ลองมาฝึกทำข้อสอบภาษาอังกฤษ CPE ที่ฆ่า TOEIC เรื่องความยาก แต่ CPE ถูก TOEIC ฆ่าเรื่องการสร้างรายได้ 555

tag ทรัพยากรบุคคล และ เจ้าของธุรกิจ เพราะต้องการให้บริษัทและองค์กรพิจารณาว่าคนสอบข้อสอบไหนผ่านเหมาะกับงานแบบไหน

ตามหัวข้อกระทู้
CPE เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษที่ฆ่า TOEIC เรื่องความยาก
แต่ TOEIC ฆ่า CPE เรื่องรายได้ (ทำให้คนออกข้อสอบ CPE รายได้ลดลงฮวบอย่างน่าตกใจ)

ประวัติความเป็นมา
CPE เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษ ที่ University of Cambridge สร้างขึ้นมาเพื่อวัดทักษะภาษาอังกฤษของคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่อหลายสิบปีมาแล้วคนที่สอบ CPE ผ่านได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่ามีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษมากพอที่จะเรียนต่อหรือทำงานได้ในสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ (บริษัท และ องค์กร) ต่างๆในประเทศอังกฤษและประเทศต่างๆในยุโรป   ในยุคนั้นนักศึกษาต่างชาติเป็นจำนวนมากเดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อเข้า course เรียนภาษาอังกฤษเตรียมสอบ CPE

เมื่อเวลาผ่านไป University of Cambridge กลายเป็นได้เงินจากการจัดสอบ CPE น้อยลง เพราะคนสอบตกกันมาก ก็เลยไม่ค่อยมีใครอยากจะสอบกัน555

ในอดีต British Council ในประเทศไทยก็เคยเป็นหนึ่งในศูนย์สอบ CPE จากข้อมูลล่าสุดที่ได้จาก จนท  British Council (เมื่อหลายปีมาแล้ว) เค้าบอกว่าตั้งแต่ British Council ตั้งมาในประเทศไทย ยังไม่เคยมีคนไทยคนไหนสอบ CPE ได้คะแนนเต็ม ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าตอนนี้มีข้อมูลใหม่ๆหรือยัง  แต่เท่าที่รู้ British Council ในประเทศไทย เลิกเป็นศูนย์สอบ CPE ไปซะแล้ว น่าจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีใครอยากจะสอบข้อสอบยากๆแบบนี้กัน

ตอนนี้ข้อสอบที่กำลังมาแรง และคนออกข้อสอบประสบความสำเร็จทำรายได้สูงมากๆ ก็คือข้อสอบ TOEIC เพราะมันง่ายกว่า CPE ตั้งหลายเท่า ระดับมีคนไทยสอบได้คะแนนเต็ม 990 กันเป็นว่าเล่น ผู้คนจึงนิยมสอบกัน เพราะนายจ้างทั่วๆไปยอมรับผลสอบ TOEIC และถือว่าคนสอบ TOEIC ผ่านน่าจะมีทักษะภาษาอังกฤษมากพอที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมแบบนานาชาติได้

แต่โดยส่วนตัวแล้วเราคิดว่า คนที่สอบ TOEIC ได้คะแนนสูงๆน่าจะโอเคสำหรับทำงานภาษาอังกฤษที่ไม่ specialize นักเช่น hotel receptionist, air hostess หรือพนักงานธุรการทั่วๆ แต่ถ้าให้ทำงาน specialize มากๆแบบเขียนโฆษณาหรูๆ เขียนบทความธุรกิจเริ่ดๆ หนังสือราชการ จดหมายหรือเอกสารที่เป็นทางการมากๆ แปลไทยเป็นอังกฤษ หรือเป็นล่าม ก็คงลำบากหน่อย  ในขณะที่คนที่สอบผ่าน CPE ได้คะแนนสูงๆ น่าจะทำงานภาษาอังกฤษระดับยากๆได้ไม่แพ้หรือเก่งกว่าคนที่จบปริญญาตรีด้านภาษาอังกฤษจากมหาลัยไทยชั้นนำ  แต่รับรองว่าชนะคนจบปริญญาตรีด้านภาษาอังกฤษจากมหาลัยไทยระดับรองๆ แบบขาดลอย

เปรียบเทียบความยากง่ายของข้อสอบ 2 อย่าง:
ถ้าแปะข้อสอบ TOEIC  ใน pantip ให้ลองทำกันเล่นๆ  นักเรียน นักศึกษา และคนทำงานทั่วๆไปที่ภาษาอังกฤษไม่ค่อยจะแข็งแรงนัก อาจต้องได้รับการชี้แนะเรื่อง grammar หรือ vocab บ้างพอสมควรกว่าจะทำข้อสอบง่ายๆในระดับนี้ได้ แต่คนไทยที่เคยเรียนหนังสือหรือทำงานประมาณ 10 ปีในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ พอมองเห็นข้อสอบ TOEIC ก็จะรู้คำตอบได้ทันทีแบบสบายๆ โดยใช้ “สัมผัสพิเศษ” ไม่ต้องได้รับชี้แนะเรื่อง grammar หรือ vocab แต่อย่างใด

แต่ในทางกลับกัน ถ้าแปะข้อสอบ CPE ใน pantip ให้ลองทำกันเล่นๆ คนไทยที่เคยเรียนหนังสือหรือทำงานเป็นเวลาประมาณ 10 ปีในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ หรือแม้กระทั่งคนไทยที่สอบ TOEIC ได้คะแนนเต็ม พอมองเห็นข้อสอบ CPE เข้าก็มีสิทธิ์ใบ้รับประทานได้ คือถึงกับงงไปเลย!

ทำไมถึงเป็นแบบนี้
ตอบ
ข้อสอบ TOEIC ไม่จี้จุดอ่อนของคนเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง คือถ้าพอรู้ grammar กับ vocab พอสมควร ก็ทำข้อสอบได้
แต่ ข้อสอบ CPE จี้จุดอ่อนของคนเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง คือถึงรู้ grammar กับ vocab พอสมควร แต่ก็ยังไม่มีสัมผัสพิเศษแบบเจ้าของภาษา คนออกข้อสอบเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมากๆจนรู้ข้อมูลนี้ จึง “หาจุดอ่อนคนเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเจอ!”

ในแวดวงข้อสอบภาษาอังกฤษสำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาแล้วต้องถือว่า TOEIC มาแรงมากๆ จนทำให้คนออกข้อสอบ CPE ขาดรายได้ไปบานเบอะ  

คนหัวไสที่สร้าง TOEIC ขึ้นมาฆ่า CPE คือนักธุรกิจญี่ปุ่น นี่คือประวัติความเป็นมาของ TOEIC
The US-based Educational Testing Service (ETS) developed the TOEIC test to measure achievement in using English in a business setting. Yasuo Kitaoka was the central figure of the Japanese team that conceived the basic idea of the TOEIC test.
According to an Aug. 11, 2009 Japan Times article, "In the 1970s, Kitaoka began negotiating with ETS to create a new test of English communication for use in Japan. ETS responded that it required a nonprofit organization to work with as their partner. Kitaoka tried to enlist the help of the Ministry of Education, but their bureaucrats did not see the need for a new test to compete with the STEP Eiken, an English test already backed by the ministry. To overcome this opposition, Kitaoka received help from his friend, Yaeji Watanabe. Watanabe's influence as a retired high-ranking bureaucrat from the Ministry of International Trade and Industry (renamed the Ministry of Economy, Trade, and Industry, or METI) proved crucial to TOEIC's establishment.
Watanabe had remained in contact with his old ministry while working on the board of directors for the World Economic Information Services (WEIS) and as chairman of the Japan-China Economic Association, both public-interest corporations operating under MITI. Watanabe declined an interview request, but his memoirs describe how he overcame Ministry of Education opposition to the TOEIC by taking cover "behind the ministry of trade shield." Watanabe convinced his old ministry it should play the lead role in establishing a new English test, and formed a TOEIC Steering Committee under the WEIS umbrella. Members of the committee included other retired MITI bureaucrats and influential business leaders.
Government support secured, ETS began developing the test in 1977. In 1979, English learners in Japan filled in the first of many TOEIC multiple-choice answer forms."[3]
ETS's major competitors are Cambridge University, which administers the IELTS, FCE, CAE, and CPE and Trinity College London, which administers GESE and ISE exams.

แหล่งที่มา:
https://en.wikipedia.org/wiki/TOEIC

เมื่อ TOEIC ทำให้ CPE เกือบจะสูญพันธ์   University of Cambridge ก็กลัวไม่ได้เงินจึงสร้างข้อสอบใหม่ขึ้นมาคือ CAE ซึ่งง่ายกว่า CPE ลงมาหน่อย เพื่อดึงดูดให้คนมาสอบกันเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่คนออกข้อสอบ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะ TOEIC ได้ เนื่องจากว่า การสอบ TOEIC ให้ได้คะแนนเต็มมันก็ยังง่ายกว่าการสอบ CAE ให้ได้คะแนนเต็มตั้งหลายเท่า

จริงๆแล้วส่วนที่ยากของ CPE ก็คือต้องเขียน essays ยาวๆ 2 เรื่อง ซึ่งคนส่วนใหญ่สอบตกกันเพราะ writing skills ยังไปไม่ถึงดวงดาว

แต่นี่คือตัวอย่างข้อสอบแบบสั้นๆ ที่ไม่ค่อยโหดนัก   ลองทำดู

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่