“จากการพูดคุยกับหลายคนที่มีความฝันเดียวกัน นำไปสู่การสร้างค่ายอาสาที่เป็นความทรงจำที่ดีที่สุดในชีวิต”
สวัสดีครับ...นี่เป็นกระทู้แรกในชีวิตของผมกับ pantip ยังไงก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ ^_^
ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนว่าสิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ ผมจะขอเล่าตั้งแต่กระบวนการก่อนทำค่ายเลยนะครับว่ามีที่มาที่ไปยังไง และต้องเตรียมอะไรบ้าง ติดต่ออะไรบ้าง เผื่อเป็นประโยชน์กับคนที่มีความฝันอยากสร้างค่ายอาสาเหมือนกันกับผม ยาวหน่อยยังไงก็อย่าเพิ่งรำคาญกันก่อนนะครับ 555
ก็ขอแนะนำตัวก่อนแล้วกันนะครับ ตอนนี้ผมศึกษาอยู่ปี 5 คณะเภสัชฯ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ที่เคยมีความฝันในสมัยมัธยมว่าสักวันหนึ่งเราต้องทำค่ายอาสาบนดอยให้ได้ เพราะตอนนั้นเราเห็นข่าวหรือภาพต่างๆที่เกี่ยวกับค่ายบนดอยแล้วรู้สึกว่าคนที่นั่นเค้าลำบากมากเลยเนอะ เราที่อยู่อย่างสบายน่าจะลองหาโอกาสที่จะช่วย หรือทำสิ่งดีๆให้กับเค้าบ้าง และถ้าได้ทำจริงๆมันก็น่าจะสนุกดีเนอะ หลังจากนั้นด้วยความที่ได้มีโอกาสเข้าเรียนในคณะเภสัชฯ ความฝันในตอนนั้นก็ได้ถูกลืมเลือนไป ด้วยภาระหน้าที่ การเรียน และก็กิจกรรม ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าตัวผมในสมัยมัธยมไม่ใช่คนทำกิจกรรมมากมาย แต่พอเข้ามหาลัยปุ๊บก็ได้ทำมาตลอดเลยครับ 555 จนได้มีโอกาสเข้าร่วมค่ายหลายๆที่ และมีโอกาสทำค่ายหมอยาเรียนรู้ชุมชนฯของคณะ เอาประมาณนี้ก่อนแล้วกันครับ อย่างที่บอกไปครับหลังจากเข้ามหาลัยมาก็มีทั้งเรื่องการเรียน งาน และกิจกรรม มันเลยทำให้ผมลืมคิดเรื่องนี้ไปโดยปริยาย แต่พอขึ้นปี 5 ผมเองก็มองว่าน่าจะมีเวลาว่างมากขึ้น(จริงๆก็มีทั้งวิจัย และเรียน ซึ่งก็เยอะอยู่ครับ 555) ความคิดที่จะทำค่ายอาสาบนดอยของผมเลยกลับมาอีกครั้งซึ่งคิดว่าคงเป็นกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียนสุดท้ายที่ผมจะได้ทำตามหัวข้อคือ “งานสุดท้ายที่ห้วยจิโน”นั่นเองครับ ตอนนั้นเป็นช่วงต้นเดือนสิงหาคมครับ เป็นช่วงที่ผมฝึกงานเสร็จเลยมีเวลาที่จะหาข้อมูลอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนเปิดเทอม
ช่วงหาข้อมูลผมได้หาข้อมูลโดยเริ่มจากสถานที่ที่ตัวเองสนใจก่อน คือ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง คือ จ.แม่ฮ่องสอน และก็ต้องเป็นพื้นที่ที่เป็นดอย หรือเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ลำบากและต้องการความช่วยเหลือจริงๆ แล้วก็หาต่อว่ามีใครที่เคยทำค่ายอาสา หรือว่าเคยไปมอบของบริจาคที่อมก๋อยบ้าง database ของผมก็คือ pantip google facebook และเว็บไซต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับจิตอาสา เช่น เว็บไซต์ กศน.อมก๋อย ตอนนั้นได้สถานที่แล้วก็ติดต่อไปหลายที่มากแต่หลังจากที่ได้พูดคุยแล้วผมก็รู้สึกว่า “มันยังไม่ใช่” สำหรับผมคือรู้สึกว่ายังขาดแคลนไม่มากพอ555 สุดท้ายแล้วผมก็มาสะดุดกับกระทู้หนึ่งใน pantip จำได้ว่าเป็นกระทู้ที่บริจาคของที่อมก๋อยซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีหมู่บ้าน “ห้วยจิโน” อยู่ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักห้วยจิโนเลยก็ว่าได้ครับ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับห้วยจิโนตอนนั้นมีอยู่น้อยมาก จนผมอ่านกระทู้ไปเรื่อยๆแล้วเหลือบไปเห็น “ครูเอ๋”(คนที่2นับจากซ้ายสุด) และเบอร์ติดต่อ ผมก็เลยได้ติดต่อไปเลยทราบมาว่าครูเอ๋ เป็นครูนิเทศน์ที่ต.อมก๋อย ที่ดูแลโรงเรียนในพื้นที่ต.อมก๋อยหลายๆโรงเรียน โรงเรียนในที่นี้ถ้าเป็นคำทางการเหมือนจะเรียกว่าศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง(ศศช.) หลังจากที่ได้ติดต่อสอบถามข้อมูลอยู่เรื่อยๆ ระหว่างนี้ก็ได้ติดต่อกับครูประจำพื้นที่ที่ครูเอ๋แนะนำร่วมด้วยคือ “ครูต๋อย”(คนซ้ายสุด) ก็ได้ข้อมูลมาว่ามีหมู่บ้านที่น่าสนใจอยู่ 2 หมู่บ้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ บ้านห้วยจิโน
สำหรับที่นี่ผมได้รับข้อมูลมามากมาย ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจ และสำคัญมากที่ทำให้ผมตัดสินใจเลือกที่นี่ทันทีคือ การขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ เพราะที่นี่ถึงจะมีระบบประปาอยู่เดิมซึ่งต่อมาจากลำห้วย แต่เมื่อถึงหน้าแล้ง ทั้งหมู่บ้านก็จะไม่มีน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค ต้องเดินไปตักน้ำเองเป็นระยะทาง 5-6 กิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่ทางเรียบนะครับ เป็นเขาทั้งนั้นขึ้นลงเขาจนชำนาญกันเลยทีเดียว ถ้าเป็นผมคงเดินกลับตั้งแต่กิโลเมตรแรกแล้วครับ555 แล้วเมื่อไม่ถึงปีทางหน่วยงานราชการก็ได้มาสร้างแท๊งค์น้ำไว้แต่ไม่รู้ด้วยเหตุผลอะไรเค้าไม่ต่อท่อประปาเข้าหมู่บ้าน ผมก็งงเหมือนกัน อาจจะมีอะไรสักอย่างก็เป็นด้ายยยยยย 5555
ดังนั้นความต้องการของเค้าจริงๆ คือการต่อท่อประปาเข้าหมู่บ้านให้ครบทุกหลังคาเรือนทั้ง 21 หลังคาเรือน นอกจากนี้ด้วยความที่เราเรียนเภสัชฯ สิ่งที่เราจะต้องทำควบคู่ไปด้วยคือ เรื่องสุขภาพ และเรื่องยา ก็ได้ข้อมูลมาว่าอาการส่วนใหญ่ที่เป็นกัน คือ โรคหวัด อาการปวดเมื่อยจากการทำงาน และสูงอายุ และโรคพยาธิซึ่งส่วนมากเป็นในเด็ก บวกกับในหมู่บ้านมีห้องน้ำค่อนข้างน้อยจึงทำให้ชาวบ้านส่วนหนึ่งเลือกที่จะขับถ่ายตามพื้นดินก็อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน แต่ด้วยความสงสัยว่าทำไมเค้าถึงไม่เป็นโรคเรื้อรังกัน เพราะเราได้ไปลงชุมชนหลายๆที่ในทุกๆที่จะต้องมีโรคเรื้อรังบ้างล่ะ ก็พบว่าหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านเล็ก และเป็นหมู่บ้านใหม่ก่อตั้งมาไม่กี่ปี ความช่วยเหลือต่างๆโดยเฉพาะในเรื่องของระบบสุขภาพทำให้ยังเข้าไม่ถึง คนในหมู่บ้านก็เลยไม่รู้ว่าตอนนี้ตัวเองมีโรคอะไรอยู่บ้าง และเมื่อมีอาการเจ็บป่วยถ้าไม่หนักมากส่วนใหญ่ก็จะอาศัยสมุนไพร หรือยาที่มีอยู่ที่โรงเรียนเป็นหลัก เราจึงได้สรุปร่วมกันกับครูว่ามีอยู่ 3 ประเด็นที่ต้องการให้ช่วยคือ 1.ระบบประปา 2.ห้องน้ำ 3.อาชีพ เพราะส่วนใหญ่มีอาชีพแค่ทำนา ไม่ได้เลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชไร่พืชสวนเท่าไร แต่เมื่อนำมาวิเคราะห์จริงๆกับคณะ ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างโดยเฉพาะงบประมาณ และความต้องการจริงๆของหมู่บ้านก็ได้ลงความเห็นว่าเราจะทำ “ระบบประปา” ถ้าเรามีงบประมาณเหลือเราจะช่วยในส่วนอื่นเพิ่มเติมอีกทีครับ
มาถึงตอนนี้อาจจะสงสัยว่าคณะที่พูดถึงนี้เกิดขึ้นมาได้ยังไง ผมก็จะขอเล่าย้อนกลับไปหลังจากเปิดเทอมในเดือนสิงหาคมครับ มันเกิดจากที่ผมคิดว่าถ้าเราทำคนเดียวแล้วชวนคนอื่นมาทำด้วยกันก็คงจะมีแน่นอน แต่ด้วยความที่มันไม่ได้เป็นกลุ่มก้อนที่เป็นทางการเท่าไร บางทีอาจจะทำให้ความน่าเชื่อถือทั้งในการทำกิจกรรม การขอรับบริจาค หรือการของงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ อาจจะไม่น่าเชื่อถือสักเท่าไร หลังจากเปิดเทอมผมเลยคิดจะตั้งชมรมในสังกัดคณะเภสัชฯขึ้นมาโดยตั้งชื่อชมรมว่า “ชมรมกล้าดี” โดยเป้าหมายหลักๆของชมรมคือการทำค่ายให้สำเร็จ และการทำความดีต่อไป ไม่จำกัดว่าเป็นที่ไหน ลำบากเท่าไร เป็นการทำความดีเล็กๆ หรือใหญ่ๆ ขอแค่เรากล้าที่จะทำความดี และลงมือทำมันแค่นั้นก็พอครับสำหรับชมรมนี้ หลังจากนั้นชมรมก็ได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นมาสำหรับการทำค่ายโดยตั้งชื่อค่ายว่า “ค่ายหมอยาอาสาพัฒนาชุมชนบนดอยสูง”
คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมานี้ยังเป็นคณะที่เป็นแบบหลวมๆ คือยังไม่ได้กำหนดฝ่ายต่างๆขึ้นมาชัดเจน มีประมาณไม่ถึง 10 คนได้ครับ แล้วก็ได้เขียนโครงการขึ้นมา โดยสรุปแล้วเราจะมีเวลาในการเตรียมค่าย ทั้งในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และงบประมาณทั้งหมดเกือบ 4 เดือน และได้วางแผนในการสำรวจพื้นที่จริงช่วงเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงที่ปลายหน้าฝนเข้าหน้าหนาว การเดินทางค่อนข้างสะดวกและปลอดภัยมากกว่า ระหว่างนี้เราก็ร่วมกันระดมทุนจากหน่วยงานต่างๆ เปิดกล่องรับบริจาค จนได้งบตามแผนที่ได้ตั้งไว้ครับ
สำหรับการสำรวจค่ายของเรา เริ่มต้นด้วยการเดินทางโดยรถทัวร์ถึงเชียงใหม่ใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมงครับ พอถึงอาเขตเราก็นั่งรถแดงต่อไปลงที่สถานีช้างเผือกเพื่อขึ้นรถเมล์ไปลงที่ตัวอำเภออมก๋อยครับ
เราใช้เวลาเดินทางจากสถานีช้างเผือกถึงตัวอำเภออมก๋อยประมาณ 5 ชั่วโมงครับ มาถึงตอนนี้ใช้เวลาเดินทางไปแล้วประมาณ 17 ชั่วโมง
พอมาถึงที่อำเภออมก๋อย เราก็ได้ประสานงานกับ "ลุงเดช" ลุงเป็นคนที่จะพาเราขึ้นไปที่ตัวหมู่บ้านห้วยจิโนครับ
นี่ครับรถกระ 4WD ที่จะพาเราไปครับ ต้องบอกว่าคนที่นี่ดีมากครับ มีน้ำใจ ยินดีต้อนรับเรามากๆ โดยเฉพาะลุงเดช เป็นมิตรสุดๆ ชวนเราคุยโน่น คุยนี่ แล้วก็แบ่งกล้วยให้เรากินลองท้องด้วยครับ555
ถึงปากทางเข้าหมู่บ้านแล้วครับ
เราใช้เวลาเดินทางกว่าจะถึงที่หมู่บ้านห้วยจิโนก็ใช้เวลาไปอีกประมาณ 3 ชั่วโมงครับ สรุปการเดินทางของเราใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 ชั่วโมง
แต่ก่อนที่เราจะไปบ้านห้วยจิโนก็แวะส่งครูที่ประจำอยู่ที่บ้านยองแหละ และขนสัมภาระของพวกเราลง เพราะว่าเราจะพักค้างกันที่นี่ครับ
ข้างในโรงเรียนบ้านยองแหละครับ
พอเรามาถึงหมู่บ้านห้วยจิโนเราก็ได้ไปพบครูต๋อยครับ นี่คือรูปหน้าโรงเรียนครับ ที่นี่มีนักเรียนอยู่ 13 คน มีตั้งแต่อายุ 3-14 ปี มีครู 1 ท่านคือ ครูต๋อยครับ เวลาเรียนก็จะเรียนรวมๆกัน จะเน้นการเรียนในเรื่องของภาษาไทย และคณิตศาสตร์ รวมถึงทักษะการใช้ชีวิตต่างๆครับ
พอมาถึงครูต๋อยก็พาขึ้นไปดูแท็งค์น้ำที่อยู่ด้านบนของหมู่บ้านครับ
แอบเหนื่อยเหมือนกันครับกว่าจะขึ้นไปถึง
ระหว่างทางก็จะมีโบสถ์ด้วยครับเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อต้นปี 59 คนที่นี่ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ รองลงมาก็จะนับถือพุทธ ส่วนน้อยครับที่ยังคงนับถือภูตผีอยู่
สำหรับธรรมเนียมที่เป็นข้อห้ามของที่นี่คือห้ามให้ผู้ชายกับผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานอยู่ด้วยหรือไปไหนกันสองต่อสอง เพราะจะผิดผีครับ ถ้าเกิดขึ้นจะต้องทำพิธีอีกหลายอย่างตามความเชื่อของคนที่นี่ ส่วนนี้เรื่องของศาสนา ข้อห้าม วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำค่ายเหมือนกันครับ
ถึงแล้วครับ ที่เห็นด้านล่างเป็นหมู่บ้านที่เราเพิ่งเดินขึ้นมาครับ (เดินขึ้นประมาณ 300 เมตร)
หลังจากขึ้นไปดูแท็งค์น้ำเราก็กลับลงมาที่โรงเรียนเพื่อพูดคุยในส่วนอื่นๆกันต่อครับ
คุยกันกับครูเอ๋อย่างได้รสชาติมากครับ ^_^
เดี๋ยวมาต่อช่วงสำรวจค่ายนะครับ
บันทึกความทรงจำ...การสร้างค่ายอาสาที่บ้านห้วยจิโน อ.อมก๋อย
สวัสดีครับ...นี่เป็นกระทู้แรกในชีวิตของผมกับ pantip ยังไงก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ ^_^
ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนว่าสิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ ผมจะขอเล่าตั้งแต่กระบวนการก่อนทำค่ายเลยนะครับว่ามีที่มาที่ไปยังไง และต้องเตรียมอะไรบ้าง ติดต่ออะไรบ้าง เผื่อเป็นประโยชน์กับคนที่มีความฝันอยากสร้างค่ายอาสาเหมือนกันกับผม ยาวหน่อยยังไงก็อย่าเพิ่งรำคาญกันก่อนนะครับ 555
ก็ขอแนะนำตัวก่อนแล้วกันนะครับ ตอนนี้ผมศึกษาอยู่ปี 5 คณะเภสัชฯ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ที่เคยมีความฝันในสมัยมัธยมว่าสักวันหนึ่งเราต้องทำค่ายอาสาบนดอยให้ได้ เพราะตอนนั้นเราเห็นข่าวหรือภาพต่างๆที่เกี่ยวกับค่ายบนดอยแล้วรู้สึกว่าคนที่นั่นเค้าลำบากมากเลยเนอะ เราที่อยู่อย่างสบายน่าจะลองหาโอกาสที่จะช่วย หรือทำสิ่งดีๆให้กับเค้าบ้าง และถ้าได้ทำจริงๆมันก็น่าจะสนุกดีเนอะ หลังจากนั้นด้วยความที่ได้มีโอกาสเข้าเรียนในคณะเภสัชฯ ความฝันในตอนนั้นก็ได้ถูกลืมเลือนไป ด้วยภาระหน้าที่ การเรียน และก็กิจกรรม ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าตัวผมในสมัยมัธยมไม่ใช่คนทำกิจกรรมมากมาย แต่พอเข้ามหาลัยปุ๊บก็ได้ทำมาตลอดเลยครับ 555 จนได้มีโอกาสเข้าร่วมค่ายหลายๆที่ และมีโอกาสทำค่ายหมอยาเรียนรู้ชุมชนฯของคณะ เอาประมาณนี้ก่อนแล้วกันครับ อย่างที่บอกไปครับหลังจากเข้ามหาลัยมาก็มีทั้งเรื่องการเรียน งาน และกิจกรรม มันเลยทำให้ผมลืมคิดเรื่องนี้ไปโดยปริยาย แต่พอขึ้นปี 5 ผมเองก็มองว่าน่าจะมีเวลาว่างมากขึ้น(จริงๆก็มีทั้งวิจัย และเรียน ซึ่งก็เยอะอยู่ครับ 555) ความคิดที่จะทำค่ายอาสาบนดอยของผมเลยกลับมาอีกครั้งซึ่งคิดว่าคงเป็นกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียนสุดท้ายที่ผมจะได้ทำตามหัวข้อคือ “งานสุดท้ายที่ห้วยจิโน”นั่นเองครับ ตอนนั้นเป็นช่วงต้นเดือนสิงหาคมครับ เป็นช่วงที่ผมฝึกงานเสร็จเลยมีเวลาที่จะหาข้อมูลอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนเปิดเทอม
ช่วงหาข้อมูลผมได้หาข้อมูลโดยเริ่มจากสถานที่ที่ตัวเองสนใจก่อน คือ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง คือ จ.แม่ฮ่องสอน และก็ต้องเป็นพื้นที่ที่เป็นดอย หรือเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ลำบากและต้องการความช่วยเหลือจริงๆ แล้วก็หาต่อว่ามีใครที่เคยทำค่ายอาสา หรือว่าเคยไปมอบของบริจาคที่อมก๋อยบ้าง database ของผมก็คือ pantip google facebook และเว็บไซต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับจิตอาสา เช่น เว็บไซต์ กศน.อมก๋อย ตอนนั้นได้สถานที่แล้วก็ติดต่อไปหลายที่มากแต่หลังจากที่ได้พูดคุยแล้วผมก็รู้สึกว่า “มันยังไม่ใช่” สำหรับผมคือรู้สึกว่ายังขาดแคลนไม่มากพอ555 สุดท้ายแล้วผมก็มาสะดุดกับกระทู้หนึ่งใน pantip จำได้ว่าเป็นกระทู้ที่บริจาคของที่อมก๋อยซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีหมู่บ้าน “ห้วยจิโน” อยู่ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักห้วยจิโนเลยก็ว่าได้ครับ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับห้วยจิโนตอนนั้นมีอยู่น้อยมาก จนผมอ่านกระทู้ไปเรื่อยๆแล้วเหลือบไปเห็น “ครูเอ๋”(คนที่2นับจากซ้ายสุด) และเบอร์ติดต่อ ผมก็เลยได้ติดต่อไปเลยทราบมาว่าครูเอ๋ เป็นครูนิเทศน์ที่ต.อมก๋อย ที่ดูแลโรงเรียนในพื้นที่ต.อมก๋อยหลายๆโรงเรียน โรงเรียนในที่นี้ถ้าเป็นคำทางการเหมือนจะเรียกว่าศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง(ศศช.) หลังจากที่ได้ติดต่อสอบถามข้อมูลอยู่เรื่อยๆ ระหว่างนี้ก็ได้ติดต่อกับครูประจำพื้นที่ที่ครูเอ๋แนะนำร่วมด้วยคือ “ครูต๋อย”(คนซ้ายสุด) ก็ได้ข้อมูลมาว่ามีหมู่บ้านที่น่าสนใจอยู่ 2 หมู่บ้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ บ้านห้วยจิโน
สำหรับที่นี่ผมได้รับข้อมูลมามากมาย ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจ และสำคัญมากที่ทำให้ผมตัดสินใจเลือกที่นี่ทันทีคือ การขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ เพราะที่นี่ถึงจะมีระบบประปาอยู่เดิมซึ่งต่อมาจากลำห้วย แต่เมื่อถึงหน้าแล้ง ทั้งหมู่บ้านก็จะไม่มีน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค ต้องเดินไปตักน้ำเองเป็นระยะทาง 5-6 กิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่ทางเรียบนะครับ เป็นเขาทั้งนั้นขึ้นลงเขาจนชำนาญกันเลยทีเดียว ถ้าเป็นผมคงเดินกลับตั้งแต่กิโลเมตรแรกแล้วครับ555 แล้วเมื่อไม่ถึงปีทางหน่วยงานราชการก็ได้มาสร้างแท๊งค์น้ำไว้แต่ไม่รู้ด้วยเหตุผลอะไรเค้าไม่ต่อท่อประปาเข้าหมู่บ้าน ผมก็งงเหมือนกัน อาจจะมีอะไรสักอย่างก็เป็นด้ายยยยยย 5555
ดังนั้นความต้องการของเค้าจริงๆ คือการต่อท่อประปาเข้าหมู่บ้านให้ครบทุกหลังคาเรือนทั้ง 21 หลังคาเรือน นอกจากนี้ด้วยความที่เราเรียนเภสัชฯ สิ่งที่เราจะต้องทำควบคู่ไปด้วยคือ เรื่องสุขภาพ และเรื่องยา ก็ได้ข้อมูลมาว่าอาการส่วนใหญ่ที่เป็นกัน คือ โรคหวัด อาการปวดเมื่อยจากการทำงาน และสูงอายุ และโรคพยาธิซึ่งส่วนมากเป็นในเด็ก บวกกับในหมู่บ้านมีห้องน้ำค่อนข้างน้อยจึงทำให้ชาวบ้านส่วนหนึ่งเลือกที่จะขับถ่ายตามพื้นดินก็อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน แต่ด้วยความสงสัยว่าทำไมเค้าถึงไม่เป็นโรคเรื้อรังกัน เพราะเราได้ไปลงชุมชนหลายๆที่ในทุกๆที่จะต้องมีโรคเรื้อรังบ้างล่ะ ก็พบว่าหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านเล็ก และเป็นหมู่บ้านใหม่ก่อตั้งมาไม่กี่ปี ความช่วยเหลือต่างๆโดยเฉพาะในเรื่องของระบบสุขภาพทำให้ยังเข้าไม่ถึง คนในหมู่บ้านก็เลยไม่รู้ว่าตอนนี้ตัวเองมีโรคอะไรอยู่บ้าง และเมื่อมีอาการเจ็บป่วยถ้าไม่หนักมากส่วนใหญ่ก็จะอาศัยสมุนไพร หรือยาที่มีอยู่ที่โรงเรียนเป็นหลัก เราจึงได้สรุปร่วมกันกับครูว่ามีอยู่ 3 ประเด็นที่ต้องการให้ช่วยคือ 1.ระบบประปา 2.ห้องน้ำ 3.อาชีพ เพราะส่วนใหญ่มีอาชีพแค่ทำนา ไม่ได้เลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชไร่พืชสวนเท่าไร แต่เมื่อนำมาวิเคราะห์จริงๆกับคณะ ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างโดยเฉพาะงบประมาณ และความต้องการจริงๆของหมู่บ้านก็ได้ลงความเห็นว่าเราจะทำ “ระบบประปา” ถ้าเรามีงบประมาณเหลือเราจะช่วยในส่วนอื่นเพิ่มเติมอีกทีครับ
มาถึงตอนนี้อาจจะสงสัยว่าคณะที่พูดถึงนี้เกิดขึ้นมาได้ยังไง ผมก็จะขอเล่าย้อนกลับไปหลังจากเปิดเทอมในเดือนสิงหาคมครับ มันเกิดจากที่ผมคิดว่าถ้าเราทำคนเดียวแล้วชวนคนอื่นมาทำด้วยกันก็คงจะมีแน่นอน แต่ด้วยความที่มันไม่ได้เป็นกลุ่มก้อนที่เป็นทางการเท่าไร บางทีอาจจะทำให้ความน่าเชื่อถือทั้งในการทำกิจกรรม การขอรับบริจาค หรือการของงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ อาจจะไม่น่าเชื่อถือสักเท่าไร หลังจากเปิดเทอมผมเลยคิดจะตั้งชมรมในสังกัดคณะเภสัชฯขึ้นมาโดยตั้งชื่อชมรมว่า “ชมรมกล้าดี” โดยเป้าหมายหลักๆของชมรมคือการทำค่ายให้สำเร็จ และการทำความดีต่อไป ไม่จำกัดว่าเป็นที่ไหน ลำบากเท่าไร เป็นการทำความดีเล็กๆ หรือใหญ่ๆ ขอแค่เรากล้าที่จะทำความดี และลงมือทำมันแค่นั้นก็พอครับสำหรับชมรมนี้ หลังจากนั้นชมรมก็ได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นมาสำหรับการทำค่ายโดยตั้งชื่อค่ายว่า “ค่ายหมอยาอาสาพัฒนาชุมชนบนดอยสูง”
คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมานี้ยังเป็นคณะที่เป็นแบบหลวมๆ คือยังไม่ได้กำหนดฝ่ายต่างๆขึ้นมาชัดเจน มีประมาณไม่ถึง 10 คนได้ครับ แล้วก็ได้เขียนโครงการขึ้นมา โดยสรุปแล้วเราจะมีเวลาในการเตรียมค่าย ทั้งในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และงบประมาณทั้งหมดเกือบ 4 เดือน และได้วางแผนในการสำรวจพื้นที่จริงช่วงเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงที่ปลายหน้าฝนเข้าหน้าหนาว การเดินทางค่อนข้างสะดวกและปลอดภัยมากกว่า ระหว่างนี้เราก็ร่วมกันระดมทุนจากหน่วยงานต่างๆ เปิดกล่องรับบริจาค จนได้งบตามแผนที่ได้ตั้งไว้ครับ
สำหรับการสำรวจค่ายของเรา เริ่มต้นด้วยการเดินทางโดยรถทัวร์ถึงเชียงใหม่ใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมงครับ พอถึงอาเขตเราก็นั่งรถแดงต่อไปลงที่สถานีช้างเผือกเพื่อขึ้นรถเมล์ไปลงที่ตัวอำเภออมก๋อยครับ
เราใช้เวลาเดินทางจากสถานีช้างเผือกถึงตัวอำเภออมก๋อยประมาณ 5 ชั่วโมงครับ มาถึงตอนนี้ใช้เวลาเดินทางไปแล้วประมาณ 17 ชั่วโมง
พอมาถึงที่อำเภออมก๋อย เราก็ได้ประสานงานกับ "ลุงเดช" ลุงเป็นคนที่จะพาเราขึ้นไปที่ตัวหมู่บ้านห้วยจิโนครับ
นี่ครับรถกระ 4WD ที่จะพาเราไปครับ ต้องบอกว่าคนที่นี่ดีมากครับ มีน้ำใจ ยินดีต้อนรับเรามากๆ โดยเฉพาะลุงเดช เป็นมิตรสุดๆ ชวนเราคุยโน่น คุยนี่ แล้วก็แบ่งกล้วยให้เรากินลองท้องด้วยครับ555
ถึงปากทางเข้าหมู่บ้านแล้วครับ
เราใช้เวลาเดินทางกว่าจะถึงที่หมู่บ้านห้วยจิโนก็ใช้เวลาไปอีกประมาณ 3 ชั่วโมงครับ สรุปการเดินทางของเราใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 ชั่วโมง
แต่ก่อนที่เราจะไปบ้านห้วยจิโนก็แวะส่งครูที่ประจำอยู่ที่บ้านยองแหละ และขนสัมภาระของพวกเราลง เพราะว่าเราจะพักค้างกันที่นี่ครับ
ข้างในโรงเรียนบ้านยองแหละครับ
พอเรามาถึงหมู่บ้านห้วยจิโนเราก็ได้ไปพบครูต๋อยครับ นี่คือรูปหน้าโรงเรียนครับ ที่นี่มีนักเรียนอยู่ 13 คน มีตั้งแต่อายุ 3-14 ปี มีครู 1 ท่านคือ ครูต๋อยครับ เวลาเรียนก็จะเรียนรวมๆกัน จะเน้นการเรียนในเรื่องของภาษาไทย และคณิตศาสตร์ รวมถึงทักษะการใช้ชีวิตต่างๆครับ
พอมาถึงครูต๋อยก็พาขึ้นไปดูแท็งค์น้ำที่อยู่ด้านบนของหมู่บ้านครับ
แอบเหนื่อยเหมือนกันครับกว่าจะขึ้นไปถึง
ระหว่างทางก็จะมีโบสถ์ด้วยครับเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อต้นปี 59 คนที่นี่ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ รองลงมาก็จะนับถือพุทธ ส่วนน้อยครับที่ยังคงนับถือภูตผีอยู่
สำหรับธรรมเนียมที่เป็นข้อห้ามของที่นี่คือห้ามให้ผู้ชายกับผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานอยู่ด้วยหรือไปไหนกันสองต่อสอง เพราะจะผิดผีครับ ถ้าเกิดขึ้นจะต้องทำพิธีอีกหลายอย่างตามความเชื่อของคนที่นี่ ส่วนนี้เรื่องของศาสนา ข้อห้าม วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำค่ายเหมือนกันครับ
ถึงแล้วครับ ที่เห็นด้านล่างเป็นหมู่บ้านที่เราเพิ่งเดินขึ้นมาครับ (เดินขึ้นประมาณ 300 เมตร)
หลังจากขึ้นไปดูแท็งค์น้ำเราก็กลับลงมาที่โรงเรียนเพื่อพูดคุยในส่วนอื่นๆกันต่อครับ
คุยกันกับครูเอ๋อย่างได้รสชาติมากครับ ^_^
เดี๋ยวมาต่อช่วงสำรวจค่ายนะครับ