[เพชรกลางไฟ] ‘อุรวศี’ ‘อลัมพุษา’ ‘ติโลตตมา’ ‘อทริกา’ ‘อรุณวาสี’ 'เมรา' นามนางฟ้าที่มาของพระนามหม่อมเจ้าหญิง

ด้วยชื่อของตัวละครในเรื่องเพชรกลางไฟ ทั้งนางเอกและพี่น้องนางเอกล้วนถูกตั้งชื่อมาจากชื่อนางฟ้าทุกคน ซึ่งล้วนนามไพเราะ(และแปลกหู) วันนี้เลยลองค้นเรื่องราวของนางอัปสรซึ่งเป็นที่มาของแต่ละชื่อมาสรุปพอสังเขป สนุกๆค่ะ (เน้นความบันเทิง เรื่องภาษา บกพร่องแน่นอน เนื้อเรื่องอาจจะไม่เหมือนหรือตกหล่นจากที่มาอื่นได้) ได้ข้อมูลมาจากไฟล์หนังสือ ชื่อว่า ไตรตรึงษ์ กลุ่มภาษาและวรรณคดีสันสกฤต (facebook)   เครดิต อุรวศี อลัมพุษา ติโลตตมา อทริกา  ขอบคุณอย่างยิ่ง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
   
           
              นางฟ้าหรือที่เรียกว่านางอัปสร ในวรรณกรรมสันสกฤต ซึ่งมีอยู่มามากมายหลายสิบล้านตนนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 พวกใหญ่ คือ  นางอัปสรที่อยู้ในสวรรค์ (ไทวิกะ) กับนางอัปสรที่อยู่ในโลกมนุษย์ (เลาวิกะ) ซึ่งชื่อของนางอัปสรที่ถูกใช้เป็นชื่อของตัวละครนั้น เกือบทั้งหมดเป็นนางฟ้าตัวท็อป 5555
              (ชื่อนักแสดง-ชื่อตัวละคร)
              นางเอก มิว-อุรวศี  ลูกหม่อมสลวย
              แพง-อลัมพุษา(ตัวดี แต่งงานแล้ว) น้ำฝน-ติโลตตมา (ตัวร้าย)  เจิน-อทริกา (ตัวร้าย)  บุศ-อรุณวาสี (ตัวดี) ลูกหม่อมต่วน           
             ใยไหม - เมรา (ตัวดี) ลูกหม่อมเรี่ยม



แถวหน้าสุด เรียงนักแสดงที่เล่นเป็นตัวละคร หม่อมเจ้าหญิง อทริกา-อรุณวาสี-อลัมพุษา-เมรา-ติโลตตมา ส่วนอุรวศี แถวหลังเสื้อสีขาว



อุรวศี (Uravasri)
                     นางเอกของเรา  เป็นคนเดียวที่ตั้งชื่อจากนางอัปสร ประเภทไทวิกะ ความโดดเด่น คือ ความงามเป็นเลิศ  กำเนิดของนางมีหลายที่มา แต่ขอเสนอฉบับการจากต้นขาฤษีนร-นารายณ์
                   เรื่องมีอยู่ว่าฤษีนร-นารายณ์ กำลังบำเพ็ญตบะอยู่ แต่พระอินทร์เกรงว่าท่านฤษีจะแย่งเก้าอี้ตำแหน่งของตนไป วิตกมากจึงเสด็จไปเจรจาด้วยพระองค์เอง แต่ไปถึงฤษีกลับหลับตานิ่งเงียบไม่กล่าวตอบ พระอินทร์กริ้วมากเลยร่ายมนตร์ให้เกิดสัตว์ร้ายต่างๆเข้าโจมตีหวังทำลายตบะแต่สัตว์เหล่านั้นกลับทำอะไรฤษีไม่ได้เลยแม้จะพยายามใช้วิธีอื่น จึงถอยกลับไปตั้งหลักที่สวรรค์ เมื่อถึงแล้วจึงเรียกใช้เหล่ากามเทพและคณะไปโจมตีแทนโดยทรงมอบนางอัปสรหลายตนไปให้ด้วย แต่ไม่ว่าจะสร้างบรรยากาศอย่างไร ให้นางอัปสรตัวท็อปอย่าง เมนกา รัมภา ติโลตตมา(ชื่อตัวละครอีกตัว) ฯลฯ หรือตนใดมายั่วยวนก็ทำอะไรท่านมหาฤษีไม่ได้ แถมยังกล่าวกับเหล่านางอัปสรและคณะว่า ถูกพระอินทร์บังคับมาใช่ไหม? จนทั้งคณะต้องรีบก้มกราบขอขมาเพราะกลัวท่านฤษีจะสาปลงโทษ แต่ท่านฤษีกลับกล่าวว่าตนจะไม่ลงโทษเพราะทราบว่าถูกพระอินทร์บัญชามาจะขัดมิได้ แถมยังขอฝากของฝากกลับไปให้พระอินทร์
                    กล่าวจบ ท่านก็เอามือลูบต้นขาเบาๆ ทันใดนั้นก็เกิดสตรีนางหนึ่งผุดออกมา เป็นสาวงามที่สุด ไร้ที่ติ จนกามเทพตะลึง และตั้งชื่อนางซึ่งกำเนิดจากอูรุของตนว่า ‘อุรวศี’ และฝากบอกพระอินทร์ว่า อย่ามารบกวนตนอีกเลย ตนไม่เคยคิดแย่งชิงตำแหน่งท่านหรือเป็นศัตรูเลย ซึ่งเมื่อพระอินทร์ได้รับของฝากและทราบถึงคำพูดของมหาฤษี พระอินทร์จึงทรงละอายพระทัย ไม่มายุ่งกับท่านอีกเลย

                     นอกจากนี้อีกเรื่องเล่าที่น่าสนใจของอุรวศี คือ ความรักระหว่างอุรวศรีกับปุรูราวัส
                     วันหนึ่งนางอัปสรอุรวศีและสหายมาเที่ยวเล่นยังโลกมนุษย์แล้วถูกรากษส(อสูร-ยักษ์ชั่นต่ำ)ฉุดคร่าไป ราชาปุรูรวัสผ่านมาเห็นจึงรีบเข้าช่วยเหลือทั้งสองให้รอดพ้นมาได้ ทำให้อุรวศีตกหลุมรักเข้าอย่างจัง แต่เพราะเป็นนางอัปสรที่อยู่บนสวรรค์จึงต้องขอตัวลากลับขึ้นไป ด้วยความคิดถึงราชาปุรูรวัสมาก นางจึงร่ายรำผิดบ่อย จึงสาปให้ลงไปอยู่โลกมนุษย์เพื่อให้ได้ลิ้มรสความรักซักพักหนึ่ง ซึ่งเมื่อลงมาปรากฏต่อหน้าปุรูรวัส ท่านก็พอพระทัยจะขอนางแต่งงาน ซึ่งนางก็ตอบตกลงด้วย แต่มีเงื่อนไข 3 ข้อ หนึ่ง ห้ามขัดใจ สอง กอดนางวันละ 3 ครั้ง สาม ห้ามเปลือยกายไร้อาภรณ์ให้นางเห็นเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจะขอจากไปทันที ซึ่งปูรุรวัสก็ตอบตกลง
                     1 ปีผ่านไป หลังครองรักอย่างหวานชื่น พวกคนธรรพ์ (ชาวสวรรค์พวหหนึ่งเก่งเรื่องดนตรี) ก็หาอุบายมาให้เกิดการผิดสัญญา แอบมาขโมยแกะที่ผูกคิดไว้กับเสาแท่นบรรทม ปูรุราวัสพอทราบจึงรีบลุกไปทั้งๆที่เปลือยอยู่ ฝ่ายคนธรรพ์ก็ได้ทีรีบบันดาลแสงคล้ายฟ้าแลบติดๆกันขึ้นมา อันทำให้อุรวศีเห็นร่างเปลือยเปล่านั้นอย่างชัดเจน เมื่อผิดคำสัญญา นางจึงอันตธานหายไป ทำเอาราชาใจสลายและออกตามหาไปทั่ว จนในที่สุด พบนางในร่างของนกอาตี นางแปลงเป็นร่างเดิมปรากฏให้เห็น ปูรุราวัสตื๊อจนในที่สุดอุรวศียอมให้พบโดยวางเงื่อนไขว่าจะให้พบปีละ 1 ครั้งในวันสิ้นปีและนางจะมีโอรสให้ ซึ่งในท้ายที่สุดก็มีโอรสให้แก่ปูรุราวัส บ้างว่า 6 คน บ้างว่า 8 คน
                     นอกจากนี้ในมหาภารตะ ยังได้กล่าวถึงอุรวศีว่า ได้สาปอรชุนให้ช่วงหนึ่งหมดสมรรถภาพทางเพศเป็นเหมือนกะเทย เนื่องจากครั้งนึงที่อรชุนไปเฝ้าพระอินทร์บนสวรรค์ นางได้พบและหลงรักอยากได้เป็นคู่ครอง แต่ยั่วยวนเท่าใดอรชุนก็ไม่สนใจและยังกล่าวว่านาง  ว่านางนั้นมีศักดิ์เป็นบรรพบุรุษตน (เป็นชายาปุรุรวัส เป็นพระชนนีของราชาอายุ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษเขา) ซึ่งเมื่ออรชุนถูกสาปก็รับทูลขอให้พระอินทร์ช่วยเหลือ แต่พระอินทร์เห็นว่าเป็นการดีต่ออรชุนที่สามารถปลอมตัวเป็นหญิง สอนนาฎศิลป์และการดนตรี เป็นการหลบซ่อนตัวให้ไม่มีใครจำได้พ้นจากการพบเห็นของฝ่ายศัตรูได้


อลัมพุษา(Alambusha)

                นางอัปสรพวกเลาวิกะ      ครั้นหนึ่งมีฤษีทธีจ บำเพ็ญตบะอย่างยิ่งยวด ณ ริมแม่น้ำสรัสวดี ทำให้พระอินทร์เกรงว่าฤษีจะมาแย่งตำแหน่งตน จึงให้นางอลัมพุษาไปทำลายตบะ ซึ่งเมื่อพระฤษีเห็นความงามของนางขณะที่ท่านกำลังลงอาบน้ำในแม่น้ำ ก็ทำให้ท่านหลั่งน้ำกามออกมาในทันทีจนทำให้แม่น้ำตั้งครรภ์ กำเนิดบุตรแก่ฤษีนามว่า สารัสวต และนางก็ได้เอาทารกผู้นี้ไปเลี้ยงจนเติบใหญ่
               อีกเรื่องเล่าเกี่ยวกับนางอลัมพุษา ครั้นหนึ่งพระอินทร์และวิธู วสุ ไปเข้าเฝ้าพระพหรม ซึ่งนางก็ได้ออกมาต้อนรับ เกิดเหตุการณ์ประหลาดมีลมแรงพัดจนอาภรณ์ของอลัมพุษาเปิดออก พระอินทร์ทรงหันพระพักตร์หนีแต่วิธูมกลับจ้องมองไม่วางตาด้วยตัณหา เมื่อลงหยุด พระอินทร์ทรงกริ้วทั้งสองมากจึงสาปทั้งสองให้ไปเกิดยังโลกมนุษย์ วิธูมาเกิดเป็นราชาสหสราณีก ส่วนนางอลัมพุษาเกิดเป็นเข้าหญิงมฤควดี ซึ่งทั้งสองก็ได้ตกลงจะวิวาห์กัน แต่ก่อนวิวาห์ราชาสหสราณีกได้ไปช่วยพระอินทร์ทำสงครามกับอสูรก่อน เมื่อชนะจึงให้พระมาตลีกับนางติโลตตมาส่งราชากลับมายังโลก แต่ตอนมาส่ง ราชาคิดถึงแต่มฤควตี นางติโลตตมาไม่พอใจที่ไม่สนใจพูดคุยกับตนจึงโกรธและสาปให้ทั้งสองต้องพรากจากกัน 14 ปี ซึ่งเมื่อราชากลับถึงยังโลก จึงได้แต่งงานกับนางมฤควตีทันที วันหนึ่งหลังนางตั้งครรภ์ ได้ลงเล่นน้ำในสระที่มีสีแดงคล้ายโลหิต ปรากฏมีอินทรีตัวใหญ่มาโฉบเอานางไปยังยอกเขาอุทัย นางก็ได้คลอดบุตรชายที่นั่น นามว่า อุทัยน์ ขณะเดียวกันราชาสหสราณีกได้ออกติดตามหานางไปทั่วแต่ไม่พบด้วยคำสาปของติโลตต นางฟ้าชั้นเลมานั่นเอง จนครบ 14 ปี พระมาตลีจึงได้ช่วยให้ทั้งสองและโอรสได้มาเจอกัน แล้วนำกลับคืนมาครองสุขในที่สุด



ติโลตตมา (Tilottama)

                     เป็นนางฟ้าชั้นเลาวิกะพระวิศวกรรมเสกให้นางอัปสรติโลตตมาเกิดขึ้นมา โดยการรวบรวมเอาสิ่งของสวยงามจากทั้งสามโลกมาหลอมรวมกันอย่างบรรจง ประดับกายนางด้วยอัญมณีมากมาย โดยในอดีตนั้นมีรากษสสองพี่น้องที่รักกันมากนามว่า สุนทะและ อุปสุนทะ ปรองดองรักกันมากถึงมากที่สุดได้ไปบำเพ็ญตบพเพื่อขอพรพระพรหม จนกว่าพระพรหมจะเสด็จมาประทานพร ซึ่งในที่สุดท่านก็มา ทั้งสองขอพรว่าขอให้พวกตนมีพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่และเป็นอมตะ ซึ่งพระพหรหมก็ตรัสว่าข้อแรกนั้นให้ได้ แต่ข้อหลังประทานให้ไม่ได้ ให้ทั้งสองขอใหม่อีกครั้ง ทั้งสองจึงปรึกษากันและขอพรว่า หากพวกตนจะตายขอให้ตายด้วยน้ำมือกันและกันเอง
                     ซึ่งเมื่อได้พรมา ทั้งสองก็เริ่มกำเริบเสิบสานทำชั่วราวีทั้งสามโลกจนปั่นป่วน เหล่าเทวดาและฤษีมนีจึงไปขอเข้าเฝ้าพระพรหม ท่านจึงแนะให้ไปขอพระวิศวกรรมเสกนางติโลตตมาขึ้นมา “ติล” หมายถึง เมล็ดงาหรืออนุภาคขนาดเล็ก “อุตฺตม” หมายถึงเป็นเลิศหรือยิ่งใหญ่ เมื่อสร้างนางขึ้นมาเสร็จพระอินทร์จึงใช้นางไปสร้างความบาดหมางแกจอมรากษสทั้งสอง  มายั่วยวนมารยาให้ตกหลุมรัก  มอมเหล้า ยั่วยุทั้งสองฝ่ายให้ทะเลาะกันเองโดยเมื่อแต่ละฝ่ายเอ่ยปากขอให้เป็นภรรยาก็บอกว่าอยากเป็นภรรยาอีกฝ่ายมากกว่า และจะเป็นภรรยาทั้งสองพร้อมกันไม่ได้ จึงทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทและฆ่ากันตายเองเป็นไปตามพรของพระพรหม
                    นอกจากนั้นในมหาภารตะยังกล่าวเสริมถึงความงามของนางติโลตตมาไว้ว่า ความงามเลิศอันหาที่เปรียบมิได้ ทำให้พระอินทร์ผู้มีพันเนตร ทรงใช้เนตรทั้งพันจ้องมองความงามนางอย่างไม่ละสายตาด้วย


อทริกา (Adrika)

                     เป็นนางอัปสรชั้นเลาวิกะ ที่ถูกพระพรหมสาปให้ปลาอยู่ในแม่น้ำยมุนา วันหนึ่งราชาแห่งแคว้นเจทิ ทรงกำหนัดหลั่งน้ำกามออกมา จึงได้ฝากได้ฝากให้เหยี่ยวคาบเอาไปให่พระมเหสีของตน แต่ปรากฏว่ามีเหยี่ยวเจ้าถิ่นบินโผเข้ามาต่อสู้ น้ำพันธุ์จึงตกลงไปที่แม่น้ำและเข้าปากของปลาซึ่งเป็นร่างที่ถูกสาปของนางอทริกาพอดี ต่อมาปลาตัวนั้นจึงตั้งท้อง ชาวประมงจับได้นำมาผ่าทองปรากฎเป็นทารกเพศชาย ให้นามว่ามัตสยะ ส่วนทารกเพศหญิงให้ชื่อว่ามัตสยะคันธาหรือสัตยาวดี หลังจากนั้นอทริกาจึงพ้นคำสาป กลายร่างกลับไปเป็นนางอัปสร



อรุณวาสี (มีข้อมูลไม่มาก)

               ฤาษีภรต ซึ่งเป็นผู้จัดการร่ายรำบนสวรรค์ มีศิษย์เอกนามว่า นางอรุณวาสี ครั้นหนึ่งพระอินทร์ต้องการหาคนไปทำลายตบะฤาษีวิศวามิตรเป็นครั้งที่สองแต่ไม่รู้จะเลือกใครเลยเชิญพระวิกรมาทิตย์มาเป็นกรรมการตัดสิน นางอัปสรที่เป็นผู้เข้ารอบตัดเชือกสองคนสุดท้ายคือ นางอรุณวาสี กับนางรัมภา ซึ่งเมื่อนางอรุณวาสีร่ายรำ วิกรมาทิตย์ก็มองไม่วางตา แต่พอรัมภาร่ายรำ วิกรมาทิตย์ก็ตบมือชื่นชมออกนอกหน้าจนรัมภาชนะไป   เครดิต [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


เมรา (มีข้อมูลไม่มาก)


           ฤาษีชื่อกัมพุ บำเพ็ญพรตจนพระศิวะประทานนางอัปสร ชื่อนางเมรา มาให้เป็นภรรยา ฤาษีกัมพุและนางเมราอยู่กินกันจนเกิดลูกหลานมากมาย เป็นปฐมวงศ์ของชาวเขมรต่อมากลายเป็นชื่อประเทศ "กัมพูชา" ออกเสียงแบบเขมรว่า กัมปูเจีย แปลว่า ผู้เกิดจากฤาษีกัมพุ
            เครดิต [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้




          นอกจากนี้ยังมีชื่ออีกหลายชื่อที่น่าสนใจ
          ลูกหม่อมต่วน ท่านชายอรชุน >> อรชุน เป็นชื่อตัวละครเอกในมหาภารตะ เป็นบุตรที่เกิดจากพระอินทร์ประทานให้
          ลูกชายหม่อมสลวย พี่ชายอุรวศี ท่านชายวิสสุกรรม >> พระวิสสุกรรม เป็นพระผู้สร้าง เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์

         ไม่ใช่ชื่อเทพ นางอัปสร แต่ จขกท ว่าเป็นชื่อตัวละครที่น่าสนใจ ตรงกับบุคลิกบางประการ
          อนล แปลว่า ไฟ
          อนึก แปลว่า กองทัพ (ในเรื่องเป็นทหาร)
          อธิป แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ (ในเรื่องเป็นหม่อมเจ้า มีเงิน อำนาจมาก)

         ส่วนอันนี้ขำๆ
        หม่อมของเสด็จในกรมทั้ง 3 คน ชื่องาม วาว ทุกคน
        เรี่ยม >> สะอาดเอี่ยม  สลวย >> เป็นคลื่นสวย (ผม)
        ต่วน >> ผ้าชนิดหนึ่ง มี 2 ด้าน ด้านนึงเนื้อด้านด้านหนึ่งมันวาว (คนก็มี 2 หน้า??)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่