สวัสดีเพื่อนๆพี่ทุกคนครับ
ทุกคนคิดว่าการเรียนครูนอกจากจะต้องเรียนหนัก ยังต้องฝึกประสบการณ์วิชาชีพอีก 1 ปี เมื่อจบออกมา ยังต้องมีการสอบแข่งขันในกรณีต่างๆอีก เพื่อที่จะได้เป็นครู / ข้าราชการครูในสังกัดต่างๆ ผมเชื่อว่า 70%-80% ของคนเรียนครู ย่อมต้องอยากเป็นครูนะครับ ไม่งั้นคงไม่มีใครกล้าจะยอมเรียน 5 ปีหรอก ในขณะที่คนอื่นเรียนจบหางานกันแล้ว เรายังฝึกสอนอยู่ในโรงเรียนอยู่เลย (แต่เพื่อนที่จบ4ปีบอกว่าเรียนแหละดีแล้วเพราะโลกทำงานมันโหดร้ายมากๆ 5555+) และแน่นอนว่าเป้าหมายสูงสุดของคนจะเป็นครูคือการสอบบรรจุเข้ารับราชการครู ให้ได้ !!!!!
ตัวผมเองเป็นลูกคนเดียวและก็ต้องการความมั่นคงในชีวิตระยะยาว ความกดดันต่างๆมันก็เยอะ แน่นอนว่าเป้าหมายของผมก็เหมือนๆกับคนที่เรียนครูแหละครับ
ผมเลยอยากจะเผยแพร่หรือแนะแนวก็ได้ครับ สำหรับ ว่าที่คุณครูทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น น้องๆปี 5 ที่กำลังจะจบการศึกษา แล้วยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการสอบเลย หรือ คุณครูทุกท่านที่อยากจะเป็นข้าราชการครู ให้ได้รู้เป็นต้นตั้งแต่ 0-10 ว่าเตรียมตัวยังไง
ลองดูวิธีของผมครับ
1.ทำความเข้าใจกับการสอบก่อน
ปัจจุบันการสอบเพื่อรับเข้าเป็นข้าราชการครูมีหลายสังกัด ทั้ง สพฐ กทม หรือ ท้องถิ่น ....เราควรจะเลือกว่าสิ่งไหนที่คิดว่าเหมาะสมกับเรา โดยการหาข้อมูลครับ หายังไง ตามเพจต่างๆใน Facebook website ต่างๆมีมากมายเลย แนะนำแบบครบจบในทีเดียวก็ ครูวันดี.com ครับ โดยทั่วไปเราจะสอบ 3 ภาค ซึ่งไม่แตกต่างกันมากมาย คือ
ภาค ก. วิชาความสามารถทั่วไป-วิชาความรอบรู้ -วิชาอุมดมการณ์ความเป็นครู 150 คะแนน
ภาค ข. วิชาการศึกษา และ วิชาชีพเฉพาะ/วิชาเอกที่เราเรียนมา 150 คะแนน
ภาค ค. ความเหมาะสมสำหรับตำแหน่ง ง่ายๆ คือ สัมภาษณ์ 50 คะแนน
******โดยแต่ละภาคต้องมีคะแนน ผ่าน 60% ขึ้นไปจึงจะมีชื่อติดบัญชี********
ปล.จะมีรอบของครูคืนถิ่นที่สอบ 3 วิชานะครับ คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (คล้ายๆ GAT เชื่อมโญงเลย)
ซึ่งของครูคืนถิ่น จะคัดเอาคนเก่งที่มีเกรด 3.00+ ขึ้น ได้แก่ วิชาเอก 3.00+ วิชาชีพครู 3.00+ และ เกรดเฉลี่ยสะสม 3.00+ ครับจึงจะมีสิทธิ์สอบ ไม่มีขึ้นบัญชี เอาเฉพาะคนที่สอบได้แล้วได้รับการบรรจุทันทีครับ (ปัจจุบันรอบ 60 ไม่แน่ใจน่าจะให้แต่ ปี5 ที่กำลังจะจบได้สอบนะครับ)
2.เลือกหนังสือที่เป็น "สรุป"
เมื่อเรารู้ข้อมูลโดยประมาณแล้ว ว่าเราต้องอ่านอะไรบ้าง ผมแนะนำว่าให้ซื้อหนังสือที่เป็น
สรุป ก่อน เพราะตัวนั้นจะมีทั้ง ภาค ก. และ ข. ครบจบในเล่มเดียว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แนะนำของสำนัก Think beyond และ Hi-end ย้ำว่าเอาเล่มที่เป็น สรุปนะครับ และ อย่าลืม วิชาเอกที่เราจะสอบด้วย เช่น สังคม ไทย คณิต หาซื้อได้ทั่วไป แต่ถ้าอยากประหยัดก้ โหลด จาก สทศ. ที่เป็น O-net มาครับ เพราะ ข้อสอบครูมักจะออกแนววิเคราะห์แบบ O-net เลย ทั้งของ ม.3 และ ม.6 โหลดได้จากเว็บ สทศ.
http://www.niets.or.th/examdownload/ เมื่อได้แล้ว เราก็ไปสู่กระบวนการข้อต่อไปครับ
3.ติวเตอร์
ทำไมเาต้องติว อ่านเองได้มั้ย? ตอบครับ ได้ แต่การติวจะช่วยให้เรารู้แนวสำหับการสอบครับ ว่า มันมีการสอบอะไรบ้าง และที่ผมให้ซื้อหนังสือแยยสรุปเอาไว้ก่อนนั้นเพราะ สำนักติวต่างๆ เค้ามีหนังสือรอให้คุรอ่านเรียบร้อย พร้อมติวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อครับ ได้ทั้งติว ได้ทั้งหนังสืออ่านสอบ แถมได้ แนวมาสอบเยอะแยะไปหมด การติวอาจช่วยเราได้แค่ประมาณ 20-30% ครับ ที่เหือเราต้องเข้าใจ เพราะ
ข้อสอบไม่ได้ออกตามติวเตอร์ครับ แต่การไปเพื่อทำให้เรารู้แนว ได้ความรู้ ได้หนังสือ ได้เหตุการณ์สำคัญๆต่างๆในการสอบ และที่สำคัญ ควรจะบันทึกเสียงไว้ด้วยเพื่อกันพลาด หรือ ยังไม่เข้าใจ เมื่อเราผ่านการติวแล้ว ขอนำไปสู่ข้อที่ 4 เลยครับ
4.จัดลำดับการอ่านหนังสือสอบ
ผมแนะนำให้อย่างนี้เลยครับ ผมจะอ่านแบบนี้
4.1 วิชาเอก
เราสามารถหาได้จากร้านหนังสือทั่วไปได้เลย ถ้าใครอยู่กทม. แถว ม.ราม1 ก็เป็นทางเลือกที่ดีครับเพราะมีแทบจะทุกวิชาเอก หรือไม่สะดวก 5 วิชาหลักก็สามารถหาโหลดได้จาก เว็บ สทศ. และ ตามเว็บไซด์อื่นๆอีกเยอะแยะเลย
4.2 ความสามารถทั่วไป (คณิตเน้นๆเยอะๆ)
ที่ให้ทบทวนรองลงมาจากวิชาเอกเพราะ คนเราจะไปตกม้าตายที่ คณิตศาสตร์ครับ สัดส่วนประมาณ 10-15 ข้อ จาก 50 ข้อ ซึ่งเยอะมากๆผมเองก็ตกม้าตายเหมือนกัน(กา ค. ดิ่งยาวเลย 10 ข้อ) ส่วนใหญ่ข้อสอบไม่พ้น หัวงู หัวหมา หัวแมว ขาไก่ ขาหมา ขาแมว โต๊ะจีนใครนั่งกับใคร คอนโดใครอยู่ใก้ลใครไม่ถูกกับใคร อนุกรมเน้นๆเลยครับ อลงทำสัก อนุกรม 2-3 ชั้น เพราะ ข้อสอบยากมาก ความน่าจะเป็น อุปมาอุปไม ประมาณนี้ครับ ภาษาไทยก็ทั่วๆไปกลางๆ และ ภาาอังกฤษ ก็กลางๆครับ หัดทำโจทย์คณิตฯบ่อยๆดีที่สุด
4.3 กฏหมาย พอสังเขปให้เรารู้และเข้าใจ
จริงๆแล้ว กฏหมายกับความรอบรู้จะรวมอยู่ใน 50 ข้อ ให้เราลองไปจำ กฏหมายการศึกษา ต่างๆ ไว้จะดีครับ ปีนี้เน้นอะไ อย่างปีที่ผ่านมา ออก ม.44 เยอะครับ กฏหมายแทบจะไม่มีเลย ประมาณ 3-5 ข้อ เพราะฉะนั้นแค่เราจำไปก็พอครับ ไม่ต้องอ่านเอาเป็นเอาตาย สุดท้ายออกนิดเดียว
4.4 ความรอบรู้ ติดตามข่าวสารอย่างน้อย 3 เดือนย้อนหลัง
ตัวนี้ออกเยอะครับ จะเน้นออก นโยบายต่างๆ ม.44 ขอ นายกฯ เน้นติดตามข่าวสารครับ อย่างน้อยๆ ทุกวันศุกร์ควรดูลุงตู่พบประาชนครับ เน้นข่าวที่ดังๆ 3 เดือนให้หลัง เพราะ พวกนี้จะออกข้อสอบท้ายสุด ต้องทันเหตุการณ์และใหม่ที่สุด (รอบ 1/59 ออก โปเกมอนโก) ประมาณนี้ครับ ไม่แน่รอบ 1/60 อาจจะออก วัดพระธรรมกาย ก็ได้ครับ!!! 5555+
4.5 วิชาชีพครู
เป็นวิชาที่ง่ายที่สุดใน ภาค ก. ครับ อ่านไปให้ขึ้นใจเลย ให้เรามีความรู้เกี่ยวกับ จรรยบรรณครูเยอะๆ ข้อสอบแนว วิเคราะห์แต่ไม่ยากครับ เราสามารถเก็บคะแนนได้จาก วิชานี้แหละ
4.6 วิชาการศึกษา
ที่ให้อ่านสุดท้ายเพราะ เนื้อหามันตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงครับ ก็ไม่มีอะไรมาก จะเน้น ทฤษฎีต่างๆ ของนักวิทย์ การจัดการเรียนรู้ รูปแบบการสอน และ
งานวิจัย ( CIPPA model นี่ออกบ่อย ชอบถามความหมายของแต่ละตัว)
4.7 ส่วนของครูคืนถิ่นนะครับ อ่านภาาอังกฤษเยอะๆ แนะนำให้ อ่านเป็นแบบ reading และหัดจับใจความสำคัญ หัดเขียน writing บ่อยๆ เพราะรอบที่ผ่านมา เจอข้อสอบ writing
5.แบ่งเวลาในการอ่านหนังสือและทบทวนครับ
ตอนระหว่างผมรองานนั้นผมแบ่งเวลาอ่านดังนี้
จันทร์-เสาร์ 10.00 - 12.00 อ่านหนังสือ
12.00 - 13.30 พักผ่อนครับ กินข้าว ดูหนัง ฟังเพลง
13.30 - 16.30 อ่านหนังสือ
16.30 - 19.30 พักผ่อนครับ ทำภารกิจของตัวเองให้เสร็จสิ้นทั้งหมด กินข้าว อาบน้ำ ประมาณนี้
20.00 - 21.30 อ่านหนังสือ
วันอาทิตย์ เป็นวันที่สมองเราจะได้พักผ่อนครับ เพราะเราอ่านมาเยอะแล้ว เราควรจะพักสมองครับ อยากทำอะไรวันนี้ได้เลย หนึ่งวัน!!! 5555+
หลังจากนั้นไม่เกิน 22.30 ก็พักผ่อนครับ อย่างน้อยๆให้สมองเราได้พัก 7-8 ชม. ในการนอนก็ยังดี
***สำหรับคนที่ต้องทำงาน จันทร์-ศุกร์ ก็ ควรอ่านอย่างน้อย สัก 3 ชั่วโมงครับ เช่น อ่าน 20.00 - 23.00 พอแล้ว ส่วนวันเสาร์ก็ใช้สูตรแบบด้านบน
***สำหรับคนที่ได้หยุดพัก 1 วัน/สัปดาห์ ก็ อ่านวันล่ะ 3 ชั่วโมงก็ได้ครับ ค่อยๆทบทวนไป มีวันว่างหนึ่งก็อาจจะอ่านสักครึ่งวัน หรือ พักผ่อนครับ
เพราะคนทำงานก็เหนื่อยแล้ว พอหักโหมอ่านหนังสือยิ่งหนักครับ ควรแบ่งเลาให้สมองได้พักผ่อน และร่างกายได้ฟื้นตัวเร็วๆ และ ควรนอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง สำหรับคนที่ทำงาน และ ต้องอ่านหนังสือสอบครับ
6.เริ่มอ่านสอบ
เมื่อเราแบ่งเวลาแล้ว ก็ทำการหาจุดสำคัญๆแล้วไฮไลท์ไว้ก่อน 1 ครั้ง ทุกวิชาที่เราอ่าน โดยอ่านให้จบเป็นวิชาๆไปนะครับ ไม่งั้นตีกันอิลุงตุงนัง
จากนั้น ก็อ่านแบบจริงๆจังครับ พร้อมทำข้อสอบไปพลางๆให้เราได้รู้แนวบ้าง เมื่ออ่านผ่านๆไป 1 รอบครบทุกวิชา อ่านแบบจริงจัง 1 รอบครบทุกวิชา ทีนี้เราเตรียมสมุดไว้ แต่ล่ะวิชาเลยครับ เพราะนำมาสรุป และจดบันทึกเป็นการอ่านแบบของเราเองเลย เมื่อสรุปครบ ก็เริ่มอ่านจากที่เราสรุปลงสมุดนั่นแหละครับอีก 1 รอบ
สรุปคือ อ่านผ่านๆ 1 รอบ
ไฮไลท์จุดสำคัญ 1 รอบ
อ่านจริงๆจังๆ 1 รอบ
สรุปลสมุด 1 รอบ
จะได้ทั้งหมด 4 รอบครับ ซึ่ง การสรุป หรือ ไฮไลท์ ก็เท่ากับเราอ่านไปแล้วครับ เพื่อเราจะได้เข้าใจมากขึ้นครับ
7.ทำข้อสอบ
เมื่อเราคิดว่าเราเชี่ยวชาญพอแล้ว ก็ทีนี้โค้งเกือสุดท้ายก่อนจะลงสนามสอบ ก็หาข้อสอบมาทำเลยครับ เอาข้อสอบเพียวๆมาทำเลย แนะนำว่า หาข้อสอบแนวคิดวิเคราะห์เยอะๆ จากเว็บไซด์ที่แชร์ๆกนมา (แต่ดูพ.ศ.ด้วยนะครับ) หรือหนังสือแนวข้อสอบต่างๆ เช่น หนังสือสำนัก hi-ed ครับ โอเคเลยสำหรับผมนะ เพราะข้อสอบมันกลางๆออกแนววิเคราะห์ให้เราด้วย ทีนี้ก็ทำเลยครับ ทำให้ครบทุกวิชาเลย แล้วต้องทำให้ได้อย่างน้อย 60% ขึ้นไปครับ ถ้าเกิน 60 แสดงว่าเราเข้าใจในเนื้อหาแล้ว ยิ่งได้สัก 70-75 ยิ่งดีครับ
8.ลงติวกับติวเตอร์รอบสุดท้าย
ทำไมต้องติวอีก บางคนอาจไม่ติวก็ได้ครับ แต่สำหรับผม ติวเพื่อไปเก็บข้อมูลครั้งสุดก่อนสอบสัก 1 สัปดาห์ครับ เพราะบางทีข้อมูลสำคัยๆหลายๆอย่างมันอยู่ที่การติวครั้งสุดท้ายนี่แหละครับ ซึ่ง แต่ละสำนักก็เปิดกันเยอะแยะ เพื่อนๆหาไม่ยากครับ // แต่ถ้าใครไม่ติวก็ทบทวนที่มีอย่แล้วก็พอครับ
เพราะบางครั้งมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการติวแล้วเราจะขึ้นบัญชีสอบได้ อยู่ที่เราล้วนๆเลยครับ ต้องมีวินัยในตนเอง "ห้ามขี้เกียจ"
9.ก่อนสอบ 1 วัน ก็พักผ่อนครับ 5555+
10.การเลือกสนามสอบและการสมัครสอบ
โดยปกติแล้วเค้าจะมีสนามสอบแต่ล่ะจังหวัดมาให้เราได้ลองเลือกดูครับว่า ที่ไหนเปิดสอบบ้าง รับกี่อัตรา ก่อนวันสมัครประมาณ 1-2 สัปดาห์(จำไม่ได้ถ้าผิดยังไงขออภัยครับ)
10.1 ศึกษาสถานที่ที่เปิดสอบก่อนว่า มีที่ไหนเปิดบ้างแล้วรับกี่อัตรา ดูจำนวนโณชรงเรียน แต่ล่ะที่ว่ามีมากน้อยเพียงใด แล้วอัตราในการเรียกบรรจุมากน้อยแค่ไหน
10.2 ควรเลือกจังหวัด/ที่สอบที่มีคนไปสมัครน้อยๆ เพราะ คู่แข่งเราน้อย อัตราการแข่งก็น้อยตาม // หรือ เลือกที่อัตรารับเยอะ คนสอบเยอะ แต่อัตราการเรียกบรรจุสูงมาก เช่น กทม. รับ 69 คน คนสอบ 2000 เฉลี่ยแล้ว เราแข่งกับคนแค่ 28-29 คนเอง ในขณะที่บางที่รับเยอะคนสอบน้อย แต่ อัตราเรียกน้อยก็อาจจะอดได้หากเราสอบติดบัญชีไว้ เลือกจังหวัดที่เด่นๆแล้วมีอัตราสูงๆครับ จะดีที่สุด
10.3 ปกติแล้วการรับสมัครจะรับสมัคร 7 วัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งเป็นไปได้ว่าคนจะแห่ไปสมัครวันแรกครับ แล้วแต่ล่ะที่จำนวนจะสูงมาก ให้เราไปสมัคร 3-4 วันสุดท้ายครับคือ เช่นถ้าสมัคร จ.-อา. ให้เราไปสมัครสัก พฤ.-ส. (วันสุดท้ายไม่แนะนำนะเพราะหากเราพลาดเอกสารอาจจะไม่ได้สอบ) เพื่ออะไรครับ เพื่อดูอัตราคนสมัครแต่ล่ะที่ๆเขาเปิดรับว่า มันลดลงจากวันแรกมากมมั้ย หรือ คงที่ หรือเพิ่มมากขึ้น (เหมือนกรณีศึกษา เอกสังคม นครปฐมคนสมัครวันแรก 200 วันต่อๆมาก็ 200 สรุป ยอดรวมเอกเดียว 2400 เราก็ไม่ควรไปนะครับ) ควรจะหาที่สมัครที่ง่ายต่อเรา คนไม่เยอะมาก
10 ข้อนี้ คงเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองในการสอบบรรจุเพื่อรับราชการครูได้นะครับ ผมหวังอย่างยิ่งว่าจะช่วยได้ไม่มากก็น้อย
ปล. ผมไม่ได้เก่งหรืออะไรครับ แค่มีความพยายามและตั้งเป้าหมายของตัวเองไว้เท่านั้นเอง เราอาจจะยอมลำบากไม่ได้ไปไหนต่อไหนครับ แต่พอวันประกาศผลแล้วเราสอบติด เราและครอบครัวดีใจกันมาก ยิ่งได้จดหมายเรียกตัวไปบรรจุ วันนั้นแหละครับ ลองดู สีหน้าพ่อ-กับแม่เราที่ได้เห็นเรามีหน้าที่การงานที่มั่นคงแล้ว เราจะรู้ว่า ที่เราเหนื่อยมานั้นมันคุ้มค่ามากจริงๆครับ
เคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วยให้ผ่านในรอบเดียว
ตัวผมเองเป็นลูกคนเดียวและก็ต้องการความมั่นคงในชีวิตระยะยาว ความกดดันต่างๆมันก็เยอะ แน่นอนว่าเป้าหมายของผมก็เหมือนๆกับคนที่เรียนครูแหละครับ
ผมเลยอยากจะเผยแพร่หรือแนะแนวก็ได้ครับ สำหรับ ว่าที่คุณครูทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น น้องๆปี 5 ที่กำลังจะจบการศึกษา แล้วยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการสอบเลย หรือ คุณครูทุกท่านที่อยากจะเป็นข้าราชการครู ให้ได้รู้เป็นต้นตั้งแต่ 0-10 ว่าเตรียมตัวยังไง
ลองดูวิธีของผมครับ
1.ทำความเข้าใจกับการสอบก่อน
ปัจจุบันการสอบเพื่อรับเข้าเป็นข้าราชการครูมีหลายสังกัด ทั้ง สพฐ กทม หรือ ท้องถิ่น ....เราควรจะเลือกว่าสิ่งไหนที่คิดว่าเหมาะสมกับเรา โดยการหาข้อมูลครับ หายังไง ตามเพจต่างๆใน Facebook website ต่างๆมีมากมายเลย แนะนำแบบครบจบในทีเดียวก็ ครูวันดี.com ครับ โดยทั่วไปเราจะสอบ 3 ภาค ซึ่งไม่แตกต่างกันมากมาย คือ
ภาค ก. วิชาความสามารถทั่วไป-วิชาความรอบรู้ -วิชาอุมดมการณ์ความเป็นครู 150 คะแนน
ภาค ข. วิชาการศึกษา และ วิชาชีพเฉพาะ/วิชาเอกที่เราเรียนมา 150 คะแนน
ภาค ค. ความเหมาะสมสำหรับตำแหน่ง ง่ายๆ คือ สัมภาษณ์ 50 คะแนน
******โดยแต่ละภาคต้องมีคะแนน ผ่าน 60% ขึ้นไปจึงจะมีชื่อติดบัญชี********
ปล.จะมีรอบของครูคืนถิ่นที่สอบ 3 วิชานะครับ คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (คล้ายๆ GAT เชื่อมโญงเลย)
ซึ่งของครูคืนถิ่น จะคัดเอาคนเก่งที่มีเกรด 3.00+ ขึ้น ได้แก่ วิชาเอก 3.00+ วิชาชีพครู 3.00+ และ เกรดเฉลี่ยสะสม 3.00+ ครับจึงจะมีสิทธิ์สอบ ไม่มีขึ้นบัญชี เอาเฉพาะคนที่สอบได้แล้วได้รับการบรรจุทันทีครับ (ปัจจุบันรอบ 60 ไม่แน่ใจน่าจะให้แต่ ปี5 ที่กำลังจะจบได้สอบนะครับ)
2.เลือกหนังสือที่เป็น "สรุป"
เมื่อเรารู้ข้อมูลโดยประมาณแล้ว ว่าเราต้องอ่านอะไรบ้าง ผมแนะนำว่าให้ซื้อหนังสือที่เป็น สรุป ก่อน เพราะตัวนั้นจะมีทั้ง ภาค ก. และ ข. ครบจบในเล่มเดียว[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ย้ำว่าเอาเล่มที่เป็น สรุปนะครับ และ อย่าลืม วิชาเอกที่เราจะสอบด้วย เช่น สังคม ไทย คณิต หาซื้อได้ทั่วไป แต่ถ้าอยากประหยัดก้ โหลด จาก สทศ. ที่เป็น O-net มาครับ เพราะ ข้อสอบครูมักจะออกแนววิเคราะห์แบบ O-net เลย ทั้งของ ม.3 และ ม.6 โหลดได้จากเว็บ สทศ. http://www.niets.or.th/examdownload/ เมื่อได้แล้ว เราก็ไปสู่กระบวนการข้อต่อไปครับ
3.ติวเตอร์
ทำไมเาต้องติว อ่านเองได้มั้ย? ตอบครับ ได้ แต่การติวจะช่วยให้เรารู้แนวสำหับการสอบครับ ว่า มันมีการสอบอะไรบ้าง และที่ผมให้ซื้อหนังสือแยยสรุปเอาไว้ก่อนนั้นเพราะ สำนักติวต่างๆ เค้ามีหนังสือรอให้คุรอ่านเรียบร้อย พร้อมติวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อครับ ได้ทั้งติว ได้ทั้งหนังสืออ่านสอบ แถมได้ แนวมาสอบเยอะแยะไปหมด การติวอาจช่วยเราได้แค่ประมาณ 20-30% ครับ ที่เหือเราต้องเข้าใจ เพราะ ข้อสอบไม่ได้ออกตามติวเตอร์ครับ แต่การไปเพื่อทำให้เรารู้แนว ได้ความรู้ ได้หนังสือ ได้เหตุการณ์สำคัญๆต่างๆในการสอบ และที่สำคัญ ควรจะบันทึกเสียงไว้ด้วยเพื่อกันพลาด หรือ ยังไม่เข้าใจ เมื่อเราผ่านการติวแล้ว ขอนำไปสู่ข้อที่ 4 เลยครับ
4.จัดลำดับการอ่านหนังสือสอบ
ผมแนะนำให้อย่างนี้เลยครับ ผมจะอ่านแบบนี้
4.1 วิชาเอก
เราสามารถหาได้จากร้านหนังสือทั่วไปได้เลย ถ้าใครอยู่กทม. แถว ม.ราม1 ก็เป็นทางเลือกที่ดีครับเพราะมีแทบจะทุกวิชาเอก หรือไม่สะดวก 5 วิชาหลักก็สามารถหาโหลดได้จาก เว็บ สทศ. และ ตามเว็บไซด์อื่นๆอีกเยอะแยะเลย
4.2 ความสามารถทั่วไป (คณิตเน้นๆเยอะๆ)
ที่ให้ทบทวนรองลงมาจากวิชาเอกเพราะ คนเราจะไปตกม้าตายที่ คณิตศาสตร์ครับ สัดส่วนประมาณ 10-15 ข้อ จาก 50 ข้อ ซึ่งเยอะมากๆผมเองก็ตกม้าตายเหมือนกัน(กา ค. ดิ่งยาวเลย 10 ข้อ) ส่วนใหญ่ข้อสอบไม่พ้น หัวงู หัวหมา หัวแมว ขาไก่ ขาหมา ขาแมว โต๊ะจีนใครนั่งกับใคร คอนโดใครอยู่ใก้ลใครไม่ถูกกับใคร อนุกรมเน้นๆเลยครับ อลงทำสัก อนุกรม 2-3 ชั้น เพราะ ข้อสอบยากมาก ความน่าจะเป็น อุปมาอุปไม ประมาณนี้ครับ ภาษาไทยก็ทั่วๆไปกลางๆ และ ภาาอังกฤษ ก็กลางๆครับ หัดทำโจทย์คณิตฯบ่อยๆดีที่สุด
4.3 กฏหมาย พอสังเขปให้เรารู้และเข้าใจ
จริงๆแล้ว กฏหมายกับความรอบรู้จะรวมอยู่ใน 50 ข้อ ให้เราลองไปจำ กฏหมายการศึกษา ต่างๆ ไว้จะดีครับ ปีนี้เน้นอะไ อย่างปีที่ผ่านมา ออก ม.44 เยอะครับ กฏหมายแทบจะไม่มีเลย ประมาณ 3-5 ข้อ เพราะฉะนั้นแค่เราจำไปก็พอครับ ไม่ต้องอ่านเอาเป็นเอาตาย สุดท้ายออกนิดเดียว
4.4 ความรอบรู้ ติดตามข่าวสารอย่างน้อย 3 เดือนย้อนหลัง
ตัวนี้ออกเยอะครับ จะเน้นออก นโยบายต่างๆ ม.44 ขอ นายกฯ เน้นติดตามข่าวสารครับ อย่างน้อยๆ ทุกวันศุกร์ควรดูลุงตู่พบประาชนครับ เน้นข่าวที่ดังๆ 3 เดือนให้หลัง เพราะ พวกนี้จะออกข้อสอบท้ายสุด ต้องทันเหตุการณ์และใหม่ที่สุด (รอบ 1/59 ออก โปเกมอนโก) ประมาณนี้ครับ ไม่แน่รอบ 1/60 อาจจะออก วัดพระธรรมกาย ก็ได้ครับ!!! 5555+
4.5 วิชาชีพครู
เป็นวิชาที่ง่ายที่สุดใน ภาค ก. ครับ อ่านไปให้ขึ้นใจเลย ให้เรามีความรู้เกี่ยวกับ จรรยบรรณครูเยอะๆ ข้อสอบแนว วิเคราะห์แต่ไม่ยากครับ เราสามารถเก็บคะแนนได้จาก วิชานี้แหละ
4.6 วิชาการศึกษา
ที่ให้อ่านสุดท้ายเพราะ เนื้อหามันตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงครับ ก็ไม่มีอะไรมาก จะเน้น ทฤษฎีต่างๆ ของนักวิทย์ การจัดการเรียนรู้ รูปแบบการสอน และ
งานวิจัย ( CIPPA model นี่ออกบ่อย ชอบถามความหมายของแต่ละตัว)
4.7 ส่วนของครูคืนถิ่นนะครับ อ่านภาาอังกฤษเยอะๆ แนะนำให้ อ่านเป็นแบบ reading และหัดจับใจความสำคัญ หัดเขียน writing บ่อยๆ เพราะรอบที่ผ่านมา เจอข้อสอบ writing
5.แบ่งเวลาในการอ่านหนังสือและทบทวนครับ
ตอนระหว่างผมรองานนั้นผมแบ่งเวลาอ่านดังนี้
จันทร์-เสาร์ 10.00 - 12.00 อ่านหนังสือ
12.00 - 13.30 พักผ่อนครับ กินข้าว ดูหนัง ฟังเพลง
13.30 - 16.30 อ่านหนังสือ
16.30 - 19.30 พักผ่อนครับ ทำภารกิจของตัวเองให้เสร็จสิ้นทั้งหมด กินข้าว อาบน้ำ ประมาณนี้
20.00 - 21.30 อ่านหนังสือ
วันอาทิตย์ เป็นวันที่สมองเราจะได้พักผ่อนครับ เพราะเราอ่านมาเยอะแล้ว เราควรจะพักสมองครับ อยากทำอะไรวันนี้ได้เลย หนึ่งวัน!!! 5555+
หลังจากนั้นไม่เกิน 22.30 ก็พักผ่อนครับ อย่างน้อยๆให้สมองเราได้พัก 7-8 ชม. ในการนอนก็ยังดี
***สำหรับคนที่ต้องทำงาน จันทร์-ศุกร์ ก็ ควรอ่านอย่างน้อย สัก 3 ชั่วโมงครับ เช่น อ่าน 20.00 - 23.00 พอแล้ว ส่วนวันเสาร์ก็ใช้สูตรแบบด้านบน
***สำหรับคนที่ได้หยุดพัก 1 วัน/สัปดาห์ ก็ อ่านวันล่ะ 3 ชั่วโมงก็ได้ครับ ค่อยๆทบทวนไป มีวันว่างหนึ่งก็อาจจะอ่านสักครึ่งวัน หรือ พักผ่อนครับ
เพราะคนทำงานก็เหนื่อยแล้ว พอหักโหมอ่านหนังสือยิ่งหนักครับ ควรแบ่งเลาให้สมองได้พักผ่อน และร่างกายได้ฟื้นตัวเร็วๆ และ ควรนอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง สำหรับคนที่ทำงาน และ ต้องอ่านหนังสือสอบครับ
6.เริ่มอ่านสอบ
เมื่อเราแบ่งเวลาแล้ว ก็ทำการหาจุดสำคัญๆแล้วไฮไลท์ไว้ก่อน 1 ครั้ง ทุกวิชาที่เราอ่าน โดยอ่านให้จบเป็นวิชาๆไปนะครับ ไม่งั้นตีกันอิลุงตุงนัง
จากนั้น ก็อ่านแบบจริงๆจังครับ พร้อมทำข้อสอบไปพลางๆให้เราได้รู้แนวบ้าง เมื่ออ่านผ่านๆไป 1 รอบครบทุกวิชา อ่านแบบจริงจัง 1 รอบครบทุกวิชา ทีนี้เราเตรียมสมุดไว้ แต่ล่ะวิชาเลยครับ เพราะนำมาสรุป และจดบันทึกเป็นการอ่านแบบของเราเองเลย เมื่อสรุปครบ ก็เริ่มอ่านจากที่เราสรุปลงสมุดนั่นแหละครับอีก 1 รอบ
สรุปคือ อ่านผ่านๆ 1 รอบ
ไฮไลท์จุดสำคัญ 1 รอบ
อ่านจริงๆจังๆ 1 รอบ
สรุปลสมุด 1 รอบ
จะได้ทั้งหมด 4 รอบครับ ซึ่ง การสรุป หรือ ไฮไลท์ ก็เท่ากับเราอ่านไปแล้วครับ เพื่อเราจะได้เข้าใจมากขึ้นครับ
7.ทำข้อสอบ
เมื่อเราคิดว่าเราเชี่ยวชาญพอแล้ว ก็ทีนี้โค้งเกือสุดท้ายก่อนจะลงสนามสอบ ก็หาข้อสอบมาทำเลยครับ เอาข้อสอบเพียวๆมาทำเลย แนะนำว่า หาข้อสอบแนวคิดวิเคราะห์เยอะๆ จากเว็บไซด์ที่แชร์ๆกนมา (แต่ดูพ.ศ.ด้วยนะครับ) หรือหนังสือแนวข้อสอบต่างๆ เช่น หนังสือสำนัก hi-ed ครับ โอเคเลยสำหรับผมนะ เพราะข้อสอบมันกลางๆออกแนววิเคราะห์ให้เราด้วย ทีนี้ก็ทำเลยครับ ทำให้ครบทุกวิชาเลย แล้วต้องทำให้ได้อย่างน้อย 60% ขึ้นไปครับ ถ้าเกิน 60 แสดงว่าเราเข้าใจในเนื้อหาแล้ว ยิ่งได้สัก 70-75 ยิ่งดีครับ
8.ลงติวกับติวเตอร์รอบสุดท้าย
ทำไมต้องติวอีก บางคนอาจไม่ติวก็ได้ครับ แต่สำหรับผม ติวเพื่อไปเก็บข้อมูลครั้งสุดก่อนสอบสัก 1 สัปดาห์ครับ เพราะบางทีข้อมูลสำคัยๆหลายๆอย่างมันอยู่ที่การติวครั้งสุดท้ายนี่แหละครับ ซึ่ง แต่ละสำนักก็เปิดกันเยอะแยะ เพื่อนๆหาไม่ยากครับ // แต่ถ้าใครไม่ติวก็ทบทวนที่มีอย่แล้วก็พอครับ
เพราะบางครั้งมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการติวแล้วเราจะขึ้นบัญชีสอบได้ อยู่ที่เราล้วนๆเลยครับ ต้องมีวินัยในตนเอง "ห้ามขี้เกียจ"
9.ก่อนสอบ 1 วัน ก็พักผ่อนครับ 5555+
10.การเลือกสนามสอบและการสมัครสอบ
โดยปกติแล้วเค้าจะมีสนามสอบแต่ล่ะจังหวัดมาให้เราได้ลองเลือกดูครับว่า ที่ไหนเปิดสอบบ้าง รับกี่อัตรา ก่อนวันสมัครประมาณ 1-2 สัปดาห์(จำไม่ได้ถ้าผิดยังไงขออภัยครับ)
10.1 ศึกษาสถานที่ที่เปิดสอบก่อนว่า มีที่ไหนเปิดบ้างแล้วรับกี่อัตรา ดูจำนวนโณชรงเรียน แต่ล่ะที่ว่ามีมากน้อยเพียงใด แล้วอัตราในการเรียกบรรจุมากน้อยแค่ไหน
10.2 ควรเลือกจังหวัด/ที่สอบที่มีคนไปสมัครน้อยๆ เพราะ คู่แข่งเราน้อย อัตราการแข่งก็น้อยตาม // หรือ เลือกที่อัตรารับเยอะ คนสอบเยอะ แต่อัตราการเรียกบรรจุสูงมาก เช่น กทม. รับ 69 คน คนสอบ 2000 เฉลี่ยแล้ว เราแข่งกับคนแค่ 28-29 คนเอง ในขณะที่บางที่รับเยอะคนสอบน้อย แต่ อัตราเรียกน้อยก็อาจจะอดได้หากเราสอบติดบัญชีไว้ เลือกจังหวัดที่เด่นๆแล้วมีอัตราสูงๆครับ จะดีที่สุด
10.3 ปกติแล้วการรับสมัครจะรับสมัคร 7 วัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งเป็นไปได้ว่าคนจะแห่ไปสมัครวันแรกครับ แล้วแต่ล่ะที่จำนวนจะสูงมาก ให้เราไปสมัคร 3-4 วันสุดท้ายครับคือ เช่นถ้าสมัคร จ.-อา. ให้เราไปสมัครสัก พฤ.-ส. (วันสุดท้ายไม่แนะนำนะเพราะหากเราพลาดเอกสารอาจจะไม่ได้สอบ) เพื่ออะไรครับ เพื่อดูอัตราคนสมัครแต่ล่ะที่ๆเขาเปิดรับว่า มันลดลงจากวันแรกมากมมั้ย หรือ คงที่ หรือเพิ่มมากขึ้น (เหมือนกรณีศึกษา เอกสังคม นครปฐมคนสมัครวันแรก 200 วันต่อๆมาก็ 200 สรุป ยอดรวมเอกเดียว 2400 เราก็ไม่ควรไปนะครับ) ควรจะหาที่สมัครที่ง่ายต่อเรา คนไม่เยอะมาก
ปล. ผมไม่ได้เก่งหรืออะไรครับ แค่มีความพยายามและตั้งเป้าหมายของตัวเองไว้เท่านั้นเอง เราอาจจะยอมลำบากไม่ได้ไปไหนต่อไหนครับ แต่พอวันประกาศผลแล้วเราสอบติด เราและครอบครัวดีใจกันมาก ยิ่งได้จดหมายเรียกตัวไปบรรจุ วันนั้นแหละครับ ลองดู สีหน้าพ่อ-กับแม่เราที่ได้เห็นเรามีหน้าที่การงานที่มั่นคงแล้ว เราจะรู้ว่า ที่เราเหนื่อยมานั้นมันคุ้มค่ามากจริงๆครับ