ค่านายหน้า ต้องเสียภาษีเท่าไร?

ค่านายหน้าขาย อสังหาริมทรัพย์ ตึกแถว บ้าน ที่ดิน ห้องพักคอนโดฯ   เมื่อได้รับค่านายหน้ามาในครั้งเดียว  หรือ หลายครั้งในหนึ่งปี  ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
1. บุคคลธรรมดา ได้รับค่านายหน้าจำนวนเงิน 8,000,000 บาท (รับ 3 % ของมูลค่าทรัพย์) จากบุคคลธรรมดา
2. บุคคลธรรมดา ได้รับค่านายหน้าจำนวนเงิน 8,000,000 บาท (รับ 3 % ของมูลค่าทรัพย์) จากนิติบุคคล
3. นิติบุคคล        ได้รับค่านายหน้าจำนวนเงิน 8,000,000 บาท (รับ 3 % ของมูลค่าทรัพย์) จากนิติบุคคล

เคยอ่านข้อมูลเรื่องภาษี แต่ไม่เข้าใจในการจัดเก็บภาษี  เช่น จะต้องเสียภาษีหลายขั้นตอน 1. หักณ.ที่จ่าย.... % 2. ภาษีเงินได้อีก... %
และ การจัดเก็บภาษี ในลักษณะนี้ ใช้ข้อกฏหมายภาษีเกี่ยวกับภาษีอะไรครับ  (กำลังศึกษาเรื่องภาษีอยู่ครับ)

หากบุคคลธรรมดา  มีผู้รับหลายคน จะแบ่งเบาค่าภาษี ได้หรือไม่ เนื่องจากรายรับ รับมาเป็นนก้อนเดียว
ขอขอบคุณท่านผู้รู้ ที่ได้ช่วย ให้คำตอบอันเป็นประโยชน์นี้  ไว้ล่วงหน้ามาณ. ที่นี้ด้วยครับ

ขอให้ท่านผู้รู้ที่ให้ความกระจ่างจงมีความสุขความเจริญ สว่างด้วยกาย ใจ สุขภาพแข็งแรงด้วยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ตอบข้อ 3 ก่อน   นิติบุคคลไทยที่ได้รับค่านายหน้าจากนิติบุคคล  ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษี 3% แล้วนำส่งด้วยแบบ ภงด. 53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป เว้นแต่จะยื่นภาษีออนไลน์ก็ขยายไปอีก 8 วัน เป็นวันที่ 15

ส่วนข้อ 2 นิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดาที่อยู่ในไทยเกิน 183 วันในปีภาษี มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 0% - 35%  แต่ถ้าจ่ายให้บุคคลธรรมดาที่ไม่อยู่ในไทย หรืออยู่ในไทยไม่ถึง 183 วันในปีภาษี ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%

ส่วนข้อ 1  ในทางปฏิบัติ บุคคลธรรมดาจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดา จะไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายต่อกัน และสรรพากรก็มักจะไม่สนใจ  แต่ถ้าดูดีตามกฎหมาย คือ ในมาตรา 50 ของประมวลรัษฎากร ใช้คำว่า "ให้ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้"

จะเห็นว่าในบทบัญญัติของกฎหมายใช้คำว่า "บุคคล" แยกออกจาก "บริษัท" ดังนั้น บุคคลคำนี้จึงหมายถึง บุคคลธรรมดา

ดังนั้น ถ้าเอาจริงๆ ตามกฎหมาย  บุคคลธรรมดา ก็ย่อมมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย

แต่เอาจริงๆ ไม่มีใครหักกันหรอก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่