(Re - Post) เกี่ยวกับการ Re - Branding ช่อง 7 // มีคำถามอื่นๆด้วย

กระทู้สนทนา
ที่จริงกระทู้นี้ จขกท. ตั้งไว้ตั้งแต่เมื่อวาน หวังว่าจะเห็นคนมาพูดคุยหรือถกเถียงกัน แต่ว่าผิดคาด กลับมีคนมาตอบน้อยมาก
คิดว่าช่วงเวลาที่โพสต์อาจไม่เหมาะ (คนยังทำงานอยู่) เลยมาตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่า
หรือถ้าจะมองแง่ร้ายเลย คนเราถ้าไม่อวยอย่างเดียวก็ด่าอย่างเดียว กระทู้แบบนั้นคนชอบ แต่พอจะให้มาคุยกันถกกันจริงจังกลับไม่มีใครสนใจ

เรื่องของเรื่องคือ จขกท. ไปอ่านเจอความคิดเห็นของผู้ชมท่านหนึ่งเกี่ยวกับช่องเจ็ดมา ประมาณว่า "ใจจริงก็คิดถึงเรื่องการ Re - Branding ของช่องเหมือนกัน แต่ก็คิดเหมือนกันว่า ถ้า Re - branding ไปแล้วผู้ชม,กลุ่มคนดูเดิมจะเสียหรือเปล่า"

เห็นคำถามนั้นแล้ว จขกท.เลยอยากตั้งกระทู้ให้แฟนๆช่องมาถกเถียงในประเด็นนี้กันดู

เกี่ยวกับการ Re Branding ช่องเจ็ดนั้น หลายคนมองว่ามีความจำเป็น เนื่องจากในปัจจุบันช่องนี้ค่อนข้างมีภาพลักษณ์ที่เป็นลบในหมู่ชนชั้นกลาง วัยรุ่นคนเมืองที่ (ทั้งเป็นจริงและอวดอ้างตัวเองว่า) มีการศึกษา
แม้ว่าในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา (น่าจะประมาณปลายปี 2013 - ต้น 2014) ช่องจะยกระดับละคร แก้ไขข้อบกพร่อง พัฒนาโปรดัคชั่น,บท หรือการแคสท์อะไรไปมาก และสามารถเรียกศรัทธากลับมาได้บ้างก็ตาม จากการที่มีกระแสมากขึ้นในโลกออนไลน์ ทว่าภาพลักษณ์ที่เป็นลบ ซึ่งเริ่มจากช่วงที่ช่อง Decline (ตั้งแต่ช่วงประมาณปี 2008 - ประมาณปี 2012) นั้นก็ยังไม่หายไปง่ายๆ อีกทั้งคนกลุ่มดังกล่าว ยังมีอาวุธที่สำคัญอยู่ในมือ ที่เรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" อยู่ในมือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้สร้างกระแสได้ง่าย ก็ยิ่งทำให้ภาพลบนี้ยังไม่หายไปง่ายๆ

ดังนั้น การ Re - Branding ที่หลายคนพูดถึง ก็อาจมีความหมายคือ การปรับภาพลักษณ์ให้ช่องดึงดูดคนกลุ่มนี้ได้มากขึ้น ภาพลักษณ์ดีขึ้นเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิมในอดีต ยุคที่หลายคนมองว่ารุ่งเรืองนั่นเอง

ก่อนที่จะพูดอะไรต่อไป จขกท. ขอกล่าวถึงความคิด ความเชื่ออะไรที่อาจจะผิดของบางส่วนในสังคมหน่อย ที่คนในสังคมสมัยนี้มองว่า อะไรที่เป็นอินเทอร์เน็ต คือส่วนใหญ่ของสังคมแล้ว คืออะไรที่สุดของสังคมแล้ว อะไรที่ไม่อยู่ในอินเทอร์เน็ต จะไม่อยู่ในกระแสธารแห่งการรับรู้ใดๆทั้งสิ้น

จขกท.เห็นกระทู้หนึ่งพูดประมาณว่า "ช่องน่าจะทำตามความนิยมของคนส่วนใหญ่มากกว่า"
คำถามคือ ส่วนใหญ่ที่ว่านี้ คือส่วนใหญ่ของตรงไหน ของประเทศ หรือของโลกออนไลน์ ที่บางคนคิดว่าคือทั้งหมดแล้ว
ถ้าหมายถึงโลกออนไลน์ จขกท. ว่าบางทีอินเทอร์เน็ตก็อาจเป็น "ภาพลวง" ที่ทำให้เราคิดไปว่า การที่อะไรมันไม่อยู่ในเน็ต มันจะไม่อยู่ในกระแสการรับรู้อะไรเลย ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่ เนื่องจากในไทยยังมีผู้ที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่อีกเป็นจำนวนมาก
(อันนี้อาจารย์ท่านหนึ่งของผู้เขียนพูดเหมือนตัดพ้อ คือการเรียนในคณะของ จขกท.ต้องติดตามข่าวสารตลอด ว่านี่ไม่อ่าน นสพ. หรือดูทีวีเลยเหรอ ถ้าไม่แล่นผ่าน Newsfeed นี่จะไม่รู้เลยเหรอ แกก็ไม่ใช่อายุมาก ประมาณสามสิบกว่า Gen ก็ไม่น่าจะห่างจากนักศึกษามาก)

โดยตัวเลขของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยในปี 2016 นั้น มีอยู่ที่อัตราส่วนราว 42% จากลิงค์นี้
http://www.internetlivestats.com/internet-users-by-country/
สำหรับ Criteria ในการวัดต่างๆ อาจอ่านได้จากลิงค์นี้ http://www.internetlivestats.com/internet-users/

อีกแหล่งหนึ่งก็กล่าวว่ามีถึงกว่า 60%
http://www.internetworldstats.com/top20.htm
โดยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยนั้นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆตามการสำรวจของ World Bank ที่ลิงค์นี้ http://data.worldbank.org/indicator/IT.NET.USER.P2?end=2015&locations=TH&start=1960

จากกรณีดังกล่าว ทำให้เราอาจไม่สามารถสรุปได้ว่า อะไรที่ไม่ใช่เน็ตนั้น จะสามารถถูกละเลยได้ หรือการใช้การวัดอะไรผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลักนั้นเป็นเรื่องที่ถูก ในขณะนี้ที่ไทยยังเป็นประเทศที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังไม่ได้เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ (ไม่ถึง 65 - 70% ของประชากร) หรือยังมีประชากรกลุ่มที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่เป็นจำนวนมาก (มากกว่า 10% ของประชากร)
และ จขกท. มองว่า แม้ว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะมากกว่านี้ จนเต็ม 100% ก็ไม่ควรละเลยคนดูกลุ่มที่ไม่ได้ใช้เน็จ
ในความเป็นจริง จขกท.เป็นคนหนึ่งในรุ่นปัจจุบันนี้ที่โตมากับอินเทอร์เน็ตเหมือนกัน แต่ จขกท. ว่า เราไม่ควรวัดความนิยมหรืออะไรผ่านทางเน็ตอย่างเพียวๆ ควรจะวัดทั้งอินเทอร์เน็ต และเลขจริงไปด้วยเลย ไม่อย่างนั้นมันจะดูไม่ค่อยเป็นธรรมกับคนที่เขาไม่ได้เล่นเน็ตหรือไม่มีโอกาสได้ใช้
(แม้ว่าหลายคนจะอ้างว่าคนเข้าถึงเน็ตได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ทุกยุคทุกสมัยย่อมมีคนด้อยโอกาสอยู่เสมอ)

ตรงนี้คิดถึงกระทู้หนึ่งที่พูดถึงการแคสท์ละครเรื่องหนึ่ง ที่มีนักแสดงน้องใหม่มาจากรายการเรียลลิตีความงามรายการหนึ่ง และ จขกท.นั้นบอกว่าทำไมไม่ให้รับบทนำหรือเป็นนางเอกเลย เพราะเขาดังมาก (กระทู้นั้นอ้างนะ) แบบว่าเพื่อนเขาจะกลับมาดูช่องนี้เพราะคนนี้เลย จขกท.เองไม่ได้ไปตอบ แต่มีหลายคอมเม้นท์บอกว่าอย่าเลย เพราะคนใหม่นั้นเขามาคนละสายกับนักแสดง การพูดแบบนั้นอาจจะทำให้ตัวน้องใหม่เองโดนว่าเปล่าๆ อีกทั้งรายการนั้นก็เด่นดังในกลุ่มคนที่สนใจ ที่เป็นคนใช้เน็ต ทำให้อาจดูเหมือนว่าเป็นกลุ่มใหญ่ ที่จริงอาจจะไม่ใช่ก็ได้

กับอีกกระทู้หนึ่ง ที่บอกว่า ทำไมไม่ทำให้ดูง่ายๆ คน ตจว.เขาจะได้ดูออนไลน์ได้ง่าย คือเขาจะรู้ไหมว่า คน ตจว.จำนวนมากก็ไม่ได้เล่นอินเทอร์เน็ตด้วยซ้ำ จะมาอ้างแบบนั้นไม่น่าจะถูก

กลับมาที่ช่องเจ็ดต่อ เรื่องการ Re branding หรือปรับปรุงของช่องนั้น สิ่งที่อาจทำได้คือทำละครโปรดัคชัน,บทดีขึ้นดังที่พยายามทำอยู่ ทำรายการเกมโชว์ เรียลลิตีที่มีฐานคนดูหนานแน่นมากขึ้น รวมทั้งการทำดังต่อไปนี้
1.ทำรายการที่ตอบสนองคนดูกลุ่มใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะละครหรือซีรีย์
2.เน้นผู้ชมทางออนไลน์มากขึ้น

นอกจากนี้ จขกท. มี 3 Scenarios หลักที่อยากจะลองยกตัวอย่างดู ว่าช่องควรจะเป็นแบบไหน
ก่อนจะกล่าวถึง Scenario ขอกล่าวถึงคำจำกัดความบางคำดังต่อไปนี้
กลุ่มคนดูเดิม: หมายถึงกลุ่มคนดูเดิมของช่อง ที่มักมีฐานในต่างจังหวัดมากกว่า ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความต้องการที่อาจไม่มากนักเท่ากับกลุ่มที่สอง แต่ว่าก็ต้องพัฒนารูปแบบให้ดูดี ถูกใจมากขึ้นด้วยเช่นกัน

กลุ่มคนดูใหม่: หมายถึงกลุ่มคนดูใหม่ที่หลายคนอยากให้ช่องหันมาเจาะตลาดในส่วนนี้บ้าง มักเป็นกลุ่มที่มีภาพลักษณ์ที่เป็นลบกับช่อง ดังที่กล่าวไปแล้วตั้งแต่ตอนต้น
คนดูกลุ่มนี้ ลักษณะพิเศษคือ เวลาดูอะไร ต้องให้เป๊ะ ปัง ตั้งแต่แรกที่เห็น มีคนพูดตอบในกระทู้หนึ่งที่ว่าเป็นอาการสมาธิสั้นของคนดูยุคใหม่ ที่จะไม่ดูอะไรแบบนานๆ ต้องแบบตีหัวเข้าถ้ำเลย คำว่า "อย่าตัดสินหนังสือที่ปก" อาจใช้ไม่ได้แล้วกับคนยุคปัจจุบัน (ซึ่งเป็นความจริงที่น่าเศร้า)

และอีกอย่างคือต้องลงย้อนหลังให้ดูง่ายๆ ดูได้ทุกทึ่ ทุกสถานการณ์ (ยกเว้นกรณีโดนโจมตีด้วย EMP) ซึ่งเว็บ yt เป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุด รองลงมาคือ LineTV (จนบางทีทำให้สงสัยนะว่าทำไมคนที่อ้างว่าเป็นชาวเน็ตยุคไอทีกลับรู้จักแค่ yt เป็นเว็บเดียวที่ดูวิดิโอได้ แล้ว Search Engine เขาจะมีไว้ทำ Spear อะไร) และคำว่าง่ายนี้คือ ง่ายขนาดที่ว่า การพิมพ์หานั้นเป็นของแสลง ต้องลงเป็น Playlist เรียงต่อกัน
แบบใช้แค่หัวแม่เท้าคลิกก็ดูได้ ไม่ต้องเสิร์ชหาเลย นอนดูอย่างเดียว เอาอย่างนั้นเลย สังเกตได้จากหลายคลิปใน yt ที่พอจะดูต่อ กลับมีความเห็นประมาณว่า ตอนต่อไปอยู่ไหน คือพวกเขาจะไม่รู้เลยหรือว่า แถบด้านบนไม่ได้มีไว้เล่นวินด์เซิร์ฟ ใช้มันหาสิ กว่าจะรอคนมาตอบ ใช้นี้หาก็อาจเจอก่อนแล้ว
(เคยอ่านเจอความเห็นหนึ่งบอกว่าดูย้อนหลังของช่องมันยากถึงขนาดใช้คำว่า "กระยิ้มกระสน" เลยทีเดียว)
และสื่อบันเทิงต้องเน้นจิ้น ฟิน ความสมจริง เอาความฟิน ต้องเอาส่วนนี้นำ ในการนำเสนอแก่นเรื่อง สาระ หรือความรู้ต่างๆ
ถ้าไม่มีส่วนนี้ก็ยากที่คนรุ่นใหม่จะสนใจ และต้องเปิดกว้างในประเด็นเรื่องความรัก วัยรุ่น หรือ LGBT (ซึ่งละครรูปแบบเดิมก็มีคนกลุ่มนี้ แต่อาจไม่ได้มีบทหลัก และมักเน้นไปในทางตลกโปกฮามากกว่า)
ซึ่งกลุ่มคนดูกลุ่มใหม่ที่สร้างกระแสได้นั้น มักเป็น "ผู้หญิง" เป็นหลัก การปั้นพระเอกตามกระแสนิยมให้เยอะขึ้นจึงจำเป็น จากที่มีหลายคนตั้งกระทู้บ่นไป
(เคยอ่านมาว่ากลุ่ม ผช ที่ดูช่องนี้ก็เยอะเหมือนกัน เพียงแต่จะเน้นที่บู๊ และไม่มาตั้งกระทู้เม้ามอยหรือพูดคุยอะไรกันบ่อยแบบผู้หญิง เลยดูเหมือนไม่มีกระแสอะไร)
และกระแสเป็นเรื่องใหญ่มาก ในคนดูกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกระแสออนไลน์ ดังนั้น รายการของคนกลุ่มนี้ ต้องโปรโมทให้หนักทางออนไลน์ ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่รู้เลย

Scenario ของ จขกท.มีดังต่อไปนี้
1.ช่องยังคงพัฒนาละครแนวที่ตนถนัดต่อไป กลุ่มคนดูเดิมต่อไป เพิ่มกลุ่มคนดูใหม่บ้าง
จขกท. มองว่าปัจจุบันช่องกำลังอยู่ในรูปแบบนี้อยู่ ที่ในปัจจุบันช่องเริ่มหันมาเอาคนดูกลุ่มใหม่บ้าง เช่นละครอย่าง กาลครั้งหนึ่งในหัวใจ ซึ่งช่องควรมีละครเรียกกระแสอย่างนี้ปีละประมาณเรื่องสองถึงสามเรื่อง ไม่มากไม่น้อยเกินไป เสมือนว่าเป็นการดึงคนกลุ่มใหม่มาเป็นพันธมิตรบ้าง จนไม่เหมือนว่าเป็นการละเลยจนเกินไป

2.ช่องหันมาเน้นกลุ่มใหม่อย่างเต็มที่ อันนี้หลายคนเชียร์ให้ช่องทำมาก ซึ่ง จขกท. มองว่า มันก็สามารถทำได้ ถ้าช่องต้องการจะทำ
แต่มันก็อาจทำให้สโลแกนของช่องที่ผ่านมาว่า "ทีวีเพื่อคุณ" นั้น หมดความหมายลงไป เพราะว่า "คุณ" นั้นมีหลายประเภทในประเทศนี้ ถ้ามาเน้น "คุณ" เพียงกลุ่มเดียวที่หลายคนต้องการ แล้ว "คุณ" อื่นๆ จะดูอะไร จะให้เขาหักดิบเปลี่ยนสไตล์เลยไหม หรือว่าให้เขาไม่มีทางเลือกใดๆเลย
(ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องรุ่นของคนหรือ Generation Shift นั้นมีผลต่อรสนิยม ทว่าเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป)

3.ช่องหันมาเน้นกลุ่มใหม่ และรักษาฐานคนดูเดิมไปด้วย
อันนี้เป็นโจทย์ที่ จขกท. และเชื่อว่าหลายคนคิดเหมือนกันว่า ควรทำมากที่สุด แต่ก็เป็นโจทย์ที่ทำได้ยากที่สุดเช่นกัน
เป็นโจทย์ที่ จขกท. มองว่า อุปสรรคอย่างหนึ่งคือ คอนเทนท์ของช่องในโทรทัศน์ช่องเดียวไม่น่าพอ เท่าที่เห็นรายการที่เจาะกลุ่มคนดูใหม่มักเป็นตอนกลางคืนที่ค่อนข้างดึกมาก ถ้าจะหันมาเจาะกลุ่มใหม่ให้เท่าเทียมกับกลุ่มเก่าเลย อาจจำเป็นต้องประมูลโทรทัศน์เพิ่มขึ้นอีกช่อง สำหรับอัดคอนเทนท์รายการรูปแบบใหม่ๆลงไป

โดยส่วนตัว Prefer แบบที่ 1 กับ 3 มากกว่า แม้ว่าคนกลุ่มใหม่จะพัฒนาไปมากขนาดไหน แต่คนกลุ่มเก่าก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่อัตราส่วนอาจจะลดลงเรื่อยๆ ควรจะเน้นทั้งสองกลุ่มมากกว่า แล้วค่อยๆปรับเป็นกลุ่มใหม่มากขึ้นเมื่อ Gen ใหม่นั้นเริ่มแทนที่ Gen เก่าแล้ว
อีกอย่างคือ ช่องควรทำแนวที่ตนถนัด ในรูปแบบที่พัฒนามากขึ้น สมจริงมากขึ้นดีกว่า
ดีกว่าไปทำแนวที่อาจจะไม่คุ้น และอาจทำได้ไม่ดี เท่ากับช่องเฉพาะทางที่เขามีไว้ตอบสนองลูกค้าเฉพาะทางอยู่แล้ว

ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม จขกท.ก็เชื่อว่าทั้งทางช่องและส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุดแล้ว
และอีกประการคือ อยากให้ช่องเน้นคนดูในต่างประเทศ ทั้งคนไทยในต่างประเทศเองและชาวต่างชาติ เพิ่มขึ้นด้วย

เนื่องจากโควต้าจำกัดจำนวนกระทู้ไม่เกิน 4 กระทู้ต่อวัน และ จขกท. มีจะตั้งกระทู้อื่นๆด้วย
เลยอยากถามอีกสองคำถามในกระทู้นี้เลย ดังนี้
1.จขกท. (และอีกหลายๆท่านอาจเป็นเหมือนกัน) สังเกตมานานแล้วว่า ทุกครั้งที่เวลาช่อง 7 มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรตติ้งหรืออะไร ตลอดช่วงสองวันต่อจากนั้นหรือนานกว่า จะมีกระทู้แนวลบเกี่ยวกับช่องตามมาอีกมากมาย คิดว่าเป็นไปได้ไหม ที่มันจะเป็นเรื่องบังเอิญ
2.เกี่ยวกับการย้อมสีของดีด้าหลังเปลี่ยนมาใช้กล้อง 4K แฟนๆชอบแบบไหนกัน ระหว่างย้อมสีกับไม่ย้อมสี
คือเห็นในพันทิปบางท่านบอกว่าย้อมทำไม แบบนี้สวยอยู่แล้ว แต่ในที่อื่นๆเช่นใน yt อยากให้ย้อมกัน เท่าที่อ่านในคอมเม้นท์มา
ชอบแบบไหนมากกว่ากัน

ใครคิดเห็นอย่างไรลองมาแสดงความเห็นกันดูจ้า
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่