อยากจะแบ่งปันการพยายามเก็บเงินตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
ในฐานะคนที่เริ่มชีวิตการทำงานช้า
เราเสียเวลากับการเรียนมากเกินไป (ยังเสียดายถึงทุกวันนี้)
ป.ตรี ซิ่ว 1 ครั้ง (เรียน 4 ปีจบ) ป.โท เรียนอีก 4 ปีจบ
เข้าสู่โลกการทำงานเต็มตัวตอนอายุ 28 (ปลายปี 2558) ได้งานประจำตอนต้นปี 2559
จนถึงวันนี้ก็เกือบปีแล้ว
เราเริ่มต้นเก็บเงินจากศูนย์เลยค่ะ เพราะสมัยป.โท สามปีหลัง เราไม่ได้ขอเงินที่บ้าน จึงต้องทำงานหาเงินใช้เอง+ใช้เงินเก็บสมัยเด็ก
เรียกว่าได้ปริญญาโท 1 ใบ พร้อมสมุดบัญชีที่มีเงินไม่ถึงพันบาท
มาถึงชีวิตการทำงานของเราหลังจบป.โท
เราไม่ได้ทำงานในจังหวัดบ้านเกิด
เริ่มงานแรกปลายปี 2558 เป็นงานสอน(ชั่วคราว) รายได้ดีพอสมควร+สอนพิเศษ
ทำได้ถึง ธ.ค.เราก็ได้งานประจำอีกที่หนึ่ง
เราเหลือเงินก้อนแรกจากงานสอนนั้นประมาณ 4 หมื่นบาท เก็บอุ่นๆ ในบัญชี
ตอนนั้นโคตรดีใจ เพราะตัวเลขในบัญชีไม่เคยเกิน 2 หมื่นเลยตั้งแต่เรียนป.โท
มาถึงงานประจำ เราทำงานในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง เงินเดือน 2 หมื่นต้นๆ
เริ่มงานเดือนมกราคม
เราตั้งใจมากว่าจะตั้งหน้าตั้งตาเก็บเงิน เพราะคิดอยู่ตลอดว่าตัวเองเริ่มตั้งตัวช้ากว่าคนทั่วไป
นี่คือวิถีการพยายามหาเงิน-เก็บเงิน-ประหยัดเงิน ของเราค่ะ
1. หาเงิน
- สอนพิเศษ (ตอนเย็น 1 วัน + เสาร์อาทิตย์) รายได้ส่วนนี้พอสำหรับค่ากินอยู่ได้ เงินเดือนเราจึงเป็นเงินส่งให้แม่+เงินเก็บ
2. เก็บเงิน
- ฝากประจำปลอดภาษีของธกส. เดือนละ 5 พันบาท
- ฝาก mebyTMB ทุกเดือนโดยไม่เคยถอนออก (ตอนนี้ดอกเบี้ยต่ำมาก T T)
- เข้าสหกรณ์มหาวิทยาลัยที่เราจบมา (เป็นสมาชิกสมทบ) ตอนนี้มีหุ้น 4 หมื่น (เงินที่ได้จากงานสอนปลายปี 2558)
- ซื้อสลากออมสิน-สลากธกส. นิดหน่อย (จริงๆ ไม่ได้อยากซื้อ เพราะโอกาสถูกน้อย แต่คนที่แอบชอบบอกให้ลองซื้อ ก็เลยซื้อตาม >_<)
3. ประหยัดเงิน
- สถานศึกษามีห้องพักให้อยู่ฟรี เสียแค่ค่าน้ำค่าไฟ เราจึงประหยัดค่าที่พักและค่าเดินทาง
- ค่าอาหารในที่ทำงานถูกมาก (ราคานักศึกษา) กับข้าว 2 อย่าง 25 ซี้กับแม่ค้าก็ได้เยอะอีก และถ้าไปซื้อในเวลาที่เหมาะสม (ช่วงบ่ายต้นๆ) ก็จะได้ข้าวและกับข้าวเยอะมาก เพราะร้านค้ากำลังจะเคลียร์ของก่อนจะทำอาหารชุดใหม่สำหรับมือเย็น
- แม้ค่าอาหารจะไม่แพง เราก็ยังหาวิธีประหยัดมากขึ้นอีก ด้วยการลงทุนซื้อกระทะไฟฟ้า 500 กว่าบาท (หม้อหุงข้าวมีอยู่ก่อนแล้ว) เท่านี้ก็สามารถหุงข้าว+ทำกับข้าวง่ายๆ และถูกได้แล้ว (เช่น ข้าวกล้อง+ไข่เจียวหอมใหญ่ = 12 บาท อิ่มพุงกาง) และเราทำอาหารในห้องครัวที่ทำงาน จึงไม่เสียค่าไฟ
- เราอาศัยอยู่ชานเมืองกรุงเทพฯ วันอาทิตย์คือวันซื้อของตุนของเรา เพราะเราสอนพิเศษแถวตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งของถูกมาก เราก็จะซื้อผักผลไม้มา ขากลับเราจะต้องไปต่อรถที่โลตัสใหญ่ เราก็จะแวะซื้อของใช้ ของกิน (หากวันไหนไปถึงดึก ก็จะได้อาหารลดราคาป้ายเหลืองมาด้วย)
- หลักการซื้อของใช้ของเราคือ ซื้อแบบบรรจุภัณฑ์ใหญ่หรือแพ็ค เราจะเอามือถือมาคำนวณราคาทุกครั้ง เน้นซื้อของลดทั่วไปหรือของลดป้ายเหลืองที่บรรจุภัณฑ์อาจไม่สมบูรณ์ แต่ของยังสภาพสมบูรณ์
- หลักการซื้อของกิน เราจะมีลิสต์ร้านประหยัดในตลาดไว้ เรารู้ว่าซื้ออะไรร้านไหนจะถูก เราจะเดินเปรียบเทียบราคาก่อนซื้อด้วย ส่วนในห้าง เช่นเดียวกับของใช้คือ จะเน้นของกินที่ลดทั่วไปและลดป้ายเหลือง (เราตรวจดูสภาพและวันหมดอายุก่อนเสมอ เมื่อแน่ใจว่ากินได้+กินทัน เราจึงซื้อ ไม่ได้ซื้อพร่ำเพรื่อ) นอกจากโลตัสใหญ่ เรายังมีโลตัสเล็กใกล้ที่ทำงาน เราจะแวะไปตอนเย็นสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เผื่อฟลุกเจอของลด ถ้าไม่เจอของที่ราคาถูกพอ เราไม่อายที่จะเดินออกมามือเปล่า อีกร้านที่เราเข้าประจำคือ 7-11 คนมักคิดว่าของ 7-11 แพง เราไม่ปฏิเสธ แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับคือ "โปรโมชั่น" 7-11 มีของลดที่น่าสนใจออกมาเป็นระยะ เช่น นม กาแฟ มาม่า แม้จะนานๆ ที แต่เราก็ไม่พลาดจะไปโกยซื้อมา (เรากดติดตามเพจ 7-11 และเป็นเพื่อนไลน์เพื่อไม่ให้พลาดโปรโมชั่น) สรุปหลักการซื้อของของเราคือ "ไม่ถูกจริง เราไม่ซื้อ"
- เราไม่กินอาหาร-กาแฟ-ขนม ร้านแพง (ยกเว้นจำเป็นจริงๆ)
- เราซื้อเสื้อผ้ามือสอง และไม่ช้อปปิ้งถ้าไม่จำเป็นหรือเจอของถูกจริงๆ
นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตเราที่อยากแบ่งปัน
อาจจะมีคนที่ทำได้ดีกว่าเรา ก็ขอชื่นชม
สิ่งสำคัญทิ้งท้าย ถึงแม้เราจะประหยัดเข้าขั้นงกขนาดนี้ แต่เราก็ยังรักษาสุขภาพ กินอาหารครบหมู่ ออกกำลังกาย (นี่ก็ประหยัดได้อีก เพราะสถานศึกษามีฟิตเนสฟรี)
เพราะเรารู้ดีว่า การไม่สบายจะทำให้เงินที่เราพยายามสะสมต้องสูญไป
ตอนนี้เรามีเงินเก็บพอสมควร แต่พอวางแผนถึงการเกษียณแบบโสดแล้วก็ยังถือว่าน้อย
ปีหน้าจึงตั้งใจจะเอาเงินไปลงทุนบ้างแล้ว
แต่คงต้องศึกษาข้อมูลดีๆ ก่อน
เป็นกำลังใจให้ "คนทำงาน" ทุกคนนะคะ
เริ่มชีวิตทำงานช้า...1 ปีกับวิถีคนประหยัด
ในฐานะคนที่เริ่มชีวิตการทำงานช้า
เราเสียเวลากับการเรียนมากเกินไป (ยังเสียดายถึงทุกวันนี้)
ป.ตรี ซิ่ว 1 ครั้ง (เรียน 4 ปีจบ) ป.โท เรียนอีก 4 ปีจบ
เข้าสู่โลกการทำงานเต็มตัวตอนอายุ 28 (ปลายปี 2558) ได้งานประจำตอนต้นปี 2559
จนถึงวันนี้ก็เกือบปีแล้ว
เราเริ่มต้นเก็บเงินจากศูนย์เลยค่ะ เพราะสมัยป.โท สามปีหลัง เราไม่ได้ขอเงินที่บ้าน จึงต้องทำงานหาเงินใช้เอง+ใช้เงินเก็บสมัยเด็ก
เรียกว่าได้ปริญญาโท 1 ใบ พร้อมสมุดบัญชีที่มีเงินไม่ถึงพันบาท
มาถึงชีวิตการทำงานของเราหลังจบป.โท
เราไม่ได้ทำงานในจังหวัดบ้านเกิด
เริ่มงานแรกปลายปี 2558 เป็นงานสอน(ชั่วคราว) รายได้ดีพอสมควร+สอนพิเศษ
ทำได้ถึง ธ.ค.เราก็ได้งานประจำอีกที่หนึ่ง
เราเหลือเงินก้อนแรกจากงานสอนนั้นประมาณ 4 หมื่นบาท เก็บอุ่นๆ ในบัญชี
ตอนนั้นโคตรดีใจ เพราะตัวเลขในบัญชีไม่เคยเกิน 2 หมื่นเลยตั้งแต่เรียนป.โท
มาถึงงานประจำ เราทำงานในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง เงินเดือน 2 หมื่นต้นๆ
เริ่มงานเดือนมกราคม
เราตั้งใจมากว่าจะตั้งหน้าตั้งตาเก็บเงิน เพราะคิดอยู่ตลอดว่าตัวเองเริ่มตั้งตัวช้ากว่าคนทั่วไป
นี่คือวิถีการพยายามหาเงิน-เก็บเงิน-ประหยัดเงิน ของเราค่ะ
1. หาเงิน
- สอนพิเศษ (ตอนเย็น 1 วัน + เสาร์อาทิตย์) รายได้ส่วนนี้พอสำหรับค่ากินอยู่ได้ เงินเดือนเราจึงเป็นเงินส่งให้แม่+เงินเก็บ
2. เก็บเงิน
- ฝากประจำปลอดภาษีของธกส. เดือนละ 5 พันบาท
- ฝาก mebyTMB ทุกเดือนโดยไม่เคยถอนออก (ตอนนี้ดอกเบี้ยต่ำมาก T T)
- เข้าสหกรณ์มหาวิทยาลัยที่เราจบมา (เป็นสมาชิกสมทบ) ตอนนี้มีหุ้น 4 หมื่น (เงินที่ได้จากงานสอนปลายปี 2558)
- ซื้อสลากออมสิน-สลากธกส. นิดหน่อย (จริงๆ ไม่ได้อยากซื้อ เพราะโอกาสถูกน้อย แต่คนที่แอบชอบบอกให้ลองซื้อ ก็เลยซื้อตาม >_<)
3. ประหยัดเงิน
- สถานศึกษามีห้องพักให้อยู่ฟรี เสียแค่ค่าน้ำค่าไฟ เราจึงประหยัดค่าที่พักและค่าเดินทาง
- ค่าอาหารในที่ทำงานถูกมาก (ราคานักศึกษา) กับข้าว 2 อย่าง 25 ซี้กับแม่ค้าก็ได้เยอะอีก และถ้าไปซื้อในเวลาที่เหมาะสม (ช่วงบ่ายต้นๆ) ก็จะได้ข้าวและกับข้าวเยอะมาก เพราะร้านค้ากำลังจะเคลียร์ของก่อนจะทำอาหารชุดใหม่สำหรับมือเย็น
- แม้ค่าอาหารจะไม่แพง เราก็ยังหาวิธีประหยัดมากขึ้นอีก ด้วยการลงทุนซื้อกระทะไฟฟ้า 500 กว่าบาท (หม้อหุงข้าวมีอยู่ก่อนแล้ว) เท่านี้ก็สามารถหุงข้าว+ทำกับข้าวง่ายๆ และถูกได้แล้ว (เช่น ข้าวกล้อง+ไข่เจียวหอมใหญ่ = 12 บาท อิ่มพุงกาง) และเราทำอาหารในห้องครัวที่ทำงาน จึงไม่เสียค่าไฟ
- เราอาศัยอยู่ชานเมืองกรุงเทพฯ วันอาทิตย์คือวันซื้อของตุนของเรา เพราะเราสอนพิเศษแถวตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งของถูกมาก เราก็จะซื้อผักผลไม้มา ขากลับเราจะต้องไปต่อรถที่โลตัสใหญ่ เราก็จะแวะซื้อของใช้ ของกิน (หากวันไหนไปถึงดึก ก็จะได้อาหารลดราคาป้ายเหลืองมาด้วย)
- หลักการซื้อของใช้ของเราคือ ซื้อแบบบรรจุภัณฑ์ใหญ่หรือแพ็ค เราจะเอามือถือมาคำนวณราคาทุกครั้ง เน้นซื้อของลดทั่วไปหรือของลดป้ายเหลืองที่บรรจุภัณฑ์อาจไม่สมบูรณ์ แต่ของยังสภาพสมบูรณ์
- หลักการซื้อของกิน เราจะมีลิสต์ร้านประหยัดในตลาดไว้ เรารู้ว่าซื้ออะไรร้านไหนจะถูก เราจะเดินเปรียบเทียบราคาก่อนซื้อด้วย ส่วนในห้าง เช่นเดียวกับของใช้คือ จะเน้นของกินที่ลดทั่วไปและลดป้ายเหลือง (เราตรวจดูสภาพและวันหมดอายุก่อนเสมอ เมื่อแน่ใจว่ากินได้+กินทัน เราจึงซื้อ ไม่ได้ซื้อพร่ำเพรื่อ) นอกจากโลตัสใหญ่ เรายังมีโลตัสเล็กใกล้ที่ทำงาน เราจะแวะไปตอนเย็นสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เผื่อฟลุกเจอของลด ถ้าไม่เจอของที่ราคาถูกพอ เราไม่อายที่จะเดินออกมามือเปล่า อีกร้านที่เราเข้าประจำคือ 7-11 คนมักคิดว่าของ 7-11 แพง เราไม่ปฏิเสธ แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับคือ "โปรโมชั่น" 7-11 มีของลดที่น่าสนใจออกมาเป็นระยะ เช่น นม กาแฟ มาม่า แม้จะนานๆ ที แต่เราก็ไม่พลาดจะไปโกยซื้อมา (เรากดติดตามเพจ 7-11 และเป็นเพื่อนไลน์เพื่อไม่ให้พลาดโปรโมชั่น) สรุปหลักการซื้อของของเราคือ "ไม่ถูกจริง เราไม่ซื้อ"
- เราไม่กินอาหาร-กาแฟ-ขนม ร้านแพง (ยกเว้นจำเป็นจริงๆ)
- เราซื้อเสื้อผ้ามือสอง และไม่ช้อปปิ้งถ้าไม่จำเป็นหรือเจอของถูกจริงๆ
นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตเราที่อยากแบ่งปัน
อาจจะมีคนที่ทำได้ดีกว่าเรา ก็ขอชื่นชม
สิ่งสำคัญทิ้งท้าย ถึงแม้เราจะประหยัดเข้าขั้นงกขนาดนี้ แต่เราก็ยังรักษาสุขภาพ กินอาหารครบหมู่ ออกกำลังกาย (นี่ก็ประหยัดได้อีก เพราะสถานศึกษามีฟิตเนสฟรี)
เพราะเรารู้ดีว่า การไม่สบายจะทำให้เงินที่เราพยายามสะสมต้องสูญไป
ตอนนี้เรามีเงินเก็บพอสมควร แต่พอวางแผนถึงการเกษียณแบบโสดแล้วก็ยังถือว่าน้อย
ปีหน้าจึงตั้งใจจะเอาเงินไปลงทุนบ้างแล้ว
แต่คงต้องศึกษาข้อมูลดีๆ ก่อน
เป็นกำลังใจให้ "คนทำงาน" ทุกคนนะคะ