หลังจากข่าวร้ายเมื่อกลางปีนี้พร้อมกัน 2 เรื่อง ที่รุมเร้าให้ภาพลักษณ์ของบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) หรือ SOLAR ผู้ผลิตแผงวงจรโซลาร์รายเดียวของไทยเสียหายอย่างรุนแรง ผลประกอบการของบริษัทนี้ในไตรมาสที่สามก็กระเตื้องขึ้นมา
ก่อนที่ล่าสุดจะมีการรายงานต่อตลาดถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีความหมายว่า จากนี้ไป จะย่างเข้าสู่ยุคใหม่ที่ทำให้บริษัทนี้เทิร์นอะราวด์ กลับมาเนื้อหอมอีกครั้ง
ล่าสุด นาย ศรีศักร เดชกิจวิกรม และนายวศิน เดชกิจวิกรม ได้รายงานแบบรายการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ (แบบ 246-2) ต่อ ก.ล.ต. ที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.59 ว่า นายศรีศักร เดชกิจวิกรม เข้าซื้อหุ้นอีก 2.24% ส่งผลให้เข้าถือหุ้นในบริษัทเป็นสัดส่วน 10.95% และนายวศิน เดชกิจวิกรม เข้าซื้อหุ้นอีก 1.83% ส่งผลให้เข้าถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 5.23%
ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก ณ วันที่ 15 ธ.ค.59 เปลี่ยนแปลงไป (ดูตารางประกอบ) ซึ่งแยกไม่ออกจากผลพวงของการเปลี่ยนแปลงจากช่วงกลางปีอย่างเลี่ยงไม่พ้น
ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้ SOLAR ได้เผชิญกับปัญหา “งบอุบาทว์” เป็นที่ลือเลื่องไปทั่ว เมื่องบการเงินไตรมาสแรกของปีนี้ และงบการเงินของปีก่อนที่เชื่อมโยงกันถูกแก้ไขใหม่ถึง 2 ครั้ง โดยงบการเงินไตรมาสแรก 2559 ที่ระบุว่า SOLAR และบริษัทย่อย ขาดทุนสุทธิ 21.61 ล้านบาท หรือขาดทุนหุ้นละ 0.04 บาท แต่แก้ไขกลายเป็นตัวเลขใหม่ที่ปรับปรุงแล้ว ทำให้ขาดทุนลดฮวบมาอยู่ที่แค่ 2.61 แสนบาท ขาดทุนแค่หุ้นละ 0.01 บาท
ผลจากการแก้ไขตัวเลขงบการเงินไตรมาสแรกปีนี้ ทำให้ต่อมา SOLAR ได้ทำการแก้ไขงบการเงินสิ้นงวดปี 2558 ใหม่ ทำให้ขาดทุนสุทธิสำหรับปีก่อนเพิ่มจาก 39.43 ล้านบาท เป็น 60.08 ล้านบาท และ ขาดทุนต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน จากเดิม 0.07 บาทต่อหุ้น เป็น 0.11 บาทต่อหุ้น
ระหว่างปัญหา “งบอุบาทว์” กำลังเกิดขึ้น ยังถูกซ้ำเติมด้วยกรณีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 2 อันดับหัวแถว ได้แก่ นาย นริศ จิระวงศ์ประภา ผู้ถือหุ้นอันดับสองของ SOLAR ขายหุ้นออกมา 0.37% ตามมาด้วยหมอพงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี ขายหุ้นเกือบเหี้ยนจากเดิมที่ถือมากกว่า 14% ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าเป็นการขายเพราะใช้ข้อมูลวงในหรือไม่
การขายหุ้นทิ้งอย่างไร้เยื่อใยในยามที่กิจการเผชิญกับความยากลำบากของ 2 รายใหญ่ ทำให้ SOLAR เสมือนเรือที่ไร้หางเสือ หุ้นที่ไร้เจ้าภาพ …แต่นั่นเป็นการประเมินต่ำเกินไป เพราะหลังจากนั้น ปรากฏรายชื่อ 2 ผู้ถือหุ้นใหม่โผล่เข้ามา 2 คนคือ นายศึกษิต เพชรอำไพ ถือหุ้นจำนวน 47,338,600 หุ้น คิดเป็น 8.70% และนายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ถือหุ้นจำนวน 11,400,000 หุ้น คิดเป็น 2.10% สมทบเข้ากับกลุ่มตระกูล เดชกิจวิกรม ที่เข้ามาถือก่อนหน้าแล้ว...ในนามบุคคล
แล้วหากพิจารณาอย่างเจาะลึก จะพบว่า ตระกูลเพชรอำไพ และ เดชกิจวิกรม ต่างก็ล้วนเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ MTLS นั่นเอง (ดูตารางประกอบ)
เท่ากับ กลุ่มบุคคลที่ถือหุ้นใหญ่ของ MTLS ได้เคลื่อนย้ายความร่ำรวย เพื่อกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจดั้งเดิม มาสู่ธุรกิจอื่นในทางลัดเพื่อ “ปรับดุลยภาพของความมั่งคั่ง” อย่างมีนัยสำคัญ
โดยนัยนี้ ไม่ได้หมายความว่า SOLAR ถูกเทกโอเวอร์กิจการโดย MTLS ….เพราะทั้งสองกิจการยังคงเป็นนิติบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางตรง ผ่านการถือหุ้นกันเลย
เพียงแต่โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรกของทั้ง SOLAR และ MTLS ดูละม้ายกันมากเป็นพิเศษ เท่านั้น
จะบอกว่า SOLAR อยู่ในกำมือ MTLS หรือว่า...MTLS ในกำมือ SOLAR…โดยตรงคงไม่ได้
เพียงแต่มันเข้าข่าย “กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ 1 เดียว ใน 2 กิจการ” หรือ “1 สมอง แต่ 2 มือ”น่าจะใกล้เคียงกว่า
การเข้าถือหุ้นใน SOLAR และเพิ่มสัดส่วนในเวลาต่อมาล่าสุด สะท้อนให้เห็นความชาญฉลาดในการเข้าซื้อหุ้นยามราคาใกล้จุดต่ำสุด และรอวันฟื้นตัว เพราะว่านับแต่ไตรมาสสามของปีนี้ SOLAR มีผลประกอบการฟื้นตัว หรือ เทิร์นอะราวด์ ชัดเจน
งบการเงินเฉพาะกิจการในไตรมาสที่ 3/2559 ของ SOLAR มีกำไรสุทธิ 75.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.74 ล้านบาท คิดเป็น 361.59% เมื่อเปรียบเทียบจากไตรมาสที่ 3/2558 ที่มีขาดทุนสุทธิ (28.70) ล้านบาท โดยมีกำไรต่อหุ้น 0.14 บาท
ส่วน งบการเงินรวมในไตรมาสที่ 3/2559 SOLAR มีกำไรสุทธิ 3.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.75 ล้านบาท คิดเป็น 110.35% เมื่อเปรียบเทียบจากไตรมาสที่ 3/2558 ที่มีขาดทุนสุทธิ (31.49) ล้านบาท โดยมีกำไรต่อหุ้น 0.01 บาท
กำไรสุทธิที่ดีขึ้น เป็นผลมาจากการปรับแผนธุรกิจโดย 1) ทำธุรกิจรับติดตั้งโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ ให้แก่บริษัทย่อย 2) รับรู้เงินปันผลจากกำไรของบริษัทย่อยที่ลงทุนโครงการโซลาร์รูฟราชการและสหกรณ์ต่างๆนาน 21-25 ปี
จะว่ากลุ่ม เพชรอำไพ และเดชกิจวิกรม ปฏิบัติการ “ฉลาดซื้อ” เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มความมั่งคั่ง ก็ได้
แม้จะมีคำถามว่า การเข้าถือหุ้นของทั้งสองตระกูลใน SOLAR ควรต้องเข้าข่ายต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หรือไม่
กดไลค์ให้เลย 20 ครั้ง...“อิ อิ อิ”
SOLAR ในกำมือ MTLS ???
ก่อนที่ล่าสุดจะมีการรายงานต่อตลาดถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีความหมายว่า จากนี้ไป จะย่างเข้าสู่ยุคใหม่ที่ทำให้บริษัทนี้เทิร์นอะราวด์ กลับมาเนื้อหอมอีกครั้ง
ล่าสุด นาย ศรีศักร เดชกิจวิกรม และนายวศิน เดชกิจวิกรม ได้รายงานแบบรายการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ (แบบ 246-2) ต่อ ก.ล.ต. ที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.59 ว่า นายศรีศักร เดชกิจวิกรม เข้าซื้อหุ้นอีก 2.24% ส่งผลให้เข้าถือหุ้นในบริษัทเป็นสัดส่วน 10.95% และนายวศิน เดชกิจวิกรม เข้าซื้อหุ้นอีก 1.83% ส่งผลให้เข้าถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 5.23%
ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก ณ วันที่ 15 ธ.ค.59 เปลี่ยนแปลงไป (ดูตารางประกอบ) ซึ่งแยกไม่ออกจากผลพวงของการเปลี่ยนแปลงจากช่วงกลางปีอย่างเลี่ยงไม่พ้น
ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้ SOLAR ได้เผชิญกับปัญหา “งบอุบาทว์” เป็นที่ลือเลื่องไปทั่ว เมื่องบการเงินไตรมาสแรกของปีนี้ และงบการเงินของปีก่อนที่เชื่อมโยงกันถูกแก้ไขใหม่ถึง 2 ครั้ง โดยงบการเงินไตรมาสแรก 2559 ที่ระบุว่า SOLAR และบริษัทย่อย ขาดทุนสุทธิ 21.61 ล้านบาท หรือขาดทุนหุ้นละ 0.04 บาท แต่แก้ไขกลายเป็นตัวเลขใหม่ที่ปรับปรุงแล้ว ทำให้ขาดทุนลดฮวบมาอยู่ที่แค่ 2.61 แสนบาท ขาดทุนแค่หุ้นละ 0.01 บาท
ผลจากการแก้ไขตัวเลขงบการเงินไตรมาสแรกปีนี้ ทำให้ต่อมา SOLAR ได้ทำการแก้ไขงบการเงินสิ้นงวดปี 2558 ใหม่ ทำให้ขาดทุนสุทธิสำหรับปีก่อนเพิ่มจาก 39.43 ล้านบาท เป็น 60.08 ล้านบาท และ ขาดทุนต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน จากเดิม 0.07 บาทต่อหุ้น เป็น 0.11 บาทต่อหุ้น
ระหว่างปัญหา “งบอุบาทว์” กำลังเกิดขึ้น ยังถูกซ้ำเติมด้วยกรณีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 2 อันดับหัวแถว ได้แก่ นาย นริศ จิระวงศ์ประภา ผู้ถือหุ้นอันดับสองของ SOLAR ขายหุ้นออกมา 0.37% ตามมาด้วยหมอพงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี ขายหุ้นเกือบเหี้ยนจากเดิมที่ถือมากกว่า 14% ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าเป็นการขายเพราะใช้ข้อมูลวงในหรือไม่
การขายหุ้นทิ้งอย่างไร้เยื่อใยในยามที่กิจการเผชิญกับความยากลำบากของ 2 รายใหญ่ ทำให้ SOLAR เสมือนเรือที่ไร้หางเสือ หุ้นที่ไร้เจ้าภาพ …แต่นั่นเป็นการประเมินต่ำเกินไป เพราะหลังจากนั้น ปรากฏรายชื่อ 2 ผู้ถือหุ้นใหม่โผล่เข้ามา 2 คนคือ นายศึกษิต เพชรอำไพ ถือหุ้นจำนวน 47,338,600 หุ้น คิดเป็น 8.70% และนายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ถือหุ้นจำนวน 11,400,000 หุ้น คิดเป็น 2.10% สมทบเข้ากับกลุ่มตระกูล เดชกิจวิกรม ที่เข้ามาถือก่อนหน้าแล้ว...ในนามบุคคล
แล้วหากพิจารณาอย่างเจาะลึก จะพบว่า ตระกูลเพชรอำไพ และ เดชกิจวิกรม ต่างก็ล้วนเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ MTLS นั่นเอง (ดูตารางประกอบ)
เท่ากับ กลุ่มบุคคลที่ถือหุ้นใหญ่ของ MTLS ได้เคลื่อนย้ายความร่ำรวย เพื่อกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจดั้งเดิม มาสู่ธุรกิจอื่นในทางลัดเพื่อ “ปรับดุลยภาพของความมั่งคั่ง” อย่างมีนัยสำคัญ
โดยนัยนี้ ไม่ได้หมายความว่า SOLAR ถูกเทกโอเวอร์กิจการโดย MTLS ….เพราะทั้งสองกิจการยังคงเป็นนิติบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางตรง ผ่านการถือหุ้นกันเลย
เพียงแต่โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรกของทั้ง SOLAR และ MTLS ดูละม้ายกันมากเป็นพิเศษ เท่านั้น
จะบอกว่า SOLAR อยู่ในกำมือ MTLS หรือว่า...MTLS ในกำมือ SOLAR…โดยตรงคงไม่ได้
เพียงแต่มันเข้าข่าย “กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ 1 เดียว ใน 2 กิจการ” หรือ “1 สมอง แต่ 2 มือ”น่าจะใกล้เคียงกว่า
การเข้าถือหุ้นใน SOLAR และเพิ่มสัดส่วนในเวลาต่อมาล่าสุด สะท้อนให้เห็นความชาญฉลาดในการเข้าซื้อหุ้นยามราคาใกล้จุดต่ำสุด และรอวันฟื้นตัว เพราะว่านับแต่ไตรมาสสามของปีนี้ SOLAR มีผลประกอบการฟื้นตัว หรือ เทิร์นอะราวด์ ชัดเจน
งบการเงินเฉพาะกิจการในไตรมาสที่ 3/2559 ของ SOLAR มีกำไรสุทธิ 75.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.74 ล้านบาท คิดเป็น 361.59% เมื่อเปรียบเทียบจากไตรมาสที่ 3/2558 ที่มีขาดทุนสุทธิ (28.70) ล้านบาท โดยมีกำไรต่อหุ้น 0.14 บาท
ส่วน งบการเงินรวมในไตรมาสที่ 3/2559 SOLAR มีกำไรสุทธิ 3.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.75 ล้านบาท คิดเป็น 110.35% เมื่อเปรียบเทียบจากไตรมาสที่ 3/2558 ที่มีขาดทุนสุทธิ (31.49) ล้านบาท โดยมีกำไรต่อหุ้น 0.01 บาท
กำไรสุทธิที่ดีขึ้น เป็นผลมาจากการปรับแผนธุรกิจโดย 1) ทำธุรกิจรับติดตั้งโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ ให้แก่บริษัทย่อย 2) รับรู้เงินปันผลจากกำไรของบริษัทย่อยที่ลงทุนโครงการโซลาร์รูฟราชการและสหกรณ์ต่างๆนาน 21-25 ปี
จะว่ากลุ่ม เพชรอำไพ และเดชกิจวิกรม ปฏิบัติการ “ฉลาดซื้อ” เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มความมั่งคั่ง ก็ได้
แม้จะมีคำถามว่า การเข้าถือหุ้นของทั้งสองตระกูลใน SOLAR ควรต้องเข้าข่ายต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หรือไม่
กดไลค์ให้เลย 20 ครั้ง...“อิ อิ อิ”