ดูตรงไหนคะว่าเค้าเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ให้เราแล้วจริงๆ (Honda City 2015)

เพิ่งเข้าศูนย์ไปเช็คระยะ 40000 โล (2ปี) มา แต่จริงๆเราวิ่งไป 14000 โล
Honda City 2015 เกียร์ออโต้

ในลิสต์รายการที่จ่ายตังไป มีเขียนว่า น้ำมัน CVTF Thailand

ไปเซิจมา มันคือน้ำมันเกียร๋ใช่ไหมคะ

ตอนรับรถเค้าเปิดฝากระโปรงให้ดู แต่ไม่มีชี้น้ำมันเกียร์
ตอนนั้นก็ลืม

อยากจะลองเช็คดูเองอะค่ะว่า เค้าได้เปลี่ยนหรือใส่ น้ำมัน CVTF Thailand อะไรนั่นให้เราจริงไหม

ดูยังไงได้บ้างคะ

ขอบคุณมากๆค่า
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
โดยปกติ มันน่าจะมีก้านวัดน้ำมันเกียร์ให้นะครับ ซึ่งน่าจะก้านสีเหลือง ซ่อน ๆ อยู่ด้านล่าง ๆ นั่นเหละครับ

การเข้าศูนย์ มันมี 2 แบบครับ คือ ดูที่ระยะเวลา (เดือน) หรือ ดูที่ระยะทาง (กิโลเมตร) อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมาถึงก่อน

นั่นหมายความว่า เราจะต้องเข้าเช็คระยะ ทุก ๆ 6 เดือน หรือ ทุก ๆ 10,000 กม (อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมาถึงก่อน) เช่น หากเราใช้รถน้อยมาก ขับไป 6 เดือน เพิ่งวิ่งไป 5,000 กม อย่างนี้ ต้องเข้าเช็คระยะที่ระยะเวลา นั่นคือ ครบ 6 เดือน โดยที่ไม่ต้องไปสนกับระยะทาง เพราะ ระยะเวลามันถึงก่อน

แต่ถ้าเราวิ่งเยอะมาก เช่น 2 เดือน วิ่งไป 10,000 กม อันนี้ ก็ต้องเข้าศูนย์ตามระยะทาง โดยที่ไม่ต้องไปดูที่ระยะเวลา เนื่องจากมันยังไม่ถึง 6 เดือน แต่ระยะทางเราถึงแล้ว ก็ต้องเข้าตามระยะทางครับ

จากที่คุณ คห ที่ 1 บอกนะครับว่า รถวิ่งไปแค่นี้ ศูนย์ยังอยากให้เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ เจ๋งจริง ๆ ผมขออธิบายอย่างนี้ครับ

อย่างแรก ให้ย้อนกลับไปด้านบนที่ผมพิมพ์เกี่ยวกับเรื่อง ระยะทาง กับ ระยะเวลาครับ เพราะทางบริษัทเขากำหนดไว้อยู่แล้วครับ ไม่ว่ายี่ห้อไหน ก็กำหนดแบบนี้เหมือนกันหมดครับ ไม่ใช่แต่เพียง HONDA ครับ

แล้วแน่นอน คุณก็อาจอยากรู้ว่า แล้วทำไมรถวิ่งน้อย ยังต้องรีบเปลี่ยนหละ HONDA กำหนดเปลี่ยนถ่ายไว้ที่ ทุก 40,000 กม หรือ ทุก ๆ 2 ปี ซึ่งตรงนี้ เข้าเงื่อนไข ครบกำหนด 2 ปี ยืดไปไม่ได้หรอ

ผมจะอธิบายแบบนี้นะครับ

รถวิ่งน้อย เรามองกันตรงไหนครับ ถามว่า ศูนย์รู้หรือไม่ว่า รถคุณวิ่งน้อย แล้วการวิ่งน้อยของคุณ คุณวิ่งยังไง ดูจากเลขไมล์เท่านั้นเหรอครับ

อย่างรถของ จขกท ใช้ไป 2 ปี วิ่งไป 14,000 กม เท่านั้น เฉลี่ยเดือนละ 583 กม เท่านั้นเอง หรือ เฉลี่ยวันละ 20 กม

สิ่งที่เราไม่รู้ก็คือ ถ้าการที่ ลูกค้าใช้รถวันละ 20 - 50 กม/วัน อาจจะไปติดอยู่บนถนนในกรุงทพ หรือ บนทางด่วนช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ทั้งเช้า ทั้งเย็น ขาไป 2 ชั่วโมง กลับอีก 2 ชั่วโมง แต่ได้ระยะทางแค่นี้ สำหรับรถที่วิ่งในกรุงเทพ

ถามว่า แบบนี้เนี่ย การขับรถในขณะรถติด ๆ น้ำมันเกียร์มันร้อนไหมครับ น้ำมันเครื่องมันร้อนไหมครับ เครื่องยนต์ทำงานตลอดเวลาไหมครับ ในขณะรถติด ทุกอย่างมันก็หมุนเวียนของมันตลอดเวลา แต่สิ่งที่มันไม่ขึ้น นั่นคือ เลขไมล์ไงครับ

เราลืมคิดกันไปว่า เออ รถใช้น้อย บางที อาจจะใช้เวลาในการทำงานของเครื่องยนต์มากกว่ารถวิ่งต่างจังหวัดก็ได้

เช่น ขับในกรุงเทพ อาจจะได้ชั่วโมงละ 10 กม หรือ ชั่วโมงละ 20 กม แต่ถ้าวิ่งชานเมือง หรือ ต่างจังหวัด 1 ชั่วโมง อาจจะได้ถึง 100 กม ซึ่ง ถ้าเราจะดูแค่ระยะทางเทียบกันก็คือ วิ่งในกรุงเทพ กว่าจะได้ 100 กม เครื่องยนต์ เกียร์ ระบบแอร์ การหมุนสายพาน พัดลม หรืออื่น ๆ ต้องทำงาน 5 ชั่วโมง ในขณะที่ ถ้าเราวิ่งต่างจังหวัด 100 กม/ชม เครื่องยนต์ เกียร์ ระบบแอร์ การหมุนสายพาน พัดลม หรืออื่น ๆ ทำงานแค่ 1 ชั่วโมง

ที่ผมอธิบาย เพราะต้องการให้เห็นว่า การใช้รถน้อยมาก ๆ ไม่ควรไปดูแค่เลขไมล์เพียงอย่างเดียว แล้ว เหตุผลที่ ทำไมศูนย์ถึงต้องกำหนด ระยะเวลา กับ ระยะทางเอาไว้ ก็คงเป็นเหตุผลประมาณอย่างที่ผมอธิบายนั่นเหละครับ

ทุกสิ่งทุกอย่าง มันมีอายุของมัน ถึงแม้จะยังไม่เปิดใช้ก็ตามครับ อย่ามองแค่ว่า น้ำมันที่อยู่ในระบบเกียร์หรือเครื่องยนต์ แต่รถวิ่งน้อย มันจะไม่เสื่อมคุณภาพนะครับ

ผมเห็นเวลาคนไปซื้อน้ำมันเครื่อง หรือน้ำมันเกียร์ บางคนดูวันผลิตว่า ทำไมผลิตมาแล้วตั้ง 2 ปีแล้ว ของค้างสต็อกนี่นา บางคนก็ยังไม่ซื้อเลย ทั้ง ๆ ที่มันก็ยังไม่ได้เปิดใช้เลยด้วยซ้ำ นี่เหละครับ ก็เหตุผลเดียวกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่