การเพิ่มมูลค่าจากข้าวถุงให้ดูน่าสนใจมากขึ้นกว่าการบรรจุถุงขายแบบเดิมๆ
สามารถช่วยเพิ่มความน่าสนใจและยอดการขายได้ ถ้าเกษตรกรไทยที่อาจจะ
คุ้นเคยกับการขายข้าวให้กับ พ่อค้าคนกลาง หรือ โรงสีสหกรณ์ ซึ่งตอนนี้ราคา
ข้าวนั้นต่ำลงเป็นอย่างมาก แต่เราก็ต้องหันมาพึ่งพาตนเองนอกจากการพึ่งพา
มาตราการช่วยเหลือจากภาครัฐ ที่คงแก้ปัญหาระยะยาวไม่ได้
หากเราลุกขึ้นมาทำการค้าขาย และนำข้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดซึ่งแน่นอน
ว่าต้องมีคู่แข่งที่คิดและทำแบบเดียวกันกับเราเป็นจำนวนมาก อะไรที่พอจะทำ
ให้การเปลี่ยนข้าวที่สีออกมาจากโรงสีใหม่ๆ ดูน่าสนใจขึ้นมาได้บ้าง ต้องเริ่มจาก
ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวให้ได้คุณภาพไม่มีสิ่งแปลกปลอมเจือปน ที่อาจจะมีดอกหญ้า
ติดมากับรถเกี่ยวข้าว และกระบวนการสีข้าวกับโรงสีที่มีมาตราฐานไม่ทำให้ข้าว
ของเราหัก ขัดสีออกมาไม่สวยหรือ มีเม็ดเศษจากหินขัดหลุดออกมาด้วย ซึ่งอาจจะ
ทำให้เกิดความไม่ประทับใจจากตัวลูกค้า เราจึงควรดูแลในทุกขั้นตอนด้วยความ
ใส่ใจเพื่อให้ข้าวออกมาดี และพร้อมออกสู่ตลาดในการแข่งขันกับรายอื่นได้
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ มีรูปแบบแพ็คเกตจิ้งที่ดูสวยงามเป็นกุญแจสำคัญในการ
เพิ่มความสำเร็จของการขาย เพื่อสร้างจุดเด่น มีเอกลักษณ์ และไม่ซ้ำใคร
ผลิตภัณฑ์ที่ดูดีย่อมสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สามารถนำไปเป็นของขวัญ
มอบให้ผู้ใหญ่ และคนในครอบครัวได้ มีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ
และนอกเหนือจากนั้นเรายังสามารถนำไปแปรรูปเป็นสินค้ารูปแบบอื่นๆได้ นอกเหนือ
จากการบรรจุลงในถุงแล้ว อาทิ เช่น ขนมจีนแห้งอบสมุนไพร คุกกี้ หรือ ไอศครีม
ข้าวไทยของเราก็ยังเป็นที่ต้องการของต่างชาติและเป็นแชมป์ส่งออกข้าวมายาวนาน
แม้อาจจะได้เสียแชมป์ไปเมื่อไม่นานมานี้ แต่ความต้องการและความนิยมในคุณภาพ
ของข้าวไทยที่ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ก็ยังคงครองพื้นที่ในตลาดในการส่งออกได้
เหล้าอะวาโมริ
เมื่อข้าวไทยไปเป็นเหล้าญี่ปุ่น
สุรากลั่นชนิดแรกของญี่ปุ่นของเป็นของขึ้นชื่อของเกาะโอกินาวะทางตอนใต้นี้ มีข้าวไทย
(ข้าวเมล็ดยาวสายพันธุ์อินดิกา) เป็นส่วนประกอบหลัก โดยในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15
ชาวหมู่เกาะริวกิวได้รับการกลั่นเหล้าขาวจากชาวสยามเมื่อติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา
และนำไปปรับกรรมวิธีให้เข้ากับภูมิอากาศเฉลี่ยตลอดปี ที่ 22 องศาเซลเซียส ซึ่งแม้จะไม่
เหมาะจะผลิตสาเก แต่กลับเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตเหล้าอะวาโมวาริได้ตลอดทั้งปี
โดยมีตัวเลขการนำเข้าข้าวไทยเพื่อผลิตเหล้าญี่ปุ่นเฉลี่ยปีละ 20,000 ตัน เรื่องน่าคิดมีอยู่ว่า
เมื่อใช้เชื้อราจากโคจิดำมาย่อยหมักข้าวแล้วนำไปบ่มในไหดินเผาหลายสิบปี ผลลัพธ์ที่ได้คือ
สุรารสนุ่มนวลชั้นดีที่ต่างจากเหล้าขาวในประเทศไทยโดยสิ้นเชิง
https://www.iurban.in.th/inspiration/awamori-liquor/
เหล้าอะวาโมริ ปัจจุบันมีผู้ผลิตประมาณ 47 ราย และเครื่องดื่มชนิดนี้กำลังได้รับความนิยม เอกลักษณ์
ของอะวาโมริมีหลายเรื่อง คือในการหมักจะเกิดการสร้างกรด จึงทำให้สามารถหมักอะวาโมริได้ตลอดปี
(เช่นเดียวกับการหมักข้าวของไทยที่จะเกิดกรดแลคติกในการหมัก) การกลั่นจะใช้กลั่นทับเดียว จากนั้น
จึงนำสุรามาเจือจางด้วยน้ำจนเหลือ 25 – 30 ดีกรี อะวาโมริบางชนิดอาจมีแอลกอฮอล์ถึง 43 ดีกรี
อะวาโมริ จะต้องผ่านการบ่มเป็นเวลานานเพื่อพัฒนาคุณภาพ อะวาโมริที่บ่มแล้วเรียกว่า คูซุ เช่นเดียวกับ
การบ่มสุรากลั่นจากธัญพืชอื่นๆ การบ่มอะวาโมริช่วยทำให้รสชาตินุ่มนวลขึ้นโดยลบความคมของรสชาติออก
อะวาโมริที่บ่ม 10 ปี จะมีรสชาติดีเลิศ แต่จะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้าบ่มถึง 20 หรือ 25 ปี ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องคำนวณ
งบดุลการเงินให้ดีเพื่อรอผลของการลงทุนระยะยาวขนาดนั้น
https://surathai.wordpress.com/2011/05/15/sochu-awamori/
ไอศกรีมนมต้นข้าวอ่อนปราศจากน้ำตาล
และของไทยเราเองก็มีงานวิจัยที่ได้คว้าเหรียญทองจาก การเข้าร่วมประกวด The 65th World Exhibition
on Inventions, Research and New Technologies (Brussels Innova 2016) ณ ประเทศเบลเยี่ยม โดยมีนักวิจัย
4,000 คน จาก 20 ประเทศ ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าประกวดกว่า 300 ผลงาน
ไอศกรีมนมต้นข้าวอ่อนข้าวหอมมะลิปราศจากน้ำตาล อีกหนึ่งผลงานของนักวิจัยไทย นายณัฐชรัฐ แพกุล นักวิจัย
และอาจารย์ประจำสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นำต้นอ่อนข้าวหอมมะลิที่งอกหลังการเกี่ยวข้าว ที่มีสารคลอโรฟิลล์สูง และมีสารต้าน
อนุมูลอิสระสูง พัฒนาในด้านของคุณค่าทางโภชนาการ และใช้ มอลทิมอล สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ซึ่ง
เป็นสารให้ความหวานในกลุ่มของน้ำตาลแอลกอฮอล์ ที่ให้พลังงานต่ำ
นายณัฐชรัฐ แพกุล เล่าว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ปลูกมากในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง นอกจากความเหนียวนุ่มของข้าวที่ดีแล้ว ยังมีกลิ่นหอมคล้ายดอกมะลิ จึงส่งผลให้
เป็นข้าวที่ชื่นชอบของผู้บริโภค แต่ในปัจจุบันราคาข้าวในท้องตลาดไม่ดีเท่าไร ตนเองจึงอยากช่วยชาวนา คิดค้น
เมนูจากข้าว ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนิยมนำเมล็ดข้าวมาทำ เพื่อสร้างมูลค่าและโภชนาการทางอาหาร โดยจากการ
สังเกตหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ จะมีต้นข้าวหอมมะลิที่งอกขึ้นมาใหม่ จากต้นเดิม ตนเองจึงนำมาทำการ
ศึกษาต้นข้าวหอมมะลิ พบว่า ในต้นข้าวอ่อนหอมมะลิมีสารต้านอนุมูลอิสระและสารคลอโรฟิลล์สูง นอกจากนี้ ยังมี
เอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว คือ กลิ่น สี มีสีเขียว
สำหรับไอศกรีมเป็นอาหารหวานที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย แต่จัดเป็นอาหารที่ให้พลังงาน ไขมัน และนํ้าตาลสูง
ตนเองจึงอยากวิจัยและพัฒนาคุณค่าทางโภชนาการ โดยการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล โดยมอลทิทอล
เป็นสารให้ความหวานที่ใกล้เคียงกับน้ำตาล มีรสชาติ และความหวานที่ใกล้เคียงน้ำตาล อีกทั้งยังมีพลังงานต่ำ ซึ่ง
มีเพียง 2.1 กิโลแคลอรี โดยที่ในน้ำตาลที่บริโภคโดยทั่วไปมีถึง 4 กิโลแคลอรี ซึ่งมอลทิทอลเป็นสารให้ความหวาน
ในกลุ่มของน้ำตาลแอลกอฮอล์ มีผลทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถนำเป็นเป็นอาหารได้จึงไม่ก่อให้เกิดฟันผุ และเพื่อเป็น
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมในแง่การนำส่วนอื่นของพืชเศรษฐกิจที่ไม่ได้ไปบริโภคโดยทั่วไปนำมาใช้ประโยชน์ ที่
สร้างความแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไป จึงได้นำต้นอ่อนข้าวหอมมะลิที่งอกหลังการเกี่ยวข้าว มาเป็นส่วนผสม เกิดเป็น
เมนูอาหารหวาน “ไอศกรีมนมต้นข้าวอ่อนข้าวหอมมะลิปราศจากน้ำตาล”
ล่าสุด ผลงาน “ไอศกรีมนมต้นข้าวอ่อนข้าวหอมมะลิปราศจากน้ำตาล” ได้คว้า Gold Medal (เหรียญทอง) จากการ
เข้าร่วมประกวด The 65th World Exhibition on Inventions, Research and New Technologies (Brussels Innova 2016)
ณ ประเทศเบลเยี่ยม โดยมีนักวิจัย 4,000 คน จาก 20 ประเทศ ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าประกวดกว่า 300 ผลงาน
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000123050
ถ้าาเราลองคิดออกนอกกรอบ ก็อาาจจะค้นพบว่ายังมีวิธีอีกมากที่จะพัฒนาขีดควาามสามารถของเกษตรกรไทยได้
ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้เราไม่ได้หยุดอยู่ที่การค้าขายกับพ่อค้าคนกลางที่ต้องทนโดนกดราคาอีกต่อไป คงยังมีอีกหลายแนว
ทางที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยหลุดพ้นจากกับดักความจนนี้ไปได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือที่ถูกหลอกใช้ของ
ใครอีกต่อไป ในเวลานี้เมื่อเราก้าวตามทันเทคโนโลยีก็จะช่วยเสริมศักยภาพแลละขีดความสามารถให้เราอีกมากมาย
ชาวนาไทย ขายข้าวที่ผลิตเองผ่าน facebook ประสบความสำเร็จ พร้อมคำแนะนำจากกูรูการตลาดออนไลน์
ตัวอย่างแรก เป็นชาวนาในจังหวัดพิษณุโลก ที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาสจากการที่ถูกนายทุนหลอกให้ปลูกข้าวหอมนิลแล้ว
ไม่มารับซื้อตามสัญญา จึงนำข้าวดังกล่าวมาสีและบรรจุใส่ถุงพร้อมทำสติ๊กเกอร์ติดอย่างดี แล้วขายเองผ่านทาง Facebook
ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดี มีลูกค้ามาสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ปัจจุบันนี้ไม่ต้องขายข้าวผ่านพ่อค้าคนกลางแล้ว แต่ขาย
เองผ่าน Facebook เลย
อีกหนึ่งตัวอย่างเป็นของ คุณชัชชนะ ปรารถนารักษ์ ชาวนาจ.พิจิตร ที่ขายข้าวผ่านทาง Facebook มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว
ไอที24ชั่วโมง ได้สัมภาษณ์คุณชัชชนะ โดยคุณชัชชนะบอกว่า จุดเริ่มต้นของการขายข้าวผ่านทาง Facebook มาจากการที่
ตนเอง ปลูกข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือดีต่อสุขภาพ และเมื่อปลูกแล้วก็ไม่อยากนำข้าวไปขายให้กับโรงสี
หรือพ่อคนกลาง เพราะบางครั้งรู้สึกถูกกดราคา จึงหาวิธีที่จะจำหน่ายเอง ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงที่ Facebook กำลังได้รับความ
นิยม และตนเองก็เล่น Facebook เช่นกัน จึงลองนำข้าวที่สีแล้ว บรรจุถุงสุญญากาศแล้วโพสขายบน facebook ส่วนตัวของตน
ที่ใช้ชื่อว่า “ฟาร์มบ้านชัดเจนพิจิตร” โดยในระยะแรกก็มีผู้มาติดต่อสอบถามซื้อข้าว ตกวันละ 4-5 ราย ซึ่งจาก 4-5 รายก็เพิ่ม
จำนวนขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆเติบโต จนปัจจุบันนี้ มียอดสั่งซื้อถึงเดือนละ 5,000 กิโลกรัม
https://www.it24hrs.com/2014/thai-farmer-sale-rice-on-facebook/
เพิ่มมูลค่าจากการขายข้าว
สามารถช่วยเพิ่มความน่าสนใจและยอดการขายได้ ถ้าเกษตรกรไทยที่อาจจะ
คุ้นเคยกับการขายข้าวให้กับ พ่อค้าคนกลาง หรือ โรงสีสหกรณ์ ซึ่งตอนนี้ราคา
ข้าวนั้นต่ำลงเป็นอย่างมาก แต่เราก็ต้องหันมาพึ่งพาตนเองนอกจากการพึ่งพา
มาตราการช่วยเหลือจากภาครัฐ ที่คงแก้ปัญหาระยะยาวไม่ได้
หากเราลุกขึ้นมาทำการค้าขาย และนำข้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดซึ่งแน่นอน
ว่าต้องมีคู่แข่งที่คิดและทำแบบเดียวกันกับเราเป็นจำนวนมาก อะไรที่พอจะทำ
ให้การเปลี่ยนข้าวที่สีออกมาจากโรงสีใหม่ๆ ดูน่าสนใจขึ้นมาได้บ้าง ต้องเริ่มจาก
ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวให้ได้คุณภาพไม่มีสิ่งแปลกปลอมเจือปน ที่อาจจะมีดอกหญ้า
ติดมากับรถเกี่ยวข้าว และกระบวนการสีข้าวกับโรงสีที่มีมาตราฐานไม่ทำให้ข้าว
ของเราหัก ขัดสีออกมาไม่สวยหรือ มีเม็ดเศษจากหินขัดหลุดออกมาด้วย ซึ่งอาจจะ
ทำให้เกิดความไม่ประทับใจจากตัวลูกค้า เราจึงควรดูแลในทุกขั้นตอนด้วยความ
ใส่ใจเพื่อให้ข้าวออกมาดี และพร้อมออกสู่ตลาดในการแข่งขันกับรายอื่นได้
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ มีรูปแบบแพ็คเกตจิ้งที่ดูสวยงามเป็นกุญแจสำคัญในการ
เพิ่มความสำเร็จของการขาย เพื่อสร้างจุดเด่น มีเอกลักษณ์ และไม่ซ้ำใคร
ผลิตภัณฑ์ที่ดูดีย่อมสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สามารถนำไปเป็นของขวัญ
มอบให้ผู้ใหญ่ และคนในครอบครัวได้ มีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ
และนอกเหนือจากนั้นเรายังสามารถนำไปแปรรูปเป็นสินค้ารูปแบบอื่นๆได้ นอกเหนือ
จากการบรรจุลงในถุงแล้ว อาทิ เช่น ขนมจีนแห้งอบสมุนไพร คุกกี้ หรือ ไอศครีม
ข้าวไทยของเราก็ยังเป็นที่ต้องการของต่างชาติและเป็นแชมป์ส่งออกข้าวมายาวนาน
แม้อาจจะได้เสียแชมป์ไปเมื่อไม่นานมานี้ แต่ความต้องการและความนิยมในคุณภาพ
ของข้าวไทยที่ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ก็ยังคงครองพื้นที่ในตลาดในการส่งออกได้
เหล้าอะวาโมริ
เมื่อข้าวไทยไปเป็นเหล้าญี่ปุ่น
สุรากลั่นชนิดแรกของญี่ปุ่นของเป็นของขึ้นชื่อของเกาะโอกินาวะทางตอนใต้นี้ มีข้าวไทย
(ข้าวเมล็ดยาวสายพันธุ์อินดิกา) เป็นส่วนประกอบหลัก โดยในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15
ชาวหมู่เกาะริวกิวได้รับการกลั่นเหล้าขาวจากชาวสยามเมื่อติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา
และนำไปปรับกรรมวิธีให้เข้ากับภูมิอากาศเฉลี่ยตลอดปี ที่ 22 องศาเซลเซียส ซึ่งแม้จะไม่
เหมาะจะผลิตสาเก แต่กลับเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตเหล้าอะวาโมวาริได้ตลอดทั้งปี
โดยมีตัวเลขการนำเข้าข้าวไทยเพื่อผลิตเหล้าญี่ปุ่นเฉลี่ยปีละ 20,000 ตัน เรื่องน่าคิดมีอยู่ว่า
เมื่อใช้เชื้อราจากโคจิดำมาย่อยหมักข้าวแล้วนำไปบ่มในไหดินเผาหลายสิบปี ผลลัพธ์ที่ได้คือ
สุรารสนุ่มนวลชั้นดีที่ต่างจากเหล้าขาวในประเทศไทยโดยสิ้นเชิง
https://www.iurban.in.th/inspiration/awamori-liquor/
เหล้าอะวาโมริ ปัจจุบันมีผู้ผลิตประมาณ 47 ราย และเครื่องดื่มชนิดนี้กำลังได้รับความนิยม เอกลักษณ์
ของอะวาโมริมีหลายเรื่อง คือในการหมักจะเกิดการสร้างกรด จึงทำให้สามารถหมักอะวาโมริได้ตลอดปี
(เช่นเดียวกับการหมักข้าวของไทยที่จะเกิดกรดแลคติกในการหมัก) การกลั่นจะใช้กลั่นทับเดียว จากนั้น
จึงนำสุรามาเจือจางด้วยน้ำจนเหลือ 25 – 30 ดีกรี อะวาโมริบางชนิดอาจมีแอลกอฮอล์ถึง 43 ดีกรี
อะวาโมริ จะต้องผ่านการบ่มเป็นเวลานานเพื่อพัฒนาคุณภาพ อะวาโมริที่บ่มแล้วเรียกว่า คูซุ เช่นเดียวกับ
การบ่มสุรากลั่นจากธัญพืชอื่นๆ การบ่มอะวาโมริช่วยทำให้รสชาตินุ่มนวลขึ้นโดยลบความคมของรสชาติออก
อะวาโมริที่บ่ม 10 ปี จะมีรสชาติดีเลิศ แต่จะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้าบ่มถึง 20 หรือ 25 ปี ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องคำนวณ
งบดุลการเงินให้ดีเพื่อรอผลของการลงทุนระยะยาวขนาดนั้น
https://surathai.wordpress.com/2011/05/15/sochu-awamori/
ไอศกรีมนมต้นข้าวอ่อนปราศจากน้ำตาล
และของไทยเราเองก็มีงานวิจัยที่ได้คว้าเหรียญทองจาก การเข้าร่วมประกวด The 65th World Exhibition
on Inventions, Research and New Technologies (Brussels Innova 2016) ณ ประเทศเบลเยี่ยม โดยมีนักวิจัย
4,000 คน จาก 20 ประเทศ ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าประกวดกว่า 300 ผลงาน
ไอศกรีมนมต้นข้าวอ่อนข้าวหอมมะลิปราศจากน้ำตาล อีกหนึ่งผลงานของนักวิจัยไทย นายณัฐชรัฐ แพกุล นักวิจัย
และอาจารย์ประจำสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นำต้นอ่อนข้าวหอมมะลิที่งอกหลังการเกี่ยวข้าว ที่มีสารคลอโรฟิลล์สูง และมีสารต้าน
อนุมูลอิสระสูง พัฒนาในด้านของคุณค่าทางโภชนาการ และใช้ มอลทิมอล สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ซึ่ง
เป็นสารให้ความหวานในกลุ่มของน้ำตาลแอลกอฮอล์ ที่ให้พลังงานต่ำ
นายณัฐชรัฐ แพกุล เล่าว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ปลูกมากในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง นอกจากความเหนียวนุ่มของข้าวที่ดีแล้ว ยังมีกลิ่นหอมคล้ายดอกมะลิ จึงส่งผลให้
เป็นข้าวที่ชื่นชอบของผู้บริโภค แต่ในปัจจุบันราคาข้าวในท้องตลาดไม่ดีเท่าไร ตนเองจึงอยากช่วยชาวนา คิดค้น
เมนูจากข้าว ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนิยมนำเมล็ดข้าวมาทำ เพื่อสร้างมูลค่าและโภชนาการทางอาหาร โดยจากการ
สังเกตหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ จะมีต้นข้าวหอมมะลิที่งอกขึ้นมาใหม่ จากต้นเดิม ตนเองจึงนำมาทำการ
ศึกษาต้นข้าวหอมมะลิ พบว่า ในต้นข้าวอ่อนหอมมะลิมีสารต้านอนุมูลอิสระและสารคลอโรฟิลล์สูง นอกจากนี้ ยังมี
เอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว คือ กลิ่น สี มีสีเขียว
สำหรับไอศกรีมเป็นอาหารหวานที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย แต่จัดเป็นอาหารที่ให้พลังงาน ไขมัน และนํ้าตาลสูง
ตนเองจึงอยากวิจัยและพัฒนาคุณค่าทางโภชนาการ โดยการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล โดยมอลทิทอล
เป็นสารให้ความหวานที่ใกล้เคียงกับน้ำตาล มีรสชาติ และความหวานที่ใกล้เคียงน้ำตาล อีกทั้งยังมีพลังงานต่ำ ซึ่ง
มีเพียง 2.1 กิโลแคลอรี โดยที่ในน้ำตาลที่บริโภคโดยทั่วไปมีถึง 4 กิโลแคลอรี ซึ่งมอลทิทอลเป็นสารให้ความหวาน
ในกลุ่มของน้ำตาลแอลกอฮอล์ มีผลทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถนำเป็นเป็นอาหารได้จึงไม่ก่อให้เกิดฟันผุ และเพื่อเป็น
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมในแง่การนำส่วนอื่นของพืชเศรษฐกิจที่ไม่ได้ไปบริโภคโดยทั่วไปนำมาใช้ประโยชน์ ที่
สร้างความแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไป จึงได้นำต้นอ่อนข้าวหอมมะลิที่งอกหลังการเกี่ยวข้าว มาเป็นส่วนผสม เกิดเป็น
เมนูอาหารหวาน “ไอศกรีมนมต้นข้าวอ่อนข้าวหอมมะลิปราศจากน้ำตาล”
ล่าสุด ผลงาน “ไอศกรีมนมต้นข้าวอ่อนข้าวหอมมะลิปราศจากน้ำตาล” ได้คว้า Gold Medal (เหรียญทอง) จากการ
เข้าร่วมประกวด The 65th World Exhibition on Inventions, Research and New Technologies (Brussels Innova 2016)
ณ ประเทศเบลเยี่ยม โดยมีนักวิจัย 4,000 คน จาก 20 ประเทศ ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าประกวดกว่า 300 ผลงาน
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000123050
ถ้าาเราลองคิดออกนอกกรอบ ก็อาาจจะค้นพบว่ายังมีวิธีอีกมากที่จะพัฒนาขีดควาามสามารถของเกษตรกรไทยได้
ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้เราไม่ได้หยุดอยู่ที่การค้าขายกับพ่อค้าคนกลางที่ต้องทนโดนกดราคาอีกต่อไป คงยังมีอีกหลายแนว
ทางที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยหลุดพ้นจากกับดักความจนนี้ไปได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือที่ถูกหลอกใช้ของ
ใครอีกต่อไป ในเวลานี้เมื่อเราก้าวตามทันเทคโนโลยีก็จะช่วยเสริมศักยภาพแลละขีดความสามารถให้เราอีกมากมาย
ชาวนาไทย ขายข้าวที่ผลิตเองผ่าน facebook ประสบความสำเร็จ พร้อมคำแนะนำจากกูรูการตลาดออนไลน์
ตัวอย่างแรก เป็นชาวนาในจังหวัดพิษณุโลก ที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาสจากการที่ถูกนายทุนหลอกให้ปลูกข้าวหอมนิลแล้ว
ไม่มารับซื้อตามสัญญา จึงนำข้าวดังกล่าวมาสีและบรรจุใส่ถุงพร้อมทำสติ๊กเกอร์ติดอย่างดี แล้วขายเองผ่านทาง Facebook
ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดี มีลูกค้ามาสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ปัจจุบันนี้ไม่ต้องขายข้าวผ่านพ่อค้าคนกลางแล้ว แต่ขาย
เองผ่าน Facebook เลย
อีกหนึ่งตัวอย่างเป็นของ คุณชัชชนะ ปรารถนารักษ์ ชาวนาจ.พิจิตร ที่ขายข้าวผ่านทาง Facebook มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว
ไอที24ชั่วโมง ได้สัมภาษณ์คุณชัชชนะ โดยคุณชัชชนะบอกว่า จุดเริ่มต้นของการขายข้าวผ่านทาง Facebook มาจากการที่
ตนเอง ปลูกข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือดีต่อสุขภาพ และเมื่อปลูกแล้วก็ไม่อยากนำข้าวไปขายให้กับโรงสี
หรือพ่อคนกลาง เพราะบางครั้งรู้สึกถูกกดราคา จึงหาวิธีที่จะจำหน่ายเอง ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงที่ Facebook กำลังได้รับความ
นิยม และตนเองก็เล่น Facebook เช่นกัน จึงลองนำข้าวที่สีแล้ว บรรจุถุงสุญญากาศแล้วโพสขายบน facebook ส่วนตัวของตน
ที่ใช้ชื่อว่า “ฟาร์มบ้านชัดเจนพิจิตร” โดยในระยะแรกก็มีผู้มาติดต่อสอบถามซื้อข้าว ตกวันละ 4-5 ราย ซึ่งจาก 4-5 รายก็เพิ่ม
จำนวนขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆเติบโต จนปัจจุบันนี้ มียอดสั่งซื้อถึงเดือนละ 5,000 กิโลกรัม
https://www.it24hrs.com/2014/thai-farmer-sale-rice-on-facebook/