จิตใจที่ผาสุกแท้ คือ จิตใจที่มีปัญญารู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลก เป็นเพียงวัตถุสสาร พลังงาน ที่เป็นกลาง ๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป หมุนวนอยู่ในโลก ตราบชั่วกาลนาน “ปัญหาไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ แต่เป็นสิ่งที่ควรแก้ไขให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้”
สาระแท้อันเป็นประโยชน์สูงสุดที่แท้จริงของมนุษย์ คือ จิตใจที่ผาสุกอย่างยั่งยืนเท่านั้น นอกนั้นไม่ใช่สาระแท้ ไม่ใช่ประโยชน์แท้เลย
จิตใจที่ผาสุกแท้ คือ จิตใจที่มีปัญญารู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลกไม่ว่าจะเป็น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต ดิน น้ำ ลม ไฟ กิจกรรมการงาน ความดี ความชั่ว ความเหมาะ ความไม่เหมาะ ความถูกต้อง ความไม่ถูกต้อง ความเจ็บป่วย ความไม่เจ็บป่วย ปัญหาต่าง ๆ ทั้งหมดในโลก ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ในใจเรา แต่เป็นเพียงวัตถุสสาร พลังงาน ที่เป็นกลาง ๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป หมุนวนอยู่ในโลก ตราบชั่วกาลนาน ไม่มีหมดไปอย่างถาวร และไม่มีตั้งอยู่อย่างถาวร ครูบาอาจารย์สอนไว้ว่า มีเพียงผู้ที่ฝึกฝนจนได้จิตวิญญาณที่ผาสุกอย่างอย่างยั่งยืนแท้จริงเท่านั้นที่เลือกจะเกิดก็ได้ เลือกจะดับก็ได้
“ปัญหาไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ แต่เป็นสิ่งที่ควรแก้ไขให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้”
รังเกียจก็ทุกข์เปล่า ๆ รังเกียจให้โง่ทำไม เพราะปัญหาไม่เคยหมดไปจากโลก ปัญหาหมดได้ที่ใจเราเท่านั้น หน้าที่/กิจกรรม/การงาน ก็ไม่เคยหมดไปจากโลก ดังนั้นเราจงยินดีเต็มใจเบิกบานแจ่มใสผาสุกสงบสบายกับการยอมรับความจริงดังกล่าว แล้วทำหน้าที่ลดปัญหาที่ต้นเหตุ หรือทำหน้าที่/กิจกรรม/การงานที่สัมมา (เป็นกุศล/ไม่เป็นบาป-เวร-ภัย) สร้างสรรเต็มที่สุดฝีมือตามองค์ประกอบเหตุปัจจัยที่จะทำได้ (ตามอุปกรณ์-สิ่งแวดล้อม-บุญบารมี-ความเพียร ทั้งของเราและของผู้อื่นในโลก) ไม่มากเกินจนเบียดเบียนทรมานตนเองและผู้อื่น อย่าอยากขยายดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่ทำได้จริง (ลำบากเกิน/ทำไม่ไหว) และรู้พักอย่างพอดี(เพียรเต็มที่ พักพอดี) เมื่อพากเพียรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ทำใจรับรู้ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้น
“ดีที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง อย่าอยากได้ดีหรืออยากให้เกิดสิ่งที่ดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่ทำได้จริง จงทำความผาสุกที่ตน จนคนที่มีปัญญาเห็น เกิดศรัทธาอยากได้ จึงค่อยบอกทางแก่ผู้ที่มีปัญญาและศรัทธานั้น”
จากนั้นก็ทำใจให้ผาสุกกับการปล่อยการกระทำและผลนั้นให้มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ให้โลกได้อาศัยแล้วก็ดับไปเมื่อหมดฤทธิ์ของเหตุปัจจัย ที่กอร์ปก่อ หมุนวนอยู่อย่างนั้น ๆ เมื่อเราพักพอดีแล้ว ก็เพียรอย่างเต็มที่ใหม่ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ ตราบที่เรายังมีชีวิตอยู่ ถ้าเราฝึกฝนกระทำสิ่งดังกล่าวให้ได้มั่นคงทุก ๆ วินาที เราก็จะได้จิตใจที่ผาสุกอย่างยั่งยืน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“เราไม่พัก เราไม่เพียร ก็ข้ามโอฆะสงสารได้” (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ “โอฆตรณสูตร”ข้อ ๒) แปลว่า รู้เพียร รู้พัก ก็พ้นทุกข์ได้
เมื่อถึงเวลาสมควรที่ต้องพากเพียรใหม่แต่ละครั้ง เราก็พากเพียรด้วยจิตใจที่ผาสุก รู้คุณค่า รู้ประโยชน์ของกุศลที่กำลังกระทำอยู่นั้น เมื่อพากเพียรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ปล่อยวางด้วยจิตใจที่ผาสุก อย่าไปโง่หลงสร้างสุขสร้างทุกข ์ยึดมั่นถือมั่นในใจกับสิ่งต่าง ๆ ในโลก และมหาจักรวาล เพราะจะทำให้จิตใจไม่ผาสุกอย่างยั่งยืน
ในขณะที่เรายังดำรงชีวิตอยู่ เราควรทำใจผาสุกกับการไม่ทำอกุศล เพราะอกุศลเป็นโทษ ทำให้เดือดร้อน แต่ไม่ควรรัก/เกลียด/ชอบ/ชัง ในอกุศล เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ เนื่องจากอกุศลก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ตามเหตุปัจจัย
ของการกอร์ปก่อและดับไปเมื่อหมดเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยหมดไปจากโลกและมหาจักรวาล หมุนวนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน ควรทำใจผาสุกกับการทำกุศล เพราะกุศลเป็นประโยชน์ ที่ควรอาศัย แต่ไม่ควรรัก/เกลียด/ชอบ/ชัง ยึดมั่นถือมั่นในกุศล เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ เนื่องจากกุศลก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ตามเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อ และดับไปเมื่อหมดเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยหมดไปจากโลกและมหจักรวาล หมุนวนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน
แต่ในขณะที่ทำกุศลต้องทำอย่างยึดมั่นถือมั่น (กำให้แน่น) ติดในกุศลอย่างรู้คุณค่าประโยชน์ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีพลังและไม่มีความผาสุก ในการทำกุศล แต่เมื่อเสร็จแล้ว พึงปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นให้หมดทั้งการกระทำและผลของการกระทำ ปล่อยวางทุกอย่างให้โลก (แบให้เกลี้ยง) เราเอาความผาสุกสงบสบายในใจกับความปล่อยวาง กับความไม่ได้ไม่เป็นไม่มีอะไรเพราะเป็นทางเอกสายเดียวที่จะทำให้เราได้จิตใจที่ผาสุก อย่างยั่งยืน
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา(การปฏิบัติสู่ความสมดุล พอดี เป็นกลาง) เป็นทางเอกสายเดียวที่พาพ้นทุกข์" (กลางในการหยุดชั่ว/อกุศล/บาป-เวร-ภัย/ความไม่สมดุล/ความไม่พอดี ด้วยใจที่ผาสุก กลางในการทำดี/กุศล/ความสมดุล/ความพอดีด้วยใจที่ผาสุก กลางในจิตใจที่ผาสุก สงบ สบาย เบิกบาน ผ่องแผ้ว ผ่องใส จากการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง)
ทุกวินาทีพึงหมั่นตรวจสอบและล้างความชอบความชังทุกอย่างในจิตใจ เพราะมันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ในใจ และสิ่งที่เราชอบหรือไม่ชอบ ไม่เคยหมดไปจากโลกอย่างถาวร และไม่เคยอยู่กับเราอย่างถาวร ในความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นกลาง ๆ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปหมุนวน อยู่อย่างนั้นตราบชั่วกาลนาน ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ในใจเราเลย แต่เราหลงโง่สร้างความรู้สึกชอบ/เป็นสุขหรือไม่ชอบ/เป็นทุกข์ในใจของเราเอง
เรียบเรียงโดย หมอเขียว
Cr. www.winnews.tv/news/12732
สาระที่แท้จริงอันเป็นประโยชน์สูงสุดของมนุษย์ คืออะไร ?
สาระแท้อันเป็นประโยชน์สูงสุดที่แท้จริงของมนุษย์ คือ จิตใจที่ผาสุกอย่างยั่งยืนเท่านั้น นอกนั้นไม่ใช่สาระแท้ ไม่ใช่ประโยชน์แท้เลย
จิตใจที่ผาสุกแท้ คือ จิตใจที่มีปัญญารู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลกไม่ว่าจะเป็น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต ดิน น้ำ ลม ไฟ กิจกรรมการงาน ความดี ความชั่ว ความเหมาะ ความไม่เหมาะ ความถูกต้อง ความไม่ถูกต้อง ความเจ็บป่วย ความไม่เจ็บป่วย ปัญหาต่าง ๆ ทั้งหมดในโลก ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ในใจเรา แต่เป็นเพียงวัตถุสสาร พลังงาน ที่เป็นกลาง ๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป หมุนวนอยู่ในโลก ตราบชั่วกาลนาน ไม่มีหมดไปอย่างถาวร และไม่มีตั้งอยู่อย่างถาวร ครูบาอาจารย์สอนไว้ว่า มีเพียงผู้ที่ฝึกฝนจนได้จิตวิญญาณที่ผาสุกอย่างอย่างยั่งยืนแท้จริงเท่านั้นที่เลือกจะเกิดก็ได้ เลือกจะดับก็ได้
“ปัญหาไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ แต่เป็นสิ่งที่ควรแก้ไขให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้”
รังเกียจก็ทุกข์เปล่า ๆ รังเกียจให้โง่ทำไม เพราะปัญหาไม่เคยหมดไปจากโลก ปัญหาหมดได้ที่ใจเราเท่านั้น หน้าที่/กิจกรรม/การงาน ก็ไม่เคยหมดไปจากโลก ดังนั้นเราจงยินดีเต็มใจเบิกบานแจ่มใสผาสุกสงบสบายกับการยอมรับความจริงดังกล่าว แล้วทำหน้าที่ลดปัญหาที่ต้นเหตุ หรือทำหน้าที่/กิจกรรม/การงานที่สัมมา (เป็นกุศล/ไม่เป็นบาป-เวร-ภัย) สร้างสรรเต็มที่สุดฝีมือตามองค์ประกอบเหตุปัจจัยที่จะทำได้ (ตามอุปกรณ์-สิ่งแวดล้อม-บุญบารมี-ความเพียร ทั้งของเราและของผู้อื่นในโลก) ไม่มากเกินจนเบียดเบียนทรมานตนเองและผู้อื่น อย่าอยากขยายดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่ทำได้จริง (ลำบากเกิน/ทำไม่ไหว) และรู้พักอย่างพอดี(เพียรเต็มที่ พักพอดี) เมื่อพากเพียรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ทำใจรับรู้ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้น
“ดีที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง อย่าอยากได้ดีหรืออยากให้เกิดสิ่งที่ดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่ทำได้จริง จงทำความผาสุกที่ตน จนคนที่มีปัญญาเห็น เกิดศรัทธาอยากได้ จึงค่อยบอกทางแก่ผู้ที่มีปัญญาและศรัทธานั้น”
จากนั้นก็ทำใจให้ผาสุกกับการปล่อยการกระทำและผลนั้นให้มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ให้โลกได้อาศัยแล้วก็ดับไปเมื่อหมดฤทธิ์ของเหตุปัจจัย ที่กอร์ปก่อ หมุนวนอยู่อย่างนั้น ๆ เมื่อเราพักพอดีแล้ว ก็เพียรอย่างเต็มที่ใหม่ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ ตราบที่เรายังมีชีวิตอยู่ ถ้าเราฝึกฝนกระทำสิ่งดังกล่าวให้ได้มั่นคงทุก ๆ วินาที เราก็จะได้จิตใจที่ผาสุกอย่างยั่งยืน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“เราไม่พัก เราไม่เพียร ก็ข้ามโอฆะสงสารได้” (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ “โอฆตรณสูตร”ข้อ ๒) แปลว่า รู้เพียร รู้พัก ก็พ้นทุกข์ได้
เมื่อถึงเวลาสมควรที่ต้องพากเพียรใหม่แต่ละครั้ง เราก็พากเพียรด้วยจิตใจที่ผาสุก รู้คุณค่า รู้ประโยชน์ของกุศลที่กำลังกระทำอยู่นั้น เมื่อพากเพียรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ปล่อยวางด้วยจิตใจที่ผาสุก อย่าไปโง่หลงสร้างสุขสร้างทุกข ์ยึดมั่นถือมั่นในใจกับสิ่งต่าง ๆ ในโลก และมหาจักรวาล เพราะจะทำให้จิตใจไม่ผาสุกอย่างยั่งยืน
ในขณะที่เรายังดำรงชีวิตอยู่ เราควรทำใจผาสุกกับการไม่ทำอกุศล เพราะอกุศลเป็นโทษ ทำให้เดือดร้อน แต่ไม่ควรรัก/เกลียด/ชอบ/ชัง ในอกุศล เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ เนื่องจากอกุศลก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ตามเหตุปัจจัย
ของการกอร์ปก่อและดับไปเมื่อหมดเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยหมดไปจากโลกและมหาจักรวาล หมุนวนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน ควรทำใจผาสุกกับการทำกุศล เพราะกุศลเป็นประโยชน์ ที่ควรอาศัย แต่ไม่ควรรัก/เกลียด/ชอบ/ชัง ยึดมั่นถือมั่นในกุศล เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ เนื่องจากกุศลก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ตามเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อ และดับไปเมื่อหมดเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยหมดไปจากโลกและมหจักรวาล หมุนวนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน
แต่ในขณะที่ทำกุศลต้องทำอย่างยึดมั่นถือมั่น (กำให้แน่น) ติดในกุศลอย่างรู้คุณค่าประโยชน์ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีพลังและไม่มีความผาสุก ในการทำกุศล แต่เมื่อเสร็จแล้ว พึงปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นให้หมดทั้งการกระทำและผลของการกระทำ ปล่อยวางทุกอย่างให้โลก (แบให้เกลี้ยง) เราเอาความผาสุกสงบสบายในใจกับความปล่อยวาง กับความไม่ได้ไม่เป็นไม่มีอะไรเพราะเป็นทางเอกสายเดียวที่จะทำให้เราได้จิตใจที่ผาสุก อย่างยั่งยืน
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา(การปฏิบัติสู่ความสมดุล พอดี เป็นกลาง) เป็นทางเอกสายเดียวที่พาพ้นทุกข์" (กลางในการหยุดชั่ว/อกุศล/บาป-เวร-ภัย/ความไม่สมดุล/ความไม่พอดี ด้วยใจที่ผาสุก กลางในการทำดี/กุศล/ความสมดุล/ความพอดีด้วยใจที่ผาสุก กลางในจิตใจที่ผาสุก สงบ สบาย เบิกบาน ผ่องแผ้ว ผ่องใส จากการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง)
ทุกวินาทีพึงหมั่นตรวจสอบและล้างความชอบความชังทุกอย่างในจิตใจ เพราะมันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ในใจ และสิ่งที่เราชอบหรือไม่ชอบ ไม่เคยหมดไปจากโลกอย่างถาวร และไม่เคยอยู่กับเราอย่างถาวร ในความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นกลาง ๆ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปหมุนวน อยู่อย่างนั้นตราบชั่วกาลนาน ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ในใจเราเลย แต่เราหลงโง่สร้างความรู้สึกชอบ/เป็นสุขหรือไม่ชอบ/เป็นทุกข์ในใจของเราเอง
เรียบเรียงโดย หมอเขียว
Cr. www.winnews.tv/news/12732