ทำไมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับเรือ 'ฟริเกตพิฆาต' 1.4 หมื่นล้านอาวุธใหม่ ทร' ครับ

"เรือหลวงท่าจีน" เรือฟริเกตพิฆาตลำใหม่ ถูกปล่อยลงน้ำตามพิธีแล้ว ที่เกาหลีใต้ ก่อนเข้าประจำการราชนาวีไทย  ก.ค.2561  





"เรือหลวงท่าจีน" เรือฟริเกตพิฆาต เขี้ยวเล็บลำใหม่ของราชนาวีไทย ถูกปล่อยลงน้ำตามพิธี เมื่อเวลา 15.39 น. ตามเวลาที่เกาหลีใต้ โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธาน พร้อมด้วยนางปรานี อารีนิจ ภริยาเป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ มีกำหนดประจำการ ก.ค.2561

กองทัพเรือเซ็นต์สัญญาว่าจ้างบริษัท DSME หรือ DAEWOO  ดำเนินการสร้างเรือฟริเกต ในระหว่างปี 2556 – 2561 วงเงิน 1.46 หมื่นล้านบาท เป็นโครงการทดแทน ภายหลังโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำมือสอง U206A จากเยอรมันล่มไป เมื่อปี 2555

ฟริเกต "เรือหลวงท่าจีน" เป็นแบบที่พัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I)  โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลี มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นายประจำการ
สมรรถนะ เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยี โดยใช้ Stealth Technology ลดการแพร่คลื่นแม่เหล็กตัวเรือ รวมทั้งลดการแพร่เสียงใต้น้ำ ป้องกันการตรวจจับจากฝ่ายตรงข้าม
ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ  น้ำ บก อากาศ เพียบพร้อมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับป้องกันตัว รวมถึงตอร์ปิโด ป้องกันเรือดำน้ำ
พร้อมขีดความสามารถในการป้องกันตนเอง ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี ปืนใหญ่เรือและปืนรองต่อสู้อากาศยาน ระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด ระบบลวงทางอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนอีก 1 ลำที่เหลือหลังจากนี้ กองทัพเรือไทยจะต่อเอง เมื่อได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทคู่สัญญา DAEWOO ตามข้อตกลงหรือ MOU
นับเป็นปีทองของกองทัพเรือ เมื่อโครงการเรือดำน้ำที่ถูกพับไป รัฐบาล คสช. ได้นำมาปัดฝุ่น ประกาศจัดซื้อจากจีน วงเงิน 1.35 หมื่นล้านสำเร็จ โดยกองทัพเรือให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้ประเทศชาติ


การแบ่งประเภทของเรือ
         - Battleship หรือเรือประจันบาน (BB)
เรือประจันบานนั้นเป็นเรือที่เป็นพระเอกในยุคที่การรบทางทะเลใช้ปืนยิงเข้าหากันอย่างเดียว ฉะนั้นเรือประเภทนี้ต้องมีเกราะหนาและปืนใหญ่ที่ใหญ่มากและมีจำนวนมากที่สุด แต่การกำเนิดของเรือบรรทุกเครื่องบินในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้เรือประจันบานต้องลดบทบาทลงไปเป็นการยิงสนับสนุนและการระดมยิงฝั่งจนปลดประจำการไปในที่สุด ในปัจจุบันไม่มีเรือประเทศนี้เข้าประจำการแล้ว
          -Cruiser หรือเรือลาดตระเวน (CG)
เรือลาดตระเวนนั้นในอดีตคือเรือขนาดเล็กที่ติดอาวุธพอที่จะปฏิบัติการได้อย่างอิสระ แต่ปัจจุบันมันคือเรือขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการต่อตีเป้าหมายได้หลากหลาย โดยบางแหล่งบอกว่าเรือประเภทนี้จะมีระบบโจมตีกับประบบป้องกันตัวแยกจากกัน ความจริงเรือชนิดนี้มันมองยากเหมือนกันว่าอะไรควรจะจัดอยู่ในชั้นนี้ ตัวอบ่างของเรือชั้นนี้ก็คือเรือ USS Tigonderoga ในกองเรือคุ้มกันเรือบรรทุกเครื่องบิน ทำหน้าที่โจมตีเรือ และสามารถโจมตีฝั่งโดยขีปนาวุธ Tomahawk ได้
          -Destroyer หรือเรือพิฆาต (DDG)
เรือพิฆาตคือเรือที่มีประยะปฏิบัติการไกล ออกแบบมาเพื่อคุ้มกันของเรือ ในอดีตมันคือเรือตอร์ปิโดนั้นเอง แต่เมื่อมีภัยคุกคามใหม่ ๆ ขึ้นมามันก็ถูกใส่คุณสมบัติต่าง ๆ เพิ่มเข้าไปเช่น การต่อต้านอากาศยานหรือการต่อต้านเรือดำน้ำ เรือพิฆาตส่วนใหญ่จะปฏิบัติการร่วมกันกับกองเรือเท่านั้น และมีหน้าที่ในเชิงป้องกันมากกว่า ตัวอย่างก็เช่น USS Arleigh Burke ของอเมริกา Type 052C Luyang II
ของจีน หรือ Admiral Levchenko ของรัสเซีย เป็นต้น
         -Frigate หรือเรือฟริเกต (FFG)
เรือฟริเกตเป็นเรือที่เป็นกำลังรบหลักของกองทัพเรือส่วนใหญ่ของโลก (รวมทั้งไทย) ในอดีตเรือฟริเกตเป็นเรือที่มีความเร็วสูง แต่เล็กกว่าเรือ Battleship ใช้ในการลาดตระเวน ในปัจจุบันเรือฟริเกตถูกใช้เรือเรือที่มีหน้าที่ปกป้องเรืออื่นหรือปกป้องกองเรือสินค้า ทั้งยังสามารถปราบเรือดำน้ำได้ด้วย ซึ่งอันที่จริงเรือฟริเกตก็ติดอาวุธคล้าย ๆ เรือพิฆาตน้ำแหละ เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น ตัวอย่างของเรือฟริเกตก็มี USS Oliver Hazard Perry ของอเมริกา มีหน้าที่ปราบเรือดำน้ำให้กับกองเรือ ของใกล้ตัวมาอีกหน่อยก็คือ RSS Formidable ของกองทัพเรือสิงคโปร์ เป็นเรือล่องหนชั้น La Fayette ของฝรั่งเศส ของเรือไทยก็เช่นเรือชั้นนเรศวร เป็นต้น
      -Corvette หรือเรือคอร์แวตต์ (K)
เป็นเรือขนาดเล็กกว่าเรือฟริเกต ส่วนใหญ่ใช้ลาดตระเวนในบริเวณที่ไม่ไกลฝั่งมากนัก ติดอาวุธบ้างตามสมควร แต่บางครั้งก็สามารถออกปฏิบัติการในทะเลหลวงได้เหมือนกัน เรือในชั้นนี้ที่โด่งดังที่สุดก็คงเป็นชั้น Visby เรือคอร์แวตต์ล่องหนของสวีเดน หรือของไทยเราก็คือเรือชั้นรัตนโกสินทร์นั้นเอง
      -Off-Shore Patrol Vessel หรือเรือตรวจการณไกลฝั่ง (OPV)
ถือเป็นเรือชนิดใหม่ครับ โดยจะมีขนาดพอ ๆ กับเรือฟริเกตขนาดเบา แต่ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการนั้นถูกกว่าเรือฟริเกตมาก ในยามปกติอาจจะติดอาวุธแค่ปืนเรือเท่านั้น แต่ในยามสงครามก็สามารถติดอาวุธต่าง ๆ ที่จะสามารถออกรบเคียงข้างเรือฟริเกตได้ ตัวอย่างเรือในชั้นนี้ก็มีเช่น MEKO A-100 หรือ ร.ล.ปัตตานีของไทยนั้นเอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เพราะส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของงานกลาโหม เนื่องจากใช้ชิวิตในเมืองจนเคยชิน เลยคิดว่าเอามาก็ไม่ได้ใช้แค่เอามาโชว์วันเด็ก เลยไม่เห็นคุณค่า แต่ลองคิดดูนะครับ ว่าถ้าไม่มีทหารทำหน้าที่ แค่เพียง 1 วันก็พอจะเกิดอะไรขึ้น ลองคิดดูนะครับว่าการเจรจาต่อรองระหว่างประเทศนอกจากผลประโยชน์แล้วยังมีอะไรที่ทำให้การเจรจาสำเร็จ ดูว่าทำไมจีนจะทำอะไรไม่ต้องกลัวใคร ทำไมอเมริกาขยับตัวแต่ละทีสะเทือนทั้งโลก เช่นเดียวกันทำไมไทยสามารถเจรจากับเพื่อนบ้านแล้วสามารถพูดได้เต็มปาก ตัวอย่างก็เช่นเหตุการณ์เรืองขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร ทำไมผ่านมากี่ปีแล้วเขมรยังขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกไม่ได้เสียที ลองกลับกันถ้าเขาพระวิหารเป็นของไทยแล้วเราจะขึ้นทะเบียนเขมรจะกล้าทวงสิทธิ์ไหม มีกลาโหมที่แข็งแกร่งก็เหมือนนักธุรกิจที่มีบอดี้การ์ดที่ดี เวลาจะทำอะไรก็ไม่ต้องกลัวใคร ผิดกับเวลาที่ต้องไปชนกับคนที่เหนือกว่าจะทำอะไรก็ต้องรอมชอมทั้งๆที่เสียผลประโยชน์ชัดเจน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ที่ว่าส่วนใหญ่น่ะใคร มีข้อมูลอ้างอิงไหม

เรือฟริเกตใหม่ยังไง ทร.ก็ต้องจัดหามาอยู่ดี เพื่อทดแทนเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่กำลังเตรียมปลดประจำการและเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย (ปลดไปแล้ว) ซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox  จำนวน 2 ลำ

สรุปแล้วกองเรือหลักก็ยังคงเท่าเดิม กองทัพซื้อมาเพื่อทดแทนของเก่าที่ปลดประจำการ ถ้าจะเพิ่มก็เพิ่มตรงเรือดำน้ำ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่