วันหยุดปีใหม่ปีนี้ ทาบกับช่วงคืนเดือนมืดพอดี ก็เลยมี Nebula ประจำฤดูหนาวมาฝากครับ
ภาพที่ถ่ายมาช่วงปีใหม่นี้ ก็มี 3 ภาพ และทั้งหมดจะอยู่ใกล้บริเวณกลุ่มดาว Orion (นายพราน)
Nebula ทั้ง 3 นี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ถ่ายติดง่าย และในช่วงปีใหม่จะขึ้นอยู่สูงพ้นหลังคาบ้านสองชั้นประมาณ 2 ทุ่ม - ตี 2
ภาพที่ 1 - Orion Nebula
Orion Nebula หรือเรียกสั้นๆว่า M42 (Messier M42) เป็น Emission Nebula (เปล่งแสง) ที่สว่างมาก สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ถ่ายติดง่ายที่สุดบนท้องฟ้า ใครที่มีกล้องดูดาว ก็มักจะมีภาพถ่าย Orion Nebula เก็บไว้เป็นที่ระทึกกันทุกคน
แม้จะใช้กล้อง DSLR ธรรมดา + เลนส์ช่วง 50mm กับขาตั้งกล้องธรรมดา ก็พอจะถ่ายติดได้โดยที่ดาวยังไม่เริ่มหมุนมากนัก
Orion Nebula จริงๆแล้วประกอบไปด้วย M43 (หัวนก) M42 (หางนก) และ NGC 1977 (Running Man Nebula ที่อยู่ถัดมาทางซ้ายมือ)
ภาพที่ 2 - Flame & Horsehead Nebula
Flame & Horsehead Nebula เป็น Nebula คู่ที่มักจะ(ต้อง)ถ่ายมาคู่กัน
Flame Nebula (NGC2024) เป็น emission nebula
ส่วน Horsehead Nebula (IC434) นั้นเป็น Dark Nebula ที่ทึบแสง และพอดีมาบัง H-II Region (Hydrogen Cloud) ที่มีแสงสว่าง เราก็เลยมองเห็นเงามืดเป็นรูปหัวม้า
ในภาพนี้ ยังมี Nebula อื่นที่มักจะไม่ถูกกล่าวถึง เช่น NGC2023 ที่เป็น Reflection Nebula เหมือนฝุ่นสว่าง อยู่ใต้ Horsehead
Flame Nebula พอจะถ่ายด้วยกล้อง DSLR ธรรมดาได้ แต่ H-II Region ข้างหลัง Horsehead Nebula จะต้องใช้กล้อง DSLR ที่ถอด hot mirror ออกถึงจะถ่ายติดเป็นเรื่องเป็นราว
ภาพที่ 3 - Rosette Nebula
Rosette Nebula เป็น H-II region ที่มีขนากใหญ่กว่าดวงจันทร์ของเราเสียอีก จะอยู่ห่างลงมาจากกลุ่มดาวนายพรานเล็กน้อย ตรงใจกลางนั้นมีกลุ่มดาวเกิดใหม่อยู่มากมาย
ถึงแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ แต่ก็เป็น H-II Region ที่ไม่สว่างมากนัก ก็เลยถ่ายติดยากกว่า Horsehead Nebula อยู่ซักหน่อย
ก็หมดเพียงเท่านี้ครับ ความจริงแล้วตั้งใจจะถ่ายให้ได้มากกว่านี้ แต่เสียไปหลายวัน เพราะมัวแต่ปรับแต่งอุปกรณ์ ส่งท้ายด้วยพระจันทร์วันปีใหม่ ก็สวัสดีปีใหม่ ขอให้มีความสุขกันทุกท่านครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ
ภาพถ่าย Nebula ฤดูหนาว ช่วงวันหยุดปีใหม่
ภาพที่ถ่ายมาช่วงปีใหม่นี้ ก็มี 3 ภาพ และทั้งหมดจะอยู่ใกล้บริเวณกลุ่มดาว Orion (นายพราน)
Nebula ทั้ง 3 นี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ถ่ายติดง่าย และในช่วงปีใหม่จะขึ้นอยู่สูงพ้นหลังคาบ้านสองชั้นประมาณ 2 ทุ่ม - ตี 2
ภาพที่ 1 - Orion Nebula
Orion Nebula หรือเรียกสั้นๆว่า M42 (Messier M42) เป็น Emission Nebula (เปล่งแสง) ที่สว่างมาก สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ถ่ายติดง่ายที่สุดบนท้องฟ้า ใครที่มีกล้องดูดาว ก็มักจะมีภาพถ่าย Orion Nebula เก็บไว้เป็นที่ระทึกกันทุกคน
แม้จะใช้กล้อง DSLR ธรรมดา + เลนส์ช่วง 50mm กับขาตั้งกล้องธรรมดา ก็พอจะถ่ายติดได้โดยที่ดาวยังไม่เริ่มหมุนมากนัก
Orion Nebula จริงๆแล้วประกอบไปด้วย M43 (หัวนก) M42 (หางนก) และ NGC 1977 (Running Man Nebula ที่อยู่ถัดมาทางซ้ายมือ)
ภาพที่ 2 - Flame & Horsehead Nebula
Flame & Horsehead Nebula เป็น Nebula คู่ที่มักจะ(ต้อง)ถ่ายมาคู่กัน
Flame Nebula (NGC2024) เป็น emission nebula
ส่วน Horsehead Nebula (IC434) นั้นเป็น Dark Nebula ที่ทึบแสง และพอดีมาบัง H-II Region (Hydrogen Cloud) ที่มีแสงสว่าง เราก็เลยมองเห็นเงามืดเป็นรูปหัวม้า
ในภาพนี้ ยังมี Nebula อื่นที่มักจะไม่ถูกกล่าวถึง เช่น NGC2023 ที่เป็น Reflection Nebula เหมือนฝุ่นสว่าง อยู่ใต้ Horsehead
Flame Nebula พอจะถ่ายด้วยกล้อง DSLR ธรรมดาได้ แต่ H-II Region ข้างหลัง Horsehead Nebula จะต้องใช้กล้อง DSLR ที่ถอด hot mirror ออกถึงจะถ่ายติดเป็นเรื่องเป็นราว
ภาพที่ 3 - Rosette Nebula
Rosette Nebula เป็น H-II region ที่มีขนากใหญ่กว่าดวงจันทร์ของเราเสียอีก จะอยู่ห่างลงมาจากกลุ่มดาวนายพรานเล็กน้อย ตรงใจกลางนั้นมีกลุ่มดาวเกิดใหม่อยู่มากมาย
ถึงแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ แต่ก็เป็น H-II Region ที่ไม่สว่างมากนัก ก็เลยถ่ายติดยากกว่า Horsehead Nebula อยู่ซักหน่อย
ก็หมดเพียงเท่านี้ครับ ความจริงแล้วตั้งใจจะถ่ายให้ได้มากกว่านี้ แต่เสียไปหลายวัน เพราะมัวแต่ปรับแต่งอุปกรณ์ ส่งท้ายด้วยพระจันทร์วันปีใหม่ ก็สวัสดีปีใหม่ ขอให้มีความสุขกันทุกท่านครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ