นิตยสาร TIME จะทำการคัดเลือกสิงประดิษฐ์ที่ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น ชาญฉลาดมากขึ้น และบางทีก็สนุกสนานมากขึ้นด้วย และเมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ TIME ก็ได้ประกาศ 25 สุดยอดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2016 ซึ่งหนึ่งในนั้นมีตัวแทนจากไทยติดโผด้วย
จากไอเดียความคิดที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ กลับกลายเป็นความจริง ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่ไร้รูปทรงในชุมชนแออัดให้กลายเป็นสนามฟุตบอลที่ไม่ธรรมดา โดยผลงานไอเดียความคิดสร้างสรรค์ของ AP
และนี่คือที่สุดแห่งการฉีกกรอบ เมื่อ ‘พื้นที่ที่ถูกมองข้าม’ สร้างการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่!!
ในบริเวณที่ถูกเรียกว่า “ชุมชนแออัด” หรือที่บางคนอาจเรียกว่า “สลัม” มักถูกมองข้ามจากคนส่วนใหญ่อยู่เสมอ แต่มันจะน่าทึ่งแค่ไหนถ้าการฉีกกรอบและนำความคิดสร้างสรรค์ไปใส่ใน “พื้นที่” ดังกล่าว จะนำไปสู่การเปลี่ยนชีวิตคนได้
โดยสาเหตุหลักของปัญหาวัยรุ่นเกิดจากการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ขาดพื้นที่ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ จึงรวมตัวกันแสดงออกในทางที่ผิด บางคนต้องออกไปแว้นมอเตอร์ไซค์ หรือไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด แต่ในความเป็นจริง มันไมได้หมายความว่าพวกเค้าต้องการที่จะเป็นแบบนั้น แต่เพียงเพราะในพื้นที่ที่พวกเขาอยู่ มันไม่มีพื้นที่ที่จะทำให้สามารถรวมตัวกันเพื่อทำอะไรที่สร้างสรรค์ได้
ด้วยเหตุนี้ทาง AP จึงได้ทำโปรเจกต์ดีๆ ภายใต้ความคิดที่ว่า “พื้นที่ชีวิต เราคิดเพื่อคุณ” จึงเกิดขึ้น โดยพื้นที่บริเวณสลัมคลองเตยก่อนหน้านี้มีน้ำขังอยู่เสมอจนส่งกลิ่นและมียุงชุกชุม
แต่วันนี้ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นสนามฟุตบอลสำหรับชุมชน เป็นการฉีกกรอบสเปซที่แตกต่าง แน่นอนว่าพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้มาเป็นรูปทรงที่สวยงามเป็นมาตรฐาน แต่ไม่ว่าไม่ว่าพื้นที่จะมีรูปทรงแบบไหน ขนาดเท่าไหร่ เอพีก็สร้างประโยชน์ให้กับมันได้เสมอ
‘กีฬา’ เป็นสิ่งที่จะช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชนได้ ดังนั้นสนามฟุตบอลไม่จำเป็นต้องเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
ถ้าหากมันสามารถสามารถสร้างความสุขและเสียงหัวเราะให้กับเด็กๆ ได้ นั่นก็ถือว่าพื้นที่เล็กๆรูปทรงแปลกๆนี้ ได้ทำหน้าที่ของมันแล้ว และใครจะรู้วันหนึ่งข้างหน้า เราอาจจะได้มีนักเตะที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมาจากสนามนี้ก็ได้ เพราะสิ่งที่มากกว่าฟุตบอลก็คือ “แรงบันดาลใจ”
แล้วสิ่งที่เห็นผลในวันนี้เลยก็คือเยาวชนที่นั่นมีชีวิตที่ดีขึ้น บางคนถึงกับบอกว่าที่ผ่านมาเราอยู่แฟลตเดียวกันมาตลอด แต่เพิ่งเคยเจอกันก็วันนี้ หลายคนชอบสนามแห่งนี้ ในขณะที่พ่อแม่เองก็สบายใจที่เห็นลูกใช้เวลาอย่างคุ้มค่า
นิตยสาร TIME ระบุในบทความว่า เขตคลองเตยซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องและชุมชนแออัด จึงไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการสร้างสวนสาธารณะแห่งใหม่ขึ้น แม้เพียงแค่สนามหญ้าสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่สำหรับให้เด็กๆ เล่นฟุตบอลก็ไม่สามารถหาพื้นที่กว้างพอจะสร้างได้
ดังนั้นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของไทยอย่าง AP จึงได้คิดค้นวิธีการใหม่ในการแก้ปัญหานี้ โดยปรับเปลี่ยนพื้นที่รกร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ด้วยการทำพื้นคอนกรีต ทาสีตกแต่งด้วยวัสดุกันลื่น ทำให้กลายเป็นสนามฟุตบอลรูปทรงแปลกใหม่ที่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่านั้น
ทันทีที่ถึงเวลาเลิกเรียน สนามฟุตบอลรูปทรงแปลกตานี้ก็เต็มไปด้วยเด็กๆ ที่มาใช้เวลาล่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการออกกำลังกาย
โดยทาง AP ได้เปิดเผยว่า การที่นิตยสาร TIME ยกย่องให้ ‘AP Unusual Football Field’ (สนามฟุตบอลรูปทรงฉีกแนว) เป็น 1 ใน 25 สุดยอดสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2016 นั้น ถือเป็นความสำเร็จที่เหนือความคาดหมาย
แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้น ความสำเร็จสูงสุดของโปรเจกต์นี้ คือ สิ่งที่เราสร้างสรรค์ขึ้นตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง เพราะหัวใจสำคัญของการออกแบบก็คือการคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก นั่นก็คือคนในชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่เราสร้างสรรค์ความตั้งใจของเราจริงๆ ซึ่งตรงกับหลักเกณฑ์ที่นิตยสาร TIME ใช้ในการคัดเลือกที่ว่าสิ่งประดิษฐ์จะต้องช่วยทำให้สังคมโลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น
ความคิดเห็นของเด็กๆ ที่ได้ใช้สนามฟุตบอลทรงแปลกตา
เด็กชายรัชพล ละวะนาวิก (น้องโบ้ท) อายุ 12 ปี กล่าวว่า “ผมรู้สึกตื่นเต้นกับสนามที่มีรูปทรงแปลกไปจากสนามที่เคยเล่น และกิจกรรมในวันนี้ก็ช่วยให้เห็นทักษะการเล่นฟุตบอลของตัวเองมากขึ้น ทำให้รู้ว่าเราเก่งในด้านไหนและยังมีทักษะอะไรที่ยังต้องฝึกฝนเพิ่มอีก ส่วนตัวผมจะมีจุดอ่อนเรื่องความแม่นยำ โดยเฉพาะ การเตะบอลให้เข้าเป้า และยิ่งมีสนามใหม่หน้าตาแปลกๆ แบบนี้ ก็ทำให้ผมอยากฝึกเตะบอลมากขึ้นเลยครับ”
เด็กชายศรีรัตน์ นากเงิน (น้องเนส) อายุ 14 ปี กล่าวว่า “ปกติพวกเราจะเล่นฟุตบอลกันที่อื่น เมื่อมีสนามใหม่นี้เราสามารถเจอเพื่อนที่อยู่คนละตึกได้โดยไม่ต้องหาสนามใหม่ นอกจากนี้กิจกรรมในวันนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างความตื่นเต้นในทุกช่วง โดยเฉพาะช่วงท้ายที่โค้ชให้แบ่งทีมแข่งขันเตะลูกฟุตบอลใส่ป้ายที่เตรียมไว้ เป็นการฝึกทักษะความแม่นยำได้ดีมากเลยครับ”
นายวชิตพล ศิริสวัสดิ์ (น้องจิม) อายุ 16 ปี กล่าวว่า “ตอนแรกผมรู้สึกว่าสนามเล็กและแคบ แต่พอมาลองเล่นจริงๆ แล้ว ความแคบก็ไม่ใช่อุปสรรคหรือทำให้การเล่นฟุตบอลสนุกน้อยลงเลย กลับทำให้พวกเรารู้สึกท้าทายความสามารถในการเล่นฟุตบอลมากขึ้นด้วยซ้ำ ทำให้พวกเราต้องคิดมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการกะระยะส่งบอลให้เพื่อน ก็สนุกไปอีกแบบครับ”
และนี่คือหนึงในความภาคภูมิใจของคนไทยที่สร้างสรรค์จนได้การยอมรับในระดับสากล ไม่แน่ว่าในอนาคต อาจมีนักฟุตบอลทีมชาติไทยที่ถูกสร้างขึ้นจากสนามแห่งนี้ก็เป็นได้
ที่มา: time ,APTHAI
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.meekhao.com/news/time-thai-innovation-2016,http://www.meekhao.com/news/change-space-ap
ระดับโลก!! TIME ยกย่องผลงานไอเดียของคนไทยให้เป็น “สุดยอดนวัตกรรมแห่งปี 2016”
จากไอเดียความคิดที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ กลับกลายเป็นความจริง ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่ไร้รูปทรงในชุมชนแออัดให้กลายเป็นสนามฟุตบอลที่ไม่ธรรมดา โดยผลงานไอเดียความคิดสร้างสรรค์ของ AP
และนี่คือที่สุดแห่งการฉีกกรอบ เมื่อ ‘พื้นที่ที่ถูกมองข้าม’ สร้างการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่!!
ในบริเวณที่ถูกเรียกว่า “ชุมชนแออัด” หรือที่บางคนอาจเรียกว่า “สลัม” มักถูกมองข้ามจากคนส่วนใหญ่อยู่เสมอ แต่มันจะน่าทึ่งแค่ไหนถ้าการฉีกกรอบและนำความคิดสร้างสรรค์ไปใส่ใน “พื้นที่” ดังกล่าว จะนำไปสู่การเปลี่ยนชีวิตคนได้
โดยสาเหตุหลักของปัญหาวัยรุ่นเกิดจากการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ขาดพื้นที่ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ จึงรวมตัวกันแสดงออกในทางที่ผิด บางคนต้องออกไปแว้นมอเตอร์ไซค์ หรือไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด แต่ในความเป็นจริง มันไมได้หมายความว่าพวกเค้าต้องการที่จะเป็นแบบนั้น แต่เพียงเพราะในพื้นที่ที่พวกเขาอยู่ มันไม่มีพื้นที่ที่จะทำให้สามารถรวมตัวกันเพื่อทำอะไรที่สร้างสรรค์ได้
ด้วยเหตุนี้ทาง AP จึงได้ทำโปรเจกต์ดีๆ ภายใต้ความคิดที่ว่า “พื้นที่ชีวิต เราคิดเพื่อคุณ” จึงเกิดขึ้น โดยพื้นที่บริเวณสลัมคลองเตยก่อนหน้านี้มีน้ำขังอยู่เสมอจนส่งกลิ่นและมียุงชุกชุม
แต่วันนี้ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นสนามฟุตบอลสำหรับชุมชน เป็นการฉีกกรอบสเปซที่แตกต่าง แน่นอนว่าพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้มาเป็นรูปทรงที่สวยงามเป็นมาตรฐาน แต่ไม่ว่าไม่ว่าพื้นที่จะมีรูปทรงแบบไหน ขนาดเท่าไหร่ เอพีก็สร้างประโยชน์ให้กับมันได้เสมอ
‘กีฬา’ เป็นสิ่งที่จะช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชนได้ ดังนั้นสนามฟุตบอลไม่จำเป็นต้องเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
ถ้าหากมันสามารถสามารถสร้างความสุขและเสียงหัวเราะให้กับเด็กๆ ได้ นั่นก็ถือว่าพื้นที่เล็กๆรูปทรงแปลกๆนี้ ได้ทำหน้าที่ของมันแล้ว และใครจะรู้วันหนึ่งข้างหน้า เราอาจจะได้มีนักเตะที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมาจากสนามนี้ก็ได้ เพราะสิ่งที่มากกว่าฟุตบอลก็คือ “แรงบันดาลใจ”
แล้วสิ่งที่เห็นผลในวันนี้เลยก็คือเยาวชนที่นั่นมีชีวิตที่ดีขึ้น บางคนถึงกับบอกว่าที่ผ่านมาเราอยู่แฟลตเดียวกันมาตลอด แต่เพิ่งเคยเจอกันก็วันนี้ หลายคนชอบสนามแห่งนี้ ในขณะที่พ่อแม่เองก็สบายใจที่เห็นลูกใช้เวลาอย่างคุ้มค่า
นิตยสาร TIME ระบุในบทความว่า เขตคลองเตยซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องและชุมชนแออัด จึงไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการสร้างสวนสาธารณะแห่งใหม่ขึ้น แม้เพียงแค่สนามหญ้าสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่สำหรับให้เด็กๆ เล่นฟุตบอลก็ไม่สามารถหาพื้นที่กว้างพอจะสร้างได้
ดังนั้นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของไทยอย่าง AP จึงได้คิดค้นวิธีการใหม่ในการแก้ปัญหานี้ โดยปรับเปลี่ยนพื้นที่รกร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ด้วยการทำพื้นคอนกรีต ทาสีตกแต่งด้วยวัสดุกันลื่น ทำให้กลายเป็นสนามฟุตบอลรูปทรงแปลกใหม่ที่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่านั้น
ทันทีที่ถึงเวลาเลิกเรียน สนามฟุตบอลรูปทรงแปลกตานี้ก็เต็มไปด้วยเด็กๆ ที่มาใช้เวลาล่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการออกกำลังกาย
โดยทาง AP ได้เปิดเผยว่า การที่นิตยสาร TIME ยกย่องให้ ‘AP Unusual Football Field’ (สนามฟุตบอลรูปทรงฉีกแนว) เป็น 1 ใน 25 สุดยอดสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2016 นั้น ถือเป็นความสำเร็จที่เหนือความคาดหมาย
แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้น ความสำเร็จสูงสุดของโปรเจกต์นี้ คือ สิ่งที่เราสร้างสรรค์ขึ้นตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง เพราะหัวใจสำคัญของการออกแบบก็คือการคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก นั่นก็คือคนในชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่เราสร้างสรรค์ความตั้งใจของเราจริงๆ ซึ่งตรงกับหลักเกณฑ์ที่นิตยสาร TIME ใช้ในการคัดเลือกที่ว่าสิ่งประดิษฐ์จะต้องช่วยทำให้สังคมโลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น
ความคิดเห็นของเด็กๆ ที่ได้ใช้สนามฟุตบอลทรงแปลกตา
เด็กชายรัชพล ละวะนาวิก (น้องโบ้ท) อายุ 12 ปี กล่าวว่า “ผมรู้สึกตื่นเต้นกับสนามที่มีรูปทรงแปลกไปจากสนามที่เคยเล่น และกิจกรรมในวันนี้ก็ช่วยให้เห็นทักษะการเล่นฟุตบอลของตัวเองมากขึ้น ทำให้รู้ว่าเราเก่งในด้านไหนและยังมีทักษะอะไรที่ยังต้องฝึกฝนเพิ่มอีก ส่วนตัวผมจะมีจุดอ่อนเรื่องความแม่นยำ โดยเฉพาะ การเตะบอลให้เข้าเป้า และยิ่งมีสนามใหม่หน้าตาแปลกๆ แบบนี้ ก็ทำให้ผมอยากฝึกเตะบอลมากขึ้นเลยครับ”
เด็กชายศรีรัตน์ นากเงิน (น้องเนส) อายุ 14 ปี กล่าวว่า “ปกติพวกเราจะเล่นฟุตบอลกันที่อื่น เมื่อมีสนามใหม่นี้เราสามารถเจอเพื่อนที่อยู่คนละตึกได้โดยไม่ต้องหาสนามใหม่ นอกจากนี้กิจกรรมในวันนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างความตื่นเต้นในทุกช่วง โดยเฉพาะช่วงท้ายที่โค้ชให้แบ่งทีมแข่งขันเตะลูกฟุตบอลใส่ป้ายที่เตรียมไว้ เป็นการฝึกทักษะความแม่นยำได้ดีมากเลยครับ”
นายวชิตพล ศิริสวัสดิ์ (น้องจิม) อายุ 16 ปี กล่าวว่า “ตอนแรกผมรู้สึกว่าสนามเล็กและแคบ แต่พอมาลองเล่นจริงๆ แล้ว ความแคบก็ไม่ใช่อุปสรรคหรือทำให้การเล่นฟุตบอลสนุกน้อยลงเลย กลับทำให้พวกเรารู้สึกท้าทายความสามารถในการเล่นฟุตบอลมากขึ้นด้วยซ้ำ ทำให้พวกเราต้องคิดมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการกะระยะส่งบอลให้เพื่อน ก็สนุกไปอีกแบบครับ”
และนี่คือหนึงในความภาคภูมิใจของคนไทยที่สร้างสรรค์จนได้การยอมรับในระดับสากล ไม่แน่ว่าในอนาคต อาจมีนักฟุตบอลทีมชาติไทยที่ถูกสร้างขึ้นจากสนามแห่งนี้ก็เป็นได้
ที่มา: time ,APTHAI [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้