
อาการบวมที่มือเท้า..ร้ายแรงหรือไม่? แล้วเมื่อไหร่ถึงต้องหาหมอ
อาการบวมเกิดจากการมีสารน้ำจำนวนมากเกินไปคั่งอยู่ในบริเวณเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วน
แต่ส่วนใหญ่ที่เรามักสังเกตพบได้ง่ายจะเป็นบริเวณฝ่ามือทั้งสองข้าง เท้าหรือข้อเท้า และขาทั้งสองข้าง อาการบวมที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากยาบางชนิด ภาวะตั้งครรภ์ หรือการมีโรคประจำตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ โรคไต โรคตับแข็ง เป็นต้น
อาการบวมเกิดขึ้นได้อย่างไร
อาการบวมเกิดจากหลอดเลือดฝอยในร่างกายมีการรั่วของสารน้ำออกมาภายนอก สารน้ำนั้นจะขังอยู่ในเนื้อเยื่อภายนอกทำให้เกิดอาการบวมได้ โดยในผู้ป่วยที่มีอาการบวมไม่มากสาเหตุอาจเกิดจาก
- มีการนั่งหรืออยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานมากเกินไป
- รับประทานอาหารที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบปริมาณมาก
- อาจเป็นอาการและสิ่งตรวจพบช่วงก่อนมีประจำเดือน
- ภาวะตั้งครรภ์
นอกจากนี้อาการบวมยังเกิดจากยาบางกลุ่มได้ด้วย เช่น ยาลดความดันบางชนิด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ยากลุ่มสเตียรอยด์ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาลดระดับน้ำตาลบางชนิด อย่างไรก็ตาม อาการบวมนั้นอาจเป็นผลมาจากโรคหรือความเจ็บป่วยบางชนิดที่มีความรุนแรงได้ เช่น
- ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยผู้ป่วยมักมีอาการหายใจหอบเหนื่อย นอนนราบไม่ได้ร่วมด้วย และมักมีประวัติโรคหัวใจ หรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจนำมาก่อน
- โรคตับแข็ง ผู้ป่วยมักมีประวัติโรคตับเรื้อรังมานาน และมีอาการบวมหรือท้องมานตามมาภายหลัง
- โรคไต เกิดจากปัญหาต่อการทำงานของไตได้หลายสาเหตุ เช่น ไตวายเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โรคของหน่วยกรองไต เป็นต้น มักมีอาการปัสสาวะออกน้อย ปัสสาวะเป็นฟองมาก หรือความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
- โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน มักมีอาการปวดร่วมด้วย โดยอาการมักเกิดขึ้นที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง เป็นต้น
- โรคระบบทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน มักมีสาเหตุมาจากภายหลังการผ่าตัด หรือโรคมะเร็ง มักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง
เมื่อไหร่จึงต้องไปพบแพทย์
เนื่องจากอาการบวมเป็นผลมาจากสาเหตุต่าง ๆ มากมายทั้งสาเหตุที่ไม่รุนแรงไปจนถึงสาเหตุที่รุนแรงมากซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจึงควรสังเกตุอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย โดยถ้ามีอาการร่วมดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
- หายใจหอบเหนื่อย
- แน่นหน้าอกหายใจลำบาก
- ปัสสาวะออกน้อยผิดปกติ
- ช่องท้องบวมโตมากขึ้นผิดปกติ
การเตรียมตัวก่อนไปพบแพทย์ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามข้อแนะนำในการตรวจพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเติมตามใบนัด บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ระยะเวลาในการเกิดอาการ อาการร่วมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น นำยาที่รับประทานเป็นประจำติดตัวไปด้วยเสมอเนื่องจากอาจมีประโยชน์ต่อการให้การวินิจฉัยสาเหตุของโรค และบันทึกคำถามที่สงสัยเพื่อถามแพทย์เวลาตรวจวิฉัยเสร็จแล้ว
เครดิต : healthtoday นพ.ชวโรจน์ เกียรติกำพล - อายุรแพทย์
มือบวม เท้าบวม
อาการบวมที่มือเท้า..ร้ายแรงหรือไม่? แล้วเมื่อไหร่ถึงต้องหาหมอ
อาการบวมเกิดจากการมีสารน้ำจำนวนมากเกินไปคั่งอยู่ในบริเวณเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วน
แต่ส่วนใหญ่ที่เรามักสังเกตพบได้ง่ายจะเป็นบริเวณฝ่ามือทั้งสองข้าง เท้าหรือข้อเท้า และขาทั้งสองข้าง อาการบวมที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากยาบางชนิด ภาวะตั้งครรภ์ หรือการมีโรคประจำตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ โรคไต โรคตับแข็ง เป็นต้น
อาการบวมเกิดขึ้นได้อย่างไร
อาการบวมเกิดจากหลอดเลือดฝอยในร่างกายมีการรั่วของสารน้ำออกมาภายนอก สารน้ำนั้นจะขังอยู่ในเนื้อเยื่อภายนอกทำให้เกิดอาการบวมได้ โดยในผู้ป่วยที่มีอาการบวมไม่มากสาเหตุอาจเกิดจาก
- มีการนั่งหรืออยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานมากเกินไป
- รับประทานอาหารที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบปริมาณมาก
- อาจเป็นอาการและสิ่งตรวจพบช่วงก่อนมีประจำเดือน
- ภาวะตั้งครรภ์
นอกจากนี้อาการบวมยังเกิดจากยาบางกลุ่มได้ด้วย เช่น ยาลดความดันบางชนิด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ยากลุ่มสเตียรอยด์ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาลดระดับน้ำตาลบางชนิด อย่างไรก็ตาม อาการบวมนั้นอาจเป็นผลมาจากโรคหรือความเจ็บป่วยบางชนิดที่มีความรุนแรงได้ เช่น
- ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยผู้ป่วยมักมีอาการหายใจหอบเหนื่อย นอนนราบไม่ได้ร่วมด้วย และมักมีประวัติโรคหัวใจ หรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจนำมาก่อน
- โรคตับแข็ง ผู้ป่วยมักมีประวัติโรคตับเรื้อรังมานาน และมีอาการบวมหรือท้องมานตามมาภายหลัง
- โรคไต เกิดจากปัญหาต่อการทำงานของไตได้หลายสาเหตุ เช่น ไตวายเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โรคของหน่วยกรองไต เป็นต้น มักมีอาการปัสสาวะออกน้อย ปัสสาวะเป็นฟองมาก หรือความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
- โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน มักมีอาการปวดร่วมด้วย โดยอาการมักเกิดขึ้นที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง เป็นต้น
- โรคระบบทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน มักมีสาเหตุมาจากภายหลังการผ่าตัด หรือโรคมะเร็ง มักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง
เมื่อไหร่จึงต้องไปพบแพทย์
เนื่องจากอาการบวมเป็นผลมาจากสาเหตุต่าง ๆ มากมายทั้งสาเหตุที่ไม่รุนแรงไปจนถึงสาเหตุที่รุนแรงมากซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจึงควรสังเกตุอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย โดยถ้ามีอาการร่วมดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
- หายใจหอบเหนื่อย
- แน่นหน้าอกหายใจลำบาก
- ปัสสาวะออกน้อยผิดปกติ
- ช่องท้องบวมโตมากขึ้นผิดปกติ
การเตรียมตัวก่อนไปพบแพทย์ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามข้อแนะนำในการตรวจพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเติมตามใบนัด บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ระยะเวลาในการเกิดอาการ อาการร่วมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น นำยาที่รับประทานเป็นประจำติดตัวไปด้วยเสมอเนื่องจากอาจมีประโยชน์ต่อการให้การวินิจฉัยสาเหตุของโรค และบันทึกคำถามที่สงสัยเพื่อถามแพทย์เวลาตรวจวิฉัยเสร็จแล้ว
เครดิต : healthtoday นพ.ชวโรจน์ เกียรติกำพล - อายุรแพทย์