ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1484452079
กลายเป็นประเด็นร้อนข้ามปี หลังจาก "ทรูวิชั่นส์" ประกาศยกเลิกช่องรายการสุดฮอตพร้อม ๆ กันถึง 6 ช่อง ได้แก่ HBO, ซีนีแม็กซ์, เอชบีโอซิกเนเจอร์, เอชบีโอแฟมิลี่, เอชบีโอฮิต และเรดบายเอชบีโอ และมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา
หลังจาก "ทรูวิชั่นส์" เข้าชี้แจงกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2559 พร้อมแจ้งสมาชิกทรูวิชั่นส์ผ่านหน้าจอว่าจะนำ 7 ช่องใหม่ คือ ฟ็อกซ์ แอคชั่น มูฟวี่, วอร์เนอร์ บราเธอร์ส, พาราเมาท์ แชนเนล, โซนี่ แชนเนล, ฟู้ดเน็ตเวิร์ค, Celestial Classic และทรู ฟิล์ม เอชดี 2 ลงจอ เพื่อชดเชยช่องเก่าทันที
ขณะที่สมาชิกทรูวิชั่นส์จำนวนหนึ่งที่ไม่ พอใจกับมาตรการการเยียวยาดังกล่าว ได้เริ่มก่อหวอดผ่านเว็บไซต์ฟ้องได้ดอตคอม (www.fongdi.com) เพื่อระดมรายชื่อ เพื่อจะดำเนินการฟ้องศาล ให้ทรูวิชั่นส์ลดราคาแพ็กเกจ และจ่ายเงินชดเชย ล่าสุดมีสมาชิกทรูวิชั่นส์ร่วมลงชื่อแล้วมากกว่า 1,000 คน
ล่าสุด (12 มกราคม) "พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา" ผู้ช่วยบริหารงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ได้ออกมาชี้แจงกรณียุติการออกอากาศช่องเอชบีโอดังกล่าว
"พีรธน" กล่าวว่า จริง ๆ แล้วบริษัทไม่ได้ต้องการนำช่องเอชบีโอออก แต่ต้องการนำเสนอช่องใหม่ ๆ ซึ่งเอชบีโอถือเป็นช่องหลักในการขับเคลื่อนทรูวิชั่นส์มาตลอด
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้ คือ อีก 5 ช่องของเอชบีโอ มีเรตติ้งไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้ ที่ผ่านมาบริษัทเดินหน้าเจรจา เพื่อซื้อลิขสิทธิ์เฉพาะช่องเอชบีโอเพียงช่องเดียว แต่นโยบายทั่วโลกของเอชบีโอจะขายช่องร่วม หรือจัดแพ็กเกจของการขายหลาย ๆ ช่องร่วมกัน
ขณะเดียวกัน ด้วยแนวโน้มตลาดคอนเทนต์ที่เปลี่ยนไปตั้งแต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา เจ้าของสตูดิโอผลิตหนัง
เช่น โซนี่ พาราเมาท์ เป็นต้น เริ่มสร้างช่องเป็นของตัวเองมากขึ้น เพื่อบริหารจัดการคอนเทนต์ กระทบต่อผู้ประกอบการช่องที่ซื้อคอนเทนต์จากผู้สร้างหนังต่าง ๆ มาออกอากาศ โดยเฉพาะช่องที่ซื้อหนังของแต่ละค่ายมาออกอากาศจะทำได้ยากขึ้น
ทำให้เกิดการวนคอนเทนต์ฉายซ้ำในเครือ ซึ่งทรูวิชั่นส์เองก็ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนผังของช่องได้ ทำให้บริษัทเลือกที่จะซื้อช่องจากค่ายผู้ผลิตหนังโดยตรงมากขึ้น
"ทรูวิชั่นส์ นำคอนเทนต์และช่องต่าง ๆ จากทั่วโลก มาออกอากาศเฉพาะในไทยเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนผังของช่องได้ เมื่อบริษัทเปลี่ยนช่องก็กระทบต่อภาพลักษณ์ทรูวิชั่นส์ ซึ่งการเปลี่ยนช่องครั้งนี้เป็นวิธีเดียวที่จะนำเสนอช่องใหม่
เพราะปัจจุบันจำนวนแบนด์วิดท์ (Band Width) ของบริษัทเต็มแล้ว การจะนำเสนอช่องใหม่ก็ต้องนำช่องเก่าออก จึงเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์ผู้ชมเพย์ทีวีได้ดีที่สุด"
และหลังจากนำ 7 ช่องใหม่มาออกอากาศ พบว่า ช่องฟ็อกซ์ แอคชั่น มูฟวี่ มีเรตติ้งเป็นอันดับ 1 ตามด้วยช่องวอร์เนอร์ บราเธอร์ส
"
สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่า การเปลี่ยนช่องใหม่ครั้งนี้ บริษัทตัดสินใจถูกแล้ว" เพราะช่องใหม่มีเรตติ้งที่ดี ขณะที่กระแสร้องเรียนของผู้ใช้บริการผ่านคอลเซ็นเตอร์ก็ลดลงเรื่อย ๆ หลังจากยุติช่องเอชบีโอมาจนถึงปัจจุบันมีผู้สอบถามข้อมูลผ่านคอลเซ็นเตอร์ และทรูช้อปประมาณ 5,000 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ของฐานสมาชิกกลุ่มพรีเมี่ยม 300,000 ราย
และถึงปัจจุบันนี้มีผู้ขอยกเลิกบริการเพียง 500 รายเท่านั้น คิดเป็น 0.17% ของฐานสมาชิกพรีเมี่ยม
เมื่อจำนวนการยกเลิกบริการไม่ถึง 1% บริษัทถือว่าสมาชิกเห็นชอบกับการเปลี่ยนช่องใหม่ครั้งนี้ และบริษัทก็มุ่งมั่นจะหาคอนเทนต์และบริการที่ดีที่สุดให้แก่สมาชิกต่อไป"
ทิศทางธุรกิจจากนี้ไปจะพัฒนาช่องตัวเองมากขึ้น ด้วยการซื้อคอนเทนต์จากต่างประเทศเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง ปัจจุบันมีทั้งหมด 170 ช่อง แบ่งเป็นช่องที่พัฒนาเอง 25-30 ช่อง และซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ 140-145 ช่อง
"การพัฒนาช่องตัวเอง ความเสี่ยง คือ การมีหรือไม่มีคอนเทนต์ ไม่ใช่เรื่องต้นทุนอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น พรีเมี่ยมลีกอังกฤษ ที่บริษัทก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชื่อ แต่เมื่อครั้งหนึ่งที่เสียคอนเทนต์นี้ไป ก็กลายเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแก่ธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องพัฒนาช่องตัวเองมากขึ้นในทุกหมวดทั้งภาพยนตร์ การ์ตูน เร็ว ๆ นี้ มีแผนจะปรับช่องกีฬาด้วย"
อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน ด้วยการตั้งคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย ซึ่งจะทำหน้าที่บริหารคอนเทนต์ทั้งหมดของทรูคอร์ป "พีรธน" เชื่อว่า จะช่วยยกระดับการนำเสนอคอนเทนต์ในทุกรูปแบบ ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ทั้งค่ายเพลง การผลิตรายการ ต่อด้วยช่องทางออกอากาศทั้งฟรีทีวี
เพย์ทีวี ออนไลน์ จากเดิมที่แยกกันบริหารคอนเทนต์ โดยปัจจัยหลัก ๆ ของการปรับครั้งนี้ก็มาจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ไม่ได้ชมคอนเทนต์จากทีวีเท่านั้น แต่ดูผ่านทุกดีไวซ์ นั่นหมายถึงโอกาสที่คอนเทนต์จะเข้าไปอยู่ทุกแพลตฟอร์ม"
"พีรธน" ทิ้งท้ายว่า ท้ายที่สุดแล้วก็ยินดี และเปิดกว้างสำหรับการเจรจากับเอชบีโออยู่เสมอ เพราะเป็นพันธมิตรกันมากว่า 25 ปี
จากนี้ไปต้องติดตามต่อว่า ทรูวิชั่นส์จะเดินเกมอย่างไรเพื่อรักษาฐานสมาชิกและหาคอนเทนต์ใหม่มาจูงใจเพื่อขยายฐานลูกค้า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ความเห็นส่วนตัว เราสรุปจากข่าวได้ว่า
ใครเป็นแฟนทรูจะเคยรู้มาว่า ทรูก็เคยมีปัญหากับ Fox แบบนี้มาแล้ว นำไปสู่การถอดช่องในเครือบางช่องเช่น สตาร์เวริ์ล ทีวีเอ็น การยกเลิกการร่วมลงทุนในช่องแชนน่อลวีไทยแลนด์
ส่วนช่องที่ท่านผู้บริหารว่ามา โซนี่ ไม่ใช่ช่องหนังชัดเจน แต่เป็นช่องแนวซีรี่ย์ และวาไรตี้ที่เน้นกลุ่มผู้หญิง ส่วนพาราเมาท์หนังเก่ามากกก และเรื่องแบนด์วิทช์เป็นแค่ข้ออ้าง
ในอนาคต เตรียมดูช่องทรูผลิตเองที่จะเพิ่มขึ้นเป็นดอกเห็ดพร้อมโฆษณาแฝงแทนที่ช่องต่างประเทศได้เลย ส่วนการออกมาท้าทายสมาชิก ส่วนน้อย ครั้งนี้เป็นอย่างไร ก็รอดูกันต่อไป
"เรามาถูกทางแล้ว" ผู้บริหารทรูวิชั่นส์ยืนยัน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1484452079
กลายเป็นประเด็นร้อนข้ามปี หลังจาก "ทรูวิชั่นส์" ประกาศยกเลิกช่องรายการสุดฮอตพร้อม ๆ กันถึง 6 ช่อง ได้แก่ HBO, ซีนีแม็กซ์, เอชบีโอซิกเนเจอร์, เอชบีโอแฟมิลี่, เอชบีโอฮิต และเรดบายเอชบีโอ และมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา
หลังจาก "ทรูวิชั่นส์" เข้าชี้แจงกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2559 พร้อมแจ้งสมาชิกทรูวิชั่นส์ผ่านหน้าจอว่าจะนำ 7 ช่องใหม่ คือ ฟ็อกซ์ แอคชั่น มูฟวี่, วอร์เนอร์ บราเธอร์ส, พาราเมาท์ แชนเนล, โซนี่ แชนเนล, ฟู้ดเน็ตเวิร์ค, Celestial Classic และทรู ฟิล์ม เอชดี 2 ลงจอ เพื่อชดเชยช่องเก่าทันที
ขณะที่สมาชิกทรูวิชั่นส์จำนวนหนึ่งที่ไม่ พอใจกับมาตรการการเยียวยาดังกล่าว ได้เริ่มก่อหวอดผ่านเว็บไซต์ฟ้องได้ดอตคอม (www.fongdi.com) เพื่อระดมรายชื่อ เพื่อจะดำเนินการฟ้องศาล ให้ทรูวิชั่นส์ลดราคาแพ็กเกจ และจ่ายเงินชดเชย ล่าสุดมีสมาชิกทรูวิชั่นส์ร่วมลงชื่อแล้วมากกว่า 1,000 คน
ล่าสุด (12 มกราคม) "พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา" ผู้ช่วยบริหารงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ได้ออกมาชี้แจงกรณียุติการออกอากาศช่องเอชบีโอดังกล่าว
"พีรธน" กล่าวว่า จริง ๆ แล้วบริษัทไม่ได้ต้องการนำช่องเอชบีโอออก แต่ต้องการนำเสนอช่องใหม่ ๆ ซึ่งเอชบีโอถือเป็นช่องหลักในการขับเคลื่อนทรูวิชั่นส์มาตลอด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้ คือ อีก 5 ช่องของเอชบีโอ มีเรตติ้งไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้ ที่ผ่านมาบริษัทเดินหน้าเจรจา เพื่อซื้อลิขสิทธิ์เฉพาะช่องเอชบีโอเพียงช่องเดียว แต่นโยบายทั่วโลกของเอชบีโอจะขายช่องร่วม หรือจัดแพ็กเกจของการขายหลาย ๆ ช่องร่วมกัน
ขณะเดียวกัน ด้วยแนวโน้มตลาดคอนเทนต์ที่เปลี่ยนไปตั้งแต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา เจ้าของสตูดิโอผลิตหนัง เช่น โซนี่ พาราเมาท์ เป็นต้น เริ่มสร้างช่องเป็นของตัวเองมากขึ้น เพื่อบริหารจัดการคอนเทนต์ กระทบต่อผู้ประกอบการช่องที่ซื้อคอนเทนต์จากผู้สร้างหนังต่าง ๆ มาออกอากาศ โดยเฉพาะช่องที่ซื้อหนังของแต่ละค่ายมาออกอากาศจะทำได้ยากขึ้น ทำให้เกิดการวนคอนเทนต์ฉายซ้ำในเครือ ซึ่งทรูวิชั่นส์เองก็ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนผังของช่องได้ ทำให้บริษัทเลือกที่จะซื้อช่องจากค่ายผู้ผลิตหนังโดยตรงมากขึ้น
"ทรูวิชั่นส์ นำคอนเทนต์และช่องต่าง ๆ จากทั่วโลก มาออกอากาศเฉพาะในไทยเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนผังของช่องได้ เมื่อบริษัทเปลี่ยนช่องก็กระทบต่อภาพลักษณ์ทรูวิชั่นส์ ซึ่งการเปลี่ยนช่องครั้งนี้เป็นวิธีเดียวที่จะนำเสนอช่องใหม่
เพราะปัจจุบันจำนวนแบนด์วิดท์ (Band Width) ของบริษัทเต็มแล้ว การจะนำเสนอช่องใหม่ก็ต้องนำช่องเก่าออก จึงเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์ผู้ชมเพย์ทีวีได้ดีที่สุด"
และหลังจากนำ 7 ช่องใหม่มาออกอากาศ พบว่า ช่องฟ็อกซ์ แอคชั่น มูฟวี่ มีเรตติ้งเป็นอันดับ 1 ตามด้วยช่องวอร์เนอร์ บราเธอร์ส
"สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่า การเปลี่ยนช่องใหม่ครั้งนี้ บริษัทตัดสินใจถูกแล้ว" เพราะช่องใหม่มีเรตติ้งที่ดี ขณะที่กระแสร้องเรียนของผู้ใช้บริการผ่านคอลเซ็นเตอร์ก็ลดลงเรื่อย ๆ หลังจากยุติช่องเอชบีโอมาจนถึงปัจจุบันมีผู้สอบถามข้อมูลผ่านคอลเซ็นเตอร์ และทรูช้อปประมาณ 5,000 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ของฐานสมาชิกกลุ่มพรีเมี่ยม 300,000 ราย และถึงปัจจุบันนี้มีผู้ขอยกเลิกบริการเพียง 500 รายเท่านั้น คิดเป็น 0.17% ของฐานสมาชิกพรีเมี่ยม
เมื่อจำนวนการยกเลิกบริการไม่ถึง 1% บริษัทถือว่าสมาชิกเห็นชอบกับการเปลี่ยนช่องใหม่ครั้งนี้ และบริษัทก็มุ่งมั่นจะหาคอนเทนต์และบริการที่ดีที่สุดให้แก่สมาชิกต่อไป"
ทิศทางธุรกิจจากนี้ไปจะพัฒนาช่องตัวเองมากขึ้น ด้วยการซื้อคอนเทนต์จากต่างประเทศเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง ปัจจุบันมีทั้งหมด 170 ช่อง แบ่งเป็นช่องที่พัฒนาเอง 25-30 ช่อง และซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ 140-145 ช่อง
"การพัฒนาช่องตัวเอง ความเสี่ยง คือ การมีหรือไม่มีคอนเทนต์ ไม่ใช่เรื่องต้นทุนอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น พรีเมี่ยมลีกอังกฤษ ที่บริษัทก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชื่อ แต่เมื่อครั้งหนึ่งที่เสียคอนเทนต์นี้ไป ก็กลายเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแก่ธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องพัฒนาช่องตัวเองมากขึ้นในทุกหมวดทั้งภาพยนตร์ การ์ตูน เร็ว ๆ นี้ มีแผนจะปรับช่องกีฬาด้วย"
อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน ด้วยการตั้งคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย ซึ่งจะทำหน้าที่บริหารคอนเทนต์ทั้งหมดของทรูคอร์ป "พีรธน" เชื่อว่า จะช่วยยกระดับการนำเสนอคอนเทนต์ในทุกรูปแบบ ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ทั้งค่ายเพลง การผลิตรายการ ต่อด้วยช่องทางออกอากาศทั้งฟรีทีวี
เพย์ทีวี ออนไลน์ จากเดิมที่แยกกันบริหารคอนเทนต์ โดยปัจจัยหลัก ๆ ของการปรับครั้งนี้ก็มาจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ไม่ได้ชมคอนเทนต์จากทีวีเท่านั้น แต่ดูผ่านทุกดีไวซ์ นั่นหมายถึงโอกาสที่คอนเทนต์จะเข้าไปอยู่ทุกแพลตฟอร์ม"
"พีรธน" ทิ้งท้ายว่า ท้ายที่สุดแล้วก็ยินดี และเปิดกว้างสำหรับการเจรจากับเอชบีโออยู่เสมอ เพราะเป็นพันธมิตรกันมากว่า 25 ปี
จากนี้ไปต้องติดตามต่อว่า ทรูวิชั่นส์จะเดินเกมอย่างไรเพื่อรักษาฐานสมาชิกและหาคอนเทนต์ใหม่มาจูงใจเพื่อขยายฐานลูกค้า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้