ช่วงท้ายปี 2016 ที่ผ่านมา ในขณะที่ทั่วโลกกำลังฮิตกับกระแสเพลง PPAP อยู่นั้น
ที่ญี่ปุ่นก็มีกระแส Koi Dance ที่ก้าวขึ้นมาเป็นที่นิยมไม่แพ้กัน ด้วยท่าเต้นที่น่ารัก ทำนองเพลงที่ฟังแล้ว Feel goodเหล่าแฟนๆได้ทำคลิป Dance Cover เพลงนี้กันมาอย่างมากมาย ชวนให้นึกถึงกระแส Koisuru Fortune Cookie ที่ดังกระฉ่อนในญี่ปุ่นเมื่อสามสี่ปีที่แล้ว ไม่เพียงแค่นั้น เหล่าคนดังอย่างตัว Mascot ของ Sanrio ไปจนกระทั่ง เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำโตเกียวก็ยังออกมาเต้นเพลงนี้เช่นกัน
กระแส Koi Dance นี้นี่เองทำให้ผมได้รู้จักกับละครเรื่อง We married as Job ครับ
มองโดยเผินๆ We married as Job มีพล็อตที่ไม่ได้พิสดารอะไร
เพราะพล็อตที่ว่าฝ่ายชายที่รวยกว่ามาแต่งงานกับฝ่ายหญิงแบบหลอกๆ ด้วยเหตุผลบางอย่างนั้น สามารถเจอได้บ่อยมากในละครไทย แต่พอดูเข้าจริงๆแล้วกลับทำให้ผมติดงอมแงม และประทับใจในการนำเสนอของผู้กำกับครับ สิ่งที่ชอบเกี่ยวกับละครเรื่องนี้ (นอกจากการแสดงของคู่พระนาง และเพลงซึ่งดีมากๆอยู่แล้ว)ก็มีอยู่หลายอย่างเลยครับ
1. ละครนี้ทำออกมาได้ละมุนละไม น่ารัก ตามปกติละครแนวแต่งงานหลอกๆแบบไทย เราจะได้เห็นนางเอกฉะกับพระเอก เจอครอบครัวพระเอกถากถาง
ปะทะกับนางอิจฉาที่มาชอบพระเอก แต่ในเรื่องนี้ ทุกๆคนดูรักใคร่กลมเกลียว ช่วยเหลือกันมากกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขนาดตัวละคนโพซิม่อน ที่บทเขียนให้มาสู้กับยูริจังเป็นระยะสั้นๆ แต่ก็ถือว่าเป็นนางอิจฉาที่ค่อนข้างซอฟต์ตามมาตรฐานละครไทย
และไปๆมาๆ ก็ดูเหมือนว่าโพซิม่อนแค่มาคุยกับยูริจังเพื่อดูๆว่าเป็นคนอย่างไร พอรู้สึกยอมรับในอีกฝ่ายแล้วก็ถอยออกไป
นอกจากนี้ ตัวละครแต่ละตัวมีมุมน่ารักของตัวเองให้เห็น แม้จะเป็นในระดับตัวละครเล็กๆก็ตาม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นูมาตะซัง และเพื่อนในที่ทำงาน - ดูเหมือนจะเป็นคนชอบจุ้น แต่ทำไปเพราะหวังดี อยากช่วย
ยัซซัง - ตอนแรกโผล่มาช่วงแรก ดูเหมือนเป็นมนุษย์เมียขี้บ่น แถมเป็นอดีตสก๊อย แต่ในขณะเดียวกันก็รักลูก และรักเพื่อนมาก
ลูกน้องผู้หญิงของยูริจัง - ดูเหมือนเป็นคนรุ่นใหม่ที่ทำอะไรไม่เป็น แต่จริงๆแล้วเป็นคนมีความพยายาม กล้าชนคนอื่นเพื่อปกป้องหัวหน้า เป็นคนหัวนอกแต่ไม่เห่อฝรั่ง
ผู้จัดการเรียวกัง - ตอนเอายา"เพิ่มพลังท่านชาย" มาคืนให้พระเอก ก็จัดการห่อผ้ามิดชิดไว้เป็นอย่างดี
2. ในขณะที่เป็นละครรักสไตล์เบาสมอง แต่ในเนื้อเรื่องเองก็หยิบยกประเด็นปัญหาสังคมต่างๆมาสะท้อนให้เห็นได้ในแต่ละตอน โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกยัดเยียด แต่สามารถโดนใจคนดู และทำให้เกิดอารมณ์ร่วม ไม่ได้เอาเรื่องเสื่อมๆแรงๆมาอัดๆแล้วอ้างว่าสะท้อนสังคม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อาทิ
- นักศึกษาจบออกมา แต่หางานดีๆทำไม่ได้ เลยพยายามเรียนต่อโทเพื่ออัพโพรไฟล์ แต่แล้วก็พบว่ามันช่วยอะไรได้ไม่มากเท่าที่คิด ----> อันนี้โดนเข้ากับตัวโดยตรง
- ปัญหาชีวิต Single Mom
- ปัญหาความสัมพันธ์คนวัยเกษียณ ในช่วงก่อนเกษียณ ฝ่ายชายในครอบครัวญี่ปุ่น(โดยเฉพาะก่อนยุคฟองสบู่แตก)สามารถที่จะมีความสุขกับชีวิตช้างเท้าหน้าได้ในระดับหนึ่ง เพราะฝ่ายภรรยาก็พอเข้าใจว่าต้องหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว แต่พอเกษียณแล้ว ฝ่ายชายพยายามใช้ชีวิตแบบช้างเท้าหน้าเหมือนเดิม (อยู่ชิลล์ๆ ไม่ทำงานบ้าน) ก็ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างสามีภรรยา
- ปัญหานักเรียนนอกที่กลับประเทศแล้วมีปัญหาในการปรับตัว
- ปัญหาสังคมชนบท ที่ถึงแม้ชีวิตจะดูสงบสุข แต่ก็ไม่มีตำแหน่งงานให้ทำ
- ปัญหาแวดวงจิตอาสา แสวงประโยชน์จากความหวังดี เห็นเขามาช่วย ก็ขอให้ช่วยเพิ่ม แต่ไม่ให้อะไรตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอัน
3. ยูริจัง เป็นคุณป้าหน้าสวยที่น่ารักทั้งในด้านการทำงาน (ทำงานเก่ง ลูกน้องรัก) และชีวิตส่วนบุคคล
ถ้าผมเองยังคงโสดไปเรื่อยๆจนถึงวัยเฉียดเลขห้าแล้วได้คนแบบยูริจังมาเป็นแฟนก็ยังถือว่าคุ้มค่าการรอคอย
4. ฉากสวีทพระนาง น้อยแต่มากตามแบบฉบับละครญี่ปุ่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ฉากพระเอกกับนางเอกมีอะไรกันเป็นครั้งแรกนี่ทำออกมาน่ารักมาก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อคิดอย่างหนึ่งที่ผมพบจากการดูละครเรื่องนี้ ก็คือคำอธิบายส่วนหนึ่งของปัญหาโลกแตกที่ว่า "ทำไม Nice Guy ถึงอดตลอดศก หรือไม่ก็ได้ลงเอยแต่กับผู้หญิงที่ชอบข่ม เอาแต่ใจ ส่วน Bad boy นี่กลับได้สาวที่ตัวเองชอบมาเป็นแฟนได้สำเร็จเสมอๆ" ครับ โดยสามารถสะท้อนให้เห็นการกระทำของพระเอก และตาหนวด (แต่จะว่าไปอย่างตาหนวดถือเป็น Bad Boy ที่มีจิตใจดีครับ) ตลอดทั้งเรื่อง
1. Nice Guy จะพยายามหา"ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ" บางอย่างมาเป็นฐานในการเริ่มความสัมพันธ์กับคนที่ตัวเองสนใจ
Bad boy สร้างจังหวะให้ตัวเองลุยเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พระเอก ถ้าไม่มีนางเอกมาทำงานด้วย หรือไม่เสนอไอเดียเรื่องสัญญาแต่งงาน ก็คงยากที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ต่อ
ส่วนคาซามิ ตอนสนใจนางเอกก็ตั้งเสนอ แชร์นางเอกขึ้นมาทันที ตอนที่สนใจยูริจัง พอยูริจังมาพาพระเอกที่เมาอยู่กลับบ้าน คาซามิก็กระโดดขึ้นรถตามไปส่งด้วยเลย
2. Nice Guy อาจทำให้ฝ่ายหญิงสับสนได้ว่า "เขาดีกับเราเพราะว่าเขาเป็นคนใจดี หรือว่าชอบเรากันแน่" ส่วน Bad boy จะบอกตรงๆว่าชอบเลย
ได้เป็นได้ อดเป็นอด และสามารถแสดงให้ฝ่ายหญิงเห็นได้ว่าตัวเองดีด้วยในระดับสูงกว่าคนปกติ
3. Nice Guy จะใช้หลักการมากล่าวสนับสนุนสิ่งที่ตัวเองคิด แต่บางทีหลักการก็กลับมาทำร้ายตัวเองได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ อย่างตอนสิบ ผมคิดว่าพระเอกอยากแต่งงานเพราะรักล่ะครับ แต่เพราะด้วยความเจ้าหลักการ เอาเอกสารตัวเลขมาอธิบายตามสไตล์ นางเอกเลยเข้ามองไปว่าพระเอกต้องการลดค่าใช้จ่ายซะงั้น
4. Nice Guy เคารพในการตัดสินใจของอีกฝ่ายมากเกินไป พออีกตีห่าง ก็จะปล่อยไป จะตื๊อก็กลัวว่าไม่เหมาะ ส่วน Bad Boy จะพยายามลุยต่อจนกว่าจะแพ้ แม้จะมีความเสี่ยงที่การตื๊อจะทำให้สถานการณ์แย่ลงก็ตาม แต่การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงอยู่แล้ว
5. Nice Guy พยายามหลีกเลี่ยงการถึงเนื้อถึงตัวฝ่ายหญิง เพราะมองว่าไม่เหมาะสม
ทำให้บางทีผู้หญิงรู้สึกว่าห่างเหิน ส่วน Bad Boy จะพยายามสร้าง Skinship เมื่อมีโอกาสมาถึง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พอยูริจังอ่อนไหว ก็คาเบะด้งทันที
จะว่าไปแล้ว พระเอกถือว่าโชคดีที่ได้ปัจจัยดีๆมาเกื้อหนุน กล่าวคือ นางเอกมีความรู้สึกดีๆด้วยมาตั้งแต่ต้นแล้ว และเป็นผู้หญิงที่ฉลาดพอตัว อีกทั้งยังมีสถานการณ์ที่ทำให้ต้องได้เจอกันทุกวันเสียอีก แต่ถ้าไม่มีปัจจัยเหล่านี้ตอนต้นเรื่องแล้ว การจะได้ลงเอยกับนางเอกนี่ยากมากครับ แต่ก็ดีที่ในระหว่างเรื่อง พระเอกก็เริ่มมากล้าลุย กล้าแสดงความรู้สึก กล้าไล่ตาม เลยทำให้ความสัมพันธ์ของคู่พระนางลงเอยด้วยดี
We married as a Job ละครญี่ปุ่นน่ารักๆ แต่มีชั้นเชิง พร้อมอุทาหรณ์สอน Nice Guy
ที่ญี่ปุ่นก็มีกระแส Koi Dance ที่ก้าวขึ้นมาเป็นที่นิยมไม่แพ้กัน ด้วยท่าเต้นที่น่ารัก ทำนองเพลงที่ฟังแล้ว Feel goodเหล่าแฟนๆได้ทำคลิป Dance Cover เพลงนี้กันมาอย่างมากมาย ชวนให้นึกถึงกระแส Koisuru Fortune Cookie ที่ดังกระฉ่อนในญี่ปุ่นเมื่อสามสี่ปีที่แล้ว ไม่เพียงแค่นั้น เหล่าคนดังอย่างตัว Mascot ของ Sanrio ไปจนกระทั่ง เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำโตเกียวก็ยังออกมาเต้นเพลงนี้เช่นกัน
กระแส Koi Dance นี้นี่เองทำให้ผมได้รู้จักกับละครเรื่อง We married as Job ครับ
มองโดยเผินๆ We married as Job มีพล็อตที่ไม่ได้พิสดารอะไร
เพราะพล็อตที่ว่าฝ่ายชายที่รวยกว่ามาแต่งงานกับฝ่ายหญิงแบบหลอกๆ ด้วยเหตุผลบางอย่างนั้น สามารถเจอได้บ่อยมากในละครไทย แต่พอดูเข้าจริงๆแล้วกลับทำให้ผมติดงอมแงม และประทับใจในการนำเสนอของผู้กำกับครับ สิ่งที่ชอบเกี่ยวกับละครเรื่องนี้ (นอกจากการแสดงของคู่พระนาง และเพลงซึ่งดีมากๆอยู่แล้ว)ก็มีอยู่หลายอย่างเลยครับ
1. ละครนี้ทำออกมาได้ละมุนละไม น่ารัก ตามปกติละครแนวแต่งงานหลอกๆแบบไทย เราจะได้เห็นนางเอกฉะกับพระเอก เจอครอบครัวพระเอกถากถาง
ปะทะกับนางอิจฉาที่มาชอบพระเอก แต่ในเรื่องนี้ ทุกๆคนดูรักใคร่กลมเกลียว ช่วยเหลือกันมากกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นอกจากนี้ ตัวละครแต่ละตัวมีมุมน่ารักของตัวเองให้เห็น แม้จะเป็นในระดับตัวละครเล็กๆก็ตาม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. ในขณะที่เป็นละครรักสไตล์เบาสมอง แต่ในเนื้อเรื่องเองก็หยิบยกประเด็นปัญหาสังคมต่างๆมาสะท้อนให้เห็นได้ในแต่ละตอน โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกยัดเยียด แต่สามารถโดนใจคนดู และทำให้เกิดอารมณ์ร่วม ไม่ได้เอาเรื่องเสื่อมๆแรงๆมาอัดๆแล้วอ้างว่าสะท้อนสังคม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. ยูริจัง เป็นคุณป้าหน้าสวยที่น่ารักทั้งในด้านการทำงาน (ทำงานเก่ง ลูกน้องรัก) และชีวิตส่วนบุคคล
ถ้าผมเองยังคงโสดไปเรื่อยๆจนถึงวัยเฉียดเลขห้าแล้วได้คนแบบยูริจังมาเป็นแฟนก็ยังถือว่าคุ้มค่าการรอคอย
4. ฉากสวีทพระนาง น้อยแต่มากตามแบบฉบับละครญี่ปุ่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อคิดอย่างหนึ่งที่ผมพบจากการดูละครเรื่องนี้ ก็คือคำอธิบายส่วนหนึ่งของปัญหาโลกแตกที่ว่า "ทำไม Nice Guy ถึงอดตลอดศก หรือไม่ก็ได้ลงเอยแต่กับผู้หญิงที่ชอบข่ม เอาแต่ใจ ส่วน Bad boy นี่กลับได้สาวที่ตัวเองชอบมาเป็นแฟนได้สำเร็จเสมอๆ" ครับ โดยสามารถสะท้อนให้เห็นการกระทำของพระเอก และตาหนวด (แต่จะว่าไปอย่างตาหนวดถือเป็น Bad Boy ที่มีจิตใจดีครับ) ตลอดทั้งเรื่อง
1. Nice Guy จะพยายามหา"ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ" บางอย่างมาเป็นฐานในการเริ่มความสัมพันธ์กับคนที่ตัวเองสนใจ
Bad boy สร้างจังหวะให้ตัวเองลุยเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. Nice Guy อาจทำให้ฝ่ายหญิงสับสนได้ว่า "เขาดีกับเราเพราะว่าเขาเป็นคนใจดี หรือว่าชอบเรากันแน่" ส่วน Bad boy จะบอกตรงๆว่าชอบเลย
ได้เป็นได้ อดเป็นอด และสามารถแสดงให้ฝ่ายหญิงเห็นได้ว่าตัวเองดีด้วยในระดับสูงกว่าคนปกติ
3. Nice Guy จะใช้หลักการมากล่าวสนับสนุนสิ่งที่ตัวเองคิด แต่บางทีหลักการก็กลับมาทำร้ายตัวเองได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. Nice Guy เคารพในการตัดสินใจของอีกฝ่ายมากเกินไป พออีกตีห่าง ก็จะปล่อยไป จะตื๊อก็กลัวว่าไม่เหมาะ ส่วน Bad Boy จะพยายามลุยต่อจนกว่าจะแพ้ แม้จะมีความเสี่ยงที่การตื๊อจะทำให้สถานการณ์แย่ลงก็ตาม แต่การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงอยู่แล้ว
5. Nice Guy พยายามหลีกเลี่ยงการถึงเนื้อถึงตัวฝ่ายหญิง เพราะมองว่าไม่เหมาะสม
ทำให้บางทีผู้หญิงรู้สึกว่าห่างเหิน ส่วน Bad Boy จะพยายามสร้าง Skinship เมื่อมีโอกาสมาถึง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะว่าไปแล้ว พระเอกถือว่าโชคดีที่ได้ปัจจัยดีๆมาเกื้อหนุน กล่าวคือ นางเอกมีความรู้สึกดีๆด้วยมาตั้งแต่ต้นแล้ว และเป็นผู้หญิงที่ฉลาดพอตัว อีกทั้งยังมีสถานการณ์ที่ทำให้ต้องได้เจอกันทุกวันเสียอีก แต่ถ้าไม่มีปัจจัยเหล่านี้ตอนต้นเรื่องแล้ว การจะได้ลงเอยกับนางเอกนี่ยากมากครับ แต่ก็ดีที่ในระหว่างเรื่อง พระเอกก็เริ่มมากล้าลุย กล้าแสดงความรู้สึก กล้าไล่ตาม เลยทำให้ความสัมพันธ์ของคู่พระนางลงเอยด้วยดี