แด่ผู้ที่เชื่อว่า ตายแล้วสูญ บาป บุญ ไม่มี , การให้ผลของกรรมไม่มี , สัตว์ที่เป็น โอปปาติกา ไม่มี

กระทู้สนทนา
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
มิจฉาทิฐิ (บาลี: มิจฺฉาทิฏฺฐิ) เรียกโดยย่อว่า "ทิฐิ"[1] หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริง[2]หรือผิดจากทำนองคลองธรรม[3]

ประเภท[แก้]
พระไตรปิฎกภาษาบาลี แบ่งหมวดมิจฉาทิฏฐิไว้หลายแบบ เช่น สักกายทิฏฐิ 20 ในนกุลปิตาสูตร ทิฏฐิ 62 ในพรหมชาลสูตร และนิยตมิจฉาทิฏฐิ 3 ในสามัญญผลสูตร เป็นต้น

นิยตมิจฉาทิฐิ 3 ได้แก่[4]

นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าไม่มี ได้แก่
นตฺถิ ทินฺนํ การให้ไม่มีผล
นตฺถิ ยิฏฺฐํ การบูชาไม่มีผล
นตฺถิ หุตํ การเซ่นสรวงไม่มีผล
นตฺถิ สุกตทุกฺกฏานํ กม์มานํ ผลํ วิปาโก ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี
นตฺถิ อยํ โลโก โลกนี้ไม่มี
นตฺถิ ปโร โลโก โลกหน้าไม่มี
นตฺถิ มาตา มารดาไม่มีคุณ
นตฺถิ ปิตา บิดาไม่มีคุณ
นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี
นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลกไม่มี
อเหตุกทิฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ[แก้]
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มี 2 อย่าง[5] ได้แก่

ปรโตโฆสะ คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น เสียงจากผู้อื่น ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น
อโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา ความไม่รู้จักคิด การปล่อยให้อวิชาครอบงำ ตรงกันข้ามกับคำว่า โยนิโสมนสิการ
อ้างอิง[แก้]
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
อักขณสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่