เป็นหนังรักที่ดูยากนิดหนึ่งครับ คือยากตรงที่มันเล่นกับเวลาของคนที่รักกันแต่มิติของเวลาเดินสวนกัน มันไม่ใช่การข้ามเวลาหรือย้อนเวลามาเจอกันอย่างหนังโด่งดังในอดีตเช่น somewhere in time เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นหนังจะดูง่าย เนื่องจาก moment ของความรักมันหมุนตามเวลาทางเดียวกันเพียงแต่ต่างยุคสมัย ด้วยเหตุนี้สำหรับเรื่อง Tomorrow I will date with yesterday’s you เชื่อว่าผู้ชมจำนวนไม่น้อยดูแล้วก็ยังไม่เข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของนางเอกที่ต้องการสื่อ ณ ขณะนั้น ๆ (ณ เวลานั้น ๆ)โดยที่เวลาในอนาคต(ตามเวลาโลกของเรา)ก็คืออดีตของเธอ แค่นี้คิดตามก็งงแล้วครับ เราจะเข้าใจความรู้สึกพระเอกได้ดีกว่าว่าเขาคิดอย่างไรเศร้าสุขแค่ไหนเพราะเวลาของเขาล้อไปตามเวลาหมุนของโลกของเราที่คุ้นเคย ดังนั้นถ้าใครอ่านนวนิยายเรื่องนี้มาก่อนก็จะเข้าใจหนังได้ดีและมีอินกว่านี้ แต่ถ้าใครไม่เคยอ่านแล้วมาชมจากภาพยนตร์ก็จะมีงง (อย่างผมเป็นต้นดูจบนั่งคิดเป็นวันกว่าจะเข้าใจตลอดทุกพล๊อต) รู้แต่ซาบซึ้ง หนังดี มีบ้างที่ตีการสื่อความของหนัง ไปผิด ๆ เช่น บางคนบอกชีวิตรักของทั้งคู่จะวนลูปกลับมาวนเวียนเจอกันไม่รู้จบ บ้างก็ว่านี่คือ Your name ฉบับใช้ผู้แสดง ... ว่าไปนั่น
ก่อนไปต่อขอพูดเรื่อง Your name นิดนึงครับแม้จะช้าไปมาก เห็นพูดถึงกันเยอะ คือพล๊อตเรื่อง Your name ต่างกับ Tomorrow I will date with yesterday’s you เรียกว่าไม่ใกล้เคียงเลย เรื่อง Your name ผมดูแล้วไม่อิน ไปดูเพราะตามกระแส หนังมันจับประเด็นของคนทุกคนที่มีความฝันอยากเจอคนในฝันแล้วมีโอกาสปิ้งกันแบบรักแรกพบ นำมาทำเป็นพล๊อตเรื่องการสลับร่าง ชอบและรักในอีกฝ่ายโดยไม่เคยเจอตัว เฝ้าแต่ฝัน แล้วตัดสรุปมาตอนจบที่บังเอิญเจอกันว่า “เออ เราเคยรู้จักกันมาก่อนป่าว ชื่อคุณคือ”.... คาดว่าหนังมันจะโดนใจบางกลุ่มคนที่อยากเจอคู่เจอคนในฝันหรืออยากเจอคนที่ใช่แบบไม่คาดคิด ประมาณนี้ แล้วก็มาอวยหนังกันซะจนเว่อร์ อันนี้ไม่ได้เจตนาว่าใครนะครับ
กลับมาที่หนัง Tomorrow I will date with yesterday’s you ชอบพล๊อตเรื่องมากก.. ไม่รู้คนเขียนคิดได้งัย ชีวิตรักของคนคู่นี้จะไม่วนลูปซ้ำไปมาตลอดนิรันดร์(อย่างที่ผู้ชมบางคนเข้าใจ) ทั้งคู่มีโอกาสที่จะแสดงความรักกันแค่ช่วงเวลาเดียว เพราะเวลาของทั้งคู่เดินสวนกันต่างมิติจะไม่มาบรรจบกันอีก อนาคตของฝ่ายหนึ่งคืออดีตของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือเมื่อฝ่ายหนึ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งเข้าไปอยู่ในวัยเด็กของอีกฝ่าย ประเด็นหลักของหนัง(หรือนวนิยาย)ที่เอามาเล่นอยู่ตรงที่กำหนดให้เวลาของทั้งคู่ที่เดินสวนกันมันมา overlap กัน 40 ปี ด้วยเงื่อนไขทุก ๆ 5 ปี มีโอกาสเจอกัน 30 วัน ดังนั้นช่วงอายุที่เหมาะสมที่สุดที่จะมารักกันได้คือจุดที่ต่างฝ่ายต่างมีอายุ 20 ปี เพราะถ้าหลุดจากช่วงนี้จะไม่เหมาะแล้วเนื่องจากรอบถัดไปที่จะเจอกันฝ่ายหนึ่งจะอายุ 25 ปีขณะที่อีกฝ่ายจะเด็กเกินไปคืออายุแค่ 15 ปี (ยกเว้นถ้าอยากโดนข้อหาพรากผู้เยาว์ ฮ่า ๆ ) พระเอกนางเอกมีโอกาสรักกันแค่ 30 วันในช่วงอายุ 20 ปีเท่านั้น (และแน่นอนว่าตลอด 30 วันนั้นเวลาต่างฝ่ายก็ยังเดินสวนกันอยู่) ที่สำคัญคือเมื่อหมด 30 วันนี้แล้วต่างฝ่ายจะเศร้าและจดจำความรักครั้งนี้ไปจนแก่ตายในมิติเวลาของตนเอง โดยไม่มีโอกาสสมรัก ทำได้อย่างมากแค่ดำเนินชีวิตไปข้างหน้าตามเวลาของตนเองเพื่อในอนาคตไปช่วยชีวิตคนรักหรือบอกเล่าคนรัก(ที่ยังเป็นเด็กหรืออายุน้อย) ถึงเรื่องราวความรักระหว่างกันที่คนรักจะได้เจอ
ประเด็นหนึ่งที่เห็นถกกันคือแล้วจุดเริ่มความรักครั้งนี้มาจากใคร ใครปิ้งใครก่อน หรือใครช่วยชีวิตใครก่อนในวัยเด็กของอีกฝ่าย เหมือนคำถามที่ว่าไก่กะไข่ใครเกิดก่อนกัน ขอตอบว่าจุดเริ่มก็มาจากทั้งคู่แล้วแต่ว่ามองในมิติเวลาของใคร ถ้ามองในมิติเวลาของพระเอก(ซึ่งก็คือเวลาในโลกเรา) นางเอกเป็นฝ่ายช่วยชีวิตคนรัก(พระเอก)ในวัยเด็กก่อนจากการตกน้ำ เพื่อให้มารักกันเมื่อพระเอกโตขึ้น แต่ถ้ามองในมิติเวลาของนางเอก พระเอกก็เป็นฝ่ายไปช่วยชีวิตนางเอกในวัยเด็กก่อน ด้วยเหตุผลเรื่องความรักเช่นเดียวกัน แล้วแผนการก่อให้เกิดความรักในวัย 20 ปีของทั้งคู่มาจากใคร (บางคนบอกว่าตามนวนิยายต้นฉบับนางเอกข้ามมิติเวลามาตอน 5 ขวบและพระเอกได้ช่วยชีวิตเอาไว้ เลยหลงรักพระเอกแต่นั้น จึงวางแผนรักครั้งนี้ อันนี้ผมไม่ได้อ่านหนังสือครับ แต่สงสัยว่าเด็ก 5 ขวบ จะปิ้งรักแล้วเหรอ) ก็ขอว่าไปตามเนื้อหาที่เห็นจากหนัง มันขึ้นอยู่กับว่ามองในมิติเวลาของใคร คือถ้ามองจากมุมของพระเอก ก็เป็นแผนของเขา (ณ วัย 25) ผู้ซึ่งผ่านความรักครั้งนี้เมื่อตอนอายุ 20 ปีเอาเรื่องราวความรักระหว่างกันไปเล่าให้นางเอกในวัย 15 ปีฟังเพื่อที่ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า(ในมิติเวลาของนางเอก)จะได้มารักพระเอก ถ้ามองจากมุมนางเอกเมื่อเธออายุ 20 ปีเธอก็เป็นคนกำหนดแผนทั้งหมดขึ้นเพื่อให้พระเอกมาปิ้ง (โดยที่ ขณะนั้นพระเอกยังไม่รู้จักนางเอก) คือมันผูกปมซ้อนกันไปมาแบบสุดยอดมากก... ซึ่งอ่านแล้วอาจงง เอาเป็นว่าไม่ต้องหาว่าใครเป็นฝ่ายเริ่ม ขึ้นอยู่กับว่ามองในมิติเวลาของใคร แค่นั้นพอ
แต่ที่อยากมาโพสต์สุด ๆ คือการเข้าใจความรู้สึกของคนคู่นี้ โดยเฉพาะในมุมของนางเอก ซึ่งถ้าผู้ชมไม่จินตนาการว่าตัวผู้ชมเองเป็นตัวนางเอก จะไม่มีวันเข้าใจว่าทำไม... นางเอกต้องบอกพระเอกว่าเป็นคนร้องไห้บ่อยนะ, ทำไมเวลาแยกจากกันช่วงวันแรกที่เจอกันและพระเอกบอก “เจอกันพรุ่งนี้” นางเอกจะร้องไห้, ทำไมพระเอกจับมือนางเอกครั้งแรกนางเอกร้องไห้, ทำไมการร่วมหลับนอนกับพระเอกครั้งแรกนางเอกก็ร้องไห้, ทำไมในแต่ละวันเธอถึงมีอากัปกิริยาแบบนั้นที่ดูต่างไปจากวันวานก่อน, และทำไม อื่น ๆ ...
คำตอบก็คือการถ่ายทอดเรื่องราวในหนังแต่ละวันที่พระเอกนางเอกเจอกันที่เราเห็นมันล้อไปตามเวลาโลกหรือตามมิติเวลาของพระเอก ที่นี้ถ้าเราจินตนาการว่าเราคือตัวนางเอกที่มิติเวลาของเธอเดินสวนกับเวลาโลกเราถึงจะเข้าใจมากขึ้นทำไมนางเอกจึงมีอากัปกิริยาเช่นนั้น ณ วันแรก(วันที่ 1ของพระเอก)ที่พระเอกเจอนางเอกก็คือวันสุดท้ายแล้ว(วันที่ 30 ของนางเอก)ที่นางเอกจะได้เจอพระเอก ณวันนั้นความรู้สึกรักต่อพระเอกมันมีมาเต็มเปี่ยมแล้วเพราะสำหรับเธอมันผ่านมาแล้ว 30 วัน ในขณะที่พระเอกเพิ่งเริ่มรู้จักและปิ้งนางเอก ลองนึกภาพว่านางเอกต้องฝืนความรู้สึกตัวเองแค่ไหน เก็บความเศร้าฝืนทำเรื่องต่าง ๆ มากแค่ไหนที่ทำเป็นเหมือนกับเพิ่งรู้จักพระเอก ทุกอย่างที่เป็นครั้งแรกของพระเอก จับมือ กอด ร่วมหลับนอน ฯลฯ มันคือครั้งสุดท้ายแล้วสำหรับนางเอก ช่วงวันแรกที่คบกันพระเอกบอก “เจอกันพรุ่งนี้” สำหรับเธอมันไม่มีพรุ่งนี้แล้วเพราะมันเป็นอดีตของเธอไปแล้ว ความรู้สึกพระเอกเต็มไปด้วยสุขสมหวังรอวันพรุ่งนี้ แต่สำหรับนางเอกมันจะไม่มีอีก สิ่งที่เธอทำได้คืออะไร ฝืนยิ้ม....แล้วร้องไห้บ่อย ๆ
เธอข้ามมิติของเธอมาเจอพระเอกในแต่ละวัน พอหลังเที่ยงคืนทุกคืนก็ต้องกลับไป หรือหายตัวไปเหมือน “ซินเดอเรลลา” แล้วถามว่านางเอกรู้ได้อย่างไรในวันรุ่งขึ้นตามมิติเวลาของเธอ (ซึ่งเป็นเรื่องอนาคตสำหรับเธอ) ว่าต้องทำอะไรร่วมกับพระเอกในแต่ละวัน ทำอย่างไร อยู่ตรงไหน จึงให้พระเอกมาเจอแล้วพระเอกรู้สึกปิ้ง ก็มาจากวันแรกของนางเอกที่เจอกัน (วันที่ 30 แล้วสำหรับพระเอก) แล้วพระเอกเล่าให้ฟังว่าตลอด 30 วันในเวลาโลกทั้งคู่ทำอะไรร่วมกันมาบ้าง นางเอกจดเอาไว้ใน diary แล้วแกล้งทิ้งไว้ให้พระเอกดู หลังจากร่วมหลับนอนครั้งแรก(สำหรับพระเอก)หรือนัยหนึ่งครั้งสุดท้าย(สำหรับนางเอก) นั่นคือจุดเริ่มของเรื่อง(ในมุมมองของพระเอก) ... Tomorrow I will date with yesterday’s you
มาที่ฝั่งพระเอกบ้างครับ ผู้ชมจะเข้าใจความรู้สึกของพระเอกได้ดีกว่า เพราะมิติเวลาของพระเอกก็คือเวลาโลกเดียวกับของเราเดินไปทางเดียวกัน เริ่มตั้งแต่ปิ้งนางเอก ความรักที่เริ่มก่อตัว แบบรักแรกพบ กล้า ๆ กลัวจะนัดนางเอก จะกอดนางเอก จับมือ ฯลฯ ชีวิตดูหวานแหวว แต่หลังจากความลับเผย กลายเป็น Tomorrow I will date with yesterday’s you ความรู้สึกพระเอกตกลงทันที คือ สับสน กลัวนางเอก (เพราะนางเอกรู้อยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตของพระเอก ซึ่งคืออดีตของเธอ) ไม่ยุติธรรม รับไม่ได้ที่รักครั้งนี้จะจบในระยะเวลาสั้น ...พระเอกจึงขอเดินจากไปจากนางเอก แต่นางเอกดึงมือและเรียกไว้มองด้วยสายตาให้ไตร่ตรอง พอจำได้มั้ยครับฉากนี้ ... พระเอกจึงเริ่มคิดในมุมของนางเอกถ้าเวลาของคนสองคนเดินสวนกัน พระเอกถึงเข้าใจความรู้สึกของนางเอกอย่างท่องแถ้ว่าที่จริงแล้วนางเอกเจ็บปวดแค่ไหนในระหว่างที่เริ่มคบกัน จึงตัดสินใจวิ่งกลับไปหางัยครับ
หลังจากความลับเผย momentum ความรัก ความเศร้า ความเจ็บปวด ตอนนี้กลับมาตกที่พระเอก โดยเวลาโลกยิ่งผ่านไปความรักก็ท่วมท้นมากขึ้น พร้อมทั้งรับรู้อีกไม่กี่วันก็ต้องจาก ขณะที่นางเอกยิ่งนานวันก็ยิ่งกลายเป็นวันแรก ๆ ของเธอ (ตามมิติเวลาของเธอ) ซึ่งเป็นช่วงที่ความรู้สึก ความรัก เพิ่งเริ่มไต่ขึ้น ในมุมมองพระเอกพฤติกรรมและความรู้สึกของนางเอกเมื่อวานจะไม่ต่อเนื่องมาวันนี้ เพราะมันคือเรื่องในอนาคตของเธอ ถ้าสังเกตุมีฉากหนึ่งที่พระเอกพานางเอกไปเจอพ่อแม่แล้วนางเอกมีทีท่าลังเล มองในมิติเวลาของพระเอกคนเราคบกันระยะเวลาหนึ่งก็อยากพาคนรักไปเจอพ่อแม่ แต่ถ้ามองในมิติเวลาของนางเอกนั่นเป็นช่วงแรก ๆ ที่เพิ่งคบกัน แล้วจะให้ไปเจอพ่อแม่ก็เลยอึดอัด
...ดีกรีความรักของคนคู่นี้เดินสวนทางกัน ฝ่ายหนึ่งเพิ่งเริ่มก่อตัวขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งรักมาท่วมท้นมาแล้ว เป็นรักแท้ที่ตอนจบต้องเจ็บด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย...
หนังต้องถ่ายทอดตามมิติเวลาของพระเอกละครับ (ถ้ามาถ่ายทอดในมุมมองจากนางเอกเราจะยิ่งงงเพราะเวลาเดินสวนกัน) ผู้ชมจะรู้สึกอิ่มเอมกับหนังในช่วงแรก แต่พอเผยความลับว่า Tomorrow I will date with yesterday’s you ตอนนี้ผู้ชมบางส่วนจะเริ่มตามอารมณ์ของหนังไม่ทันแล้ว ส่วนมากหนังเลิกก็ยังต้องคิดต่อกันเป็นวัน ๆ (อย่างผมเป็นต้น)
ผมไม่ขอวิจารณ์ ผู้กำกับหรือนักแสดง เพราะวิจารณ์ไม่เป็น รู้แต่แสดงดี กำกับดี ดูแล้วไม่งง ดูแล้วตรึงผมดึงอารมณ์ผมร่วมไปกับเรื่องตลอดเวลาแห่งการดู (ขนาดเข้าช้าไป 10 นาที ไปถึงกำลังฉายฉากนัดหมายกันแล้ว) สรุปคือมันดีไปหมด สุดยอดครับหนังเรื่องนี้ ถ้าใครดูรอบแรกยังไม่เข้าใจ มีโอกาสดูรอบ 2 รอบ 3 แล้วพยายามทำความเข้าใจพล๊อตที่ผมเขียนมาข้างต้นจะทำให้ดูหนังเรื่องนี้ได้ อรรถรสมากขึ้น
ชอบเรื่องนี้มากกก ครับ ชอบจนต้องมา โพสต์ ความรู้สึกตัวเอง และความเข้าในในเนื้อหาของหนัง
Tomorrow I will date with yesterday’s you ชอบมากกก จนต้องโพสต์ความรู้สึก และความเข้าใจเนื้อเรื่อง
ก่อนไปต่อขอพูดเรื่อง Your name นิดนึงครับแม้จะช้าไปมาก เห็นพูดถึงกันเยอะ คือพล๊อตเรื่อง Your name ต่างกับ Tomorrow I will date with yesterday’s you เรียกว่าไม่ใกล้เคียงเลย เรื่อง Your name ผมดูแล้วไม่อิน ไปดูเพราะตามกระแส หนังมันจับประเด็นของคนทุกคนที่มีความฝันอยากเจอคนในฝันแล้วมีโอกาสปิ้งกันแบบรักแรกพบ นำมาทำเป็นพล๊อตเรื่องการสลับร่าง ชอบและรักในอีกฝ่ายโดยไม่เคยเจอตัว เฝ้าแต่ฝัน แล้วตัดสรุปมาตอนจบที่บังเอิญเจอกันว่า “เออ เราเคยรู้จักกันมาก่อนป่าว ชื่อคุณคือ”.... คาดว่าหนังมันจะโดนใจบางกลุ่มคนที่อยากเจอคู่เจอคนในฝันหรืออยากเจอคนที่ใช่แบบไม่คาดคิด ประมาณนี้ แล้วก็มาอวยหนังกันซะจนเว่อร์ อันนี้ไม่ได้เจตนาว่าใครนะครับ
กลับมาที่หนัง Tomorrow I will date with yesterday’s you ชอบพล๊อตเรื่องมากก.. ไม่รู้คนเขียนคิดได้งัย ชีวิตรักของคนคู่นี้จะไม่วนลูปซ้ำไปมาตลอดนิรันดร์(อย่างที่ผู้ชมบางคนเข้าใจ) ทั้งคู่มีโอกาสที่จะแสดงความรักกันแค่ช่วงเวลาเดียว เพราะเวลาของทั้งคู่เดินสวนกันต่างมิติจะไม่มาบรรจบกันอีก อนาคตของฝ่ายหนึ่งคืออดีตของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือเมื่อฝ่ายหนึ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งเข้าไปอยู่ในวัยเด็กของอีกฝ่าย ประเด็นหลักของหนัง(หรือนวนิยาย)ที่เอามาเล่นอยู่ตรงที่กำหนดให้เวลาของทั้งคู่ที่เดินสวนกันมันมา overlap กัน 40 ปี ด้วยเงื่อนไขทุก ๆ 5 ปี มีโอกาสเจอกัน 30 วัน ดังนั้นช่วงอายุที่เหมาะสมที่สุดที่จะมารักกันได้คือจุดที่ต่างฝ่ายต่างมีอายุ 20 ปี เพราะถ้าหลุดจากช่วงนี้จะไม่เหมาะแล้วเนื่องจากรอบถัดไปที่จะเจอกันฝ่ายหนึ่งจะอายุ 25 ปีขณะที่อีกฝ่ายจะเด็กเกินไปคืออายุแค่ 15 ปี (ยกเว้นถ้าอยากโดนข้อหาพรากผู้เยาว์ ฮ่า ๆ ) พระเอกนางเอกมีโอกาสรักกันแค่ 30 วันในช่วงอายุ 20 ปีเท่านั้น (และแน่นอนว่าตลอด 30 วันนั้นเวลาต่างฝ่ายก็ยังเดินสวนกันอยู่) ที่สำคัญคือเมื่อหมด 30 วันนี้แล้วต่างฝ่ายจะเศร้าและจดจำความรักครั้งนี้ไปจนแก่ตายในมิติเวลาของตนเอง โดยไม่มีโอกาสสมรัก ทำได้อย่างมากแค่ดำเนินชีวิตไปข้างหน้าตามเวลาของตนเองเพื่อในอนาคตไปช่วยชีวิตคนรักหรือบอกเล่าคนรัก(ที่ยังเป็นเด็กหรืออายุน้อย) ถึงเรื่องราวความรักระหว่างกันที่คนรักจะได้เจอ
ประเด็นหนึ่งที่เห็นถกกันคือแล้วจุดเริ่มความรักครั้งนี้มาจากใคร ใครปิ้งใครก่อน หรือใครช่วยชีวิตใครก่อนในวัยเด็กของอีกฝ่าย เหมือนคำถามที่ว่าไก่กะไข่ใครเกิดก่อนกัน ขอตอบว่าจุดเริ่มก็มาจากทั้งคู่แล้วแต่ว่ามองในมิติเวลาของใคร ถ้ามองในมิติเวลาของพระเอก(ซึ่งก็คือเวลาในโลกเรา) นางเอกเป็นฝ่ายช่วยชีวิตคนรัก(พระเอก)ในวัยเด็กก่อนจากการตกน้ำ เพื่อให้มารักกันเมื่อพระเอกโตขึ้น แต่ถ้ามองในมิติเวลาของนางเอก พระเอกก็เป็นฝ่ายไปช่วยชีวิตนางเอกในวัยเด็กก่อน ด้วยเหตุผลเรื่องความรักเช่นเดียวกัน แล้วแผนการก่อให้เกิดความรักในวัย 20 ปีของทั้งคู่มาจากใคร (บางคนบอกว่าตามนวนิยายต้นฉบับนางเอกข้ามมิติเวลามาตอน 5 ขวบและพระเอกได้ช่วยชีวิตเอาไว้ เลยหลงรักพระเอกแต่นั้น จึงวางแผนรักครั้งนี้ อันนี้ผมไม่ได้อ่านหนังสือครับ แต่สงสัยว่าเด็ก 5 ขวบ จะปิ้งรักแล้วเหรอ) ก็ขอว่าไปตามเนื้อหาที่เห็นจากหนัง มันขึ้นอยู่กับว่ามองในมิติเวลาของใคร คือถ้ามองจากมุมของพระเอก ก็เป็นแผนของเขา (ณ วัย 25) ผู้ซึ่งผ่านความรักครั้งนี้เมื่อตอนอายุ 20 ปีเอาเรื่องราวความรักระหว่างกันไปเล่าให้นางเอกในวัย 15 ปีฟังเพื่อที่ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า(ในมิติเวลาของนางเอก)จะได้มารักพระเอก ถ้ามองจากมุมนางเอกเมื่อเธออายุ 20 ปีเธอก็เป็นคนกำหนดแผนทั้งหมดขึ้นเพื่อให้พระเอกมาปิ้ง (โดยที่ ขณะนั้นพระเอกยังไม่รู้จักนางเอก) คือมันผูกปมซ้อนกันไปมาแบบสุดยอดมากก... ซึ่งอ่านแล้วอาจงง เอาเป็นว่าไม่ต้องหาว่าใครเป็นฝ่ายเริ่ม ขึ้นอยู่กับว่ามองในมิติเวลาของใคร แค่นั้นพอ
แต่ที่อยากมาโพสต์สุด ๆ คือการเข้าใจความรู้สึกของคนคู่นี้ โดยเฉพาะในมุมของนางเอก ซึ่งถ้าผู้ชมไม่จินตนาการว่าตัวผู้ชมเองเป็นตัวนางเอก จะไม่มีวันเข้าใจว่าทำไม... นางเอกต้องบอกพระเอกว่าเป็นคนร้องไห้บ่อยนะ, ทำไมเวลาแยกจากกันช่วงวันแรกที่เจอกันและพระเอกบอก “เจอกันพรุ่งนี้” นางเอกจะร้องไห้, ทำไมพระเอกจับมือนางเอกครั้งแรกนางเอกร้องไห้, ทำไมการร่วมหลับนอนกับพระเอกครั้งแรกนางเอกก็ร้องไห้, ทำไมในแต่ละวันเธอถึงมีอากัปกิริยาแบบนั้นที่ดูต่างไปจากวันวานก่อน, และทำไม อื่น ๆ ...
คำตอบก็คือการถ่ายทอดเรื่องราวในหนังแต่ละวันที่พระเอกนางเอกเจอกันที่เราเห็นมันล้อไปตามเวลาโลกหรือตามมิติเวลาของพระเอก ที่นี้ถ้าเราจินตนาการว่าเราคือตัวนางเอกที่มิติเวลาของเธอเดินสวนกับเวลาโลกเราถึงจะเข้าใจมากขึ้นทำไมนางเอกจึงมีอากัปกิริยาเช่นนั้น ณ วันแรก(วันที่ 1ของพระเอก)ที่พระเอกเจอนางเอกก็คือวันสุดท้ายแล้ว(วันที่ 30 ของนางเอก)ที่นางเอกจะได้เจอพระเอก ณวันนั้นความรู้สึกรักต่อพระเอกมันมีมาเต็มเปี่ยมแล้วเพราะสำหรับเธอมันผ่านมาแล้ว 30 วัน ในขณะที่พระเอกเพิ่งเริ่มรู้จักและปิ้งนางเอก ลองนึกภาพว่านางเอกต้องฝืนความรู้สึกตัวเองแค่ไหน เก็บความเศร้าฝืนทำเรื่องต่าง ๆ มากแค่ไหนที่ทำเป็นเหมือนกับเพิ่งรู้จักพระเอก ทุกอย่างที่เป็นครั้งแรกของพระเอก จับมือ กอด ร่วมหลับนอน ฯลฯ มันคือครั้งสุดท้ายแล้วสำหรับนางเอก ช่วงวันแรกที่คบกันพระเอกบอก “เจอกันพรุ่งนี้” สำหรับเธอมันไม่มีพรุ่งนี้แล้วเพราะมันเป็นอดีตของเธอไปแล้ว ความรู้สึกพระเอกเต็มไปด้วยสุขสมหวังรอวันพรุ่งนี้ แต่สำหรับนางเอกมันจะไม่มีอีก สิ่งที่เธอทำได้คืออะไร ฝืนยิ้ม....แล้วร้องไห้บ่อย ๆ
เธอข้ามมิติของเธอมาเจอพระเอกในแต่ละวัน พอหลังเที่ยงคืนทุกคืนก็ต้องกลับไป หรือหายตัวไปเหมือน “ซินเดอเรลลา” แล้วถามว่านางเอกรู้ได้อย่างไรในวันรุ่งขึ้นตามมิติเวลาของเธอ (ซึ่งเป็นเรื่องอนาคตสำหรับเธอ) ว่าต้องทำอะไรร่วมกับพระเอกในแต่ละวัน ทำอย่างไร อยู่ตรงไหน จึงให้พระเอกมาเจอแล้วพระเอกรู้สึกปิ้ง ก็มาจากวันแรกของนางเอกที่เจอกัน (วันที่ 30 แล้วสำหรับพระเอก) แล้วพระเอกเล่าให้ฟังว่าตลอด 30 วันในเวลาโลกทั้งคู่ทำอะไรร่วมกันมาบ้าง นางเอกจดเอาไว้ใน diary แล้วแกล้งทิ้งไว้ให้พระเอกดู หลังจากร่วมหลับนอนครั้งแรก(สำหรับพระเอก)หรือนัยหนึ่งครั้งสุดท้าย(สำหรับนางเอก) นั่นคือจุดเริ่มของเรื่อง(ในมุมมองของพระเอก) ... Tomorrow I will date with yesterday’s you
มาที่ฝั่งพระเอกบ้างครับ ผู้ชมจะเข้าใจความรู้สึกของพระเอกได้ดีกว่า เพราะมิติเวลาของพระเอกก็คือเวลาโลกเดียวกับของเราเดินไปทางเดียวกัน เริ่มตั้งแต่ปิ้งนางเอก ความรักที่เริ่มก่อตัว แบบรักแรกพบ กล้า ๆ กลัวจะนัดนางเอก จะกอดนางเอก จับมือ ฯลฯ ชีวิตดูหวานแหวว แต่หลังจากความลับเผย กลายเป็น Tomorrow I will date with yesterday’s you ความรู้สึกพระเอกตกลงทันที คือ สับสน กลัวนางเอก (เพราะนางเอกรู้อยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตของพระเอก ซึ่งคืออดีตของเธอ) ไม่ยุติธรรม รับไม่ได้ที่รักครั้งนี้จะจบในระยะเวลาสั้น ...พระเอกจึงขอเดินจากไปจากนางเอก แต่นางเอกดึงมือและเรียกไว้มองด้วยสายตาให้ไตร่ตรอง พอจำได้มั้ยครับฉากนี้ ... พระเอกจึงเริ่มคิดในมุมของนางเอกถ้าเวลาของคนสองคนเดินสวนกัน พระเอกถึงเข้าใจความรู้สึกของนางเอกอย่างท่องแถ้ว่าที่จริงแล้วนางเอกเจ็บปวดแค่ไหนในระหว่างที่เริ่มคบกัน จึงตัดสินใจวิ่งกลับไปหางัยครับ
หลังจากความลับเผย momentum ความรัก ความเศร้า ความเจ็บปวด ตอนนี้กลับมาตกที่พระเอก โดยเวลาโลกยิ่งผ่านไปความรักก็ท่วมท้นมากขึ้น พร้อมทั้งรับรู้อีกไม่กี่วันก็ต้องจาก ขณะที่นางเอกยิ่งนานวันก็ยิ่งกลายเป็นวันแรก ๆ ของเธอ (ตามมิติเวลาของเธอ) ซึ่งเป็นช่วงที่ความรู้สึก ความรัก เพิ่งเริ่มไต่ขึ้น ในมุมมองพระเอกพฤติกรรมและความรู้สึกของนางเอกเมื่อวานจะไม่ต่อเนื่องมาวันนี้ เพราะมันคือเรื่องในอนาคตของเธอ ถ้าสังเกตุมีฉากหนึ่งที่พระเอกพานางเอกไปเจอพ่อแม่แล้วนางเอกมีทีท่าลังเล มองในมิติเวลาของพระเอกคนเราคบกันระยะเวลาหนึ่งก็อยากพาคนรักไปเจอพ่อแม่ แต่ถ้ามองในมิติเวลาของนางเอกนั่นเป็นช่วงแรก ๆ ที่เพิ่งคบกัน แล้วจะให้ไปเจอพ่อแม่ก็เลยอึดอัด
...ดีกรีความรักของคนคู่นี้เดินสวนทางกัน ฝ่ายหนึ่งเพิ่งเริ่มก่อตัวขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งรักมาท่วมท้นมาแล้ว เป็นรักแท้ที่ตอนจบต้องเจ็บด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย...
หนังต้องถ่ายทอดตามมิติเวลาของพระเอกละครับ (ถ้ามาถ่ายทอดในมุมมองจากนางเอกเราจะยิ่งงงเพราะเวลาเดินสวนกัน) ผู้ชมจะรู้สึกอิ่มเอมกับหนังในช่วงแรก แต่พอเผยความลับว่า Tomorrow I will date with yesterday’s you ตอนนี้ผู้ชมบางส่วนจะเริ่มตามอารมณ์ของหนังไม่ทันแล้ว ส่วนมากหนังเลิกก็ยังต้องคิดต่อกันเป็นวัน ๆ (อย่างผมเป็นต้น)
ผมไม่ขอวิจารณ์ ผู้กำกับหรือนักแสดง เพราะวิจารณ์ไม่เป็น รู้แต่แสดงดี กำกับดี ดูแล้วไม่งง ดูแล้วตรึงผมดึงอารมณ์ผมร่วมไปกับเรื่องตลอดเวลาแห่งการดู (ขนาดเข้าช้าไป 10 นาที ไปถึงกำลังฉายฉากนัดหมายกันแล้ว) สรุปคือมันดีไปหมด สุดยอดครับหนังเรื่องนี้ ถ้าใครดูรอบแรกยังไม่เข้าใจ มีโอกาสดูรอบ 2 รอบ 3 แล้วพยายามทำความเข้าใจพล๊อตที่ผมเขียนมาข้างต้นจะทำให้ดูหนังเรื่องนี้ได้ อรรถรสมากขึ้น
ชอบเรื่องนี้มากกก ครับ ชอบจนต้องมา โพสต์ ความรู้สึกตัวเอง และความเข้าในในเนื้อหาของหนัง