจากนี้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อกำหนดเขตพื้นที่ใดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์นอกเหนือพื้นที่ที่คิงเพาเวอร์เช่าอยู่และจะหมดสัญญาในปี 62 คาดว่าไม่น่าจะปรับขึ้นระหว่างทางได้ ส่วนนอกพื้นที่ที่เตรียมจะทำโครงการ Airport City มีประมาณ 700 ไร่ ขณะที่ต้องชี้วัดให้ชัดเจนในเขตพื้นที่แนวร่อนการบิน อาทิ รันเวย์ที่ทางด้านซ้ายและขวาต้องเป็นพื้นที่โล่ง 150 เมตร เป็นต้น
"วันนี้เราสบายใจแล้ว เหมือนยกภูเขาออกจากอกแล้วที่ไม่ต้องไปขึ้นค่า PSC จะกระทบกับการท่องเที่ยวหรือเปล่า เพราะจากเดิมที่จะต้องปรับขึ้นค่า Revenue Sharing แต่ตอนนี้ไม่ปรับแล้ว และเปลี่ยนไปใช้แบบ ROA ที่ใช้เฉพาะกับ Non-Aero " นายนิตินัย กล่าว
ทั้งนี้คาดว่าการจัดทำขอบเขตพื้นที่เชิงพาณิชย์และอัตราการเก็บแบบ ROA น่าจะแล้วเสร็จพร้อมกับการแก้ไขข้อตกลงการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุในไตรมาส 3 ของปีนี้ ดังนั้น ในงวดปี 60 (ต.ค.59-ก.ย.60) AOT ยังคงจ่ายค่าเช่าพื้นที่ราชพัสดุของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบ Revenue Sharing ที่ 5% เหมือนกับปีก่อน