เรื่องของเรายาวนิดนึงนะคะ และอาจจะน่าเบื่ออยู่ซักหน่อย เพราะเราเล่าไม่ค่อยสนุกอ่ะค่ะ แต่อยากแบ่งปันประสบการณ์ให้ทุกคนได้อ่าน อยากจะบอกว่าการเป็นคนไทย ที่มาสอนภาษาอังกฤษที่นิวยอร์กนั้นมันไม่ได้ยากเย็นแสนเข็ญอย่างที่ใครๆ คิด เราทำได้ ใครๆ ก็ทำได้ค่ะ เพราะเราไม่ใช่คนเก่งกาจอะไร แถมไม่ขยันอีกต่างหาก ฮ่าๆๆ อันนี้พูดจริงๆนะคะ ไม่ได้พูดให้ใครมาอวย เราว่าด้วยจังหวะและโอกาส รวมถึงโชคชะตา หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้เรามีวันนี้ค่ะ ฮ่าๆๆ ฟังดูอลังการไปไหมคะ จริงๆ อาชีพครูมันก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไร แต่วันนี้เราทำให้พ่อกับแม่ได้ภูมิใจในตัวเราอีกครั้ง เราได้ภูมิใจในตัวเองที่มีอาชีพที่มั่นคง แค่นี้ก็ดีที่สุดแล้วค่ะ
เดี๋ยวเราจะเล่าเรื่องเป็นตอนๆ ก็แล้วกันนะคะ จะพยายามเก็บรายละเอียดให้ครบ
จากเมืองหมอแคนสู่มหานครนิวยอร์ก
ก่อนเจอกับสามี เราเป็นข้าราชการครู อยู่ที่จังหวัดขอนแก่นค่ะ อยู่ ร.ร. ขยายโอกาสในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นพอสมควร แน่นอนเราสอนวิชาภาษาอังกฤษค่ะ สอนระดับ ม. ต้น เราสอนอยู่เกือบ 6 ปี จนเจอสามี เลยลาออกจากราชการแล้วย้ายมาอยู่ที่นิวยอร์ก ตอนตัดสินใจลาออกจากราชการ ใครๆ ก็ตกใจค่ะ ถามกันใหญ่ เอาจริงเหรอ จะดีเหรอ คิดดีแล้วเหรอ เราตอบอย่างมั่นใจว่า แน่ใจแล้วค่ะ เพราะส่วนตัวตอนนั้น เราไม่ชอบระบบราชการไทยเอาเสียเลย ที่มาเป็นครูก็เพราะทำตามความต้องการของพ่อแม่ ทั้งที่เราไม่ได้จบสาขาครูหรือการสอนมาเลย (เราจบศิลปศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษค่ะ) และช่วงที่อยู่ขอนแก่น เราก็เรียน ป โท ด้วยค่ะ สาขาภาษาอังกฤษ เราจบคอร์สเวิร์กแล้ว สอบดีเฟนซ์การศึกษาอิสระแล้ว (การศึกษาอิสระมี 3 หน่วยกิต เราเก็บได้แล้ว 2 หน่วยกิต เรียกว่าอีกก้าวเดียวก็จะจบแล้ว แต่เราตัดสินใจลาออก ทิ้งทุกอย่างมาเลย) ช่วงนั้นก็ดราม่ากระจายเหมือนกันค่ะ แต่เราเป็นคนที่เด็ดขาดค่ะ ตัดสินใจแล้วก็ต้องก้าวต่อไป พ่อแม่ก็คงเสียใจ ทั้งเรื่องลาออกจากราชการทั้งออกจากเรียนโท แต่เค้าก็ไม่พูดอะไร เพราะบ้านเราจะเป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไรค่ะ มีอะไรส่วนใหญ่เราจะคิดจะตัดสินใจเอง ***ใครจะคิดว่าสิ่งที่เราทิ้งไว้ข้างหลังตอนนั้นจะมามีประโยชน์กับเราภายหลัง เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังนะคะว่ามีประโยชน์อย่างไร***
จะเกาะสามีกินไปตลอดไม่ได้ ต้องเรียนให้จบโทก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากัน
เราตัดสินใจไปเรียนโทที่นิวยอร์กค่ะ จะเรียนอะไรซะอีกล่ะ ถ้าไม่ใช่ TESOL (อีกล่ะ ไม่ใช่ว่าชอบการเป็นครูนะคะ แต่ไม่รู้จะเรียนอะไร ประกอบกับมีประสบการณ์การเป็นครูมาจากไทย สาขานี้จึงน่าจะเหมาะที่สุดแล้ว) การเข้าเรียนต่อโท ก็ทำตามขั้นตอนอ่ะนะคะ ต้องสอบ TOEFL ให้ได้คะแนนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด อันนี้แล้วแต่มหาวิทยาลัยนะคะ ว่ากำหนดไว้เท่าไหร่ มหาวิทยาลัยอย่าง Columbia หรือ NYU กำหนดว่าต้องได้คะแนนโทเฟล 100 คะแนนขึ้นไป (เมื่อ 6 ปีที่แล้ว) แต่มหาวิทยาลัยของเรากำหนดไว้ 90 คะแนนค่ะ เราก็ผ่านมาได้แบบหืดขึ้นคอ ฮ่าๆๆๆ อยากบอกว่าหืดจับแทบจะทุกขั้นตอน และแล้วเราก็ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมืองนิวยอร์ก โดยโปรแกรม TESOL ของที่นี่ (ไม่ใช่แต่มหาวิทยาลัยเรานะคะ) มักจะให้เลือกสองโปรแกรม แบบแรกคือ Certification และแบบที่สองเรียกว่า non-certification แบบแรกสำหรับคนที่จะเป็นครูที่สามารถสอนในโรงเรียนของรัฐ หรือ public school ได้ค่ะ คนที่จะเรียนแบบนี้ได้ต้องถือใบเขียวหรือเป็นซิติเซ่นเท่านั้นนะคะ แบบที่สองมักจะเป็นคนต่างชาติ อย่างคนเอเชียมาเรียนการสอนภาษาอังกฤษแล้วกลับไปเป็นครูที่บ้านเกิด เพราะฉะนั้นการมี certification หรือไม่จึงไม่ใช่เรื่องจำเป็น เราเลือกเรียนแบบที่หนึ่งค่ะ ตามหลักสูตรก็คือเรียนสามเทอม และฝึกสอนหนึ่งเทอมค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าเรียนจริงๆ สองปีก็จบค่ะ แต่สำหรับเราใช้เวลาหลายปีเลยค่ะ เพราะช่วงนั้นเรามีลูก เลยอยากใช้เวลาอยู่กับเค้า เราเลือกเลือกที่จะเลื่อนการฝึกสอนออกไปสองปีค่ะ พอลูกเริ่มไป ร.ร. เราถึงได้ฤก์ไปฝึกสอนค่ะ
จากครูโรงเรียนบ้านนอกในไทย มาเป็นครูในเมืองใหญ่อย่าง New York City ได้อย่างไร เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังค่ะ
เดี๋ยวเราจะเล่าเรื่องเป็นตอนๆ ก็แล้วกันนะคะ จะพยายามเก็บรายละเอียดให้ครบ
จากเมืองหมอแคนสู่มหานครนิวยอร์ก
ก่อนเจอกับสามี เราเป็นข้าราชการครู อยู่ที่จังหวัดขอนแก่นค่ะ อยู่ ร.ร. ขยายโอกาสในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นพอสมควร แน่นอนเราสอนวิชาภาษาอังกฤษค่ะ สอนระดับ ม. ต้น เราสอนอยู่เกือบ 6 ปี จนเจอสามี เลยลาออกจากราชการแล้วย้ายมาอยู่ที่นิวยอร์ก ตอนตัดสินใจลาออกจากราชการ ใครๆ ก็ตกใจค่ะ ถามกันใหญ่ เอาจริงเหรอ จะดีเหรอ คิดดีแล้วเหรอ เราตอบอย่างมั่นใจว่า แน่ใจแล้วค่ะ เพราะส่วนตัวตอนนั้น เราไม่ชอบระบบราชการไทยเอาเสียเลย ที่มาเป็นครูก็เพราะทำตามความต้องการของพ่อแม่ ทั้งที่เราไม่ได้จบสาขาครูหรือการสอนมาเลย (เราจบศิลปศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษค่ะ) และช่วงที่อยู่ขอนแก่น เราก็เรียน ป โท ด้วยค่ะ สาขาภาษาอังกฤษ เราจบคอร์สเวิร์กแล้ว สอบดีเฟนซ์การศึกษาอิสระแล้ว (การศึกษาอิสระมี 3 หน่วยกิต เราเก็บได้แล้ว 2 หน่วยกิต เรียกว่าอีกก้าวเดียวก็จะจบแล้ว แต่เราตัดสินใจลาออก ทิ้งทุกอย่างมาเลย) ช่วงนั้นก็ดราม่ากระจายเหมือนกันค่ะ แต่เราเป็นคนที่เด็ดขาดค่ะ ตัดสินใจแล้วก็ต้องก้าวต่อไป พ่อแม่ก็คงเสียใจ ทั้งเรื่องลาออกจากราชการทั้งออกจากเรียนโท แต่เค้าก็ไม่พูดอะไร เพราะบ้านเราจะเป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไรค่ะ มีอะไรส่วนใหญ่เราจะคิดจะตัดสินใจเอง ***ใครจะคิดว่าสิ่งที่เราทิ้งไว้ข้างหลังตอนนั้นจะมามีประโยชน์กับเราภายหลัง เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังนะคะว่ามีประโยชน์อย่างไร***
จะเกาะสามีกินไปตลอดไม่ได้ ต้องเรียนให้จบโทก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากัน
เราตัดสินใจไปเรียนโทที่นิวยอร์กค่ะ จะเรียนอะไรซะอีกล่ะ ถ้าไม่ใช่ TESOL (อีกล่ะ ไม่ใช่ว่าชอบการเป็นครูนะคะ แต่ไม่รู้จะเรียนอะไร ประกอบกับมีประสบการณ์การเป็นครูมาจากไทย สาขานี้จึงน่าจะเหมาะที่สุดแล้ว) การเข้าเรียนต่อโท ก็ทำตามขั้นตอนอ่ะนะคะ ต้องสอบ TOEFL ให้ได้คะแนนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด อันนี้แล้วแต่มหาวิทยาลัยนะคะ ว่ากำหนดไว้เท่าไหร่ มหาวิทยาลัยอย่าง Columbia หรือ NYU กำหนดว่าต้องได้คะแนนโทเฟล 100 คะแนนขึ้นไป (เมื่อ 6 ปีที่แล้ว) แต่มหาวิทยาลัยของเรากำหนดไว้ 90 คะแนนค่ะ เราก็ผ่านมาได้แบบหืดขึ้นคอ ฮ่าๆๆๆ อยากบอกว่าหืดจับแทบจะทุกขั้นตอน และแล้วเราก็ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมืองนิวยอร์ก โดยโปรแกรม TESOL ของที่นี่ (ไม่ใช่แต่มหาวิทยาลัยเรานะคะ) มักจะให้เลือกสองโปรแกรม แบบแรกคือ Certification และแบบที่สองเรียกว่า non-certification แบบแรกสำหรับคนที่จะเป็นครูที่สามารถสอนในโรงเรียนของรัฐ หรือ public school ได้ค่ะ คนที่จะเรียนแบบนี้ได้ต้องถือใบเขียวหรือเป็นซิติเซ่นเท่านั้นนะคะ แบบที่สองมักจะเป็นคนต่างชาติ อย่างคนเอเชียมาเรียนการสอนภาษาอังกฤษแล้วกลับไปเป็นครูที่บ้านเกิด เพราะฉะนั้นการมี certification หรือไม่จึงไม่ใช่เรื่องจำเป็น เราเลือกเรียนแบบที่หนึ่งค่ะ ตามหลักสูตรก็คือเรียนสามเทอม และฝึกสอนหนึ่งเทอมค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าเรียนจริงๆ สองปีก็จบค่ะ แต่สำหรับเราใช้เวลาหลายปีเลยค่ะ เพราะช่วงนั้นเรามีลูก เลยอยากใช้เวลาอยู่กับเค้า เราเลือกเลือกที่จะเลื่อนการฝึกสอนออกไปสองปีค่ะ พอลูกเริ่มไป ร.ร. เราถึงได้ฤก์ไปฝึกสอนค่ะ