หมายเหตุ : รีวิวนี้เคยเขียนไว้เมื่อหลายปีก่อน ได้นำมาปรับปรุงให้ครบถ้วนมากขึ้น
ขั้นตอนการทาสีบ้าน
การสร้างบ้านหรือปรับปรุงบ้านให้ดูใหม่อยู่เสนอ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ควรมีการเตรียมตัว / เรียนรู้วิธีอยู่บ้าง เรามีคำแนะนำ 9 ข้อ ที่ควรรู้ในการทาสี ให้ได้คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด มาเล่าสู่กันฟัง
1. เตรียมงบประมาณ : เป็นอย่างแรกที่ต้องคำนึงถึงความสามารถในการจับจ่าย ทั้งค่าสี ค่าแรง นั่งร้าน รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ
2. สอบถามผู้เชี่ยวชาญ : ก่อนอื่นเราต้องเรียนรู้ให้ทราบก่อนว่าพื้นผิวประเภทใด (
ปูน / ไม้ ไ ไม้เทียม / เหล็ก) จะใช้สีประเภทอะไร ? โดยเบื้องต้นก็อาจจะศึกษาจาก Catalog สี และหากทันสมัยหน่อยก็ศึกษาจาก website ของผู้ผลิตจำหน่ายสีที่เราสนใจก่อน, หากเราไม่แน่ใจ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สถาปนิก ผู้รับเหมา / ช่างสี (
ไม่แนะนำคุย / ปรึกษากับ พนักงาน PC ประจำจุดขายเท่าไหร่ เพราะพบว่าส่วนใหญ่มีความรู้ไม่เพียงพอ / ไม่ครบถ้วน), เราก็จะได้หลักคิดการใช้สีให้ถูกประเภท และลักษณะการใช้งาน
แนะนำ :
http://www.toagroup.com/ และ
https://www.dulux.co.th/th และ
http://captaincoating.com/th/index.asp หรือ
http://britishpaints.net/th/company.asp
3. เลือกเฉด / โทนสี : เมื่อไตร่ตรองได้ยี่ห้อ / รุ่นสี ได้ตามวัตถุประสงค์ในข้อที่ 1 และ 2 แล้ว ก็เลือกเฉดสีที่ตัวเองชอบ โดยต้องพิจารณโดยภาพรวมด้วยด้วย เช่น ภายนอกหลังคาเป็นสีอะไร วัสดุอื่นๆภายนอกสีอะไร หรือภายใน ควรต้องกลมกลืน / เข้ากันได้กับสีพื้น หรือสีประตู-หน้าต่าง-ผ้าม่าน-เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น, และหากต้องการจินตนาการเป็นภาพเลย ปัจจุบันบริษัทสีชั้นนำ ก็มีสถาปนิก & มัณฑนากร คอยให้คำปรึกษา และมีโปรแกรมออกแบบสีให้ด้วย (
ไม่มี คชจ. / ฟรี / ไม่มีข้อผูกมัด)
แนะนำ
http://ideacolor.toagroup.com/ideacolor/th/index.asp และ
https://www.dulux.co.th/th/decorating-tips-and-advice และ
http://britishpaints.net/th/service.asp หรือ
http://www.nipponpaint.co.th/cdc/contact_cdc.php เป็นต้น
หรือจะลองโหลด App. โปรแกรมแกรมออกแบบสีด้วยตนเอง มาทดลองใช้ >> สำหรับ iOS :
https://itunes.apple.com/th/app/ideacolor/id1048020884?l=th&mt=8
สำหรับ Android :
http://ideacolor.toagroup.com/ideacolor/th/newsRead.asp?vpage=&f_index=73
4. เตรียมพื้นผิว : ก่อนเริ่มระบบงานสี กรณีบ้านใหม่ ปูนฉาบควรทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ต้องทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาด ปราศจากคราบน้ำปูน คราบไข-สิ่งสกปรก ฝุ่นละออง กรณีเป็นบ้านเก่าก็ต้องใช้เกรียงเหล็กขูด / แซะฟิล์มสีที่หมดอายุออกก่อน รวมทั้งต้องมีการขัดล้างหรือฉีดล้างด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ปล่อยทิ้งให้พื้นผิวแห้งสนิทอย่างน้อย 1-2 วัน (
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน ภาค 3 ต่อไปครับ)
หมายเหตุ : ควรอ่านคำแนะนำจาก ผู้ผลิตจำหน่ายสีให้ละเอียด เพราะอาจจะมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น วัสดุโป๊วรอยร้าว, น้ำยารองพื้นปูนป้องกันความชื้น และน้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำ(
กรณีบ้านเก่า) เป็นต้น
5. ทาสีรองพื้น : การทารองพื้นก่อนเป็นการช่วยการยึดเกาะกับผนังได้ดี ไม่หลุดล่อนออกมาได้ง่าย และการเลือกสีรองพื้นที่ถูกต้องก็เป็นการยึดอายุสีทับหน้าไปในตัว เช่น ปูนฉาบใหม่ก็ใช้ "สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง", บ้านเก่าก็เลือกใช้ "น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า" (
หรือที่เรียกๆกันว่าสีรองพื้นปูนเก่า), โลหะเหล็กก็เป็น "สีรองพื้นกันสนิม" และไม้ (
กรณีเป็นสีทึบแสง) ก็เป็นรองพื้นที่ป้องกันยางไม้ และเชื้อรารวมทั้งทำให้ผิวไม้เรียบเนียนขึ้น ก็คือ "สีรองพื้นไม้อลูมิเนียม กันยางไม้" และ "สีรองพื้นไม้กันเชื้อรา"
6. ทาสีทับหน้า : ควรใช้ให้ถูกประเภท / ลักษณะการใช้งาน สีบางประเภทแยกออกเป็นชนิดภายนอก และชนิดภายใน, ปัจจุบันสีน้ำอะครีลิคนอกจากเดิมๆที่มีแต่ฟิล์มสีชนิดด้าน ผู้ผลิตจำหน่ายสียังมีลักษณะฟิล์มสีทั้งแบบเนียน (
เหลือบเงา) และกึ่งเงา-กึ่งด้าน ให้เลือกใช้แล้ว หรือแม้แต่สีน้ำมันจากเดิมที่มีแต่ชนิดเงามัน ปัจจุบันก็มีให้เลือกเป็นชนิดกึ่งเงา-กึ่งด้านบ้างแล้ว (
บางยี่ห้อ ยังมีชนิดสูตรน้ำ ที่กลิ่นอ่อน ทาง่าย ให้เลือกใช้อีกด้วย)
หมายเหตุ : ควรใช้สีรองพื้น และสีทับหน้าเป็นยี่ห้อเดียวกัน
7. อุปกรณ์ทาสี และอุปกรณ์อื่น : แปรงทาสี และลูกกลิ้งทาสี มีการใช้งานที่แตกต่างกัน, แปรงทาสีมีหลายขนาด (
ตั้งแต่ 1" จนถึง 3"-4") สามารถเข้าได้ทุกซอกทุกมุม ทาตัดขอบหรือตามมุมผนังหรือชิ้นงานพื้นที่เล็กๆ (
แต่อาจจะทาให้เรียบเนียนยากกว่าลูกลิ้ง), ลูกกลิ้งทาสี ก็มีขนาดให้เลือกหลายขนาด (
ที่นิยมกันก็ ขนาด 7" และ 9") เหมาะสำหรับการทาพื้นที่กว้างๆ ทำงานได้รวดเร็วกว่าการใช้แปรง และประหยัดเนื้อสีกว่า
อุปกรณ์อื่น ก็เช่น ผ้า (
หรือ นสพ.) ปูพื้นกันเปื้อน เพื่อป้องกันสีกระเด็น หรือหยดลงพื้น, บันไดสำหรับงานที่สูง ถาดผสมสี เทปกระดาษ แว่นตา(
safety) ผ้าปิดปาก-จมูก และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ
8. เก็บรายละเอียด : เมื่อทาเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบหาข้อบกพร่อง เช่น สีที่ทาอาจจะไม่สม่ำเสมอ หรือทาตกหล่นบริเวณที่เป็นซอก / มุม ก็จะได้ทาเก็บรายละเอียดของงานให้เรียบร้อย เท่านี้ก็จะได้บ้านที่นอกจากดูใหม่แล้ว ยังได้ประสิทธิภาพอายุงานสีเต็มร้อย
อนึ่งการทำความสะอาดสีที่กระเด็น เปรอะเปื้อนไปวัสดุที่ไม่เกี่ยวข้อง ควรทำความสะอาดก่อนที่สีจะแห้งสนิท มิฉะนั้นจะเป็นปัญหาภายหลังได้, สีน้ำอะครีลิค ก็ใช้น้ำสะอาด สีน้ำมันก็ใช้ทินเนอร์ (
ที่ใช้ผสมสีน้ำมัน) ค่อยๆเช็ดถู
9. การเก็บรักษาสี : ก่อนอื่นควรทราบก่อนว่า การใช้สี ให้เทเฉพาะส่วนที่จะใช้ออกมาทำการเจือจาง (
ผสม) อีกภาชนะหนึ่ง (
จะด้วยน้ำหรือทินเนอร์ แล้วแต่กรณี) ไม่ควรผสมในถัง / กระป๋องสีโดยตรง (
ยกเว้นว่ามั่นใจว่าจะใช้จนหมด / หรือหากเหลือก็ไม่คิดจะเก็บ), หากใช้สีไม่หมดและอยากจะเก็บไว้ใช้ต่อในคราวหน้า ก็ปิดฝาให้แน่น และหากเป็นไปได้ควรเทสีใส่กระป๋องที่มีขนาดเล็ก / ปิดฝาให้แน่น (
ควรทำฉลากติดไว้ / กันลืม)
หมายเหตุ : หากสนใจจะทาสีด้วยตัวเอง (
DIY) แนะนำดู
https://www.youtube.com/watch?v=tZdsJkPZ04Q
มีต่อภาค 2 >>>>>
[CR] เกร็ดความรู้ "สีทาบ้าน"
หมายเหตุ : รีวิวนี้เคยเขียนไว้เมื่อหลายปีก่อน ได้นำมาปรับปรุงให้ครบถ้วนมากขึ้น
ขั้นตอนการทาสีบ้าน
การสร้างบ้านหรือปรับปรุงบ้านให้ดูใหม่อยู่เสนอ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ควรมีการเตรียมตัว / เรียนรู้วิธีอยู่บ้าง เรามีคำแนะนำ 9 ข้อ ที่ควรรู้ในการทาสี ให้ได้คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด มาเล่าสู่กันฟัง
1. เตรียมงบประมาณ : เป็นอย่างแรกที่ต้องคำนึงถึงความสามารถในการจับจ่าย ทั้งค่าสี ค่าแรง นั่งร้าน รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ
2. สอบถามผู้เชี่ยวชาญ : ก่อนอื่นเราต้องเรียนรู้ให้ทราบก่อนว่าพื้นผิวประเภทใด (ปูน / ไม้ ไ ไม้เทียม / เหล็ก) จะใช้สีประเภทอะไร ? โดยเบื้องต้นก็อาจจะศึกษาจาก Catalog สี และหากทันสมัยหน่อยก็ศึกษาจาก website ของผู้ผลิตจำหน่ายสีที่เราสนใจก่อน, หากเราไม่แน่ใจ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สถาปนิก ผู้รับเหมา / ช่างสี (ไม่แนะนำคุย / ปรึกษากับ พนักงาน PC ประจำจุดขายเท่าไหร่ เพราะพบว่าส่วนใหญ่มีความรู้ไม่เพียงพอ / ไม่ครบถ้วน), เราก็จะได้หลักคิดการใช้สีให้ถูกประเภท และลักษณะการใช้งาน
แนะนำ : http://www.toagroup.com/ และ https://www.dulux.co.th/th และ http://captaincoating.com/th/index.asp หรือ http://britishpaints.net/th/company.asp
3. เลือกเฉด / โทนสี : เมื่อไตร่ตรองได้ยี่ห้อ / รุ่นสี ได้ตามวัตถุประสงค์ในข้อที่ 1 และ 2 แล้ว ก็เลือกเฉดสีที่ตัวเองชอบ โดยต้องพิจารณโดยภาพรวมด้วยด้วย เช่น ภายนอกหลังคาเป็นสีอะไร วัสดุอื่นๆภายนอกสีอะไร หรือภายใน ควรต้องกลมกลืน / เข้ากันได้กับสีพื้น หรือสีประตู-หน้าต่าง-ผ้าม่าน-เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น, และหากต้องการจินตนาการเป็นภาพเลย ปัจจุบันบริษัทสีชั้นนำ ก็มีสถาปนิก & มัณฑนากร คอยให้คำปรึกษา และมีโปรแกรมออกแบบสีให้ด้วย (ไม่มี คชจ. / ฟรี / ไม่มีข้อผูกมัด)
แนะนำ http://ideacolor.toagroup.com/ideacolor/th/index.asp และ https://www.dulux.co.th/th/decorating-tips-and-advice และ http://britishpaints.net/th/service.asp หรือ http://www.nipponpaint.co.th/cdc/contact_cdc.php เป็นต้น
หรือจะลองโหลด App. โปรแกรมแกรมออกแบบสีด้วยตนเอง มาทดลองใช้ >> สำหรับ iOS : https://itunes.apple.com/th/app/ideacolor/id1048020884?l=th&mt=8
สำหรับ Android : http://ideacolor.toagroup.com/ideacolor/th/newsRead.asp?vpage=&f_index=73
4. เตรียมพื้นผิว : ก่อนเริ่มระบบงานสี กรณีบ้านใหม่ ปูนฉาบควรทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ต้องทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาด ปราศจากคราบน้ำปูน คราบไข-สิ่งสกปรก ฝุ่นละออง กรณีเป็นบ้านเก่าก็ต้องใช้เกรียงเหล็กขูด / แซะฟิล์มสีที่หมดอายุออกก่อน รวมทั้งต้องมีการขัดล้างหรือฉีดล้างด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ปล่อยทิ้งให้พื้นผิวแห้งสนิทอย่างน้อย 1-2 วัน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน ภาค 3 ต่อไปครับ)
หมายเหตุ : ควรอ่านคำแนะนำจาก ผู้ผลิตจำหน่ายสีให้ละเอียด เพราะอาจจะมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น วัสดุโป๊วรอยร้าว, น้ำยารองพื้นปูนป้องกันความชื้น และน้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำ(กรณีบ้านเก่า) เป็นต้น
5. ทาสีรองพื้น : การทารองพื้นก่อนเป็นการช่วยการยึดเกาะกับผนังได้ดี ไม่หลุดล่อนออกมาได้ง่าย และการเลือกสีรองพื้นที่ถูกต้องก็เป็นการยึดอายุสีทับหน้าไปในตัว เช่น ปูนฉาบใหม่ก็ใช้ "สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง", บ้านเก่าก็เลือกใช้ "น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า" (หรือที่เรียกๆกันว่าสีรองพื้นปูนเก่า), โลหะเหล็กก็เป็น "สีรองพื้นกันสนิม" และไม้ (กรณีเป็นสีทึบแสง) ก็เป็นรองพื้นที่ป้องกันยางไม้ และเชื้อรารวมทั้งทำให้ผิวไม้เรียบเนียนขึ้น ก็คือ "สีรองพื้นไม้อลูมิเนียม กันยางไม้" และ "สีรองพื้นไม้กันเชื้อรา"
6. ทาสีทับหน้า : ควรใช้ให้ถูกประเภท / ลักษณะการใช้งาน สีบางประเภทแยกออกเป็นชนิดภายนอก และชนิดภายใน, ปัจจุบันสีน้ำอะครีลิคนอกจากเดิมๆที่มีแต่ฟิล์มสีชนิดด้าน ผู้ผลิตจำหน่ายสียังมีลักษณะฟิล์มสีทั้งแบบเนียน (เหลือบเงา) และกึ่งเงา-กึ่งด้าน ให้เลือกใช้แล้ว หรือแม้แต่สีน้ำมันจากเดิมที่มีแต่ชนิดเงามัน ปัจจุบันก็มีให้เลือกเป็นชนิดกึ่งเงา-กึ่งด้านบ้างแล้ว (บางยี่ห้อ ยังมีชนิดสูตรน้ำ ที่กลิ่นอ่อน ทาง่าย ให้เลือกใช้อีกด้วย)
หมายเหตุ : ควรใช้สีรองพื้น และสีทับหน้าเป็นยี่ห้อเดียวกัน
7. อุปกรณ์ทาสี และอุปกรณ์อื่น : แปรงทาสี และลูกกลิ้งทาสี มีการใช้งานที่แตกต่างกัน, แปรงทาสีมีหลายขนาด (ตั้งแต่ 1" จนถึง 3"-4") สามารถเข้าได้ทุกซอกทุกมุม ทาตัดขอบหรือตามมุมผนังหรือชิ้นงานพื้นที่เล็กๆ (แต่อาจจะทาให้เรียบเนียนยากกว่าลูกลิ้ง), ลูกกลิ้งทาสี ก็มีขนาดให้เลือกหลายขนาด (ที่นิยมกันก็ ขนาด 7" และ 9") เหมาะสำหรับการทาพื้นที่กว้างๆ ทำงานได้รวดเร็วกว่าการใช้แปรง และประหยัดเนื้อสีกว่า
อุปกรณ์อื่น ก็เช่น ผ้า (หรือ นสพ.) ปูพื้นกันเปื้อน เพื่อป้องกันสีกระเด็น หรือหยดลงพื้น, บันไดสำหรับงานที่สูง ถาดผสมสี เทปกระดาษ แว่นตา(safety) ผ้าปิดปาก-จมูก และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ
8. เก็บรายละเอียด : เมื่อทาเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบหาข้อบกพร่อง เช่น สีที่ทาอาจจะไม่สม่ำเสมอ หรือทาตกหล่นบริเวณที่เป็นซอก / มุม ก็จะได้ทาเก็บรายละเอียดของงานให้เรียบร้อย เท่านี้ก็จะได้บ้านที่นอกจากดูใหม่แล้ว ยังได้ประสิทธิภาพอายุงานสีเต็มร้อย
อนึ่งการทำความสะอาดสีที่กระเด็น เปรอะเปื้อนไปวัสดุที่ไม่เกี่ยวข้อง ควรทำความสะอาดก่อนที่สีจะแห้งสนิท มิฉะนั้นจะเป็นปัญหาภายหลังได้, สีน้ำอะครีลิค ก็ใช้น้ำสะอาด สีน้ำมันก็ใช้ทินเนอร์ (ที่ใช้ผสมสีน้ำมัน) ค่อยๆเช็ดถู
9. การเก็บรักษาสี : ก่อนอื่นควรทราบก่อนว่า การใช้สี ให้เทเฉพาะส่วนที่จะใช้ออกมาทำการเจือจาง (ผสม) อีกภาชนะหนึ่ง (จะด้วยน้ำหรือทินเนอร์ แล้วแต่กรณี) ไม่ควรผสมในถัง / กระป๋องสีโดยตรง (ยกเว้นว่ามั่นใจว่าจะใช้จนหมด / หรือหากเหลือก็ไม่คิดจะเก็บ), หากใช้สีไม่หมดและอยากจะเก็บไว้ใช้ต่อในคราวหน้า ก็ปิดฝาให้แน่น และหากเป็นไปได้ควรเทสีใส่กระป๋องที่มีขนาดเล็ก / ปิดฝาให้แน่น (ควรทำฉลากติดไว้ / กันลืม)
หมายเหตุ : หากสนใจจะทาสีด้วยตัวเอง (DIY) แนะนำดู https://www.youtube.com/watch?v=tZdsJkPZ04Q
มีต่อภาค 2 >>>>>