Wide Area Network (WAN) ถือเป็นโลกที่ค่อนข้างลี้ลับสำหรับชาวเน็ตเวิร์กวัยกระเตาะทั้งหลาย ซึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องสารพัดแบบ รวมถึงโปรโตคอลและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการทำความเข้าใจ
ดังนั้นในปัจจุบันที่มีลิงค์ WAN ที่นิยมใช้เชื่อมต่อกับสำนักงานสาขาหรือไซต์งานห่างไกลเพื่อให้ได้ “ความไพรเวซี่สุดขีด” แทนที่จะวิ่งผ่านอินเทอร์เน็ต อยู่ 5 แบบด้วยกันนั้น ทาง Networkcomputing.com ได้สรุปความแตกต่างและคำแนะนำในการเลือกใช้อย่างง่ายๆ ดังต่อไปนี้
1. Dark Fiber
ใยแก้วแห่งความมืดมิดนี้นำมาซึ่งความยืดหยุ่นและความสามารถในการควบคุมอันมหาศาล ดาร์กไฟเบอร์ในที่นี้หมายถึงใยแก้วนำแสงที่มีการลากไว้แล้ว แต่ยังไม่มีการใช้งานอยู่ในขณะนั้น (หรือมืดไม่มีแสงวิ่งผ่าน) นั่นคือ คุณอาจจะลากสายไฟเบอร์วิ่งระหว่างสำนักงานสาขาเอง หรือจะไปเช่าสายจากพวกเครือข่ายโทรคมนาคมหรือหน่วยงานภาครัฐที่ลากทิ้งไว้รอผู้ใช้ประโยชน์อย่างคุณก็ได้ การเป็นเจ้าของลิงค์ไฟเบอร์นี้ให้การเชื่อมต่อที่เป็นส่วนตัวด้วยความเร็วการส่งต่อข้อมูลเท่าไรก็ได้ที่คุณต้องการตั้งค่าจากต้นทางและปลายทาง ข้อเสียอย่างเดียวคือ “แพงที่สุด” ดังนั้นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คุณมาเลือกลิงค์ไฮโซแบบนี้คือ “ความเร็ว” และ “ความปลอดภัย” แบบเหนือระดับ
2. MPLS
เป็นโซลูชั่น WAN ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ด้วยการหาเส้นทางพาแต่ละแพ็กเก็จข้อมูลผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยใช้เฮดเดอร์ของโปรโตคอล MPLS ขนาด 4 ไบต์ที่ระบุรหัสลูกค้าแต่ละคนแยกกันอย่างชัดเจน MPLS เปิดให้ลูกค้าโยนภาระในการตั้งค่าเราท์ติ้งและโพลิซี QoS ที่แสนเหนื่อยยากให้ผู้ให้บริการรับหน้าแทน ลูกค้าเพียงแค่ปรับแต่งเครือข่ายภายในให้สอดรับกับลิงค์ MPLS ตรงกลางนี้เท่านั้น ส่วนทรูพุตที่มีให้บริการนั้นก็หลากหลายตามกำลังทรัพย์ ตั้งแต่หนึ่งเมก ไปจนถึงหลายพัน Mbps ด้วยการประกันแบนด์วิธให้ได้ตามสัญญาตลอดอย่างเข้มงวดผ่านสัญญาที่เรียกว่า Service-Level Agreement (SLA) รวมถึงผู้ให้บริการสามารถโยงลิงค์ให้คุณทั้งแบบจุดต่อจุด หรือกระจายเชื่อมหลายจุดพร้อมกันเป็นใยแมงมุม (Point-to-Multipoint) รวมถึงโยงเครือข่ายครอบคลุมกว้างไกลได้ตามความสามารถของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจคลุมถึงคนละประเทศหรือทั่วโลกก็ได้ ดังนั้นถ้าคุณต้องการลิงค์ WAN ที่ครอบคลุมหลายร้อยหลายพันสาขา ข้ามประเทศข้ามทวีปหรือข้ามโลก MPLS ก็เป็นตัวเลือกที่ดีมาก “ตามกำลังทรัพย์” ของคุณ
3. Metro Ethernet
ถ้าสาขาของคุณอยู่ใกล้กันพอสมควร ผู้ให้บริการอาจเสนอทางเลือกนี้แทน MPLS ที่แพงกว่าหลายเท่า แต่ด้วยคำว่า “Metro” ที่แปลว่าเฉพาะเขตในเมืองแล้ว นั่นหมายความว่าคุณจำเป็นต้องอยู่ในเขตที่มีเครือข่ายนี้ครอบคลุมอยู่เท่านั้น พอพูดถึงการรองรับการขยายตัวของเครือข่าย ก็ถือว่าทำได้ดีในระดับน้องๆ MPLS (แต่ถูกกว่า) เลยทีเดียว ไม่ว่าจะมีหลักร้อยหรือหลักพันสาขา แถมยังจัดการได้ง่ายๆ เพราะมันก็คือ “อีเธอร์เน็ต” ธรรมดา ที่คุณจัดการได้ง่ายๆ เหมือนการเชื่อมต่อในวงแลนทั่วไป นั่นคือ คุณสามารถตั้งค่า IP เพื่อเราต์ทราฟิกได้ตามต้องการ หรือแม้แต่เอาโพลิซี QoS บนแลนตัวเองมาใช้คร่อมลิงค์อีเทอร์เน็ตกลางนี้ได้ด้วย โดยผู้ให้บริการไม่มายุ่งวุ่นวายอะไร
4. บรอดแบนด์
บางองค์กรอาจเลือกรัดเข็มขัดถึงขีดสุดด้วยการใช้การเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตธรรมดานี่ล่ะ ไม่ต้องลากหรือเช่าลิงค์อะไรทำไมเปลือง แล้วสร้างความปลอดภัยให้ข้อมูลด้วยการเข้ารหัสเพิ่มเติมหรือทำวีพีเอ็น แน่นอนว่าการไปใช้ลิงค์อินเทอร์เน็ตธรรมดานี้ คุณก็ไม่สามารถเข้าไปยุ่งย่ามเกี่ยวกับโพลิซีควบคุมทราฟิกต่างๆ อย่าง QoS ได้ ดังนั้นถ้าข้อมูลที่เชื่อมต่ออ่อนไหวต่อการหน่วงหรือดีเลย์บนลิงค์แล้ว คุณอาจต้องมองหาทางเลือกอื่น หรือหันไปใช้ SD-WAN ที่ทำงานร่วมกับการเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์ ที่ช่วยคุณจัดการโยนข้อมูลไปยังเส้นทางที่สั้นที่สุดแทน
5. เทคโนโลยีเก่าเก็บ T1
มิตรแท้ตู้เอทีเอ็มตามท้องทุ่งท้องนา ด้วยลิงค์เก่าๆ ที่ให้ความเป็นส่วนตัวแบบ Point-to-Point ด้วยความเร็วหอยทากประมาณ 1.5Mbps ซึ่งถ้าคุณมองว่าไม่พอยาไส้ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอาจใช้วิธีแบ่งโหลดวิ่งบน T1 หลายเส้นแทน แน่นอนว่าการใช้เทคโนโลยีดึกดำบรรพ์ที่คนไม่อยากจะเหลียวแลซัพพอร์ตแล้วนี้ ย่อมราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับอินเทอร์เน็ตบรอด์แบรนด์ หรือแม้แต่เมโทรอีเทอร์เน็ต ดังนั้น ถ้าพื้นที่ของคุณไม่เหลือตัวเลือกอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว คงหนีไม่พ้นมาตายรังน้ำพริกถ้วยเก่าเก็บถ้วยนี้แทน
[บทความ] 5 ทางเลือกในเชื่อมต่อระบบ WAN ที่คุณควรจะต้องทราบไว้ !!
Wide Area Network (WAN) ถือเป็นโลกที่ค่อนข้างลี้ลับสำหรับชาวเน็ตเวิร์กวัยกระเตาะทั้งหลาย ซึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องสารพัดแบบ รวมถึงโปรโตคอลและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการทำความเข้าใจ
ดังนั้นในปัจจุบันที่มีลิงค์ WAN ที่นิยมใช้เชื่อมต่อกับสำนักงานสาขาหรือไซต์งานห่างไกลเพื่อให้ได้ “ความไพรเวซี่สุดขีด” แทนที่จะวิ่งผ่านอินเทอร์เน็ต อยู่ 5 แบบด้วยกันนั้น ทาง Networkcomputing.com ได้สรุปความแตกต่างและคำแนะนำในการเลือกใช้อย่างง่ายๆ ดังต่อไปนี้
1. Dark Fiber
ใยแก้วแห่งความมืดมิดนี้นำมาซึ่งความยืดหยุ่นและความสามารถในการควบคุมอันมหาศาล ดาร์กไฟเบอร์ในที่นี้หมายถึงใยแก้วนำแสงที่มีการลากไว้แล้ว แต่ยังไม่มีการใช้งานอยู่ในขณะนั้น (หรือมืดไม่มีแสงวิ่งผ่าน) นั่นคือ คุณอาจจะลากสายไฟเบอร์วิ่งระหว่างสำนักงานสาขาเอง หรือจะไปเช่าสายจากพวกเครือข่ายโทรคมนาคมหรือหน่วยงานภาครัฐที่ลากทิ้งไว้รอผู้ใช้ประโยชน์อย่างคุณก็ได้ การเป็นเจ้าของลิงค์ไฟเบอร์นี้ให้การเชื่อมต่อที่เป็นส่วนตัวด้วยความเร็วการส่งต่อข้อมูลเท่าไรก็ได้ที่คุณต้องการตั้งค่าจากต้นทางและปลายทาง ข้อเสียอย่างเดียวคือ “แพงที่สุด” ดังนั้นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คุณมาเลือกลิงค์ไฮโซแบบนี้คือ “ความเร็ว” และ “ความปลอดภัย” แบบเหนือระดับ
2. MPLS
เป็นโซลูชั่น WAN ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ด้วยการหาเส้นทางพาแต่ละแพ็กเก็จข้อมูลผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยใช้เฮดเดอร์ของโปรโตคอล MPLS ขนาด 4 ไบต์ที่ระบุรหัสลูกค้าแต่ละคนแยกกันอย่างชัดเจน MPLS เปิดให้ลูกค้าโยนภาระในการตั้งค่าเราท์ติ้งและโพลิซี QoS ที่แสนเหนื่อยยากให้ผู้ให้บริการรับหน้าแทน ลูกค้าเพียงแค่ปรับแต่งเครือข่ายภายในให้สอดรับกับลิงค์ MPLS ตรงกลางนี้เท่านั้น ส่วนทรูพุตที่มีให้บริการนั้นก็หลากหลายตามกำลังทรัพย์ ตั้งแต่หนึ่งเมก ไปจนถึงหลายพัน Mbps ด้วยการประกันแบนด์วิธให้ได้ตามสัญญาตลอดอย่างเข้มงวดผ่านสัญญาที่เรียกว่า Service-Level Agreement (SLA) รวมถึงผู้ให้บริการสามารถโยงลิงค์ให้คุณทั้งแบบจุดต่อจุด หรือกระจายเชื่อมหลายจุดพร้อมกันเป็นใยแมงมุม (Point-to-Multipoint) รวมถึงโยงเครือข่ายครอบคลุมกว้างไกลได้ตามความสามารถของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจคลุมถึงคนละประเทศหรือทั่วโลกก็ได้ ดังนั้นถ้าคุณต้องการลิงค์ WAN ที่ครอบคลุมหลายร้อยหลายพันสาขา ข้ามประเทศข้ามทวีปหรือข้ามโลก MPLS ก็เป็นตัวเลือกที่ดีมาก “ตามกำลังทรัพย์” ของคุณ
3. Metro Ethernet
ถ้าสาขาของคุณอยู่ใกล้กันพอสมควร ผู้ให้บริการอาจเสนอทางเลือกนี้แทน MPLS ที่แพงกว่าหลายเท่า แต่ด้วยคำว่า “Metro” ที่แปลว่าเฉพาะเขตในเมืองแล้ว นั่นหมายความว่าคุณจำเป็นต้องอยู่ในเขตที่มีเครือข่ายนี้ครอบคลุมอยู่เท่านั้น พอพูดถึงการรองรับการขยายตัวของเครือข่าย ก็ถือว่าทำได้ดีในระดับน้องๆ MPLS (แต่ถูกกว่า) เลยทีเดียว ไม่ว่าจะมีหลักร้อยหรือหลักพันสาขา แถมยังจัดการได้ง่ายๆ เพราะมันก็คือ “อีเธอร์เน็ต” ธรรมดา ที่คุณจัดการได้ง่ายๆ เหมือนการเชื่อมต่อในวงแลนทั่วไป นั่นคือ คุณสามารถตั้งค่า IP เพื่อเราต์ทราฟิกได้ตามต้องการ หรือแม้แต่เอาโพลิซี QoS บนแลนตัวเองมาใช้คร่อมลิงค์อีเทอร์เน็ตกลางนี้ได้ด้วย โดยผู้ให้บริการไม่มายุ่งวุ่นวายอะไร
4. บรอดแบนด์
บางองค์กรอาจเลือกรัดเข็มขัดถึงขีดสุดด้วยการใช้การเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตธรรมดานี่ล่ะ ไม่ต้องลากหรือเช่าลิงค์อะไรทำไมเปลือง แล้วสร้างความปลอดภัยให้ข้อมูลด้วยการเข้ารหัสเพิ่มเติมหรือทำวีพีเอ็น แน่นอนว่าการไปใช้ลิงค์อินเทอร์เน็ตธรรมดานี้ คุณก็ไม่สามารถเข้าไปยุ่งย่ามเกี่ยวกับโพลิซีควบคุมทราฟิกต่างๆ อย่าง QoS ได้ ดังนั้นถ้าข้อมูลที่เชื่อมต่ออ่อนไหวต่อการหน่วงหรือดีเลย์บนลิงค์แล้ว คุณอาจต้องมองหาทางเลือกอื่น หรือหันไปใช้ SD-WAN ที่ทำงานร่วมกับการเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์ ที่ช่วยคุณจัดการโยนข้อมูลไปยังเส้นทางที่สั้นที่สุดแทน
5. เทคโนโลยีเก่าเก็บ T1
มิตรแท้ตู้เอทีเอ็มตามท้องทุ่งท้องนา ด้วยลิงค์เก่าๆ ที่ให้ความเป็นส่วนตัวแบบ Point-to-Point ด้วยความเร็วหอยทากประมาณ 1.5Mbps ซึ่งถ้าคุณมองว่าไม่พอยาไส้ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอาจใช้วิธีแบ่งโหลดวิ่งบน T1 หลายเส้นแทน แน่นอนว่าการใช้เทคโนโลยีดึกดำบรรพ์ที่คนไม่อยากจะเหลียวแลซัพพอร์ตแล้วนี้ ย่อมราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับอินเทอร์เน็ตบรอด์แบรนด์ หรือแม้แต่เมโทรอีเทอร์เน็ต ดังนั้น ถ้าพื้นที่ของคุณไม่เหลือตัวเลือกอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว คงหนีไม่พ้นมาตายรังน้ำพริกถ้วยเก่าเก็บถ้วยนี้แทน