ทันหุ้น – ส่งออกเดือนพ.ย. พลิกกลับมาขยายตัว 10.2% หนุนยอดส่งออกทั้งปี 2559 ขยายตัวได้เล็กน้อย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานบทวิจัยมูลค่าส่งออกสินค้าในเดือนพ.ย. 2559 พลิกกลับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.2 YoY ส่งผลให้ยอดส่งออกสินค้าของไทย 11 เดือนแรกของปี 2559 หดตัวตื้นขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ -0.05 YoY โดยการส่งออกสินค้าในเดือนพ.ย.ที่เติบโตดี (เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน) นี้ ปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวในอัตราสูงของการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างชิ้นส่วนยานยนต์ไปยังประเทศที่มีฐานการผลิตรถยนต์อย่างญี่ปุ่น จีนอินโดนีเซีย เม็กซิโก สหรัฐฯ และแอฟริกาใต้
ประกอบกับยังได้แรงส่งจากการขยายตัวของมูลค่าส่งออกทองคำที่สูงถึงร้อยละ 72.5 YoY นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา ก็ส่งผลบวกต่อราคาสินค้าในกลุ่มปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูป และผลักดันให้การส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.2 YoY
ในขณะที่การส่งออกสินค้าอาหารยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปิดตลาดนำเข้าสินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยของเกาหลีใต้ในช่วงต้นเดือนพ.ย. 2559 ที่ผ่านมา หลังระงับไปนานกว่า 12 ปีจากเหตุไข้หวัดนกระบาดในไทยเมื่อปี 2546 ประกอบกับสินค้าประมงยังสามารถเติบโตได้ดี โดยเฉพาะสินค้ากุ้งที่ความต้องการสินค้าจากตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูง ขณะที่กำลังการผลิตกุ้งของไทยก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและสอดรับกับความต้องการที่สูงขึ้นได้
การส่งออกสินค้าไปยัง 4 ตลาดหลักอย่างญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (15) กลับมาเติบโตบนเลขสองหลัก สอดคล้องกับตัวเลขการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนในประเทศดังกล่าว สะท้อนการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของประเทศเศรษฐกิจหลักที่มาจากความแข็งแกร่งของปัจจัยภายในประเทศเป็นสำคัญ ในขณะที่ภาพการส่งออกสินค้าไปตะวันออกกลาง(15) ยังคงหดตัวในระดับเลขสองหลักติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี
จากตัวเลขมูลค่าส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูงในเดือนพ.ย. 2559 ทำให้คาดว่า การส่งออกสินค้าในไตรมาส 4 จะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 3 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อการส่งออกสินค้าตลอดทั้งปี 2559 ว่า น่าจะขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 YoY ดีกว่าที่คาดการณ์ในช่วงก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.5 YoY โดยในเดือนสุดท้ายของปี 2559 คาดว่า มูลค่าการส่งออกจะอยู่ในช่วง 1.73-1.75 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวเป็นบวกเล็กน้อย แม้เศรษฐกิจโลกจะทยอยฟื้นตัว แต่การส่งออกทองคำที่เคยขยายตัวสูงน่าจะผ่อนแรงลงในเดือนธ.ค. นี้
สำหรับแนวโน้มการส่งออกปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 0.8 YoY หรืออยู่ในช่วงกรอบประมาณการที่ร้อยละ -0.5 ถึง 2.5 YoY ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการปรับตัวดีขึ้นในเดือนธ.ค. 2559 ซึ่งหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังทรงตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ก็อาจจะทำให้การส่งออกสินค้าของไทยในปี 2560 เข้าใกล้กรอบบนของประมาณการที่ร้อยละ 2.5 YoY ได้
ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
เรียบเรียง:กษมน พงษ์ธานี
ที่มา
https://www.thunhoon.com/kresearch/
ส่งออกเดือนพ.ย. โต 10.2% หนุนทั้งปี 2559 ขยายตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานบทวิจัยมูลค่าส่งออกสินค้าในเดือนพ.ย. 2559 พลิกกลับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.2 YoY ส่งผลให้ยอดส่งออกสินค้าของไทย 11 เดือนแรกของปี 2559 หดตัวตื้นขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ -0.05 YoY โดยการส่งออกสินค้าในเดือนพ.ย.ที่เติบโตดี (เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน) นี้ ปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวในอัตราสูงของการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างชิ้นส่วนยานยนต์ไปยังประเทศที่มีฐานการผลิตรถยนต์อย่างญี่ปุ่น จีนอินโดนีเซีย เม็กซิโก สหรัฐฯ และแอฟริกาใต้
ประกอบกับยังได้แรงส่งจากการขยายตัวของมูลค่าส่งออกทองคำที่สูงถึงร้อยละ 72.5 YoY นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา ก็ส่งผลบวกต่อราคาสินค้าในกลุ่มปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูป และผลักดันให้การส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.2 YoY
ในขณะที่การส่งออกสินค้าอาหารยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปิดตลาดนำเข้าสินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยของเกาหลีใต้ในช่วงต้นเดือนพ.ย. 2559 ที่ผ่านมา หลังระงับไปนานกว่า 12 ปีจากเหตุไข้หวัดนกระบาดในไทยเมื่อปี 2546 ประกอบกับสินค้าประมงยังสามารถเติบโตได้ดี โดยเฉพาะสินค้ากุ้งที่ความต้องการสินค้าจากตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูง ขณะที่กำลังการผลิตกุ้งของไทยก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและสอดรับกับความต้องการที่สูงขึ้นได้
การส่งออกสินค้าไปยัง 4 ตลาดหลักอย่างญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (15) กลับมาเติบโตบนเลขสองหลัก สอดคล้องกับตัวเลขการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนในประเทศดังกล่าว สะท้อนการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของประเทศเศรษฐกิจหลักที่มาจากความแข็งแกร่งของปัจจัยภายในประเทศเป็นสำคัญ ในขณะที่ภาพการส่งออกสินค้าไปตะวันออกกลาง(15) ยังคงหดตัวในระดับเลขสองหลักติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี
จากตัวเลขมูลค่าส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูงในเดือนพ.ย. 2559 ทำให้คาดว่า การส่งออกสินค้าในไตรมาส 4 จะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 3 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อการส่งออกสินค้าตลอดทั้งปี 2559 ว่า น่าจะขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 YoY ดีกว่าที่คาดการณ์ในช่วงก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.5 YoY โดยในเดือนสุดท้ายของปี 2559 คาดว่า มูลค่าการส่งออกจะอยู่ในช่วง 1.73-1.75 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวเป็นบวกเล็กน้อย แม้เศรษฐกิจโลกจะทยอยฟื้นตัว แต่การส่งออกทองคำที่เคยขยายตัวสูงน่าจะผ่อนแรงลงในเดือนธ.ค. นี้
สำหรับแนวโน้มการส่งออกปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 0.8 YoY หรืออยู่ในช่วงกรอบประมาณการที่ร้อยละ -0.5 ถึง 2.5 YoY ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการปรับตัวดีขึ้นในเดือนธ.ค. 2559 ซึ่งหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังทรงตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ก็อาจจะทำให้การส่งออกสินค้าของไทยในปี 2560 เข้าใกล้กรอบบนของประมาณการที่ร้อยละ 2.5 YoY ได้
ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
เรียบเรียง:กษมน พงษ์ธานี
ที่มา https://www.thunhoon.com/kresearch/