สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
"ระบบกันซึมไร้รอยต่อ ชนิดยืดหยุ่น" ที่ จขกท.สอบถามมานั้น มีให้เลือกใช้ทั้งชนิดที่มีส่วนผสมของซีเมนต์ และชนิดอะคริลิค โดยเหมาะสำหรับการใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาการรั่วซึม ที่ให้การยึดเกาะได้ดี และป้องกันปัญหาการแตกร้าวได้ดี
ชนิดที่มีส่วนผสมของซีเมนต์ : เหมาะสำหรับใช้กับทั้งงานโครงสร้างที่มีการสั่นสะเทือน ระเบียง อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ บ่อเลี้ยงปลา ห้องน้ำ ให้การยืดหยุ่นดี (~200%) และในบางรุ่นสามารถใช้ทาทับบนพื้นผิวกระเบื้องเดิมได้ด้วย โดยมีให้เลือกใช้ทั้งชนิดส่วนผสมเดียว (1K) อาทิ TOA : Floor Seal & WaterBloc, จระเข้ : Flex Shield และ Lanko : 227 Flex Shield เป็นต้น และชนิด 2 ส่วนผสมที่ประกอบด้วย Part A & B (2K / ใช้ผสมกันก่อนใช้งาน) อาทิ TOA :237 Cement Membrane, จระเข้ : Flex 2K และ Lanko : 228 Super Flex เป็นต้น >> โดยชนิด 1K ใช้งานง่าย ประหยัด (เหมาะกับงาน DIY) ส่วนชนิด 2K ประสิทธิภาพดีกว่า แต่ก็ใช้งานยากกว่าและราคาสูงกว่า และกรณีใช้งานภายนอกส่วนใหญ่ต้องมีวัสดุปูทับ (เช่นปูกระเบื้องทับ) และหากใช้ในถังน้ำดื่ม ควรเลือกใช้รุ่นที่ได้รับการรับรองจากการประปา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ชนิดนี้ผสมน้ำแล้วต้องใช้ให้หมด (ตามเวลาที่ผู้ผลิตระบุ / ปกติ 1-2 ชม.)
ชนิดอะคริคพร้อมใช้ : เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ (ส่วนผสมเดียว) ยึดเกาะดี ป้องกันและแก้ไขปัญหารอยแตกร้าวของคอนกรีตได้ดี (โดยเฉพาะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดี) เหมาะสำหรับงานกันซึมภายนอก ทั้งดาดฟ้า ระเบียง หลังคา รางระบายน้ำ ให้ความยืดหยุ่นสูงกว่าชนิดซีเมนต์ (~400-500%) ทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรงได้ และทนต่อรังสี UV ได้ดี (ไม่ต้องทำวัสดุปิดทับ) มีเฉดสีให้เลือก 3-4 สี สามารถใช้สัญจรและรับการสั่นสะเทือนได้ดี อาทิ TOA : Roof Seal, จระเข้ : Roof Shield และ Lanko : 451 : Sovacryl เป็นต้น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และในบางยี่ห้อมีชนิด/รุ่นที่สะท้อนรังสีความร้อนได้ด้วย (ช่วยให้ห้องด้านล่างลดความร้อนอบอ้าวได้) อาทิ TOA : Roof Seal SunBlock และ Captain : Roof Seal CoolMax เป็นต้น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ชนิดนี้ หากเหลือใช้ สามารถเก็บไว้ใช้ต่อได้ในอนาคต (แต่คงไม่เกิน 1 ปี)
อนึ่งกรณีของ จขกท. ที่มีปัญหารั่วซึมบนดาดฟ้านั้น (หากเดิมไม่ได้ปูกระเบื้องไว้) ชนิดอะคริลิคพร้อมใช้จะเหมาะสมกว่า ประหยัดกว่า และใช้งานง่ายกว่า การใช้งานใช้ทาด้วยแปรงหรือลูกกลิ้ง 3 เที่ยว โดยกรณีบริเวณรอยต่อชน ขอบมุม ควรเสริมตาข่ายไฟเบอร์ (FiberMesh) ร่วมด้วยในการทาเที่ยวแรก (ขณะที่ฟิล์มสียังไม่แห้ง) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แนะนำดู >> https://www.youtube.com/watch?v=LklS7TxP6dY
ชนิดที่มีส่วนผสมของซีเมนต์ : เหมาะสำหรับใช้กับทั้งงานโครงสร้างที่มีการสั่นสะเทือน ระเบียง อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ บ่อเลี้ยงปลา ห้องน้ำ ให้การยืดหยุ่นดี (~200%) และในบางรุ่นสามารถใช้ทาทับบนพื้นผิวกระเบื้องเดิมได้ด้วย โดยมีให้เลือกใช้ทั้งชนิดส่วนผสมเดียว (1K) อาทิ TOA : Floor Seal & WaterBloc, จระเข้ : Flex Shield และ Lanko : 227 Flex Shield เป็นต้น และชนิด 2 ส่วนผสมที่ประกอบด้วย Part A & B (2K / ใช้ผสมกันก่อนใช้งาน) อาทิ TOA :237 Cement Membrane, จระเข้ : Flex 2K และ Lanko : 228 Super Flex เป็นต้น >> โดยชนิด 1K ใช้งานง่าย ประหยัด (เหมาะกับงาน DIY) ส่วนชนิด 2K ประสิทธิภาพดีกว่า แต่ก็ใช้งานยากกว่าและราคาสูงกว่า และกรณีใช้งานภายนอกส่วนใหญ่ต้องมีวัสดุปูทับ (เช่นปูกระเบื้องทับ) และหากใช้ในถังน้ำดื่ม ควรเลือกใช้รุ่นที่ได้รับการรับรองจากการประปา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ชนิดนี้ผสมน้ำแล้วต้องใช้ให้หมด (ตามเวลาที่ผู้ผลิตระบุ / ปกติ 1-2 ชม.)
ชนิดอะคริคพร้อมใช้ : เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ (ส่วนผสมเดียว) ยึดเกาะดี ป้องกันและแก้ไขปัญหารอยแตกร้าวของคอนกรีตได้ดี (โดยเฉพาะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดี) เหมาะสำหรับงานกันซึมภายนอก ทั้งดาดฟ้า ระเบียง หลังคา รางระบายน้ำ ให้ความยืดหยุ่นสูงกว่าชนิดซีเมนต์ (~400-500%) ทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรงได้ และทนต่อรังสี UV ได้ดี (ไม่ต้องทำวัสดุปิดทับ) มีเฉดสีให้เลือก 3-4 สี สามารถใช้สัญจรและรับการสั่นสะเทือนได้ดี อาทิ TOA : Roof Seal, จระเข้ : Roof Shield และ Lanko : 451 : Sovacryl เป็นต้น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และในบางยี่ห้อมีชนิด/รุ่นที่สะท้อนรังสีความร้อนได้ด้วย (ช่วยให้ห้องด้านล่างลดความร้อนอบอ้าวได้) อาทิ TOA : Roof Seal SunBlock และ Captain : Roof Seal CoolMax เป็นต้น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ชนิดนี้ หากเหลือใช้ สามารถเก็บไว้ใช้ต่อได้ในอนาคต (แต่คงไม่เกิน 1 ปี)
อนึ่งกรณีของ จขกท. ที่มีปัญหารั่วซึมบนดาดฟ้านั้น (หากเดิมไม่ได้ปูกระเบื้องไว้) ชนิดอะคริลิคพร้อมใช้จะเหมาะสมกว่า ประหยัดกว่า และใช้งานง่ายกว่า การใช้งานใช้ทาด้วยแปรงหรือลูกกลิ้ง 3 เที่ยว โดยกรณีบริเวณรอยต่อชน ขอบมุม ควรเสริมตาข่ายไฟเบอร์ (FiberMesh) ร่วมด้วยในการทาเที่ยวแรก (ขณะที่ฟิล์มสียังไม่แห้ง) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แนะนำดู >> https://www.youtube.com/watch?v=LklS7TxP6dY
แสดงความคิดเห็น
ซีเมนต์กันซึม กับ อะครีลิคกันซึม ต่างกันยังไงคับ