“บวร” บ้าน วัด โรงเรียน
“ วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย บ้านกับวัดผลัดกันช่วยก็อวยชัย ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง ” สุภาษิตนี้ เรามักจะเห็นกันเมื่อไปวัดวาอารามต่างๆ
เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าบ้านและวัดขาดกันไม่ได้เลย นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่เข้ามามีบทบาทในสองหน่วยหลักทางสังคมเพิ่มอีกหนึ่ง
บ้าน อาจหมายถึงชุมชน หน่วยทางสังคมที่สำคัญหน่วยหนึ่ง ในบ้านอาจมีผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน เป็นผู้นำ ผู้นำเหล่านี้จะพัฒนาทางด้านสภาพแวดล้อม ทางด้านกายภาพต่างๆภายในหมู่บ้านหรือชุมชน
วัด หน่วยทางสังคมอีกหน่วยหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ในอดีตวัดคือศูนย์รวมของทุกๆสิ่งตั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ เกิดก็ไปวัดให้พระตั้งชื่อลูก ตั้งชื่อหลานให้ หากลูกหลานเป็นชายก็จักให้บวชเรียน เขียนอ่าน พอโตหน่อยจะออกเหย้าออกเรือน พระก็เป็นผู้ดูฤกษ์พานาทีให้อีก ไปจนวาระสุดท้ายก็สงบนิ่ง ณ มุมอันสงบของวัด
โรงเรียน หน่วยทางสังคมสุดท้ายที่จะกล่าวถึง โรงเรียนตั้งขึ้นเป็นทางการครั้งแรกในปี 2414 สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ในสมัยก่อนหน้า วัดคือสถานบันการศึกษาของชุมชน แม้การจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา ชาวบ้านในชนบทก็ยังไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียน เนื่องจากว่ายังแปลกใหม่อยู่ เนิ่นนานหลายปีกว่าชาวบ้านจะเข้าใจและยอมส่งบุตรหลานเข้าในระบบโรงเรียน
ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่าโรงเรียนก็แยกตัวออกมาจากวัด วัดกับโรงเรียนจึงเป็นหน่วยงานที่ใกล้เคียงกันในด้านการทำงาน กล่าวคือ การให้ความรู้ สติปัญญาและจิตวิญญาณ วัดมีพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิในด้านความรู้ พระสงฆ์อาจมีความรู้นอกเหนือจากทางธรรม คือก่อนมาบวชในพระพุทธศาสนา ท่านอาจเป็นช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ มาก่อน ความรู้นี้ท่านอาจนำมาพัฒนาวัดหรือนำมาสอนญาติโยม เพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ โรงเรียนเช่นกันสร้างปัญญา วีธีการสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การปรับตัวในสังคมในยุคปัจจุบัน
ถ้าสังเกตเพิ่มอีกนิด โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในวัด หรือไม่ก็มีชื่อวัดมาเกี่ยวข้อง เป็นเพราะพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ให้ความอนุเคราะห์ให้พื้นที่วัดเพื่อสร้างโรงเรียน โดยการสนับสนุนของทางราชการและบ้านหรือชุมชน เพื่อเป็นสถานที่บ่มเพาะทางความรู้ให้แก่บุตรหลานในอนาคต
ฉะนั้น บ้าน วัด โรงเรียน จึงเป็นหน่วยทางสังคมที่มีความสำคัญทั้งหมด วัด มีบ้านและโรงเรียนให้การอุปถัมภ์ ค้ำชู ทำนุบำรุงพระศาสนา บ้านก็มี วัดคอยให้สติ เตือนใจ รวมทั้งจิตวิญญาณและมีโรงเรียนคอยสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน โรงเรียน มีวัด ที่ให้การสนับสนุน อบรมสั่งสอนในศีลธรรม และมีบ้านที่คอยให้การสนับสนุน
ผู้ที่มีความรู้ความสามรถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยอาจเป็นครูภูมิปัญญา ให้ความรู้ในเรื่องที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้นๆ และกรรมการสถานศึกษาก็มีพระ มีผู้นำชุมชน เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารงานในโรงเรียน
บวร คำนี้ไม่ได้เป็นแค่คำพูดสละสลวยคำหนึ่ง แต่เป็นถึงการรวมตัวของหน่วยทางสังคมที่สำคัญที่สุด เพื่อความเจริญงอกงาม บ่งบอกถึงวัฒนธรรมอันจะเกิดจากความดีงามของคนทุกคนที่จะร่วมกันพัฒนาทั้งสามสิ่งไปพร้อมๆ กันอย่างมัวแบ่งสี แบ่งข้างฝ่ายกันอีกเลย
เชิญเถิดเชิญมาพัฒนาชาติจากหน่วยทางสังคมที่อยู่ใกล้เราเถิด เพื่อความผาสุขในสังคมต่อไป
คำว่า บ้าน วัด โรงเรียน จริงๆแล้วก็อยู่คู่สังคมไทยมานาน เป็นความผูกพันที่เราควรส่งต่อให้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานของเรา
มีทั้งความรักความอบอุ่นจากที่บ้าน ได้รับคุณธรรม ปลูกฝังศีลธรรม จากที่วัด และได้วิชาความรู้จากที่โรงเรียน
เด็กไทยจะได้เป็นเยาวชนที่เข้มแข็งให้กับประเทศชาติต่อไปค่ะ เพื่อนๆชาวพันทิปคิดเห็นอย่างไรกันบ้างคะ ?!?
ที่มา :
http://thai-social-stories.blogspot.com/2012/08/blog-post.html?m=1
บวร มาจากคำว่าอะไร ? อย่าให้คำนี้เลือนหายจากสังคมไทย!!!
“บวร” บ้าน วัด โรงเรียน
“ วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย บ้านกับวัดผลัดกันช่วยก็อวยชัย ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง ” สุภาษิตนี้ เรามักจะเห็นกันเมื่อไปวัดวาอารามต่างๆ
เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าบ้านและวัดขาดกันไม่ได้เลย นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่เข้ามามีบทบาทในสองหน่วยหลักทางสังคมเพิ่มอีกหนึ่ง
บ้าน อาจหมายถึงชุมชน หน่วยทางสังคมที่สำคัญหน่วยหนึ่ง ในบ้านอาจมีผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน เป็นผู้นำ ผู้นำเหล่านี้จะพัฒนาทางด้านสภาพแวดล้อม ทางด้านกายภาพต่างๆภายในหมู่บ้านหรือชุมชน
วัด หน่วยทางสังคมอีกหน่วยหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ในอดีตวัดคือศูนย์รวมของทุกๆสิ่งตั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ เกิดก็ไปวัดให้พระตั้งชื่อลูก ตั้งชื่อหลานให้ หากลูกหลานเป็นชายก็จักให้บวชเรียน เขียนอ่าน พอโตหน่อยจะออกเหย้าออกเรือน พระก็เป็นผู้ดูฤกษ์พานาทีให้อีก ไปจนวาระสุดท้ายก็สงบนิ่ง ณ มุมอันสงบของวัด
โรงเรียน หน่วยทางสังคมสุดท้ายที่จะกล่าวถึง โรงเรียนตั้งขึ้นเป็นทางการครั้งแรกในปี 2414 สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ในสมัยก่อนหน้า วัดคือสถานบันการศึกษาของชุมชน แม้การจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา ชาวบ้านในชนบทก็ยังไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียน เนื่องจากว่ายังแปลกใหม่อยู่ เนิ่นนานหลายปีกว่าชาวบ้านจะเข้าใจและยอมส่งบุตรหลานเข้าในระบบโรงเรียน
ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่าโรงเรียนก็แยกตัวออกมาจากวัด วัดกับโรงเรียนจึงเป็นหน่วยงานที่ใกล้เคียงกันในด้านการทำงาน กล่าวคือ การให้ความรู้ สติปัญญาและจิตวิญญาณ วัดมีพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิในด้านความรู้ พระสงฆ์อาจมีความรู้นอกเหนือจากทางธรรม คือก่อนมาบวชในพระพุทธศาสนา ท่านอาจเป็นช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ มาก่อน ความรู้นี้ท่านอาจนำมาพัฒนาวัดหรือนำมาสอนญาติโยม เพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ โรงเรียนเช่นกันสร้างปัญญา วีธีการสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การปรับตัวในสังคมในยุคปัจจุบัน
ถ้าสังเกตเพิ่มอีกนิด โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในวัด หรือไม่ก็มีชื่อวัดมาเกี่ยวข้อง เป็นเพราะพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ให้ความอนุเคราะห์ให้พื้นที่วัดเพื่อสร้างโรงเรียน โดยการสนับสนุนของทางราชการและบ้านหรือชุมชน เพื่อเป็นสถานที่บ่มเพาะทางความรู้ให้แก่บุตรหลานในอนาคต
ฉะนั้น บ้าน วัด โรงเรียน จึงเป็นหน่วยทางสังคมที่มีความสำคัญทั้งหมด วัด มีบ้านและโรงเรียนให้การอุปถัมภ์ ค้ำชู ทำนุบำรุงพระศาสนา บ้านก็มี วัดคอยให้สติ เตือนใจ รวมทั้งจิตวิญญาณและมีโรงเรียนคอยสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน โรงเรียน มีวัด ที่ให้การสนับสนุน อบรมสั่งสอนในศีลธรรม และมีบ้านที่คอยให้การสนับสนุน
ผู้ที่มีความรู้ความสามรถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยอาจเป็นครูภูมิปัญญา ให้ความรู้ในเรื่องที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้นๆ และกรรมการสถานศึกษาก็มีพระ มีผู้นำชุมชน เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารงานในโรงเรียน
บวร คำนี้ไม่ได้เป็นแค่คำพูดสละสลวยคำหนึ่ง แต่เป็นถึงการรวมตัวของหน่วยทางสังคมที่สำคัญที่สุด เพื่อความเจริญงอกงาม บ่งบอกถึงวัฒนธรรมอันจะเกิดจากความดีงามของคนทุกคนที่จะร่วมกันพัฒนาทั้งสามสิ่งไปพร้อมๆ กันอย่างมัวแบ่งสี แบ่งข้างฝ่ายกันอีกเลย
เชิญเถิดเชิญมาพัฒนาชาติจากหน่วยทางสังคมที่อยู่ใกล้เราเถิด เพื่อความผาสุขในสังคมต่อไป
คำว่า บ้าน วัด โรงเรียน จริงๆแล้วก็อยู่คู่สังคมไทยมานาน เป็นความผูกพันที่เราควรส่งต่อให้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานของเรา
มีทั้งความรักความอบอุ่นจากที่บ้าน ได้รับคุณธรรม ปลูกฝังศีลธรรม จากที่วัด และได้วิชาความรู้จากที่โรงเรียน
เด็กไทยจะได้เป็นเยาวชนที่เข้มแข็งให้กับประเทศชาติต่อไปค่ะ เพื่อนๆชาวพันทิปคิดเห็นอย่างไรกันบ้างคะ ?!?
ที่มา : http://thai-social-stories.blogspot.com/2012/08/blog-post.html?m=1