คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
มานะ ๙ คือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มานะ มี ๓ แบบ คือ
๑. มานะ "เราเท่ากับเขา" = ถือตัวธรรมดา
๒. อติมานะ "เราดีกว่าเขา" = ดูหมิ่นคนอื่น
๓. โอมานะ "เราเลวกว่าเขา" = ดูถูกตัวเอง
มานะ ๓ แยกย่อยออกไปเป็น ๙ คือ
๑. ดีกว่าเขา ถือตัวว่าดีกว่าเขา (อติมานะ) --- มองตรงกับที่เป็นจริง พระอรหันต์จึงจะละได้
๒. ดีกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (มานะ)
๓. ดีกว่าเขา ถือตัวว่าเลวกว่าเขา (โอมานะ)
๔. เสมอเขา ถือตัวว่าดีกว่าเขา (อติมานะ)
๕. เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (มานะ) --- มองตรงกับที่เป็นจริง พระอรหันต์จึงจะละได้
๖. เสมอเขา ถือตัวว่าเลวกว่าเขา (โอมานะ)
๗. เลวกว่าเขา ถือตัวว่าดีกว่าเขา (อติมานะ)
๘. เลวกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (มานะ)
๙. เลวกว่าเขา ถือตัวว่าเลวกว่าเขา (โอมานะ) --- มองตรงกับที่เป็นจริง พระอรหันต์จึงจะละได้
ข้อ ๑, ๕, ๙ เป็นการมองตรงกับที่เป็นจริง แต่ก็ยังเป็นการถือตัว
เป็นกิเลสอย่างประณีต ซึ่งพระอรหันต์จึงจะละได้
ส่วนอีก ๖ ข้อ เป็นการถือตัวโดยมองไม่ตรงกับที่เป็นจริง
เป็นกิเลสที่หยาบกว่า ขั้นพระโสดาบันก็ละหมดแล้ว
ในภาษาไทย "มานะ" มีความหมายเพี้ยนไปเป็น ความพยายาม ความตั้งใจจริง ความพากเพียร
เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน
มานะเป็นกิเลสที่ไม่ร้อนแรง แต่ซึมลึก พระอรหันต์เท่านั้นจึงละได้เด็ดขาด
ที่มา
บาลีวันละคำ โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย
อ้างอิง
มานะ ๙
บรรดามานะเหล่านี้ คนดีกว่า มานะว่าเราดีกว่าเขา. คนเสมอเขา มานะว่าเราเสมอเขา และคนเลวกว่าเขา มานะว่าเราเลวกว่าเขา
ทั้ง ๓ ประเภทนี้ได้ชื่อว่าเป็นมานะอย่างเข้มข้น จะฆ่าเสียได้ด้วยอรหัตตมรรค. เป็นกิเลสอย่างละเอียด ทำลายด้วยอรหัตตมรรค
ธรรมที่เหลือได้ชื่อว่าเป็นมานะอย่างไม่เป็นไปตามความจริง ฆ่าเสียได้ด้วยมรรคชั้นต้น.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=3
พระอรหันต์เท่านั้น ที่ละมานะได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้[164] มรรค 4 (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด - the path)
1. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส - the path of stream-entry)
2. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง - the path of once-returning)
3. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง 5 - the path of non-returning)
4. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10 - the path of Arahantship).
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C1%C3%C3%A4+4&original=1
[329] สังโยชน์ 10๑ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล — fetters; bondage)
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ — lower fetters)
1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น — personality-view of individuality)
2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ — doubt; uncertainty)
3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร — adherence to rules and rituals)
4. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ — sensual lust)
5. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง — repulsion; irritation)
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง — higher fetters)
6. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ — greed for fine-material existence; attachment to realms of form)
7. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ — greed for immaterial existence; attachment to formless realms)
8. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ — conceit; pride)
9. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน — restlessness; distraction)
10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง — ignorance)
สังโยชน์ 10 ในหมวดนี้ เป็นแนวพระสูตร หรือ สุตตันตนัย แต่ในบาลีแห่งพระสูตรนั้นๆ มีแปลกจากที่นี้เล็กน้อย คือ ข้อ 4 เป็น กามฉันท์ (ความพอใจในกาม — desire) ข้อ 5 เป็น พยาบาท (ความขัดเคือง, ความคิดร้าย — illwill) ใจความเหมือนกัน
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D1%A7%E2%C2%AA%B9%EC+10&original=1
https://ppantip.com/topic/34164710
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มานะ มี ๓ แบบ คือ
๑. มานะ "เราเท่ากับเขา" = ถือตัวธรรมดา
๒. อติมานะ "เราดีกว่าเขา" = ดูหมิ่นคนอื่น
๓. โอมานะ "เราเลวกว่าเขา" = ดูถูกตัวเอง
มานะ ๓ แยกย่อยออกไปเป็น ๙ คือ
๑. ดีกว่าเขา ถือตัวว่าดีกว่าเขา (อติมานะ) --- มองตรงกับที่เป็นจริง พระอรหันต์จึงจะละได้
๒. ดีกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (มานะ)
๓. ดีกว่าเขา ถือตัวว่าเลวกว่าเขา (โอมานะ)
๔. เสมอเขา ถือตัวว่าดีกว่าเขา (อติมานะ)
๕. เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (มานะ) --- มองตรงกับที่เป็นจริง พระอรหันต์จึงจะละได้
๖. เสมอเขา ถือตัวว่าเลวกว่าเขา (โอมานะ)
๗. เลวกว่าเขา ถือตัวว่าดีกว่าเขา (อติมานะ)
๘. เลวกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (มานะ)
๙. เลวกว่าเขา ถือตัวว่าเลวกว่าเขา (โอมานะ) --- มองตรงกับที่เป็นจริง พระอรหันต์จึงจะละได้
ข้อ ๑, ๕, ๙ เป็นการมองตรงกับที่เป็นจริง แต่ก็ยังเป็นการถือตัว
เป็นกิเลสอย่างประณีต ซึ่งพระอรหันต์จึงจะละได้
ส่วนอีก ๖ ข้อ เป็นการถือตัวโดยมองไม่ตรงกับที่เป็นจริง
เป็นกิเลสที่หยาบกว่า ขั้นพระโสดาบันก็ละหมดแล้ว
ในภาษาไทย "มานะ" มีความหมายเพี้ยนไปเป็น ความพยายาม ความตั้งใจจริง ความพากเพียร
เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน
มานะเป็นกิเลสที่ไม่ร้อนแรง แต่ซึมลึก พระอรหันต์เท่านั้นจึงละได้เด็ดขาด
ที่มา
บาลีวันละคำ โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย
อ้างอิง
มานะ ๙
บรรดามานะเหล่านี้ คนดีกว่า มานะว่าเราดีกว่าเขา. คนเสมอเขา มานะว่าเราเสมอเขา และคนเลวกว่าเขา มานะว่าเราเลวกว่าเขา
ทั้ง ๓ ประเภทนี้ได้ชื่อว่าเป็นมานะอย่างเข้มข้น จะฆ่าเสียได้ด้วยอรหัตตมรรค. เป็นกิเลสอย่างละเอียด ทำลายด้วยอรหัตตมรรค
ธรรมที่เหลือได้ชื่อว่าเป็นมานะอย่างไม่เป็นไปตามความจริง ฆ่าเสียได้ด้วยมรรคชั้นต้น.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=3
พระอรหันต์เท่านั้น ที่ละมานะได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้[164] มรรค 4 (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด - the path)
1. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส - the path of stream-entry)
2. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง - the path of once-returning)
3. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง 5 - the path of non-returning)
4. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10 - the path of Arahantship).
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C1%C3%C3%A4+4&original=1
[329] สังโยชน์ 10๑ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล — fetters; bondage)
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ — lower fetters)
1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น — personality-view of individuality)
2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ — doubt; uncertainty)
3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร — adherence to rules and rituals)
4. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ — sensual lust)
5. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง — repulsion; irritation)
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง — higher fetters)
6. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ — greed for fine-material existence; attachment to realms of form)
7. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ — greed for immaterial existence; attachment to formless realms)
8. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ — conceit; pride)
9. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน — restlessness; distraction)
10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง — ignorance)
สังโยชน์ 10 ในหมวดนี้ เป็นแนวพระสูตร หรือ สุตตันตนัย แต่ในบาลีแห่งพระสูตรนั้นๆ มีแปลกจากที่นี้เล็กน้อย คือ ข้อ 4 เป็น กามฉันท์ (ความพอใจในกาม — desire) ข้อ 5 เป็น พยาบาท (ความขัดเคือง, ความคิดร้าย — illwill) ใจความเหมือนกัน
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D1%A7%E2%C2%AA%B9%EC+10&original=1
https://ppantip.com/topic/34164710
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
มานะ9เป็นอย่างไร?