[SR] Philips Ceiling Light รีวิวโคมซาลาเปา

สวัสดีค่ะ วันนี้ปุ้ยมาเล่าต่อเรื่องรีวิวการตกแต่งบ้าน เกี่ยวกับการออกแบบแสงสว่างในห้อง
เมื่อกระทู้ที่แล้ว ปุ้ยได้รีวิวการออกแบบแสงในห้องนอนเด็กและห้องทำงาน
ในกระทู้นี้ปุ้ยจะมาเล่าถึงการเลือกโคมไฟสำหรับห้องนั่งเล่น ที่ต้องการใช้แสงสว่างมากๆ ซึ่งปกติปุ้ยเป็นคนที่ชอบอยู่ในห้องที่สว่างมากๆ เพราะชอบเห็นอะไรชัดๆ ค่ะ
ดังนั้นในห้องนั่งเล่นนี้ปุ้ยออกแบบไฟไว้ 2 ชุด โดยชุดหนึ่งจะเป็นดาวน์ไลท์ที่ใช้หลอดไฟ Philips LED SceneSwitch Brightness Change ซึ่งสามารถปรับระดับความสว่างได้ (เขียนเล่าไปเมื่อบกระทู้ที่แล้ว --> https://ppantip.com/topic/35498786) ส่วนอีกชุดหนึ่งเป็นโคมเพดาน หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า “โคมซาลาเปา” ซึ่งปุ้ยเลือกใช้แบบที่เป็น LED ตามความต้องการ เพราะมีคุณสมบัติที่ปุ้ยถูกใจอยู่หลายข้อ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังต่อไป

ก่อนจะพูดถึงรีวิวโคมไฟที่ปุ้ยเลือกใช้ ปุ้ยนำสาระเกี่ยวกับหลอดไฟแต่ละชนิดมาฝากค่ะ การเลือกหลอดไฟ นอกจากจะต้องคำนึงถึงปริมาณแสง รูปแบบของแสง และฟังก์ชั่นการใช้งานแล้ว มีข้อให้คำนึงถึงอีกประการ ก็คือ อันตรายที่มาจากแสงของหลอดไฟด้วยค่ะ

- หลอดไส้ (Incandescent Light Bulb)
อาศัยกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านไส้ทังสเตนจนเกิดความร้อน และแสงสว่าง ให้แสงเหลืองส้ม อายุการใช้งานสั้นและเปลืองไฟ แต่มี รังสียูวี ต่ำมาก จึงไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- หลอดฟลูโอเรสเซนท์ (Fluorescent Light) หรือ ที่เรียกกันว่าหลอดนีออนคือ หลอดแก้วสูญญากาศที่ใส่ไอปรอทไว้ เมื่อผ่านกระแสไฟจะทำให้ไอปรอทปล่อยพลังงานในรูป รังสียูวี ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตรไปกระทบสารเรืองแสงฟอสฟอรัสที่ฉาบด้านในหลอด สารเรืองแสงจะดูดซับ รังสียูวี แล้วเปล่งแสงในความยาวคลื่นที่ตามองเห็นแทน หลอดชนิดนี้อาจมี รังสียูวี หลุดรอดออกมาได้บ้างในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
- หลอดฮาโลเจน (Halogen Lamp) ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านไส้ทังสเตนแบบหลอดไส้ แต่มีไอของธาตุฮาโลเจน เช่น คลอรีน ฟลูโอรีนในหลอดแก้ว เพื่อให้ได้แสงสีขาว มีการแผ่ รังสียูวี ในระดับที่ปลอดภัยหลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide Lamp) เป็นหลอดที่ให้ความเข้มแสงสูงและความถูกต้องของสีใกล้เคียงแสงแดด มักใช้ในสนามกีฬาหรือ งานโทรทัศน์ มีการแผ่ รังสียูวี ในระดับสูงที่อาจเกิดอันตรายกับดวงตาได้
- หลอด LED (Light Emitting Diode) แสงสว่างมาจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในเซมิคอนดักเตอร์ จึงไม่มีการแผ่ รังสียูวี และความร้อนปลอดภัยจากสารปรอท จึงไม่อันตรายต่อสุขภาพ
ที่มา http://health.mthai.com/howto/health-care/9302.html

ดังนั้นสำหรับการเลือกใช้โคมไฟและหลอดไฟในห้องนั่งเล่นของคนที่ชอบแสงสว่างอย่างปุ้ย จึง
คำนึงถึงการเลือกโคมไฟที่โจทย์ความต้องการ คือ
- ให้แสงสว่างที่นุ่มนวลสบายตา ความร้อนต่ำกว่า
- ประหยัดไฟกว่า
- อายุการใช้งานยาวนานกว่า
- ติดตั้งง่าย (โคมมาพร้อมกับหลอดไฟ LED ไม่ต้องซื้อหลอดแยก)
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพ
- ดีไซน์เรียบง่าย เข้ากับบ้านได้เกือบทุกสไตล์
- กันแมลงเข้าไปในโคม
- แสงกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งโคม ไม่เป็นเงา
- เม็ด LED ภายในเคลือบเพื่อกันไฟลัดวงจร
- เลือกแบรนด์ที่น่าเชื่อถือด้านแสงสว่าง อีกทั้งมีการรับประกันสามารถเปลี่ยนตัวใหม่ให้ทันที

ปุ้ยเลือกใช้ Philips Ceiling Light (Essential lighting for a bright home) โคมซาลาเปา LED แทนการใช้โคมระย้า หรือโคมไฟซาลาเปาทั่วไป เพราะตอบโจทย์การใช้งานดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
นอกจากนั้นแล้วโคมซาลาเปายังมีหลายขนาด หลายระดับความสว่าง และมีโทนสีทั้งโทนเหลืองและโทนขาวด้วยค่ะ
การเลือกโคมไฟ เพื่อให้แสงสว่าง ค่าความสว่างดูที่ค่า Lumen เป็นหลัก และควรเลือกให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้องด้วยนะคะ
และถ้าต้องการสว่างมากๆ ควรเลือกโทนขาวค่ะ ส่วนใครต้องการฟิลลิ่งที่นุ่มนวลก็ให้เลือกโทนเหลืองค่ะ



สำหรับการติดตั้ง ก็ง่ายมากค่ะ มีคู่มือมาพร้อมในกล่อง สามารถติดตั้งเองได้ค่ะ
แต่อย่าลืมสับคัทเอาท์ลงก่อน เพื่อความปลอดภัยนะคะ
อย่างที่บ้านปุ้ย ให้คุณพ่อบ้านช่วยติดตั้งให้
ซึ่งนี่เป็นการติดตั้งโคมไฟเพดานตัวแรกในชีวิตที่เค้าติดตั้งเองเลย พอติดตั้งได้สำเร็จ ตื่นเต้นกันทั้งบ้านค่ะ 555


วิธีการติดตั้ง
1] ก่อนทำงานเรื่องไฟทุกครั้ง ต้องสับคัทเอาท์สำคัญมาก เพราะไม่อย่างนั้นอาจโดนไฟดูดได้
2] ถอดแกนเหล็กล็อคตัวโคมไฟออก โดยให้ดันแกนเหล็กออกไปทางด้านที่ตัวล็อคที่แบนราบที่สุด
3] ติดตั้งแกนเหล็กกับเพดานหรือพื้นผิวที่ต้องการติดตั้ง
ในกรณีบ้านของปุ้ย เนื่องจากเพดานเป็นฝ้ายิปซั่ม ให้หาจุดที่เป็นโครงที่ยึดฝ้าแล้วขันน็อตยึดระหว่างแกนเหล็กกับโครงยึดฝ้าให้แน่น
ในกรณีที่เพดานเป็นปูน แนะนำให้เจาะด้วยสว่านก่อน และตอกพุกลงไปที่พื้นผิวเพดาน แล้วจึงค่อยใส่น็อตยึดระหว่างแกนเหล็กกับเพดาน
4] ต่อสายไฟบ้านกับตัวโคมไฟ โดยต่อสาย ไลน์ ดิน และสายนิวทรัล ให้ถูกต้อง
แนะนำให้ปรึกษาช่างในขั้นตอนนี้
ว่าเส้นสีไหนคือสายอะไร เพราะแต่ละบ้านอาจจะใช้สีแตกต่างกันค่ะ
การเดินสายไฟให้ต่อสายไฟจากบ้าน (เส้นที่เป็นสายที่มีไฟฟ้า) ต่อกับจุด L ของโคมไฟ และต่อสายดินเข้าตัวสายดินของโคมไฟ (เส้นที่มีสัญลักษณ์สายดิน)
5] ปิดครอบสายไฟให้เรียบร้อย และหมุนโคมไฟให้ลงล็อคกับเหล็กที่ติดตั้งกับพื้นผิวไว้แล้ว



มาดูผลลัพธ์กันค่ะ
รูปแรก เปิดไฟแค่ชุดแรก คือ ดาวน์ไลท์ 4 ดวง
รูปที่ 2 เปิดโคมไฟซาลาเปา LED ห้องสว่างขึ้นมาทันตาค่ะ


สำหรับปุ้ยแล้ว พอใจกับการติดโคมไฟซาลาเปานี้มาก เพราะว่าได้ห้องที่สว่างสมใจ ที่สำคัญแสงสว่างกระจายสม่ำเสมอทั่วทั้งห้อง และดีไซน์ก็เรียบง่าย ไปกันกับห้องได้ค่ะ
จริงๆ แล้ว พื้นที่ตรงกลางเพดานนี้ เตรียมจั้มสายไฟและสวิทช์เอาไว้ติดโคมระย้า แต่ว่า ยังหาโคมที่ถูกใจไม่ได้ซักที แต่พอมาติดโคมเพดานแบบนี้ ก็ดูเข้าท่าดี ได้ผลดีในแง่ฟังก์ชั่นการใช้งาน มากกว่าในเรื่องของฟิลลิ่ง ในแง่ดีไซน์โดยรวมได้ความเรียบง่ายค่ะ

หวังว่าใครที่กำลังหาโคมไฟที่ให้ความสว่างมากๆ ประหยัดพลังงาน ใช้งานได้ยาวนาน น่าจะได้คำตอบในบล็อกนี้นะคะ
วันนี้ต้องไปก่อนแล้ว พอกันอีกในกระทู้หน้า สวัสดีค่ะ

ปล. ราคา 390 - 1890 บาท แล้วแต่รุ่นและไซส์ค่ะ

สามารถซื้อได้ที่  Philips Home Lighting ทุกสาขา และมีจำหน่าย HomePro/ Boonthavorn / ร้านไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงสว่าง
ชื่อสินค้า:   Philips Ceiling Light
คะแนน:     
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่