ชีวิตอับเฉา เข้าโรงพยาบาลที่จีน
วันนี้อับเฉาจะมาแชร์ประสบการณ์การเข้าโรงพยาบาลที่จีนให้เพื่อนๆดูไว้เป็นอุทธาหรณ์ เอ้ย เป็นประสบการณ์กันนะครับ เผื่อเพื่อนๆมีความจำเป็นต้องใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศจีน
Eye & ENT Hospital of Fudan University, Shanghai
โดยเริ่มมาจากอับเฉาเกิดอาการปวดหัวจนนอนไม่หลับมาหลายคืน พักผ่อนไม่พอจนตัดสินใจลางานไปโรงพยาบาล ตอนแรกอับเฉาก็ตั้งใจจะไปโรงพยาบาลฮวาตง 华东医院 ซึ่งมีแผนก International ที่สะอาดสะอ้าน มีคนน้อยกว่า ใช้หมอและยาเดียวกัน และค่าบริการแพงกว่าแต่เนื่องจากเพื่อนร่วมงานแนะนำให้ไป Eye & ENT Hospital of Fudan University โรงพยาบาลเฉพาะด้าน ตา หู คอ จมูก ก็เลยเกิดเป็นที่มาของรีวิวการไปโรงพยาบาลในบรรยากาศแบบท้องถิ่นแบบนี้ครับ ถ้าเพื่อนๆอยากได้แบบซอฟท์ คุยอังกฤษก็ลองค้นหาโรงพยาบาลที่มีวอร์ดอินเตอร์ก็จะสะดวกสบายมากกว่านะครับ
เครื่องรับบัตรอัตโนมัติ
ช่องรับบัตรอัตโนมือ
ด้านบนนั้น แถบวิ่งนั่นไม่ใช่กระดานหุ้นนะครับ สีแดงคือแพทย์ท่านนี้แผนกนี้ จองคิวเต็มแล้ว สีเขียวคือรับได้อีกเท่าไรๆ
อันดับแรกเลย เมื่อมาโรงพยาบาลใดๆในประเทศจีน ต้องติดต่อบริเวณที่มีตัวอักษร 门诊 สีแดงด้านบน(เหมินเจิ้น หรือก็คือ OPD แผนกผู้ป่วยนอก)นะครับเมื่อมาถึงเราก็ต้องทำการรับบัตรคิว หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า กว้าห้าว挂号ก่อนเลย (คำว่า กว้าห้าว นี้ใช้กับการรับบัตรคิวโรงพยาบาลเท่านั้นนะครับ ไม่สามารถใช้ในสถานการณ์อื่น เช่น รับบัตรคิวร้านอาหาร หรือติดต่อราชการได้ ให้ใช้คำว่า ชวี่ห้าว 取号 แทนนะครับ) โดยการรับบัตรคิวนี้โรงพยาบาลหลายๆที่จะมีเครื่องรับบัตรคิวอยู่ โดยสแกนบัตรประชาชนของจีน(身份证) และบัตรโรงพยาบาล แล้วกรอกรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าจะติดต่อแผนกใด และที่สำคัญคือเจาะจงแพทย์ท่านไหนหรือไม่นะครับ
สำหรับบัตรโรงพยาบาลที่ว่านี้ในเมืองจีนแบ่งเป็น 2 ประเภทนครับ คือ
1. บัตรของโรงพยาบาลนั้นๆ ทำเมื่อไปติดต่อรับบริการทางการแพทย์ครั้งแรก ก็จะขึ้นทะเบียนไว้กับโรงพยาบาลนั้นๆ หน้าบัตรจะระบุชื่อและรูปภาพของโรงพยาบาลนั้นๆไว้ชัดเจน ใช้เฉพาะที่โรงพยาบาลแห่งนั้น เพื่อนๆอย่าลืมเอาพาสปอร์ตไปด้วยสำหรับการลงทะเบียน
2. บัตรประกันสังคม(อีป๋าวข่า医保卡) เป็นบัตรประกันสังคมของผู้ที่มีรายได้ในประเทศจีนและเลือกชำระค่าประกันสังคม เกิดจากการรวมกันของบัตรรับบริการทางการแพทย์(医疗卡) และบัตรประกันสุขภาพ(保险卡)และผูกหมายเลขกับบัตรประชาชนของจีน(身份证) ไว้ด้วยกัน จุดเด่นของบัตรประเภทนี้คือสามารถใช้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดๆ ได้เลย รวมทั้งโรงพยาบาลแต่ละแห่งสามารถสืบค้นประวัติได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วยครับ
กรอกเรียบร้อยแล้วไปต่อคิว
สำหรับแรงงานต่างด้าวอย่างอับเฉา เนื่องจากไม่มีบัตรประชาชนจีน และไม่มีประกันสังคมที่จีนจึงต้องมาติดต่อหน่วยคัดกรอง กรอกประวัติและมาต่อแถวยาวเฟื้อยนะครับ สำหรับการกรอกประวัติก็ไม่ยุ่งยากอะไร รายละเอียดเบื่องต้น ชื่อสกุล วันเกิด อายุ เลือกแผนกที่ต้องการตรวจ ในส่วนของชื่อคุณหมอที่ต้องการเจาะจงก็เว้นว่างไว้ แล้วก็นำไปรับบัตรคิวและชำระค่าบริการทางการแพทย์ครับ
สำหรับโรงพยาบาลที่เฉพาะทางแบบนี้ส่วนใหญ่ก็มักนิยมเจาะจงเลือกแผนกและเลือกนายแพทย์กันนะครับ ซึ่งสามารถดูจากป้ายไฟได้ดังนี้
1. แผนกต่างๆ(เช่น ตา หูคอ) เปิดวันไหนบ้าง จ-ศ เช้า-บ่าย
2. ชื่อแพทย์ ตำแหน่ง เปิดรับตรวจกี่ราย ขณะนี้รับแล้วกี่ราย ถ้าเต็มแล้ววันนี้ก็ปิดไม่รับตรวจแล้ว
การมารับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของจีนหลายๆท่านอาจไม่คุ้นเคยเพราะต้องจ่ายเงินทุกขึ้นตอนครับ อย่างขั้นตอนของอับเฉาวันนี้คือ
1. มาถึงต่อแถวครั้งแรกรับบัตรคิวพร้อมชำระค่าพบหมอ
2. ไปพบหมอ หมอสั่งตรวจการได้ยินเพิ่มเติม กลับไปต่อแถวครั้งที่ 2 ชำระค่าตรวจเพิ่มเติม
3. กลับไปหาหมอ หมอสรุปอาการให้ฟัง และจ่ายยา
4. ไปต่อแถวครั้งที่ 3 จ่ายค่ายา และรอรับยาที่หน้าต่างห้องยา
ฉะนั้นต้องต่อแถวหลายครั้งมากๆ ใช้เวลามาก และใบเสร็จจะกระจายเป็นหลายใบมากๆครับ
เมื่อรับบัตรเรียบร้อยแล้ว ก็จะระบุบนใบเสร็จชัดเจนว่าไปติดต่อห้องไหน แผนกไหน ชั้นอะไร
ก็รอดูบนบอร์ดว่าคิวไหน เข้าห้องไหนนะครับ
แล้วพอสุดท้ายเมื่อกลับมาหาหมอสรุปครั้งสุดท้าย พร้อมกับการสรุปอาการแล้ว เราก็นำรายชื่อยา (ซึ่งสรุปการใช้ยาไว้ให้ด้วย ว่าใช้วันละกี่ครั้ง ปริมาณมากเท่าไร) ไปต่อแถวจ่ายเงิน เมื่อจ่ายเรียบร้อยแล้ว ชื่อเราก็จะไปขึ้นเหนือหน้าต่างห้องจ่ายยาหมายถึงสามารถไปรับได้นั่นเองครับ
ความแตกต่างก็คือ ถ้าเราระบุชื่อแพทย์ที่ต้องการพบเป็นพิเศษ แพทย์คนนั้นก็จะนั่งประจำในห้องของตัวเองครับ ฉะนั้นตัวเลขลำดับไม่แน่ว่าจะเรียงตามลำดับ เป็นแค่ตัวเลขที่จัดก่อนหลังให้ส่งไปตามห้องเท่านั้นเอง อย่างอับเฉาไม่ได้ระบุชื่อแพทย์ จัวเลขที่ได้ก็จะเป็นพูลรวมเข้าได้หลายห้อง ก็จะรวดเร็วกว่าหน่อย
ข้อแนะนำสำหรับการไปโรงพยาบาลในจีน
1. หาโรงพยาบาลที่มีวอร์ดอินเตอร์ฯเถอะครับ จะได้ไม่เสียเวลา นอกจากจะรักษาเฉพาะทางจริงๆ
2. ไปแต่เช้านะครับ โรงพยาบาลที่ท้องถิ่นมากๆ คนเยอะจริงๆ
3. โรงพยาบาลเป็นแหล่งรวมผู้ป่วยหลากหลายโรคจากทุกสารทิศ ติดผ้าปิดปากไปด้วยนะครับ
4. ด้วยความที่คนเยอะ ต่อแถวมานาน คนหลังเร่งๆอาจจะทำให้ล๊ก ขอให้ใจเย็นๆคุยกับแพทย์ให้รู้เรื่อง เข้าใจสาเหตุและวิธีปฏิบัติ รวมทั้งเวลารับยาก็เช่นกันครับ เค้าไม่มาบริการดีๆค่อยๆคุยกับเราก่อนหรอก
เป็นยังไงบ้างครับสำหรับประสบการณ์หาหมอในเมืองจีน หวังว่ารีวิวนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยขณะอยู่ที่จีนนะครับ แต่อย่างไรก็ตามการแพทย์แบบป้องกัน เริ่มจากการดูแลตัวเองก่อนก็ดูเป็นทางที่ดีกว่าเจ็บป่วยแล้วจึงมารักษา สุดท้ายนี้มีข้อแนะนำอีกเล็กน้อยดังนี้นะครับ
ถ้าเพื่อนๆสนใจเรื่องราวของอับเฉาสามารถติดตามได้ที่นี่ครับ
http://www.facebook.com/apchaolife
[CR] ริวิว การเข้าโรงพยาบาลที่จีน
วันนี้อับเฉาจะมาแชร์ประสบการณ์การเข้าโรงพยาบาลที่จีนให้เพื่อนๆดูไว้เป็นอุทธาหรณ์ เอ้ย เป็นประสบการณ์กันนะครับ เผื่อเพื่อนๆมีความจำเป็นต้องใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศจีน
Eye & ENT Hospital of Fudan University, Shanghai
โดยเริ่มมาจากอับเฉาเกิดอาการปวดหัวจนนอนไม่หลับมาหลายคืน พักผ่อนไม่พอจนตัดสินใจลางานไปโรงพยาบาล ตอนแรกอับเฉาก็ตั้งใจจะไปโรงพยาบาลฮวาตง 华东医院 ซึ่งมีแผนก International ที่สะอาดสะอ้าน มีคนน้อยกว่า ใช้หมอและยาเดียวกัน และค่าบริการแพงกว่าแต่เนื่องจากเพื่อนร่วมงานแนะนำให้ไป Eye & ENT Hospital of Fudan University โรงพยาบาลเฉพาะด้าน ตา หู คอ จมูก ก็เลยเกิดเป็นที่มาของรีวิวการไปโรงพยาบาลในบรรยากาศแบบท้องถิ่นแบบนี้ครับ ถ้าเพื่อนๆอยากได้แบบซอฟท์ คุยอังกฤษก็ลองค้นหาโรงพยาบาลที่มีวอร์ดอินเตอร์ก็จะสะดวกสบายมากกว่านะครับ
เครื่องรับบัตรอัตโนมัติ
ช่องรับบัตรอัตโนมือ
ด้านบนนั้น แถบวิ่งนั่นไม่ใช่กระดานหุ้นนะครับ สีแดงคือแพทย์ท่านนี้แผนกนี้ จองคิวเต็มแล้ว สีเขียวคือรับได้อีกเท่าไรๆ
อันดับแรกเลย เมื่อมาโรงพยาบาลใดๆในประเทศจีน ต้องติดต่อบริเวณที่มีตัวอักษร 门诊 สีแดงด้านบน(เหมินเจิ้น หรือก็คือ OPD แผนกผู้ป่วยนอก)นะครับเมื่อมาถึงเราก็ต้องทำการรับบัตรคิว หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า กว้าห้าว挂号ก่อนเลย (คำว่า กว้าห้าว นี้ใช้กับการรับบัตรคิวโรงพยาบาลเท่านั้นนะครับ ไม่สามารถใช้ในสถานการณ์อื่น เช่น รับบัตรคิวร้านอาหาร หรือติดต่อราชการได้ ให้ใช้คำว่า ชวี่ห้าว 取号 แทนนะครับ) โดยการรับบัตรคิวนี้โรงพยาบาลหลายๆที่จะมีเครื่องรับบัตรคิวอยู่ โดยสแกนบัตรประชาชนของจีน(身份证) และบัตรโรงพยาบาล แล้วกรอกรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าจะติดต่อแผนกใด และที่สำคัญคือเจาะจงแพทย์ท่านไหนหรือไม่นะครับ
สำหรับบัตรโรงพยาบาลที่ว่านี้ในเมืองจีนแบ่งเป็น 2 ประเภทนครับ คือ
1. บัตรของโรงพยาบาลนั้นๆ ทำเมื่อไปติดต่อรับบริการทางการแพทย์ครั้งแรก ก็จะขึ้นทะเบียนไว้กับโรงพยาบาลนั้นๆ หน้าบัตรจะระบุชื่อและรูปภาพของโรงพยาบาลนั้นๆไว้ชัดเจน ใช้เฉพาะที่โรงพยาบาลแห่งนั้น เพื่อนๆอย่าลืมเอาพาสปอร์ตไปด้วยสำหรับการลงทะเบียน
2. บัตรประกันสังคม(อีป๋าวข่า医保卡) เป็นบัตรประกันสังคมของผู้ที่มีรายได้ในประเทศจีนและเลือกชำระค่าประกันสังคม เกิดจากการรวมกันของบัตรรับบริการทางการแพทย์(医疗卡) และบัตรประกันสุขภาพ(保险卡)และผูกหมายเลขกับบัตรประชาชนของจีน(身份证) ไว้ด้วยกัน จุดเด่นของบัตรประเภทนี้คือสามารถใช้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดๆ ได้เลย รวมทั้งโรงพยาบาลแต่ละแห่งสามารถสืบค้นประวัติได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วยครับ
กรอกเรียบร้อยแล้วไปต่อคิว
สำหรับแรงงานต่างด้าวอย่างอับเฉา เนื่องจากไม่มีบัตรประชาชนจีน และไม่มีประกันสังคมที่จีนจึงต้องมาติดต่อหน่วยคัดกรอง กรอกประวัติและมาต่อแถวยาวเฟื้อยนะครับ สำหรับการกรอกประวัติก็ไม่ยุ่งยากอะไร รายละเอียดเบื่องต้น ชื่อสกุล วันเกิด อายุ เลือกแผนกที่ต้องการตรวจ ในส่วนของชื่อคุณหมอที่ต้องการเจาะจงก็เว้นว่างไว้ แล้วก็นำไปรับบัตรคิวและชำระค่าบริการทางการแพทย์ครับ
สำหรับโรงพยาบาลที่เฉพาะทางแบบนี้ส่วนใหญ่ก็มักนิยมเจาะจงเลือกแผนกและเลือกนายแพทย์กันนะครับ ซึ่งสามารถดูจากป้ายไฟได้ดังนี้
1. แผนกต่างๆ(เช่น ตา หูคอ) เปิดวันไหนบ้าง จ-ศ เช้า-บ่าย
2. ชื่อแพทย์ ตำแหน่ง เปิดรับตรวจกี่ราย ขณะนี้รับแล้วกี่ราย ถ้าเต็มแล้ววันนี้ก็ปิดไม่รับตรวจแล้ว
การมารับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของจีนหลายๆท่านอาจไม่คุ้นเคยเพราะต้องจ่ายเงินทุกขึ้นตอนครับ อย่างขั้นตอนของอับเฉาวันนี้คือ
1. มาถึงต่อแถวครั้งแรกรับบัตรคิวพร้อมชำระค่าพบหมอ
2. ไปพบหมอ หมอสั่งตรวจการได้ยินเพิ่มเติม กลับไปต่อแถวครั้งที่ 2 ชำระค่าตรวจเพิ่มเติม
3. กลับไปหาหมอ หมอสรุปอาการให้ฟัง และจ่ายยา
4. ไปต่อแถวครั้งที่ 3 จ่ายค่ายา และรอรับยาที่หน้าต่างห้องยา
ฉะนั้นต้องต่อแถวหลายครั้งมากๆ ใช้เวลามาก และใบเสร็จจะกระจายเป็นหลายใบมากๆครับ
เมื่อรับบัตรเรียบร้อยแล้ว ก็จะระบุบนใบเสร็จชัดเจนว่าไปติดต่อห้องไหน แผนกไหน ชั้นอะไร
ก็รอดูบนบอร์ดว่าคิวไหน เข้าห้องไหนนะครับ
แล้วพอสุดท้ายเมื่อกลับมาหาหมอสรุปครั้งสุดท้าย พร้อมกับการสรุปอาการแล้ว เราก็นำรายชื่อยา (ซึ่งสรุปการใช้ยาไว้ให้ด้วย ว่าใช้วันละกี่ครั้ง ปริมาณมากเท่าไร) ไปต่อแถวจ่ายเงิน เมื่อจ่ายเรียบร้อยแล้ว ชื่อเราก็จะไปขึ้นเหนือหน้าต่างห้องจ่ายยาหมายถึงสามารถไปรับได้นั่นเองครับ
ความแตกต่างก็คือ ถ้าเราระบุชื่อแพทย์ที่ต้องการพบเป็นพิเศษ แพทย์คนนั้นก็จะนั่งประจำในห้องของตัวเองครับ ฉะนั้นตัวเลขลำดับไม่แน่ว่าจะเรียงตามลำดับ เป็นแค่ตัวเลขที่จัดก่อนหลังให้ส่งไปตามห้องเท่านั้นเอง อย่างอับเฉาไม่ได้ระบุชื่อแพทย์ จัวเลขที่ได้ก็จะเป็นพูลรวมเข้าได้หลายห้อง ก็จะรวดเร็วกว่าหน่อย
ข้อแนะนำสำหรับการไปโรงพยาบาลในจีน
1. หาโรงพยาบาลที่มีวอร์ดอินเตอร์ฯเถอะครับ จะได้ไม่เสียเวลา นอกจากจะรักษาเฉพาะทางจริงๆ
2. ไปแต่เช้านะครับ โรงพยาบาลที่ท้องถิ่นมากๆ คนเยอะจริงๆ
3. โรงพยาบาลเป็นแหล่งรวมผู้ป่วยหลากหลายโรคจากทุกสารทิศ ติดผ้าปิดปากไปด้วยนะครับ
4. ด้วยความที่คนเยอะ ต่อแถวมานาน คนหลังเร่งๆอาจจะทำให้ล๊ก ขอให้ใจเย็นๆคุยกับแพทย์ให้รู้เรื่อง เข้าใจสาเหตุและวิธีปฏิบัติ รวมทั้งเวลารับยาก็เช่นกันครับ เค้าไม่มาบริการดีๆค่อยๆคุยกับเราก่อนหรอก
เป็นยังไงบ้างครับสำหรับประสบการณ์หาหมอในเมืองจีน หวังว่ารีวิวนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยขณะอยู่ที่จีนนะครับ แต่อย่างไรก็ตามการแพทย์แบบป้องกัน เริ่มจากการดูแลตัวเองก่อนก็ดูเป็นทางที่ดีกว่าเจ็บป่วยแล้วจึงมารักษา สุดท้ายนี้มีข้อแนะนำอีกเล็กน้อยดังนี้นะครับ
ถ้าเพื่อนๆสนใจเรื่องราวของอับเฉาสามารถติดตามได้ที่นี่ครับ http://www.facebook.com/apchaolife