คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
มันแยกย่อยออกเป็นหลายจำแนก ในที่นี้จะขอแจงเป็นอย่างละแบบ การทำบุญเพราะอยากได้บุญใหญ่หรืออานิสงส์แรง
1.ผู้รับจะต้องบริสุทธิ์ (ยิ่งพระปฏิบัติดีอานิสงส์จะยิ่งทวีสูง เช่น การถวายทานให้พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ อานิสงส์ย่อมแรงกว่าถวายให้พระสมมติสงฆ์อยู่แล้ว)
2.ของถวายจะต้องบริสุทธิ์ (ไม่ใช่ของสะอาดที่เราเข้าใจ เช่น แม้ข้าวที่เราเผลอทำตกดินแล้ว แต่ตั้งใจใส่บาตรพระด้วยเมตตา อานิสงส์ย่อมแรงกว่าข้าวที่ไปขโมยมาใส่บาตร เพราะงั้น คำว่า "บริสุทธิ์" ในที่นี้หมายถึงการได้ของถวายมาโดยชอบ โดยถูกต้อง เหมือนตอนที่พระโมคคัลลานะรับบิณฑบาตคนเป็นโรคเรื้อนที่ใส่ข้าวปั้นหนึ่ง ท่านยังยินดีถลาตัวลงไปนั่งคลุกดินแล้วกินข้าวที่ชายโรคเรื้อนถวาย ณ ตรงนั้นเลย แสดงให้เห็นว่าท่านไม่มีความรังเกียจแม้ของสกปรก แต่จิตใจที่ชายโรคเรื้อนตั้งใจถวาย อานิสงส์มหาศาลมาก)
3. ผู้ให้จะต้องบริสุทธิ์ (จิตที่ตั้งใจถวายยิ่งทำให้อานิสงส์แรงกว่าทุกข้อ แม้ว่ากำลังถวายข้าวให้พระพุทธเจ้า แต่จิตคิดไม่อยากให้ คิดนึกเสียดายของนั้นๆ จำใจถวาย หรือไม่ตั้งใจถวาย อานิสงส์ย่อมถดถอยลงไปโดยแน่แท้ เพราะงั้น ผู้ให้ เวลาจะถวายทานหรือใส่บาตร ควรตั้งใจให้โดยปราศจากอคติ หรือปราศจากความละโมบ ให้โดยไม่หวังผล ไม่ขออย่างนั้นอย่างนี้ ให้เพราะเมตตา ให้เพราะอยากให้พระฉัน อานิสงส์จะมหาศาลดมาก กรณีนี้สวนทางกับธรรมกายแบบสุดๆ (อิอิ พูดแล้วของขึ้น คือแบบชิตังเม โป้งเลยอ่ะ 5555) เพาะแม้คุณจะมีเงินบาทเดียว แต่จิตตั้งใจถวายเป็นค่าน้ำค่าไฟวัด กุศลกรรมจะมหาศาลมาก มากกว่าที่ถวายเงินล้านหนึ่งให้วัด แต่จิตตอนถวายกลับฟุ้งซ่าน เผลอๆให้เพราะอยากได้ชื่อเสียง ให้คนเยินยอ อันนั้นกุศลที่ว่าแรงๆ ลดลงเลย)
อีกประเด็นคือ การถวายสังฆทาน สังฆทาน ไม่ใช่ถังเหลืองๆที่เราเห็นกัน สังฆทานคืออะไรก็ได้ ที่เราตั้งใจถวายให้ "หมู่สงฆ์" ไม่ใช่ถวายเจาะจงสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง การถวายเจาะจงสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งได้บุญ...แต่อาจไม่มากเหมือนถวายสังฆทาน ถ้าถวายของต่างๆเพื่อให้สงฆ์ใช้ด้วยกัน (สังฆทาน) จะได้บุญมาก เช่น ถวายผงซักผ้าให้สงฆ์ใช้ร่วมกัน ถวายถ้วยชามให้วัด ถวายไตรจีวร ถวายเครื่องใช้อุปโภคบริโภค อื่นๆ
แต่ประเด็นในกรณีที่ จขกท. กว่าวมานั้น การทำบุญกับวัดบ้าน ไม่ใช่วัดป่าปฏิบัติเคร่งครัดอะไร ส่วนตัวคิดว่า ผู้ถวายอาจยังมีความเป็นผู้ ตกอยู่ในความ "อยาก" อยู่ ในกรณีนี้คือ เราอาจคิดว่า ถ้าเราไม่ถวายให้วัดป่าและมาทำบุญกับวัดบ้าน เราอาจไม่ได้บุญเยอะพอ นี่เรายังเป็นผู้ติดในความอยาก ฉะนี้ เพราะงั้น ถ้าผู้ถวายมีจิตเมตตา อานิสงส์ก็แรงอยู๋แล้ว ยิ่งถวายให้พระวัดปฏิบัติ ยิ่งแรงขึ้น ผมมองว่า ถ้าเราไปทำบุญกับวัดปฏิบัติอย่างเดียว วัดบ้านคงไม่รอด เราในฐานะชาวพุทธ ควรให้ความสำคัญทั้ง "ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ(ผลจากทั้งทองข้อข้างต้น)" คือ ทำบุญให้ทั้งพระที่ท่านเรียนธรรม-บาลี และพระที่ท่านปฏิบัติไปพร้อมๆกัน พยายามอย่าแบ่งแยก เพราะปริยัติกับปฏิบัติเป็นเหมือนปีกทั้งสองข้างของพุทธศาสนาที่ต้องดำเนินไปด้วยกัน พระหนุ่มเณรน้อยที่ท่านเรียนบาลีเรียนนักธรรม อาจจะอดตายได้ ถ้าเราปล่อยปละละเลยวัดบ้าน
ส่วนตัวผมก็ทำทั้งสองไปพร้อมๆกันนะครับ มีโอกาสไปเยี่ยมครูบาอาจารย์ทางอีสานก็ไปทำบุญด้วย พอกลับมาบ้านก็ใส่บาตรถวายสังฆทานที่วัดบ้านด้วย (อาจจะไม่ทุกวันหรือไม่บ่อย) แต่ก็จะพยายาม ในฐานะผู้ที่เคยบวชเรียนมาก่อน ไม่ใช่เพราะอยากได้บุญเกินไป แต่อยากช่วยพุทธศาสนาทางการอุปถัมภ์คุ้มชูเท่าที่จะทำได้ครับ
1.ผู้รับจะต้องบริสุทธิ์ (ยิ่งพระปฏิบัติดีอานิสงส์จะยิ่งทวีสูง เช่น การถวายทานให้พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ อานิสงส์ย่อมแรงกว่าถวายให้พระสมมติสงฆ์อยู่แล้ว)
2.ของถวายจะต้องบริสุทธิ์ (ไม่ใช่ของสะอาดที่เราเข้าใจ เช่น แม้ข้าวที่เราเผลอทำตกดินแล้ว แต่ตั้งใจใส่บาตรพระด้วยเมตตา อานิสงส์ย่อมแรงกว่าข้าวที่ไปขโมยมาใส่บาตร เพราะงั้น คำว่า "บริสุทธิ์" ในที่นี้หมายถึงการได้ของถวายมาโดยชอบ โดยถูกต้อง เหมือนตอนที่พระโมคคัลลานะรับบิณฑบาตคนเป็นโรคเรื้อนที่ใส่ข้าวปั้นหนึ่ง ท่านยังยินดีถลาตัวลงไปนั่งคลุกดินแล้วกินข้าวที่ชายโรคเรื้อนถวาย ณ ตรงนั้นเลย แสดงให้เห็นว่าท่านไม่มีความรังเกียจแม้ของสกปรก แต่จิตใจที่ชายโรคเรื้อนตั้งใจถวาย อานิสงส์มหาศาลมาก)
3. ผู้ให้จะต้องบริสุทธิ์ (จิตที่ตั้งใจถวายยิ่งทำให้อานิสงส์แรงกว่าทุกข้อ แม้ว่ากำลังถวายข้าวให้พระพุทธเจ้า แต่จิตคิดไม่อยากให้ คิดนึกเสียดายของนั้นๆ จำใจถวาย หรือไม่ตั้งใจถวาย อานิสงส์ย่อมถดถอยลงไปโดยแน่แท้ เพราะงั้น ผู้ให้ เวลาจะถวายทานหรือใส่บาตร ควรตั้งใจให้โดยปราศจากอคติ หรือปราศจากความละโมบ ให้โดยไม่หวังผล ไม่ขออย่างนั้นอย่างนี้ ให้เพราะเมตตา ให้เพราะอยากให้พระฉัน อานิสงส์จะมหาศาลดมาก กรณีนี้สวนทางกับธรรมกายแบบสุดๆ (อิอิ พูดแล้วของขึ้น คือแบบชิตังเม โป้งเลยอ่ะ 5555) เพาะแม้คุณจะมีเงินบาทเดียว แต่จิตตั้งใจถวายเป็นค่าน้ำค่าไฟวัด กุศลกรรมจะมหาศาลมาก มากกว่าที่ถวายเงินล้านหนึ่งให้วัด แต่จิตตอนถวายกลับฟุ้งซ่าน เผลอๆให้เพราะอยากได้ชื่อเสียง ให้คนเยินยอ อันนั้นกุศลที่ว่าแรงๆ ลดลงเลย)
อีกประเด็นคือ การถวายสังฆทาน สังฆทาน ไม่ใช่ถังเหลืองๆที่เราเห็นกัน สังฆทานคืออะไรก็ได้ ที่เราตั้งใจถวายให้ "หมู่สงฆ์" ไม่ใช่ถวายเจาะจงสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง การถวายเจาะจงสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งได้บุญ...แต่อาจไม่มากเหมือนถวายสังฆทาน ถ้าถวายของต่างๆเพื่อให้สงฆ์ใช้ด้วยกัน (สังฆทาน) จะได้บุญมาก เช่น ถวายผงซักผ้าให้สงฆ์ใช้ร่วมกัน ถวายถ้วยชามให้วัด ถวายไตรจีวร ถวายเครื่องใช้อุปโภคบริโภค อื่นๆ
แต่ประเด็นในกรณีที่ จขกท. กว่าวมานั้น การทำบุญกับวัดบ้าน ไม่ใช่วัดป่าปฏิบัติเคร่งครัดอะไร ส่วนตัวคิดว่า ผู้ถวายอาจยังมีความเป็นผู้ ตกอยู่ในความ "อยาก" อยู่ ในกรณีนี้คือ เราอาจคิดว่า ถ้าเราไม่ถวายให้วัดป่าและมาทำบุญกับวัดบ้าน เราอาจไม่ได้บุญเยอะพอ นี่เรายังเป็นผู้ติดในความอยาก ฉะนี้ เพราะงั้น ถ้าผู้ถวายมีจิตเมตตา อานิสงส์ก็แรงอยู๋แล้ว ยิ่งถวายให้พระวัดปฏิบัติ ยิ่งแรงขึ้น ผมมองว่า ถ้าเราไปทำบุญกับวัดปฏิบัติอย่างเดียว วัดบ้านคงไม่รอด เราในฐานะชาวพุทธ ควรให้ความสำคัญทั้ง "ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ(ผลจากทั้งทองข้อข้างต้น)" คือ ทำบุญให้ทั้งพระที่ท่านเรียนธรรม-บาลี และพระที่ท่านปฏิบัติไปพร้อมๆกัน พยายามอย่าแบ่งแยก เพราะปริยัติกับปฏิบัติเป็นเหมือนปีกทั้งสองข้างของพุทธศาสนาที่ต้องดำเนินไปด้วยกัน พระหนุ่มเณรน้อยที่ท่านเรียนบาลีเรียนนักธรรม อาจจะอดตายได้ ถ้าเราปล่อยปละละเลยวัดบ้าน
ส่วนตัวผมก็ทำทั้งสองไปพร้อมๆกันนะครับ มีโอกาสไปเยี่ยมครูบาอาจารย์ทางอีสานก็ไปทำบุญด้วย พอกลับมาบ้านก็ใส่บาตรถวายสังฆทานที่วัดบ้านด้วย (อาจจะไม่ทุกวันหรือไม่บ่อย) แต่ก็จะพยายาม ในฐานะผู้ที่เคยบวชเรียนมาก่อน ไม่ใช่เพราะอยากได้บุญเกินไป แต่อยากช่วยพุทธศาสนาทางการอุปถัมภ์คุ้มชูเท่าที่จะทำได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
จำเป็นไหมคะต้องทำบุญแต่วัดป่า สำนักสงฆ์ปฏิบัติธรรม หรือพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถึงได้บุญมากกว่า
เรามักจะไปกับครอบครัวที่วัดแถวบ้าน เน้นไปวัดที่สะดวกและวันสะดวก
ไม่ค่อยไปวันที่คนเยอะๆ แต่มีเพื่อนบอกว่าควรทำบุญกับพระวัดป่า พระปฏิบัติดีๆ
อนิสงจะแรงกว่าพระวัดบ้าน หรือพระทั่วไป พูดง่ายๆว่าควรเน้นทำกับพระอรหันต์ วัดที่เรียบง่ายกันดาร
จริงๆเราก็อยากทำ แต่คือพระวัดป่าต้องเดินทางไปค่อนข้างไกลจากบ้านมากๆ