หลางผิงบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ของทีมวอลเลย์บอลหญิงจีนในโอลิมปิกที่บราซิล

กระทู้ข่าว


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


บ่าย  วันที่ 10 ก.ย. 2016   ตรงกับวันครูของจีน  หลางผิงได้ไปบรรยายเรื่องของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน
ที่  มหาวิทยาลัยเป่ยจิงชื้อฟ่านต้าเสวีย  (เป่ยชื้อต้า )    Beijing Normal University   ซึ่งหลางผิงเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้

.
.
.

หลางผิงเริ่มต้นกล่าวขอบคุณถึงพระคุณของคุณครูที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้   เธอกล่าวว่า  การคว้าเหรียญทองโอลิมปิก
ของทีมวอลเลย์บอลหญิงจีนครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะของทีม   ไม่ใช่อย่างที่หลายคนพูดว่าเป็นเพราะโค้ช  เป็นโค้ชเทพ  โค้ชเทวดา  
ไม่ใช่เป็นแบบนั้น  ฉันเพียงแต่ทำหน้าที่ในสิ่งที่ฉันควรต้องทำ

หลางผิงเล่าถึงสมัยเป็นนักศึกษาภาควิชาภาษาอังกฤษที่นี่ว่า  ครูมักจะมาสอนพิเศษให้ฉันเป็นประจำ  เพราะว่าตอนที่ตัวเอง
เข้าเรียนมหาวิทยาลัยนั้นไม่เหมือนกับทุกท่านที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยกันตอนอายุ 18-19   เพราะช่วงวัยระหว่างนั้นฉันเล่นวอลเลย์
เป็นนักกีฬาทีมชาติ    ฉันเข้ามาเรียนที่เป่ยชื้อต้าก็อายุ 26 ปีเข้าไปแล้ว  เรียนช้าไปหน่อย  ดังนั้น ครูก็จะมาช่วยสอนพิเศษเพิ่มเติมให้  

ต่อมาก็อย่างที่ทุกคนเรียกขาน “หลางอินเตอร์ ”   ได้มีโอกาสไปเป็นโค้ชในหลายประเทศ   และในฐานะที่เป็นโค้ช  
ถ้าเราไม่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร  ไม่ได้ !!    ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณเป่ยชื้อต้าเป็นอย่างมาก
ที่ประสาทวิชาความรู้ให้ตน  โดยเฉพาะเรื่องของภาษาต่างประเทศ  ทำให้ตัวเองสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศต่างๆได้
จริงๆแล้วนอกจากภาษาอังกฤษที่ใช้ได้ดีแล้ว  เธอยังบอกว่าภาษาอิตาลีของเธอก็ไม่เลวเลยทีเดียว  ทำให้ตัวเองมีโอกาส
ได้ไปเป็นโค้ชที่อิตาลีนาน 6 ปี


หลางผิงเล่าให้ฟังถึงวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีนในไม่กี่ปีหลังมานี้ว่าผ่านกันมายังไงบ้าง?  เพราะส่วนใหญ่แล้วทุกคนก็คงเห็น
แต่ภาพการแข่งขันในสนาม   แต่เบื้องหลังที่อยู่นอกสนามนั้นนักวอลเลย์สาวทั้งหลายนั้นลำบากเหน็ดเหนื่อยกันมากทีเดียว  
พวกเธอต้องฝึกซ้อมและศึกษาเรียนรู้กันอย่างหนัก  


ปี 2013 ตอนที่มารับคุมทีมชาติจีน  ด้วยวัยของตัวเองที่ทุกวันจะต้องมาดูแลนักวอลเลย์ที่อายุระหว่าง 18-28 ปี    
ทุกวันพาฝึกซ้อม  เรียนรู้    พวกเรานักกีฬาไม่มีวันหยุดสุดสัปดาห์   ฝึกซ้อมตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์   วันอาทิตย์ได้พักครึ่งวัน  
และก็มีนักกีฬาบางคนที่ยังจะต้องฝึกซ้อมเพิ่มอีกครึ่งวัน   ตอนค่ำก็จะมีเข้าคลาสศึกษาในห้องเรียนอีก เป็นการศึกษาเฉพาะด้าน
และก็ยังมีเรื่องการบาดเจ็บของนักกีฬา  ตอนค่ำก็จะมีจัดเวลาในการบำบัดรักษาอาการบาดเจ็บนักกีฬา    


ดังนั้น ในปีหนึ่งๆนักกีฬาต้องดำเนินไปอยู่เช่นนี้ก็ลำบากมากทีเดียว  ทุกคนมีวันหยุดยาวเทศกาลได้ไปสนุกสนานรื่นเริง  
เช่น วันตรุษจีน วันชาติจีน    แต่พวกเรานักกีฬาไม่มี    ตรุษจีนปีนี้เดือนมกราคม  เราให้นักกีฬาหยุด 3 วัน  อันนี้นับรวมถึงวันเดินทางด้วย
นักกีฬาเรามาจากทั่วทุกสารทิศ  ให้พวกเธอได้กลับไปเยี่ยมบ้านไปกินข้าวร่วมกันกับครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตา  ที่เรียกกันว่า
เหนียนเย่ฟ่าน  ได้ไปเจอหน้าพ่อแม่  


สำหรับการเตรียมทีมเพื่อโอลิมปิก  มีการเก็บตัวฝึกซ้อมแบบปิด  คือ ปิดจริงๆ   จัดให้นักกีฬามาอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง
ทำการฝึกซ้อม 2 เดือน ก็ราวๆ 8 สัปดาห์   ไม่ออกไปไหนเลย   ดำเนินชีวิตอยู่กันแค่ 3 แห่ง  คือ  หอพัก  โรงอาหาร  และสนามฝึกซ้อม  
ฉะนั้น  ชีวิตในแคมป์ฝึกซ้อมจึงค่อนข้างเรียบง่ายเงียบเหงา   ทุกคนปฏิบัติอย่างนี้ทุกวัน  ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลา 3-4 เดือน  
เป็นอย่างนี้ทุกวัน    ทุกท่านลองนึกภาพดูว่านักกีฬาของเราต้องลำบากกันมากขนาดไหน  เหน็ดเหนื่อยจนลูกตาแทบไม่กลอกไป-มา    
ถ้าคุณลองเข้าไปพูดคุยกับพวกเธอ  ก็จะเห็นว่าดวงตาเหม่อลอยมึนงง   คือเหนื่อยจนมีสภาพเป็นอย่างนั้น    


ปี 2013 หลังจากที่เข้ามาคุมทีมชาติได้ 3 วันก็ต้องพาทีมออกไปแข่งรายการนานาชาติต่างๆ    สำหรับภารกิจทีมชาติ  
พอนักกีฬาเล่นจบจากลีกภายในประเทศ  ก็มาเป็นตัวแทนรับใช้ทีมชาติเข้าร่วมการแข่งขันนานาชาติ   ฉะนั้น  ในนามทีมชาติ  
เรื่องเวลาในการฝึกซ้อมถือเป็นสิ่งที่มีค่าสำคัญมาก    รายการชิงแชมป์เอเชีย ปี 2013   รอบรองเราเล่นได้ไม่ค่อยดี  
แพ้ทีมชาติไทยไป 2 แต้มในเซ็ตที่ 5   รอบชิงที่ 3 ก็แพ้เกาหลีไปอีก 2-3 เซ็ต  


นับจากปี 2013 มา  ผลงานที่แย่ที่สุด ก็คือ ได้ที่ 4 ชิงแชมป์เอเชีย   ตอนนั้นก็มีบางคนพูดว่า โค้ชหลางมาเป็นโค้ชทำผลงาน
ได้ยอดเยี่ยมมาก  สร้างสถิติได้แย่สุดในเอเชีย   ฉันบอก ไม่เป็นไร   บอลนี่ก็เป็นพวกเราที่เล่น   ก็เป็นการบ่งบอกให้เราได้รู้ว่า
ยังมีอีกหลายอย่างมากที่เรายังไม่ดี   และถ้าเราวาดหวังว่าจะไปยืนอยู่แถวหน้าของโลก  เราก็ต้องกลับมาเป็นเบอร์ 1 ของเอเชียก่อน
ถึงจะก้าวไปต่อกรกับทีมหัวแถวระดับโลก  ถนนสายนี้แน่นอนว่ายากลำบากสุดๆ


ฉะนั้น ปี 2014  เราได้เริ่มต้นจัดทำแผนการขึ้นใหม่  เรียกว่า  แนวคิดทีมชาติ   ปกติที่ผ่านมาในการแข่งขันแต่ละรายการ
เราจะเรียกนักกีฬามารายงานตัวจำนวน 12 คน   จำได้ว่าสมัยที่ฉันเป็นนักกีฬาฝึกซ้อมหรือยุคปี 90 กว่าๆ สมัยแรกที่คุมทีมชาติ
ก็จะมีอยู่ประมาณ 16 คน   แต่มาคราวนี้เราเรียกนักกีฬาเข้าแคมป์ฝึกซ้อมทีมชาติรวมทั้งหมด 28 คน  

ดังนั้น ในแต่ละวันก็จะมีนักกีฬาลงฝึกซ้อม 20 คนขึ้นไป  นี่คือ ทีมชาติ  แนวทางก็คือ  ฝึกปรือผู้เล่นหน้าใหม่  ร่วมกันพัฒนาศักยภาพผู้เล่น
มีศักยภาพในการแข่งขัน    โดยเฉพาะในสมัยที่ตัวเองคุมทีมชาติอยู่  จะไม่ใช่คิดแค่หนึ่งโอลิมปิก   ต้องสร้างผู้เล่นหน้าใหม่  
ต้องมีคนรุ่นหลังสืบต่อ  เช่น  มีผู้เล่นอายุน้อยบางคนที่เข้าทีมชาติตอนอายุ 18   เด็กคนนี้ก็จะสามารถเล่นโอลิมปิกได้ 2-3 ครั้ง  
นี่คือแผนการในการทำทีมชาติ    การสร้างโค้ชก็เช่นเดียวกัน  จะคัดสรรโค้ชที่อายุน้อยมีความสามารถ  

ภารกิจของฉันก็คือ  สร้างนักกีฬาและโค้ชไปพร้อมๆกัน    เป้าหมาย  เมื่อเรียกรวมเป็นทีมชาติขึ้นมาแล้ว  ก็จะให้ทั้งนักกีฬาและทีมโค้ช
ตั้งเป้าหมายขึ้นมา  จากนั้นทุกคนต้องมานะทุ่มเทเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่เราได้ตั้งเอาไว้  


ปี 2013  ได้ที่ 4 ชิงแชมป์เอเชีย     ปี 2014  เป้าหมายคือ  เราต้องอยู่ใน 6 อันดับแรกของโลก  
ปี 2015  เป้าหมายคือ  คว้าแชมป์เอเชีย  และคว้าตั๋วไปโอลิมปิกในรายการเวิลด์คัพ    
ปี 2016  เป้าหมายคือ  ทีมวอลเลย์บอลหญิงจีนได้เหรียญโอลิมปิก !!




บัตรนักศึกษามหาวิทยาลัยเป่ยชื้อต้าของหลางผิง  เมื่อปี 1986





*** ยังมีต่อ  

เนื้อหายาวมากกก ..... เพราะหลางผิงพูดเป็นชั่วโมง   ยาวมากที่สุดเท่าที่เคยแปลมา  
แปลผิดพลาดคลาดเคลื่อนตรงไหนก็ต้องขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่