คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
การทำรั้วในแบบที่ผมเคยเห็น
ผมเคยเห็นผู้รับเหมาทำรั้วอยู่ 2 แบบคือ
- เทคานล่างและตั้งเสาทุกต้นเสร็จก่อนจึงก่อกำแพง
- เทคานล่างอย่างเดียว แล้วก่ออิฐเป็นกำแพงบนคาน โดยเว้นช่องว่างระหว่างเสาไว้
เมื่อก่อกำแพงเสร็จจึงมาเข้าแบบคอนกรีตเตรียมเทเสา
ซึ่งความแตกต่างกันตรงนี้ จะมีผลต่อการวางท่อร้อยสาย
ถ้าช่างทำรั้วแบบแรก คือเทคานเสร็จแล้ว จึงทำเสาทุกต้นก่อนจึงก่อกำแพง
ช่างไฟฟ้าต้องเตรียมงานดังรูป เพื่อวางท่อร้อยสายขนาด 3/8 นิ้วจำนวน 2 เส้น ให้อยู่ภายในปลอกเหล็กของเสา
โดยวางท่อราบไปกับคาน และดัดโค้งดังรูป เผื่อปลายท่อยาวพ้นเสาประมาณ 2 นิ้วให้อยู่ใต้ฐานของโคมไฟพอดี
ทำเช่นนี้จนครบทุกต้น หลังจากทำเสร็จแล้ว ไม่ว่าจะกี่ปีผ่านไป ถ้าต้องการรื้อสายไฟเพื่อซ่อมแซม ก็สามารถทำได้ตามต้องการ
วิธีนี้ จะทำให้การเข้าแบบเสานั้นง่าย คนที่เข้าแบบหล่อเสาไม่ค่อยงอแงมากนัก แต่จะเปลืองท่อเนื่องจากระยะทางค่อนข้างมาก
แต่ถ้าช่างทำรั้วแบบที่สอง ก็สามารถจะทำแนวท่อบนทับหลังได้ด้วยวิธีเดียวกัน อาจช่วยประหยัดท่อได้บ้าง
แต่ช่างไฟจะทำงานยากขึ้น เพราะต้องรอทำกำแพงก่อน แล้วจึงวางท่อทับอิฐบล๊อค โดยผูกท่อเข้าโครงเหล็กของทับหลังก็ได้
แต่ต้องมั่นใจว่า จะไม่มีการเจาะทับหลังเพื่อติดตั้งโครงเหล็กใด ๆ ที่อาจทะลุไปถูกท่อร้อยสายได้นะครับ
ท่อทั้งสองที่อยู่ในปลอกเหล็กของเสา ควรมัดติดกันตลอดตวามยาวของท่อ เพื่อช่วยในการประคองแนวท่อให้ตรงอยู่เสมอ
และพยายามจัดให้ท่ออยู่กึ่งกลางให้มากที่สุด จะช่วยป้องกันความเสียหายจากการเจาะใด ๆ ที่เสาได้ครับ
ระวังเศษปูนลงไปติดค้างในท่อด้วย และไม่ควรใช้ข้อต่อโค้งเพราะจะทำให้ร้อยสายยาก ดัดด้วยสปริงโดยมีรัศมีความโค้งเป็น 3 เท่าของความโตท่อ
ก็ไม่มีปัญหาในการร้อยสายแล้วครับ
ผมเคยเห็นผู้รับเหมาทำรั้วอยู่ 2 แบบคือ
- เทคานล่างและตั้งเสาทุกต้นเสร็จก่อนจึงก่อกำแพง
- เทคานล่างอย่างเดียว แล้วก่ออิฐเป็นกำแพงบนคาน โดยเว้นช่องว่างระหว่างเสาไว้
เมื่อก่อกำแพงเสร็จจึงมาเข้าแบบคอนกรีตเตรียมเทเสา
ซึ่งความแตกต่างกันตรงนี้ จะมีผลต่อการวางท่อร้อยสาย
ถ้าช่างทำรั้วแบบแรก คือเทคานเสร็จแล้ว จึงทำเสาทุกต้นก่อนจึงก่อกำแพง
ช่างไฟฟ้าต้องเตรียมงานดังรูป เพื่อวางท่อร้อยสายขนาด 3/8 นิ้วจำนวน 2 เส้น ให้อยู่ภายในปลอกเหล็กของเสา
โดยวางท่อราบไปกับคาน และดัดโค้งดังรูป เผื่อปลายท่อยาวพ้นเสาประมาณ 2 นิ้วให้อยู่ใต้ฐานของโคมไฟพอดี
ทำเช่นนี้จนครบทุกต้น หลังจากทำเสร็จแล้ว ไม่ว่าจะกี่ปีผ่านไป ถ้าต้องการรื้อสายไฟเพื่อซ่อมแซม ก็สามารถทำได้ตามต้องการ
วิธีนี้ จะทำให้การเข้าแบบเสานั้นง่าย คนที่เข้าแบบหล่อเสาไม่ค่อยงอแงมากนัก แต่จะเปลืองท่อเนื่องจากระยะทางค่อนข้างมาก
แต่ถ้าช่างทำรั้วแบบที่สอง ก็สามารถจะทำแนวท่อบนทับหลังได้ด้วยวิธีเดียวกัน อาจช่วยประหยัดท่อได้บ้าง
แต่ช่างไฟจะทำงานยากขึ้น เพราะต้องรอทำกำแพงก่อน แล้วจึงวางท่อทับอิฐบล๊อค โดยผูกท่อเข้าโครงเหล็กของทับหลังก็ได้
แต่ต้องมั่นใจว่า จะไม่มีการเจาะทับหลังเพื่อติดตั้งโครงเหล็กใด ๆ ที่อาจทะลุไปถูกท่อร้อยสายได้นะครับ
ท่อทั้งสองที่อยู่ในปลอกเหล็กของเสา ควรมัดติดกันตลอดตวามยาวของท่อ เพื่อช่วยในการประคองแนวท่อให้ตรงอยู่เสมอ
และพยายามจัดให้ท่ออยู่กึ่งกลางให้มากที่สุด จะช่วยป้องกันความเสียหายจากการเจาะใด ๆ ที่เสาได้ครับ
ระวังเศษปูนลงไปติดค้างในท่อด้วย และไม่ควรใช้ข้อต่อโค้งเพราะจะทำให้ร้อยสายยาก ดัดด้วยสปริงโดยมีรัศมีความโค้งเป็น 3 เท่าของความโตท่อ
ก็ไม่มีปัญหาในการร้อยสายแล้วครับ
แสดงความคิดเห็น
การเดินสายไฟไปกับรั้ว เราควรใช้วิธีใดครับ
แบบที่ 1. เอาสายไฟใส่ท่อ แล้วเทไปพร้อมคาน และเสา โผล่ปลายสายไฟที่เสา
แบบที่ 2. เดินแยกต่างหาก
เราควรเลือกแบบไหนครับ หรือมีวิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า
ปล. ผมไม่ใช่ช่างหรือเรียนมาด้านนี้นะครับ