การดูเพชร ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ โดยไม่มีใบเซอร์

ปัญหาโดยทั่วไป คือเมื่อได้เพชรมาเม็ดหนึ่ง ต้องการจะดูว่า เพชรเม็ดนี้เป็นอย่างไร ถ้ามีใบเซอร์ของเพชร ก็ง่าย เพราะดูตามใบเซอร์ วิธีแปลผลจากใบเซอร์ หาอ่านได้ทั่วไป แต่ถ้าไม่มีใบเซอร์จะทำอย่างไรดี
    ถ้าให้ดูเพชรเม็ดหนึ่ง   เราจะทำอย่างไร เพื่อหาค่า 4 C  เพื่อประเมินเพชรเม็ดนั้น

     วิธีการดูเพชรแบบง่ายๆ เพชรที่ว่า เป็นเพชรกลม เหลี่ยมเกษร หรือที่เรียกว่า brillian round cut เท่านั้น
อย่างแรก คือประเมินว่า หน้าเพชรวงนั้น หรือที่เรียกว่า girdle diameter มีขนาดเท่าไหร่ เมื่อเราทราบหน้าเพชรว่า เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเท่าไหร่ เราก็จะประมาณได้ว่า เพชรนั้นหนักกี่กะรัต โดยอาศัยว่า เพชรหนึ่งกะรัต จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6.5 มม. ส่วนเพชรสองกะรัต จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8.2 mm ดังแสดงในภาพ
     ถ้าตัวอย่างภาพหน้าเพชรที่แสดงมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6.5 mm ก็จะมีน้ำหนักเพชรโดยประมาณ 1 กะรัต ทำให้เราไม่เดาน้ำหนักเพชรผิดพลาดไปมาก เพื่อนที่แต่งงานไป เมื่อหลายวันก่อน ใส่แหวนเพชร สามกะรัต เรามองดูแล้ว เส้นผ่าศูนย์กลางควรจะประมาณ 9.3 mm เท่าที่ดู ก็เกือบหนึ่งเซนติเมตร ก็ใกล้เคียกับสามกะรัตจริงๆ ถ้าเกินสี่กะรัต ก็จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเพชรประมาณ 10 มม. ขึ้นไป แต่ละ mm จะเพิ่มขึ้น หนึ่งกะรัต  ตัวเลขที่เราจะต้องจำ เพื่อเดาน้ำหนักของเพชรคือ 5.2,6.5,8.2,9.3 เป็นน้ำหนักของเพขร 50 สตางค์ หนึ่งกะรัต สองกะรัต สามกะรัต  ตามลำดับ เราก็จะรู้ค่าของ C ตัวแรก ในการดูเพชรแล้ว คือ carat

      ต่อไป ก็ทำการดู C ตัวที่สอง คือ colour ว่าเพชรนี้จะมีน้ำเท่าไหร่ ถ้าหากว่า จะให้แน่ต้องใช้เครื่องมือ และเพชรมาตรฐานในการเปรียบเทียบ แต่เราจะทำการดูโดยการใช้มาตรฐานสีของเพชร โดยการใช้แถบเครื่องมือสีเพชร ดังแสดงในภาพ


      ทดลองเอาเพชรที่เราต้องการทราบค่าของcolour มาเทียบในตาราง เมื่อเราเทียบในตารางแล้ว เราก็ประเมินค่าสีของเพชรได้ตามเกรดของเพชร


      สมมุติว่าเพชรที่เรานำมาแสดง เมื่อเทียบกับแถบทั้งสอง อยู่ประมาณ rare white น้ำก็จะประมาณ 97 หรือที่เรียกกันว่า G colour จะไม่มีสีเหลืองให้เห็น การประเมินด้วยวิธีนี้ถ้าหากว่า มีข้อสงสัย ควรจะประเมินให้ต่ำลงขั้นหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยในการตีราคาเพชร ส่วนตัวชอบเพชรน้ำประมาณ 97 หรือประมาณ น้ำ G น้ำขนาดนี้ ใส่แล้วสวย กำลังดี และราคาก็ไม่แพงเกินไป ตอนนี้ เราก็ได้ค่า C ตัวที่สอง คือ colour

      ต่อไป เราก็ต้องประเมินเรื่อง clarity หมายถึงความบริสุทธิ์ หรือความสะอาด ของเพชรว่า เป็นอย่างไร เราคงจะประเมินได้ แต่ต้องใช้แว่นขยายประมาณ 10x ถึงจะทำการประเมินได้ดีพอควร การประเมินจะต้องดูจากหลักห้าประการคือ
1. Size
2.Nature
3.Number
4. Colour
5. Location

การจัดลำดับขั้นความสะอาด

FL : หมายถึง เพชรที่สะอาดที่สุด คือ ไม่มีรอยตำหนิภายใน หรือแผลตำหนิภายนอกแปลกปลอม
IF : ไม่มีแผลตำหนิภายในแปลกปลอม จะมีก็เพียงแต่รอยขีดข่วนเล็ก ๆ ที่สังเกตได้จากกล้องขยาย 10 เท่า การแยกลำดับขั้นเพชร IF จาก FL คือ รอยตำหนิภายนอกเล็กน้อยที่สามารถขัดออกได้ เส้นรอยคลื่นจาง ๆ บนผิวเพชรอาจเป็นข้อยกเว้นให้เพชรเป็น IF ได้
    VVS : เกรดนี้ประกอบด้วยรอยตำหนิภายในซึ่งเล็กมากและยากมากที่จะหาพบ เมื่อใช้กำลังขยาย 10 เท่า หรือมีตำหนิซึ่งเล็กและอยู่ใกล้ผิวพอที่จะเจียระไนออกได้ง่ายรอยตำหนิภายในต่อไปนี้จัดอยู่ในเกรด VVS
-รอยตำปลายเข็ม (Pin Point)
-รอยตำหนิเหมือนเมฆบาง ๆ (Cloud)
-รอยตำหนิขนนกที่เล็กมาก (Tiny Feather)
-อินเทอร์นอลเกรนนิ่ง ( Internal Graining)
เพชรในเกรดนี้แม้ว่าจะสามารถมองเห็นตำหรือมลทินของเพชรได้ภายใต้กาลังขยาย 10 x แต่มลทินหรือตำหนิของเพชรเหล่านี้ก็ยังนับว่ามีน้อยหรือเห็นได้น้อย ซึ่งตำหนิของเพชรดังกล่าวไม่มีผลต่อความสวยงามหรือความคงทนของเพชร
VS : เกรดนี้ประกอบด้วยรอยตำหนิภายในย่อย ๆ ซึ่งมีขนาดจำนวนและตำหนิ อยู่ในช่วงระหว่างยากที่จะหาพบ (VS1)และค่อนข้างง่ายที่จะหาพบ (VS2) เมื่อใช้กล้องขยาย 10 เท่า ผลึกเล็ก ๆ ขนนกเล็ก ๆ รอยตำหนิเหมือนเมฆที่เห็นชัดจัดอยู่ในเกรด VS นี้
SI : เกรดนี้ประกอบด้วยรอยตำหนิภายในซึ่งมองเห็นได้ง่าย (SI1) หรือง่ายมาก (SI2)เมื่อดูด้วยกล้องขยาย 10 เท่า โดยทั่วไปรอยตำหนิภายในมักเห็นได้ทันที เพชรที่อยู่ในเกรดนี้ โดยเฉพาะ SI2 บางเม็ดรอยตำหนิภายในจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อคว่ำหน้าเพชรลงบนกระดาษสีขาวและมองผ่านจากด้านพาวิลเลี่ยน
I : รอยตำหนิภายในซึ่งอยู่ในเกรดนี้ เห็นได้ชัดเมื่อตรวจด้วยกล้องขยาย 10 เท่า และเห็นได้เมื่อดูด้วยตาเปล่ามองจากด้านหน้า ซึ่งรอยตำหนิภายในเหล่านี้มีผลกระทบต่อความคงทน ความโปร่งใส และประกายความแตกต่างของลำดับขั้นในเพชรเกรดนี้ระหว่าง I1, I2, I3

ดังจะได้สรุปตามตาราง


การตรวจ Clarity ของเพชรอย่างเป็นระบบ

        ควรจะทำการตรวจเพชร อย่างเป็นระบบ  เพื่อป้องกันการหลุดรอดบางตำแหน่งที่ไม่ได้ดูอย่างไม่ตั้งใจ
ในตอนแรก เริ่มทำการตรวจที่บริเวณ หน้า table ก่อน ดูว่า เอียงหรือไม่ และมุมทั้งแปด เรียบร้อยดีหรือไม่ มีตำหนิอะไรหรือไม่  แล้วต่อไป ก็ทำการตรวจดูที่ table facet ทั้งแปด ดูว่า มีความ symmetry หรือไม่ และมุมทำการเจียระไน ดีหรือไม่ ต่อไป ก็ทำการดูที่ main facets ทั้งแปด เช่นเดียวกัน เมื่อเรียบร้อยดี ก็ดูต่อที่ girdle facets ทั้งแปด เป็นอันจบหน้า crown


      ต่อมา ก็ทำการพลิกเพชรกลับมา 180 องศา เพื่อดูบริเวณ pavilion ว่าเป็นอย่างไร เพื่อดูpavilion main facets และ girdle facets ให้ครบ และเปลี่ยนตำแหน่งของคีบคีม เพื่อดูว่า มีตำหนิที่บริเวณคีบคีบหรือไม่

มาถึงจุดนี้ เราก็จะสามารถทำการประเมินความบริสุทธิ์ของเพชรได้โดยประมาณ เป็น ตัว C ตัวที่สาม คือ clarity

    ยังเหลืออีกตัวหนึ่ง คือ C= cut หมายถึงการเจียระไนเพชร ยังไม่ได้เล่าให้ฟัง เพราะรายละเอียดค่อนข้างมาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่