นี่แน่ เกสิ ! ท่านเป็นคนเชี่ยวชาญการฝึกม้า มีชื่อดัง เราอยากทราบว่า ท่านฝึกม้าของท่านอย่างไรกัน ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมฝึกม้าชนิดที่พอฝึกได้ ด้วยวิธีละมุนละไมบ้าง, ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง, ด้วยวิธีทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกันบ้าง, (แล้วแต่ว่าม้านั้นเป็นม้าที่มีนิสัยเช่นไร)
เกสิ ! ถ้าม้าของท่านไม่รับการฝึก ทั้งด้วยวิธีละมุนละไมทั้งด้วยวิธีที่รุนแรง และทั้งด้วยวิธีที่ละมุนละไมและรุนแรงรวมกันเล่า ท่านทำอย่างไรกับม้านั้น ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมฆ่าม้านั้นเสีย เพื่อมิให้เสียชื่อเสียงแก่สกุลแห่งอาจารย์ของข้า พระเจ้าข้า.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า ย่อมเป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า, พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีอย่างไรพระเจ้าข้า ?”
เกสิ ! เราย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึก ด้วยวิธีละมุนละไมบ้างด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกันบ้างเหมือนกัน.
เกสิ ! ในสามวิธีนั้น วิธีฝึกที่ละมุนละไม คือเราพร่ำสอนเขาว่า กายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของกายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ,วจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, มโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, เทวดาเป็นอย่างนี้ๆ, มนุษย์เป็นอย่างนี้ๆ ดังนี้.
เกสิ ! ในสามวิธีนั้น วิธีฝึกที่รุนแรง คือเราพร่ำบอกเขาว่า กายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของกายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ,วจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, มโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, นรกเป็นอย่างนี้ๆ,กำเนิดเดรัจฉานเป็นอย่างนี้ๆ, เปรตวิสัยเป็นอย่างนี้ๆ.
เกสิ ! ในสามวิธีนั้น วิธีฝึกทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกันนั้น คือเราพร่ำบอกพร่ำสอนเขาว่า กายสุจริต-ผลของกายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, กายทุจริต-ผลของกายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ; วจีสุจริต-ผลของวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ วจีทุจริต-ผลของวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ; มโนสุจริต-ผลของมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ มโนทุจริต-ผลของมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ; เทวดาเป็นอย่างนี้ๆ, มนุษย์เป็นอย่างนี้ๆ, นรกเป็นอย่างนี้ๆ, กำเนิดเดรัจฉานเป็นอย่างนี้ๆ, เปรตวิสัยเป็นอย่างนี้ๆ.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าบุรุษที่ควรฝึกนั้นไม่รับการฝึกทั้งด้วยวิธีละมุนละไม ทั้งด้วยวิธีที่รุนแรง และทั้งด้วยวิธีที่ละมุนละไมและรุนแรงรวมกันเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงทำอย่างไร ?”
เกสิ ! ถ้าบุรุษที่ควรฝึก ไม่ยอมรับการฝึกด้วยวิธีทั้งสามแล้ว เราก็ฆ่าเขาเสีย.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ปาณาติบาต ย่อมไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคมิใช่หรือ ? แล้วพระผู้มีพระภาคก็ยังตรัสว่า เกสิ ! เราก็ฆ่าเขาเสีย ?”
เกสิเอย ! ปาณาติบาตย่อมไม่สมควรแก่เราจริง แต่ว่าเมื่อบุรุษที่ควรฝึก ไม่ยอมรับการฝึกด้วยวิธีทั้งสามแล้ว ตถาคตก็ไม่ถือว่าคนคนนั้น เป็นคนที่ควรว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไป; ถึงแม้เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ซึ่งเป็นผู้รู้ ก็จะไม่ถือว่าคนคนนั้นเป็นคนที่ควรว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไปด้วย. เกสิ ! นี่แหละคือ วิธีฆ่าอย่างดีในวินัยของพระอริยเจ้า, ได้แก่การที่ตถาคตและเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน พากันถือว่า บุรุษนี้เป็นผู้ที่ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไป ดังนี้.
บาลี เกสีวรรค จตุกฺก. อ°. ๒๑/๑๕๐/๑๑๑
พระพุทธเจ้า ทรงฆ่าผู้ที่ไม่รับการฝึก
เกสิ ! ถ้าม้าของท่านไม่รับการฝึก ทั้งด้วยวิธีละมุนละไมทั้งด้วยวิธีที่รุนแรง และทั้งด้วยวิธีที่ละมุนละไมและรุนแรงรวมกันเล่า ท่านทำอย่างไรกับม้านั้น ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมฆ่าม้านั้นเสีย เพื่อมิให้เสียชื่อเสียงแก่สกุลแห่งอาจารย์ของข้า พระเจ้าข้า.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า ย่อมเป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า, พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีอย่างไรพระเจ้าข้า ?”
เกสิ ! เราย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึก ด้วยวิธีละมุนละไมบ้างด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกันบ้างเหมือนกัน.
เกสิ ! ในสามวิธีนั้น วิธีฝึกที่ละมุนละไม คือเราพร่ำสอนเขาว่า กายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของกายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ,วจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, มโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, เทวดาเป็นอย่างนี้ๆ, มนุษย์เป็นอย่างนี้ๆ ดังนี้.
เกสิ ! ในสามวิธีนั้น วิธีฝึกที่รุนแรง คือเราพร่ำบอกเขาว่า กายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของกายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ,วจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, มโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, นรกเป็นอย่างนี้ๆ,กำเนิดเดรัจฉานเป็นอย่างนี้ๆ, เปรตวิสัยเป็นอย่างนี้ๆ.
เกสิ ! ในสามวิธีนั้น วิธีฝึกทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกันนั้น คือเราพร่ำบอกพร่ำสอนเขาว่า กายสุจริต-ผลของกายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, กายทุจริต-ผลของกายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ; วจีสุจริต-ผลของวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ วจีทุจริต-ผลของวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ; มโนสุจริต-ผลของมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ มโนทุจริต-ผลของมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ; เทวดาเป็นอย่างนี้ๆ, มนุษย์เป็นอย่างนี้ๆ, นรกเป็นอย่างนี้ๆ, กำเนิดเดรัจฉานเป็นอย่างนี้ๆ, เปรตวิสัยเป็นอย่างนี้ๆ.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าบุรุษที่ควรฝึกนั้นไม่รับการฝึกทั้งด้วยวิธีละมุนละไม ทั้งด้วยวิธีที่รุนแรง และทั้งด้วยวิธีที่ละมุนละไมและรุนแรงรวมกันเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงทำอย่างไร ?”
เกสิ ! ถ้าบุรุษที่ควรฝึก ไม่ยอมรับการฝึกด้วยวิธีทั้งสามแล้ว เราก็ฆ่าเขาเสีย.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ปาณาติบาต ย่อมไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคมิใช่หรือ ? แล้วพระผู้มีพระภาคก็ยังตรัสว่า เกสิ ! เราก็ฆ่าเขาเสีย ?”
เกสิเอย ! ปาณาติบาตย่อมไม่สมควรแก่เราจริง แต่ว่าเมื่อบุรุษที่ควรฝึก ไม่ยอมรับการฝึกด้วยวิธีทั้งสามแล้ว ตถาคตก็ไม่ถือว่าคนคนนั้น เป็นคนที่ควรว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไป; ถึงแม้เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ซึ่งเป็นผู้รู้ ก็จะไม่ถือว่าคนคนนั้นเป็นคนที่ควรว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไปด้วย. เกสิ ! นี่แหละคือ วิธีฆ่าอย่างดีในวินัยของพระอริยเจ้า, ได้แก่การที่ตถาคตและเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน พากันถือว่า บุรุษนี้เป็นผู้ที่ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไป ดังนี้.
บาลี เกสีวรรค จตุกฺก. อ°. ๒๑/๑๕๐/๑๑๑