วินาทีแห่ง “ความเท่าเทียม” เจาะลึกช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของ Martin Luther King Jr.

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ศาสนาจารย์นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนเพื่อคนผิวสีชาวอเมริกัน ซึ่งสุนทรพจน์ชื่อดังที่ถือเป็นหนึ่งในประโยคที่ผู้คนรู้จักไปทั่วโลกคือ “ข้าพเจ้ามีความฝัน…” (I Have a Dream) แต่ความสำเร็จของเขาจะไม่เกิดขึ้นมาได้ ถ้าหากไม่มีการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่ ‘March on Washington’


วันที่ 28 สิงหาคม 1963 คิงได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ ขั้นบันไดของอนุสาวรีย์ลินคอล์นต่อหน้ามวลชนกว่า 250,000 คน ทั้งคนผิวขาวและผิวสี จนกระทั่งเขาได้กลายมาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดมากในสหรัฐ



รัฐแอละแบมาถือได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางของความรุนแรงในการต่อสู้เรื่องการเหยียดเชื้อชาติ กลุ่ม KKK ได้วางระเบิดโบสถ์โปรแตสแตนต์ ซึ่งคร่าชีวิตเด็กหญิงตัวน้อยถึง 4 ราย Denise McNair 11 ขวบ Carole Robertson, Addie Mae Collins และ Cynthia Wesley วัย 14 ปี


                                        

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ จึงได้หันไปสนใจสถานการณ์ในแอละแบมาทันที จนเขาและเพื่อนถูกตำรวจจับในระหว่างการประท้วงเมื่อวันที่ 12 เมษายน 1963


                                        

สถานการณ์ในรัฐทางตอนใต้เลวร้ายลงเรื่อยๆ มีการฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อควบคุมการประท้วง


                                      

การลอบสังหาร Medgar Evers ผู้อำนวยการคนแรกของ Mississippi NAACP ในวันที่ 12 มิถุนายน 1963 สร้างความเศร้าโศกสะเทือนใจในหมู่คนผิวสีอย่างมาก


                                     

ไม่กี่วันหลังจากนั้น กลุ่มคนผิวสีได้มุ่งหน้าไปยังกรุงวอชิงตัน ขบวนประท้วงได้เดินทางจากหน้าทำเนียบขาวไปจนถึงกระทรวงยุติธรรม


                                     

การประท้วงได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ Alison Turaj หนึ่งในผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บขณะที่เดินทางไปยัง Gwynn Oak Amusement Park ในเมืองบอลทิมอร์ รัฐแมริแลนด์ เนื่องจากกลุ่มคนผิวขาวที่โกรธแค้นปาก้อนหินใส่ผู้ประท้วง ตำรวจจับกุมทั้งคนผิวสีและผิวขาวมากกว่า 100 ราย


                                     

6 ผู้นำสำคัญของกลุ่มคนผิวสีได้ประชุมกัน ณ ใจกลางกรุงนิวยอร์กในวันที่ 2 กรกฎาคม เพื่อหารือเรื่องการเดินขบวนประท้วงเกี่ยวกับสิทธิพลเมือง


                                     

Bayard Rustin หัวหน้าขบวนประท้วง ได้รับรางวัล Medal of Freedom รางวัลสูงสุดที่อเมริกามอบให้กับผู้ประสบความสำเร็จ


                                      

เขาจัดตั้งกองบัญชาการไว้ที่อพาร์ตเมนท์ในย่านฮาร์เลม


                                       

เหล่าเซเลบริตี้คนดังหลายคนก็หันมาให้ความสนใจกับการเดินขบวน March on Washington เช่นนักแสดงดัง Paul Newman


                                      

แต่ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมการเดินขบวนคือกลุ่มสหภาพแรงงาน Randolph ได้จัดตั้งกลุ่ม Brotherhood of Sleeping Car Porters สหภาพแรงงานแห่งแรกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนผิวสี


                                       

กลุ่มคนต่างเชื้อชาติศาสนาเดินทางมาจากหลากหลายพื้นที่เพื่อเข้าร่วมการเดินขบวน


                                      

Ledger Smith ชายหนุ่มวัย 27 ปี เดินทางด้วยรองเท้าสเก็ตมาจากชิคาโก ด้วยระยะทางกว่า 685 ไมล์โดยใช้เวลา 10 วัน


                                      

คนส่วนมากเดินเท้ามาด้วยใจอันมุ่งมั่น สมาชิกกลุ่ม Congress of Racial Equality เดินทางจากบรู๊คลินมาถึงวอชิงตัน ดี.ซี.เป็นระยะทาง 250 ไมล์


                                     

การประท้วงเริ่มต้นที่ National Mall มีการระดมกองกำลังตำรวจหลายพันนายเพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น


                                      

คนที่จะสามารถเข้าไปยังพื้นที่ได้จะต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด George Rockwell พยายามที่จะเข้าไปให้ถึงพื้นที่ตั้งขบวน แต่เนื่องจากเขาเป็นหัวหน้ากลุ่มการเหยียดเชื้อชาติ Anti-Negro Anti-Jew American Nazi Party จึงไม่ได้รับอนุญาต


                                       


มีการคาดการณ์ว่าผู้คนจะเดินทางมามากกว่า 100,000 คน จึงต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่ออำนวยความสะดวกเช่นการติดตั้งเสาโทรศัพท์


                                      

เมื่อวันจริงมาถึง มีผู้เข้าร่วมการประท้วงถึง 250,000 คน ถือเป็นการประท้วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ


                                     

พวกเขาเดินผ่านย่านดาวน์ทาวน์ มารวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ลินคอล์น ที่ซึ่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ กล่าวสุนทรพจน์ระดับโลก “I Have A Dream”


                                      

แม้ว่าคืนก่อนหน้านั้น หนึ่งในที่ปรึกษาของคิงจะบอกกับเขาว่า “อย่าใช้คำว่า ‘ข้าพเจ้ามีความฝัน’ อีก มันซ้ำซาก น่าเบื่อหน่าย คุณพูดมันมามากเกินพอแล้ว”


                                      

แต่เขาไม่สนใจ สุนทรพจน์ของคิงถูกบันทึกไว้ว่าเป็นสุนทรพจน์ทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในโลกแห่งศตวรรษที่ 20 โดยมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน


                                      

หลังจากเขาเริ่มพูด ประชาชนมากมายก็เดินทางมายังอนุสาวรีย์วอชิงตันเพื่อเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมอย่างสันติ


                                      

แม้ว่าสุนทรพจน์ของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ จะจุดประกายให้กับคนทั่วโลก แต่ก็ต้องยอมรับว่าอเมริกายังเหลือหนทางอีกยาวไกลที่ต้องเดิน เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง



ที่มา: BusinessInsider  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่