ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 23/1/2017 (พิพิธภัณฑ์กีเมต์)

กระทู้คำถาม

ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม

กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน  ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น


วันนี้แมวน้อยอาสาตั้งกระทู้ห้องเพลงเป็นครั้งแรก ขอนำเสนอเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์กีเมต์ หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ





ใครได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะชาวพุทธที่สนใจในโบราณวัตถุต่างๆ อย่าลืม ระบุชื่อ ‘พิพิธภัณฑ์กีเมต์’ ลงไปในตารางการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ชื่อดังของกรุงปารีสด้วย เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้ชื่อว่าเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงศิลปะอินโดจีนที่ใหญ่ที่สุดใน ยุโรป และเป็นแหล่งศิลปะจากเอเชียที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยโบราณวัตถุล้ำค่ากว่า 45,000 ชิ้น!! ซึ่งมี ศาสนวัตถุ และวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของ ประเทศต่างๆ อาทิ ภาพวาด สิ่งทอ เป็นต้น
       
        พิพิธภัณฑ์กีเมต์ตั้งอยู่ที่จัตุรัสอิเอนา ซึ่งก่อนหน้านั้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมืองลียอง ก่อตั้งขึ้นโดย เอมิล กีเมต์ มหาเศรษฐีนักอุตสาหกรรมชาวลียอง ตั้งแต่ปี 1879
       
        ด้วยความที่เป็นคนรักการผจญภัย และสนใจโบราณวัตถุของอียิปต์ และเอเชีย กีเมต์จึงเดินทางไปถึงอียิปต์ และกรีซ หลังจากนั้นในปี 1876 เขาตัดสินใจเดินทางรอบโลก และได้หยุดพักที่ประเทศญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ซึ่งตลอดระยะการเดินทาง เขาก็ได้เริ่มต้นสะสมวัตถุมีค่าต่างๆ จากทางตะวันออกไกล เพื่อมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
       
        อีก 10 ปีต่อมา วัตถุโบราณและศาสนวัตถุอันมีค่าในพิพิธภัณฑ์ที่เมืองลียอง ถูกย้ายไปแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ณ จัตุรัสอิเอนา โดยระหว่างที่กีเมต์เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์นั้น เขาได้ทำนุบำรุงรักษาวัตถุล้ำค่าไว้เป็นอย่างดี และมีการจัดแสดงโบราณวัตถุ ทั้งของอียิปต์ และมีวัตถุของอารยธรรมทางฝั่งอาเซียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
       
        เมื่อเข้าสู่ปี 1927 ถึงคราวสิ้นยุคของกีเมต์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็ได้ย้ายเข้าอยู่ในสังกัดกรมการพิพิธภัณฑ์ฝรั่งเศส ทางการจึงหันมามุ่งเน้นการจัดแสดงศิลปวัตถุจากเอเชียกลางและจีนมากขึ้นกว่าเดิม และวัตถุล้ำค่าส่วนใหญ่ ก็ได้จากนักสำรวจ อย่างเช่น Paul Pelliot หรือ Edouard Chavannes ที่เดินทางเข้ามาสำรวจประเทศเอเชียกลาง และจีน และได้นำวัตถุล้ำค่าไปมอบให้กับทางการฝรั่งเศส
       
        ในปี 1945 ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดระบบระเบียบของวัตถุล้ำค่าเหล่านี้เสียใหม่ โดยได้ขนย้ายโบราณวัตถุของอียิปต์ไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ และรับมอบศิลปวัตถุจากทาง เอเชียในลูฟว์มาจัดแสดงแทน นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์กีเมต์ ยังได้รับมอบศิลปวัตถุอันล้ำค่าของเขมรจำนวนมาก จากพิพิธภัณฑ์อินโดจีน ทำให้พิพิธภัณฑ์กีเมต์ กลายเป็นศูนย์จัดแสดงงานศิลปะจากทวีปเอเชียอย่างเต็มตัว
       
        กระทั่งถึงปี 2001 รูปแบบของพิพิธภัณฑ์ถูกปรับเปลี่ยน ให้มีบรรยากาศแปลกใหม่ ภายใต้เนื้อที่ 5,500 ตารางเมตร โดยเน้นความรื่นรมย์ของผู้ชม และง่ายต่อการเข้าชมโบราณวัตถุของแต่ละชาติ โดยได้จัดพื้นที่ในแต่ละส่วน ภายใต้กรอบ ของภูมิศาสตร์ และลำดับอายุของวัตถุโบราณชิ้นนั้นๆ ไว้อย่างครบถ้วน อาทิเช่น การจัดแสดงโดยยึดหลักการเชื่อมโลกของอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับวัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งวัตถุโบราณที่จัดแสดงนั้น มีทั้งเศียร พระพุทธรูปสลักจากหินอ่อนสีขาว สมัยราชวงศ์ฉี (อาณาจักรทางเหนือของจีนในศตวรรษที่ 6) พระพุทธรูปปางมารวิชัยจากประเทศไทย (ศิลปะสมัยอยุธยาประมาณ ศตวรรษที่ 15-16) พระพุทธรูปครึ่งองค์แกะจากหินทรายสีชมพู จากทางตอนเหนือของอินเดีย (ราชวงศ์คุปตะ ศตวรรษที่ 6) ซึ่งแต่ละชิ้นนั้น สื่อนัยยะอย่างเดียวกันว่า ‘จงเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ’
       
        ส่วนบรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์อบอวลไปด้วยกลิ่นอายพุทธศาสนาของแต่ละประเทศในเอเชีย ตั้งแต่อัฟกานิสถาน อินเดีย จีน ทิเบต ไปจรดญี่ปุ่น รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไทย เวียดนาม กัมพูชา ฯลฯ
       
        ความมีเสน่ห์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ไม่เพียงแต่วัตถุล้ำค่า ที่จัดแสดงให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวันเท่านั้น แต่ยังมีโบราณวัตถุที่น่าสนใจมาจัดแสดงให้ชมเป็นครั้งคราว และนอกจากพื้นที่ ส่วนการจัดแสดงโบราณวัตถุแล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังมีบริการห้องสมุดอีกด้วย
       

       (จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 79 มิ.ย. 50 โดย จรินทร์ คำชัย)

CR: http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9500000066463

เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์
http://www.guimet.fr/en/home


Emile Guimet

ประวัติผู้ก่อตั้ง
https://en.wikipedia.org/wiki/%C3%89mile_%C3%89tienne_Guimet


สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 23
ทักทาย MC  คนใหม่  เนื้อหากระทู้ดีมาก อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นมาก

อยากจะแนะนำ MC เก่า ชวนคุณ 2965239 มาเป็น MC ประจำ


ในกระทู้มีรูปอนุสาวรีย์ คนขี่ม้า  มีเกร็ดเล็กๆน้อยๆมาเล่าสู่กันฟัง

ปกติการจะสร้างอนุสาวรีย์คนขี่ม้า มักจะสร้างให้กับ กษัตริย์ หรือ แม่ทัพที่ยิ่งใหญ่

ภายใต้กฏเกณฑ์ที่ว่า

1 ถ้าขาหน้าของม้า ยกทั้งสองข้าง แปลว่า  คนที่ขี่ ตายในสงคราม

2 ถ้าขาหน้ายกข้างเดียว เหมือนรูปในกระทู้[url]  คนที่ขี่ จะบาดเจ็บก่อน แล้วค่อยตายในสงคราม

3 ถ้าม้ายืนทั้ง 4 ข้าง แปลว่า  คนที่ขี่ ไม่ได้ตายเพราะสงคราม



ถ้าผิดจากกฏเกณฑ์นี้ แปลว่า คนสร้างไม่ใส่ใจในรายละเอียด

cnck
ความคิดเห็นที่ 25
ขออีกนิด กำลังติดลม

กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้านโปเลียนที่ 1


เชื่อหรือไม่ว่า นโปเลียน เกิดร่วมสมัยกับ มหาราชองค์หนึ่งของไทย ซึ่งเป็นยอดนักรบเหมือนกัน คือ

พระเจ้าตากสินมหาราช


สิ่งที่คล้ายกันมากที่สุดของ กษัตริย์สองพระองค์นี้คือ

เกิดในวงค์ สามัญชน และเป็นชนกลุ่มน้อย เหมือนกัน


ม.ร.ว คึกฤทธิ์  ปราโมช  มหาปราชญ์กรุงรัตรโกสินทร์ ได้เปรียบเทียบความคล้ายคลึงของ

ทั้งสองพระองค์นี้ ไว้หลายข้อ  (ไว้ว่างเมื่อไหร่ จะมาเขียนเพิ่ม)


ป.ล พระเจ้าตากสิน ทรงพรรษามากกว่า นโปเลียน เกือบ 20 ปี
ความคิดเห็นที่ 24
ต่อเนื่อง กับ อนุสาวรีย์

อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5

สร้างในฝรั่งเศส เมื่อคราวพระองค์ท่านเสด็จประพาส ยุโรป เป็นครั้งที่ 2



มีเรื่องเล่ากันว่า  มีฝรั่งคิดจะทำให้พระองค์ท่านอับอาย โดยการให้ทรงขี่ม้าที่พยศตัวหนึ่ง

ที่แม้แต่ฝรั่งเองยังขี่ไม่ได้ หวังให้พระองค์ท่านอับอาย  แต่ด้วยพระบารมีของพระองค์

ก่อนขึ้นทรงขี่ ได้เอาหญ้าพร้อมกับใช้คาถากำกับม้า เอาให้ม้ากิน

ปรากฏว่า ม้าไม่มีอาการพยศเลย พระบรมรูปทรงม้านี้ จึงเสมือนหนึ่งอนุสรณ์ในเหตุการณ์นี้


ป.ล เป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมา

cnck
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่