บทความจาก FB Banyong Pongpanich
หายนะของVenezuela.......
มันเริ่มมาจาก....."ทวงคืนพลังงาน"นี่แหละครับ
จากประเทศที่มีปริมาณนำ้มันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้ว(Proven Reserve)มากที่สุดในโลก โดยมีถึง 297,740 ล้านบาร์เรล (ซาอุเป็นอันดับสอง มี 268,350 ล้าน) ซึ่งถ้าคิดตามกำลังผลิตปัจจุบัน(วันละ 2.2 ล้านบาร์เรล) เท่ากับว่ามีProven Reserve ใช้ได้ไปถึง 330 ปีเลยทีเดียว (นี่ขนาดยังไม่นับpossible & probable reserveอีกนะครับ) ...ถามว่าเค้าจะเก็บเอาไว้ให้ลูกหลานโดยไม่ยอมเชื่อตามคนอื่น ว่าโลกจะเลิกใช้นำ้มันเป็นแหล่งพลังงานหลักภายในไม่กี่สิบปีนี้ยังงั้นหรือ ...เปล่าหรอกครับ ที่เค้าไม่ผลิตมากๆก็เพราะไม่มีศักยภาพ ไม่มีเทคโนโลยี่ ไม่มีการลงทุน และไม่มีประสิทธิภาพ(ทำให้ต้นทุนจะแซงราคานำ้มันอยู่แล้ว) ...รับรองว่าในร้อยปีข้างหน้าลูกหลานต้องมาก่นด่าว่า"เก็บไอ้โคลนเหลวๆไร้ค่าพวกนี้ไว้ให้กูทำไม"
ย้อนหลังไปเมื่อเพียงแค่ไม่กี่สิบปีก่อน ...เมื่อนำ้มันกลายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดแซงถ่านหิน เวเนซูเอล่าได้เป็นตัวตั้งตัวตีร่วมกับอีกสี่ประเทศอาหรับจัดตั้งOPECขึ้นมาในปี 1960 และร่วมมือสร้างOil Embargo ทำให้เกิดวิกฤติราคานำ้มัน(Oil Shocks)ขึ้นสองช่วง(1973-74 และ1979-80) ราคานำ้มันตลาดโลกขึ้นจาก $3/bbl เป็นเกือบ $40/bbl ปั่นป่วนไปทั่วโลก แต่ประเทศผู้ผลิตนำ้มันส่งออกกลายเป็นประเทศรำ่รวยกันเป็นแถว
สำหรับเวเนซูเอล่า ...ในช่วงต้นทศวรรษ 1970s เคยผลิตปิโตรเลียมได้ถึงวันละ 3.8 ล้านบาร์เรลเท่าๆกับซาอุดิอาราเบีย และจากการที่ราคานำ้มันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รายได้ประชาชาติต่อคนเพิ่มพรวดเกือบห้าเท่าตัวจาก $920 ในปี1970 มาเป็น $4,375 ในปี1980 กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และรำ่รวยที่สุดในอเมริกาใต้เลยทีเดียว (ปี1980 ไทยมี GDP $682/คน บราซิลมี $1,923)
พอรำ่รวยก็เริ่มเหิมเกริม เกิดกระบวนการ"ทวงคืนพลังงาน" โดยในปี1976 ประธานาธิบดี Carlos Andre Perez ก็ได้จัดตั้ง "บรรษัทพลังงานแห่งชาติเวเนซูเอลา" Petróleos de Venezuela, S.A. (PDVSA) ขึ้นแล้วเริ่มยึดคืนกิจการนำ้มันจากทุนพลังงาน โดยเฉพาะจากต่างชาติ ให้รัฐเข้าเป็นเจ้าของและก็เป็นผู้บริหารเองทั้งหมด ซึ่งในระยะแรกๆก็ยังใช้ระบบและผู้บริหารชาวเวเนฯที่เดิมเคยทำงานให้กับบริษัทนำ้มันข้ามชาติทั้งหลายบริหารต่อไป ทำให้ประสิทธิภาพต่างๆก็ยังพอไปได้ดีอยู่
แต่พอนานๆเข้าก็เหมือน"รัฐวิสาหกิจ"ทั้งหลายในแทบทุกแห่ง ที่ประสิทธิภาพไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ มีการเพิ่มคนที่เป็นพรรคพวกเข้าไปเยอะแยะ(มีข่าวว่ายุคชาเวซมีการเอาพวกNGOsเข้าไปทำงานในPDVSAเพื่อกินเงินเดือนเยอะเลย) การลงทุนมีน้อยและไม่ได้ผล ต้นทุนการผลิตเลยสูงขึ้นๆ ในขณะที่ผลผลิตลดลง ...มีรายงานการศึกษาว่าจากเดิมช่วง1976-1992 PDVSAเคยมีต้นทุนแค่ 21% นำเงินส่งรัฐสูงถึง79%ของรายได้ แต่พอมาช่วง1993-2000 ต้นทุนกลับพุ่งสูงถึง64% เหลือเงินให้รัฐแค่36% ทั้งๆที่ราคานำมันเฉลี่ยสูงขึ้นตั้งเยอะ ...นี่แหละครับ"บรรษัทพลังงานแห่งชาติ"PDVSAที่เคยเป็นต้นแบบของนักทวงคืนชาวไทย
พอนักสังคมนิยมเต็มตัว Hugo Chavez ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในช่วง 1999-2013 เวเนซูเอล่าก็กลายเป็นสังคมนิยมเต็มตัวตามแบบอย่างลูกพี่ใหญ่ ฟิเดล คาสโตรแห่งคิวบา รัฐยึดกิจการอื่นๆมาทำเองมากมาย และใช้รายได้จากนำ้มันทำโครงการประชานิยมต่างๆ รวมทั้งอุดหนุนราคานำ้มันให้ประชาชนใช้ลิตรละไม่ถึง 5 บาท จนชาเวซได้รับความนิยมสูงสุดได้รับเลือกตั้งใหม่ด้วยคะแนนร่วม60% อีกสามครั้ง จนตายคาตำแหน่งด้วยวัยเพียง58ปี
ในช่วง2002 พนักงานPDVSAที่ทนการแทรกแซงไม่ไหว ประท้วงหยุดงานร่วมสองเดือน แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ชนะ และChavez ก็เลยไล่พนักงานออก 19,000คน แล้วแทนที่โดยพวกสมุนที่จงรักภักดีที่มีNGOsปนอยู่ไม่น้อย และนั่นก็เลยทำให้ประสิทธิภาพยิ่งเสื่อมลงๆ
มาถึงวันนี้ จากการที่บริหารอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ขาดเทคโนโลยี่ ไม่มีการลงทุนที่เหมาะสม การผลิตนำ้มันที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของประเทศตกตำ่ลงมากและต้นทุนสูงมาก เวเนซูเอล่าผลิตนำ้มันได้เพียงวันละ2.2ล้านบาร์เรล(จากแผนที่เคยประกาศว่าจะผลิต 5 ล้าน/วัน) ทั้งๆที่มีปริมาณสำรองล้นเหลือ และเคยผลิตได้ถึง 3.5 ล้านต่อวันเมื่อ1970 (ซาอุที่เคยผลิตเท่ากันเมื่อสี่สิบปีก่อน วันนี้ผลิตวันละ 10.0ล้าน ...นี่แบบยั้งๆเกรงใจตลาดแล้วนะครับ)
สำหรับเศรษฐกิจทั้งระบบยิ่งไม่ต้องพูดถึง ทุกอย่างหยุดชะงัก เงินสำรองเกลี้ยงคลัง ไม่สามารถจ่ายค่าสินค้านำเข้า ค่าเงินลดฮวบฮาบ จากที่เคยเป็นแค่ 6.3VEF ต่อ1USD เมื่อ5ปีก่อน ตอนนี้ซื้อขายกันในตลาดมืดถึง1,000VEFต่อ1USD เงินเฟ้อปีละหลายร้อยเปอร์เซนต์ เศรษฐกิจติดลบไปร่วม10%ในสองปี ...ที่แย่กว่าก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งยารักษาโรค ขาดแคลนสุดๆ ประชาชนต้องอดอยากลำบากแสนสาหัส เกิดจลาจลแย่งอาหารกันไปทั่ว
นี่แหละครับ เริ่มต้นจาก. ...ทวงคืนพลังงาน ...บรรษัทพลังงานแห่งชาติ. ...เอาคนไม่เป็นมาบริหาร ...สังคมนิยม. ...ประชานิยม ...ชาตินิยม สุดท้ายมันก็พัง กลายเป็น"ประเทศที่ล้มเหลว" Failed Nation สมบูรณ์แบบ
แต่คงไม่เป็นไรกระมังครับ ถ้าเค้าเรียกร้องทวงคืนพลังงาน ตั้ง"บรรษัทพลังงานแห่งชาติ"สำเร็จ ในระยะสั้นคงยังไม่มีปัญหา อย่างน้อยเค้าก็ต้องพยายามลดราคานำ้มันเอาใจกองเชียร์ ทำให้เราได้ใช้ของถูกไปด้วย อย่างเวเนซูเอล่า กว่าจะพังพาบก็ยื้อไปได้ตั้งสี่สิบปี(แต่อย่าลืมว่าเค้ามีสำรองสามร้อยปี ของเราเจ็ดปีนาครับ) ถ้าไทยยื้อได้สี่สิบปี ตอนนั้นผมก็อายุร้อยสอง คงไม่เดือดร้อนมากถ้าจะต้องอดตายหรือขาดยารักษาในตอนนั้น ก็ขอให้ลูกหลานโชคดีก็แล้วกันนะครับ
----------------------------------
กลับมามองดูสถานการณ์พลังงานไทย ก็มีโอกาสเป็บแบบ Venezuela เหมือนกัน เพราะกรรมาธิการพลังงานบางคนที่เป็นลูกหม้อ คปพ. ดัน NOC ซะเต็มตัว ที่สำคัญ !!! รัฐบาลอย่าไปบ้าจี้ตามแล้วกัน ไม่งั้นหายนะแน่
Venezuela ไหลไม่หยุด กู่ไม่กลับ.....มันเริ่มมาจาก....."ทวงคืนพลังงาน"นี่แหละ!!!
หายนะของVenezuela.......
มันเริ่มมาจาก....."ทวงคืนพลังงาน"นี่แหละครับ
จากประเทศที่มีปริมาณนำ้มันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้ว(Proven Reserve)มากที่สุดในโลก โดยมีถึง 297,740 ล้านบาร์เรล (ซาอุเป็นอันดับสอง มี 268,350 ล้าน) ซึ่งถ้าคิดตามกำลังผลิตปัจจุบัน(วันละ 2.2 ล้านบาร์เรล) เท่ากับว่ามีProven Reserve ใช้ได้ไปถึง 330 ปีเลยทีเดียว (นี่ขนาดยังไม่นับpossible & probable reserveอีกนะครับ) ...ถามว่าเค้าจะเก็บเอาไว้ให้ลูกหลานโดยไม่ยอมเชื่อตามคนอื่น ว่าโลกจะเลิกใช้นำ้มันเป็นแหล่งพลังงานหลักภายในไม่กี่สิบปีนี้ยังงั้นหรือ ...เปล่าหรอกครับ ที่เค้าไม่ผลิตมากๆก็เพราะไม่มีศักยภาพ ไม่มีเทคโนโลยี่ ไม่มีการลงทุน และไม่มีประสิทธิภาพ(ทำให้ต้นทุนจะแซงราคานำ้มันอยู่แล้ว) ...รับรองว่าในร้อยปีข้างหน้าลูกหลานต้องมาก่นด่าว่า"เก็บไอ้โคลนเหลวๆไร้ค่าพวกนี้ไว้ให้กูทำไม"
ย้อนหลังไปเมื่อเพียงแค่ไม่กี่สิบปีก่อน ...เมื่อนำ้มันกลายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดแซงถ่านหิน เวเนซูเอล่าได้เป็นตัวตั้งตัวตีร่วมกับอีกสี่ประเทศอาหรับจัดตั้งOPECขึ้นมาในปี 1960 และร่วมมือสร้างOil Embargo ทำให้เกิดวิกฤติราคานำ้มัน(Oil Shocks)ขึ้นสองช่วง(1973-74 และ1979-80) ราคานำ้มันตลาดโลกขึ้นจาก $3/bbl เป็นเกือบ $40/bbl ปั่นป่วนไปทั่วโลก แต่ประเทศผู้ผลิตนำ้มันส่งออกกลายเป็นประเทศรำ่รวยกันเป็นแถว
สำหรับเวเนซูเอล่า ...ในช่วงต้นทศวรรษ 1970s เคยผลิตปิโตรเลียมได้ถึงวันละ 3.8 ล้านบาร์เรลเท่าๆกับซาอุดิอาราเบีย และจากการที่ราคานำ้มันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รายได้ประชาชาติต่อคนเพิ่มพรวดเกือบห้าเท่าตัวจาก $920 ในปี1970 มาเป็น $4,375 ในปี1980 กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และรำ่รวยที่สุดในอเมริกาใต้เลยทีเดียว (ปี1980 ไทยมี GDP $682/คน บราซิลมี $1,923)
พอรำ่รวยก็เริ่มเหิมเกริม เกิดกระบวนการ"ทวงคืนพลังงาน" โดยในปี1976 ประธานาธิบดี Carlos Andre Perez ก็ได้จัดตั้ง "บรรษัทพลังงานแห่งชาติเวเนซูเอลา" Petróleos de Venezuela, S.A. (PDVSA) ขึ้นแล้วเริ่มยึดคืนกิจการนำ้มันจากทุนพลังงาน โดยเฉพาะจากต่างชาติ ให้รัฐเข้าเป็นเจ้าของและก็เป็นผู้บริหารเองทั้งหมด ซึ่งในระยะแรกๆก็ยังใช้ระบบและผู้บริหารชาวเวเนฯที่เดิมเคยทำงานให้กับบริษัทนำ้มันข้ามชาติทั้งหลายบริหารต่อไป ทำให้ประสิทธิภาพต่างๆก็ยังพอไปได้ดีอยู่
แต่พอนานๆเข้าก็เหมือน"รัฐวิสาหกิจ"ทั้งหลายในแทบทุกแห่ง ที่ประสิทธิภาพไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ มีการเพิ่มคนที่เป็นพรรคพวกเข้าไปเยอะแยะ(มีข่าวว่ายุคชาเวซมีการเอาพวกNGOsเข้าไปทำงานในPDVSAเพื่อกินเงินเดือนเยอะเลย) การลงทุนมีน้อยและไม่ได้ผล ต้นทุนการผลิตเลยสูงขึ้นๆ ในขณะที่ผลผลิตลดลง ...มีรายงานการศึกษาว่าจากเดิมช่วง1976-1992 PDVSAเคยมีต้นทุนแค่ 21% นำเงินส่งรัฐสูงถึง79%ของรายได้ แต่พอมาช่วง1993-2000 ต้นทุนกลับพุ่งสูงถึง64% เหลือเงินให้รัฐแค่36% ทั้งๆที่ราคานำมันเฉลี่ยสูงขึ้นตั้งเยอะ ...นี่แหละครับ"บรรษัทพลังงานแห่งชาติ"PDVSAที่เคยเป็นต้นแบบของนักทวงคืนชาวไทย
พอนักสังคมนิยมเต็มตัว Hugo Chavez ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในช่วง 1999-2013 เวเนซูเอล่าก็กลายเป็นสังคมนิยมเต็มตัวตามแบบอย่างลูกพี่ใหญ่ ฟิเดล คาสโตรแห่งคิวบา รัฐยึดกิจการอื่นๆมาทำเองมากมาย และใช้รายได้จากนำ้มันทำโครงการประชานิยมต่างๆ รวมทั้งอุดหนุนราคานำ้มันให้ประชาชนใช้ลิตรละไม่ถึง 5 บาท จนชาเวซได้รับความนิยมสูงสุดได้รับเลือกตั้งใหม่ด้วยคะแนนร่วม60% อีกสามครั้ง จนตายคาตำแหน่งด้วยวัยเพียง58ปี
ในช่วง2002 พนักงานPDVSAที่ทนการแทรกแซงไม่ไหว ประท้วงหยุดงานร่วมสองเดือน แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ชนะ และChavez ก็เลยไล่พนักงานออก 19,000คน แล้วแทนที่โดยพวกสมุนที่จงรักภักดีที่มีNGOsปนอยู่ไม่น้อย และนั่นก็เลยทำให้ประสิทธิภาพยิ่งเสื่อมลงๆ
มาถึงวันนี้ จากการที่บริหารอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ขาดเทคโนโลยี่ ไม่มีการลงทุนที่เหมาะสม การผลิตนำ้มันที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของประเทศตกตำ่ลงมากและต้นทุนสูงมาก เวเนซูเอล่าผลิตนำ้มันได้เพียงวันละ2.2ล้านบาร์เรล(จากแผนที่เคยประกาศว่าจะผลิต 5 ล้าน/วัน) ทั้งๆที่มีปริมาณสำรองล้นเหลือ และเคยผลิตได้ถึง 3.5 ล้านต่อวันเมื่อ1970 (ซาอุที่เคยผลิตเท่ากันเมื่อสี่สิบปีก่อน วันนี้ผลิตวันละ 10.0ล้าน ...นี่แบบยั้งๆเกรงใจตลาดแล้วนะครับ)
สำหรับเศรษฐกิจทั้งระบบยิ่งไม่ต้องพูดถึง ทุกอย่างหยุดชะงัก เงินสำรองเกลี้ยงคลัง ไม่สามารถจ่ายค่าสินค้านำเข้า ค่าเงินลดฮวบฮาบ จากที่เคยเป็นแค่ 6.3VEF ต่อ1USD เมื่อ5ปีก่อน ตอนนี้ซื้อขายกันในตลาดมืดถึง1,000VEFต่อ1USD เงินเฟ้อปีละหลายร้อยเปอร์เซนต์ เศรษฐกิจติดลบไปร่วม10%ในสองปี ...ที่แย่กว่าก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งยารักษาโรค ขาดแคลนสุดๆ ประชาชนต้องอดอยากลำบากแสนสาหัส เกิดจลาจลแย่งอาหารกันไปทั่ว
นี่แหละครับ เริ่มต้นจาก. ...ทวงคืนพลังงาน ...บรรษัทพลังงานแห่งชาติ. ...เอาคนไม่เป็นมาบริหาร ...สังคมนิยม. ...ประชานิยม ...ชาตินิยม สุดท้ายมันก็พัง กลายเป็น"ประเทศที่ล้มเหลว" Failed Nation สมบูรณ์แบบ
แต่คงไม่เป็นไรกระมังครับ ถ้าเค้าเรียกร้องทวงคืนพลังงาน ตั้ง"บรรษัทพลังงานแห่งชาติ"สำเร็จ ในระยะสั้นคงยังไม่มีปัญหา อย่างน้อยเค้าก็ต้องพยายามลดราคานำ้มันเอาใจกองเชียร์ ทำให้เราได้ใช้ของถูกไปด้วย อย่างเวเนซูเอล่า กว่าจะพังพาบก็ยื้อไปได้ตั้งสี่สิบปี(แต่อย่าลืมว่าเค้ามีสำรองสามร้อยปี ของเราเจ็ดปีนาครับ) ถ้าไทยยื้อได้สี่สิบปี ตอนนั้นผมก็อายุร้อยสอง คงไม่เดือดร้อนมากถ้าจะต้องอดตายหรือขาดยารักษาในตอนนั้น ก็ขอให้ลูกหลานโชคดีก็แล้วกันนะครับ
----------------------------------
กลับมามองดูสถานการณ์พลังงานไทย ก็มีโอกาสเป็บแบบ Venezuela เหมือนกัน เพราะกรรมาธิการพลังงานบางคนที่เป็นลูกหม้อ คปพ. ดัน NOC ซะเต็มตัว ที่สำคัญ !!! รัฐบาลอย่าไปบ้าจี้ตามแล้วกัน ไม่งั้นหายนะแน่