กระทู้นี้ทำจากการรวบรวมข้อมูลในInternet โดย จขกท. ไม่ได้มีความรู้เรื่องดนตรี แต่ลองค้นมาดูสนุกๆกันนะคะ ถ้าผิดพลาดประการใด แจ้งได้เลย
จากละครเพชรกลางไฟในตอนที่ 4 ดูละครแล้วอ่านคอมเม้นในยูทูป เจอหลายๆคนบอกว่า นี่เป็นเพลงยกทัพยักษ์ บ้างก็ว่านี่ไม่ใช่เพลงจีบสาวนะ55เลยทำให้สนใจเพลงนี้มากๆว่ามีที่มายังไงค่ะ
ฟังเพลงกันเต็มๆ คลิปคุณอนล....เป็นศิษย์เอกฉัน | เพชรกลางไฟ | TV3 Official
แต่ก่อนจะไปถึงเพลง ขอทำความรู้จักสั้นๆถึงเครื่องดนตรี ที่เรียกว่า จะเข้ก่อน
ย้ำ ไม่ใช่จระเข้ ที่ฟันแหลมๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
(คนที่มายืมคอมดิชั้นจะคิดยังไง ที่ตัวเองเซฟรูปจระเข้ตัวเขื่องจากวิกิพีเดียไว้ (สาวเลือดเย็น?)
จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก มีประวัติและมีหลักฐานครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย (ดูต่อในสปอย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ตัวจะเข้ทำเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำด้วยไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 52 ซม. และกว้างประมาณ 11.5 ซม. ท่อนหัวและท่อนหางขุดเป็นโพรงตลอด รวมทั้งสิ้นมีความยาวประมาณ 130 – 132 ซม. ปิดใต้ทองด้วยแผ่นไม้
มีเท้ารองตอนหัว 4 เท้า และตอนปลายปางอีก 1 เท้า วัดจากปลายเท้าถึงตอนบนของตัวจะเข้ สูงประมาณ 19 ซม. ทำหลังนูนตรงกลางให้สองข้างลาดลง โยงสายจากตอนหัวไปทางตอนหางเป็น 3 สาย มีลูกบิดประจำสายละ 1 อัน สาย 1 ใช้เส้นลวดทองเหลือง อีก 2 สายใช้เส้นเอ็น มีหย่องรับสายอยู่ตรงปลายหางก่อนจะถึงลูกบิด ระหว่างตัวจะเข้มีแป้นไม้เรียกว่า นม รองรับสายติดไว้บนหลังจะเข้ รวมทั้งสิ้น 11 อัน เพื่อไว้เป็นที่สำหรับนิ้วกดนมแต่ละอันสูง เรียงลำดับขึ้นไป ตั้งแต่ 2 ซม. จนสูง 3.5 ซม.
เวลาบรรเลงใช้ดีดด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลมทำด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เคียนด้วยเส้นด้ายสำหรับพันติดกับปลายนิ้วชี้ข้างขวาของผู้ดีด และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางช่วยจับให้มีกำลัง เวลาแกว่งมือส่ายไปมา ให้สัมพันธ์ กับมือข้างซ้ายขณะกดสายด้วย ไม้ดีดควรยาวประมาณ 7-8เซนติเมตร มีสายยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
สายของจะเข้นั้นจะมีอยู่ 3 สาย ส่วนใหญ่ทำมาจากไหมหรือเอ็น สามารถแบ่งได้ คือ สายที่อยู่ติดกับตัวผู้เล่นจะเข้ มีชื่อเรียกว่า สายลวด เป็นสายที่ทำมาจากลวดทองเหลือง สายที่อยู่ทางด้านนอกสุดของจะเข้ มีชื่อเรียกว่า สายเอก ทำมาจากไหมหรือเอ็นสายที่อยู่ตรงกลาง มีชื่อเรียกว่า สายทุ้ม ทำมาจากไหมหรือเอ็น
(ข้อมูลและรูปจาก วิกิพีเดีย)
เกร็ดเกี่ยวกับเพลงกราวในและการเดี่ยวจะเข้ในเพลง กราวใน
ที่มา: บทความ วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน สามชั้น ทางอาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ ของ นายเกียรติรัตน์ หุ่นสุวรรณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.faa-chula.com/journal/files/sample_article.pdf
เพลงกราวในแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะด้วยกันแต่ที่รู้จักกันมากก็คือเพลงกราวในที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ (เพลงหน้าพาทย์ หมายถึง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คือเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร หรือใช้สำหรับอัญเชิญพระเป็นเจ้า ฤษี เทวดา และครูบาอาจารย์ทั้งหลายให้มาร่วมในพิธีไหว้ครู และพิธีที่เป็นมงคลต่างๆถือเป็นเพลงชั้นสูง และมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงมักจะบรรเลงตามขนบดั้งเดิม ไม่นิยมดัดแปลงหรือแต่งเดิมอย่างเพลงที่ใช้บรรเลงทั่วไป นอกจากนี้แล้ว เพลงหน้าพาทย์ยังเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงเพียงอย่างเดียว ไม่มีบทร้องหรือเนื้อร้องประกอบ (วิกิพีเดีย)) ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้
ประกอบอากัปกิริยาการยกทัพของฝ่ายยักษ์ ลักษณะของเพลงแสดงความสง่างาม ความองอาจ ฮึกเหิมและความยิ่งใหญ่ของฝ่ายยักษ์ ซึ่งใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน นอกจากนี้ยังเป็นบทเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมสงฆ์ ใช้บรรเลงรวมอยู่ในชุดโหมโรงเย็น
กราวในที่รู้จักกันอีกประเภทหนึ่งคือการบรรเลงในลักษณะของเพลงเดี่ยว ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้
ระดับความสามารถของผู้บรรเลงในระดับสูง เพราะเป็นเพลงที่มีกลวิธีในการบรรเลงหลากหลาย ผู้ที่จะสามารถบรรเลงได้นั้นต้องมีความสามารถประสบการณ์และทักษะทางด้านดนตรีมากพอสมควรถึงจะสามารถบรรเลงได้
ต้องมีวุฒิภาวะ เคยบวชเรียนและได้รับการอนุญาตจากครูผู้สอน
เพลงเดี่ยวกราวใน ถือเป็นเพลงเดี่ยวระดับสูง การเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยโดยเพลงเดี่ยว สามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับได้แก่ เพลงเดี่ยวระดับต้น เช่น เพลงจีนขิมใหญ่ เพลงนกขมิ้น เป็นต้น เพลงเดี่ยวระดับกลาง ได้แก่ เพลงลาวแพน เพลงสารถี เป็นต้น และเพลงเดี่ยวระดับสูงได้แก่ เพลงกราวใน เพลงเชิดนอกและเพลงทยอยเดี่ว รูปแบบของการเดี่ยวเพลงกราวในสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายจะเดี่ยวในระบบอัตราสองชั้นไม่ว่าจะเป็น ซอ ขิม จะเข้ ก็ตาม แต่สำหรับเพลงกราวในที่เดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีปะเภทปี่พาทย์ จะเดี่ยวในระบบอัตราสามชั้น (ชั้น หมายถึง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ความเร็วของจังหวะ เดี่ยว>สองชั้น>สามชั้น)
เพลงเดี่ยวกราวใน ในระบบสามชั้นสำหรับหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายมีปรากฏน้อยมาก แต่ก็มีปรากฎโดยจากการกล่าวสืบต่อกันมาว่า ครูแสวง อภัยวงศ์ ปรมาจารยท์างด้านการดีดจะเข้ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งได้ทำทางเดี่ยวเอาไว้ ภายหลังได้มอบโน้ตเพลงดังกล่าวให้คุณครูเขมจิรา(ระวีวรรณ) ทับทิมศรี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ หากแต่คุณครเขมจิราเองก็กล่าวว่านั้ตเพลงดงกล่าวมีทำนองบางทำนอง ต้องการเพิ่มเติมอีก จึงถือว่าเป็นร่องรอยที่สำคัญว่าเดี่ยวกราวใน อัตราสามชั้น เคยมีปรากฏ ในวงการเดี่ยวสำหรับจระเข้แล้วเช่นกัน สำหรับการสืบทอดทางดนตรีไทย สามารถแบ่งออกเป็นสำนักใหญ่ๆ ได้ 3 สำนัก ได้แก่ สายสืบทอดบ้านจางวางทั่ว พาทยโกศลหรือที่เรียกกันว่า“ทางฝั่งธน”
สำหรับสายสืบทอดทางฝั่งธนบุรีนั้น มีลูกศิษย์ลูกหามากมายที่สืบทอดทางเดี่ยวที่ถือว่ามีความลุ่มลึกและลึกซึ้มากท่านหนึ่งได้แก่คุณครูกำนันสำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติแห่งบ้านใหม่หางกระเบน จังหวัดพระนครศรีอยธุยา สำหรับนักดีดจะเข้ ที่สืบทอดทางเดี่ยวและบทเพลงทางฝั่งธนที่สาคัญในปัจจุบันท่านหนึ่งได้แก่ อาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านมนคอมเม้นยูทูป มีคนแจ้งไว้ว่าอาจารย์ท่านเพิ่งสิ้นไปวันที่ 13 ตุลาคม 2559 วันเดียวกันกับวันที่พ่อหลวงของคนไทยจากเราไปเลยค่ะ อันนี้มีคลิปเพลงกราวในที่ท่านเล่นไว้ให้ชมด้วยในยูทูป (มีเสียงคนเูหน่อยนะคะ) สายสืบทอดที่สองได้แก่ บ้าน คุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และสายสืบทอดที่สาม ได้แก่ สายพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)
เกร็ดความรู้จบแล้ว เดี๋ยวมาโยงเข้านักแสดง กับละครนิดนึง 555 แปป
++'จะเข้' ไม่ใช่ 'จระเข้' เครื่องดนตรีไทย และเพลงกราวใน เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากละครเพชรกลางไฟ++
กระทู้นี้ทำจากการรวบรวมข้อมูลในInternet โดย จขกท. ไม่ได้มีความรู้เรื่องดนตรี แต่ลองค้นมาดูสนุกๆกันนะคะ ถ้าผิดพลาดประการใด แจ้งได้เลย
จากละครเพชรกลางไฟในตอนที่ 4 ดูละครแล้วอ่านคอมเม้นในยูทูป เจอหลายๆคนบอกว่า นี่เป็นเพลงยกทัพยักษ์ บ้างก็ว่านี่ไม่ใช่เพลงจีบสาวนะ55เลยทำให้สนใจเพลงนี้มากๆว่ามีที่มายังไงค่ะ
แต่ก่อนจะไปถึงเพลง ขอทำความรู้จักสั้นๆถึงเครื่องดนตรี ที่เรียกว่า จะเข้ก่อน ย้ำ ไม่ใช่จระเข้ ที่ฟันแหลมๆ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก มีประวัติและมีหลักฐานครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย (ดูต่อในสปอย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา: บทความ วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน สามชั้น ทางอาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ ของ นายเกียรติรัตน์ หุ่นสุวรรณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เพลงกราวในแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะด้วยกันแต่ที่รู้จักกันมากก็คือเพลงกราวในที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ (เพลงหน้าพาทย์ หมายถึง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ) ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ประกอบอากัปกิริยาการยกทัพของฝ่ายยักษ์ ลักษณะของเพลงแสดงความสง่างาม ความองอาจ ฮึกเหิมและความยิ่งใหญ่ของฝ่ายยักษ์ ซึ่งใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน นอกจากนี้ยังเป็นบทเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมสงฆ์ ใช้บรรเลงรวมอยู่ในชุดโหมโรงเย็น
กราวในที่รู้จักกันอีกประเภทหนึ่งคือการบรรเลงในลักษณะของเพลงเดี่ยว ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ระดับความสามารถของผู้บรรเลงในระดับสูง เพราะเป็นเพลงที่มีกลวิธีในการบรรเลงหลากหลาย ผู้ที่จะสามารถบรรเลงได้นั้นต้องมีความสามารถประสบการณ์และทักษะทางด้านดนตรีมากพอสมควรถึงจะสามารถบรรเลงได้ ต้องมีวุฒิภาวะ เคยบวชเรียนและได้รับการอนุญาตจากครูผู้สอน
เพลงเดี่ยวกราวใน ถือเป็นเพลงเดี่ยวระดับสูง การเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยโดยเพลงเดี่ยว สามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับได้แก่ เพลงเดี่ยวระดับต้น เช่น เพลงจีนขิมใหญ่ เพลงนกขมิ้น เป็นต้น เพลงเดี่ยวระดับกลาง ได้แก่ เพลงลาวแพน เพลงสารถี เป็นต้น และเพลงเดี่ยวระดับสูงได้แก่ เพลงกราวใน เพลงเชิดนอกและเพลงทยอยเดี่ว รูปแบบของการเดี่ยวเพลงกราวในสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายจะเดี่ยวในระบบอัตราสองชั้นไม่ว่าจะเป็น ซอ ขิม จะเข้ ก็ตาม แต่สำหรับเพลงกราวในที่เดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีปะเภทปี่พาทย์ จะเดี่ยวในระบบอัตราสามชั้น (ชั้น หมายถึง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ )
เพลงเดี่ยวกราวใน ในระบบสามชั้นสำหรับหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายมีปรากฏน้อยมาก แต่ก็มีปรากฎโดยจากการกล่าวสืบต่อกันมาว่า ครูแสวง อภัยวงศ์ ปรมาจารยท์างด้านการดีดจะเข้ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งได้ทำทางเดี่ยวเอาไว้ ภายหลังได้มอบโน้ตเพลงดังกล่าวให้คุณครูเขมจิรา(ระวีวรรณ) ทับทิมศรี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ หากแต่คุณครเขมจิราเองก็กล่าวว่านั้ตเพลงดงกล่าวมีทำนองบางทำนอง ต้องการเพิ่มเติมอีก จึงถือว่าเป็นร่องรอยที่สำคัญว่าเดี่ยวกราวใน อัตราสามชั้น เคยมีปรากฏ ในวงการเดี่ยวสำหรับจระเข้แล้วเช่นกัน สำหรับการสืบทอดทางดนตรีไทย สามารถแบ่งออกเป็นสำนักใหญ่ๆ ได้ 3 สำนัก ได้แก่ สายสืบทอดบ้านจางวางทั่ว พาทยโกศลหรือที่เรียกกันว่า“ทางฝั่งธน”
สำหรับสายสืบทอดทางฝั่งธนบุรีนั้น มีลูกศิษย์ลูกหามากมายที่สืบทอดทางเดี่ยวที่ถือว่ามีความลุ่มลึกและลึกซึ้มากท่านหนึ่งได้แก่คุณครูกำนันสำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติแห่งบ้านใหม่หางกระเบน จังหวัดพระนครศรีอยธุยา สำหรับนักดีดจะเข้ ที่สืบทอดทางเดี่ยวและบทเพลงทางฝั่งธนที่สาคัญในปัจจุบันท่านหนึ่งได้แก่ อาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ สายสืบทอดที่สองได้แก่ บ้าน คุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และสายสืบทอดที่สาม ได้แก่ สายพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)
เกร็ดความรู้จบแล้ว เดี๋ยวมาโยงเข้านักแสดง กับละครนิดนึง 555 แปป