สวัสดีค่ะ สมาชิกทุกท่าน
A postive mental attitude is essential for success and happiness in every area of life.
"ทัศนคติด้านบวก คือ สิ่งสำคัญต่อความสำเร็จ และความสุขทุกด้านของชีวิต"
หากเราเดินเข้าร้านหนังสือ จะพบว่ามุมหนังสือแนะนำขายดีของร้านหนังสือชื่อดังต่าง ๆ มักจะเป็นหนังสือในเชิงให้กำลังใจ ให้แนวคิด
หลายคนมักจะหาหนังสือเหล่านี้มาอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง สร้างกำลังใจให้กับตัวเอง ทำให้เกิดมุมมองใหม่ ๆ หรือแม้แต่การคิดนอกกรอบ
อันนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ดี ๆ มากมาย และที่สำคัญการมีทัศนคติที่เป็นบวกนั้น มักจะทำให้เปลี่ยน "วิกฤต" เป็น "โอกาส" ได้เสมอ
ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน หากเราได้ศึกษาธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะพบว่าหลักการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยทัศนคติบวกนั้น ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงนำมาเทศนาสั่งสอนมากกว่า 2,500 ปีแล้ว ดังจะเห็นได้จากแง่คิดที่แฝงอยู่ในพุทธประวัติ เช่นทศชาติชาดก เราจะเห็นได้ว่าพระชาติที่เป็นมโหสถบัณฑิตนั้น พระองค์ล้วนแต่พบเจอเรื่องที่วิกฤตเสมอ แต่ทรงแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิด "กรรม" ใหม่กับใคร ๆ เลย เป็นพระชาติที่แสดงให้เห็นว่าทรงเป็นผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมีอย่างแท้จริง
วันนี้จึงขอนำเรื่องราวของแนวคิด "ทัศนคติบวก" มาแบ่งปันกัน ด้วยการนำธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นกำลังใจในการดำรงชีวิตประจำวันกันค่ะ
ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีผู้หนึ่งชื่อว่า สุมงคล เป็นผู้มีความเคารพ เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งนัก เศรษฐีได้สร้างพระคันธกุฎีถวายพระพุทธองค์ และไปคอยเฝ้าอุปัฏฐากอยู่ทุกเช้า
เช้าวันหนึ่ง เศรษฐีออกเดินทางไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นเคย เมื่อมาถึงประตูเมือง เศรษฐีได้เห็นชายผู้หนึ่งนอนคลุมโปงอยู่นอกประตูเมือง เท้าเปรอะเปื้อนไปด้วยโคลน เศรษฐีรู้สึกสงสารจึงกล่าวกับคนรับใช้ที่ติดตามมาว่า "ชายผู้นี้ คงเที่ยวดึก กลับเข้าเมืองไม่ทัน จึงต้องมานอนลำบากอย่างนี้" ชายผู้นั้นเป็นโจรใจพาล เมื่อได้ยินถ้อยคำของเศรษฐี ก็รู้สึกโกรธ หาว่าเศรษฐีมายุ่งเรื่องของตน จึงคิดหาทางแก้แค้น แต่เมื่อไม่สามารถทำร้ายเศรษฐีโดยตรงได้ โจรจึงลอบทำลายทรัพย์สิน ด้วยการเผานาของเศรษฐีถึง ๗ ครั้ง ตัดเท้าวัวอีก ๗ หน แต่เศรษฐีก็ไม่โกรธ ทั้งไม่ติดใจตามหาตัวคนร้ายอีกด้วย โจรยิ่งแค้นใจ หาโอกาสเผาบ้านของเศรษฐีอีกถึง ๗ ครั้ง แต่เศรษฐีก็ยังไม่โกรธอยู่ดี
ผิดกับโจรผู้เต็มไปด้วยโทสะ เฝ้าคิดร้ายต่อผู้อื่น เมื่อเศรษฐีไม่โกรธไม่สนใจ ตนเองกลับยิ่งทุรนทุรายด้วยความแค้น เมื่อสืบทราบว่า เศรษฐีมีความเคารพรักในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงกับสร้างพระคันธกุฎีถวาย โจรใจพาลจึงคิดแผนการทำลายพระคันธกุฎี เพื่อให้เศรษฐีเจ็บช้ำน้ำใจ ครั้นถึงเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกไปบิณฑบาต โจรร้ายก็ลอบไปจุดไฟเผาพระคันธกุฎีจนวอดวาย จากนั้นจึงมายืนรวมกลุ่มกับฝูงชน เพื่อรอดูอาการเจ็บช้ำน้ำใจของเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐี เมื่อทราบข่าวร้ายเรื่องไฟไหม้พระคันธกุฎี ก็รีบรุดมายังที่เกิดเหตุทันที แต่พระคัธกุฎีได้มอดไหม้จนเหลือแต่ซากเสียแล้ว ท่ามกลางความสลดหดหู่นั้นเอง เศรษฐีกลับตบมือด้วยความดีอกดีใจ ประกาศกับชาวเมืองทั้งหลายว่า "โชคดีจริง ๆ เราจะได้บุญใหญ่อีกแล้ว คราวนี้เราจะสร้างพระคันธกุฎีใหม่ให้ดียิ่งกว่าเดิมอีก" โจรได้ยินเช่นนั้น ก็แค้นใจอย่างหนัก เฝ้าครุ่นคิดหาทางจะกำจัดเศรษฐีให้ได้
เมื่อเศรษฐีสร้างพระคันธกุฎีหลังใหม่เสร็จก็จัดงานฉลอง โจรจึงได้ช่องทางที่จะลอบสังหารเศรษฐี โดยเหน็บมีดปลายแหลมไว้ที่ชายพก แล้วแทรกตัวปะปนไปกับฝูงชน จนได้โอกาสเข้าไปใกล้ตัวเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐี เมื่อถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้ว ก็รู้สึกปลื้มปีติลุกขึ้นประกาศกับฝูงชนว่า "ท่านทั้งหลาย การที่ข้าพเจ้าได้บุญใหญ่ในวันนี้ ก็เพราะมีบุคคลหนึ่งได้เผาพระคันธกุฎีหลังเก่าไป ถ้าหากไม่มีเขา ข้าพเจ้าก็คงไม่ได้บุญใหญ่เช่นนี้อีก ข้าพเจ้าจึงขอแบ่งส่วนบุญนี้ให้เขาเป็นคนแรก" โจรร้าย เมื่อได้เห็นน้ำใจเศรษฐี ก็เกิดความละอาย นึกเสียใจในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป จึงคุกเข่าลงตรงหน้าเศรษฐี กราบขอขมาด้วยความสำนึกผิด เศรษฐีก็ให้อภัย พิธีฉลองพระคันธกุฎีหลังใหม่ จึงดำเนินไปอย่างมีความสุขถ้วนหน้า
เหตุร้ายต่าง ๆ นั้น เป็นเหมือนบททดสอบใจ ใจใครเย็นแค่ไหน จะรู้ได้ก็เมื่อเกิดเหตุร้ายนี่เอง เช่นเหตุการณ์ที่พระคันธกุฎีถูกไฟเผาผลาญจนมอดไหม้ แต่ใจของสุมงคลเศรษฐีกลับมิได้รุ่มร้อนไปด้วยเลย ใจเย็น ๆ เช่นนี้ ทำให้มองเห็นโอกาสดี ๆ ในชีวิตได้เสมอ เพราะเมื่อใจเราเย็น ปัญญาย่อมเกิด และเมื่อเกิดปัญญา....เรื่องที่เป็นปัญหาก็จางหาย เรื่องร้ายก็กลับกลายเป็นดี เมื่อเรารู้ความข้อนี้ ก็ไม่ควรเสียใจกับปัญหาที่ต้องพบ ควรรับไว้ด้วยความยินดี สร้างปัญญาบารมีต่อไป
ขอบคุณเนื้อหาจาก : หนังสือ "แรงบันดาลใจ"
ภาพ :
https://www.facebook.com/picturesofaday/?ref=ts&fref=ts
.•´`•» ♫~* คิดแบบนี้สิ "ดีต่อใจ" ดีมั้ย? ” *~♫ «•´`•.
A postive mental attitude is essential for success and happiness in every area of life.
"ทัศนคติด้านบวก คือ สิ่งสำคัญต่อความสำเร็จ และความสุขทุกด้านของชีวิต"
หากเราเดินเข้าร้านหนังสือ จะพบว่ามุมหนังสือแนะนำขายดีของร้านหนังสือชื่อดังต่าง ๆ มักจะเป็นหนังสือในเชิงให้กำลังใจ ให้แนวคิด
หลายคนมักจะหาหนังสือเหล่านี้มาอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง สร้างกำลังใจให้กับตัวเอง ทำให้เกิดมุมมองใหม่ ๆ หรือแม้แต่การคิดนอกกรอบ
อันนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ดี ๆ มากมาย และที่สำคัญการมีทัศนคติที่เป็นบวกนั้น มักจะทำให้เปลี่ยน "วิกฤต" เป็น "โอกาส" ได้เสมอ
ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน หากเราได้ศึกษาธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะพบว่าหลักการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยทัศนคติบวกนั้น ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงนำมาเทศนาสั่งสอนมากกว่า 2,500 ปีแล้ว ดังจะเห็นได้จากแง่คิดที่แฝงอยู่ในพุทธประวัติ เช่นทศชาติชาดก เราจะเห็นได้ว่าพระชาติที่เป็นมโหสถบัณฑิตนั้น พระองค์ล้วนแต่พบเจอเรื่องที่วิกฤตเสมอ แต่ทรงแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิด "กรรม" ใหม่กับใคร ๆ เลย เป็นพระชาติที่แสดงให้เห็นว่าทรงเป็นผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมีอย่างแท้จริง
วันนี้จึงขอนำเรื่องราวของแนวคิด "ทัศนคติบวก" มาแบ่งปันกัน ด้วยการนำธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นกำลังใจในการดำรงชีวิตประจำวันกันค่ะ
ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีผู้หนึ่งชื่อว่า สุมงคล เป็นผู้มีความเคารพ เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งนัก เศรษฐีได้สร้างพระคันธกุฎีถวายพระพุทธองค์ และไปคอยเฝ้าอุปัฏฐากอยู่ทุกเช้า
เช้าวันหนึ่ง เศรษฐีออกเดินทางไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นเคย เมื่อมาถึงประตูเมือง เศรษฐีได้เห็นชายผู้หนึ่งนอนคลุมโปงอยู่นอกประตูเมือง เท้าเปรอะเปื้อนไปด้วยโคลน เศรษฐีรู้สึกสงสารจึงกล่าวกับคนรับใช้ที่ติดตามมาว่า "ชายผู้นี้ คงเที่ยวดึก กลับเข้าเมืองไม่ทัน จึงต้องมานอนลำบากอย่างนี้" ชายผู้นั้นเป็นโจรใจพาล เมื่อได้ยินถ้อยคำของเศรษฐี ก็รู้สึกโกรธ หาว่าเศรษฐีมายุ่งเรื่องของตน จึงคิดหาทางแก้แค้น แต่เมื่อไม่สามารถทำร้ายเศรษฐีโดยตรงได้ โจรจึงลอบทำลายทรัพย์สิน ด้วยการเผานาของเศรษฐีถึง ๗ ครั้ง ตัดเท้าวัวอีก ๗ หน แต่เศรษฐีก็ไม่โกรธ ทั้งไม่ติดใจตามหาตัวคนร้ายอีกด้วย โจรยิ่งแค้นใจ หาโอกาสเผาบ้านของเศรษฐีอีกถึง ๗ ครั้ง แต่เศรษฐีก็ยังไม่โกรธอยู่ดี
ผิดกับโจรผู้เต็มไปด้วยโทสะ เฝ้าคิดร้ายต่อผู้อื่น เมื่อเศรษฐีไม่โกรธไม่สนใจ ตนเองกลับยิ่งทุรนทุรายด้วยความแค้น เมื่อสืบทราบว่า เศรษฐีมีความเคารพรักในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงกับสร้างพระคันธกุฎีถวาย โจรใจพาลจึงคิดแผนการทำลายพระคันธกุฎี เพื่อให้เศรษฐีเจ็บช้ำน้ำใจ ครั้นถึงเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกไปบิณฑบาต โจรร้ายก็ลอบไปจุดไฟเผาพระคันธกุฎีจนวอดวาย จากนั้นจึงมายืนรวมกลุ่มกับฝูงชน เพื่อรอดูอาการเจ็บช้ำน้ำใจของเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐี เมื่อทราบข่าวร้ายเรื่องไฟไหม้พระคันธกุฎี ก็รีบรุดมายังที่เกิดเหตุทันที แต่พระคัธกุฎีได้มอดไหม้จนเหลือแต่ซากเสียแล้ว ท่ามกลางความสลดหดหู่นั้นเอง เศรษฐีกลับตบมือด้วยความดีอกดีใจ ประกาศกับชาวเมืองทั้งหลายว่า "โชคดีจริง ๆ เราจะได้บุญใหญ่อีกแล้ว คราวนี้เราจะสร้างพระคันธกุฎีใหม่ให้ดียิ่งกว่าเดิมอีก" โจรได้ยินเช่นนั้น ก็แค้นใจอย่างหนัก เฝ้าครุ่นคิดหาทางจะกำจัดเศรษฐีให้ได้
เมื่อเศรษฐีสร้างพระคันธกุฎีหลังใหม่เสร็จก็จัดงานฉลอง โจรจึงได้ช่องทางที่จะลอบสังหารเศรษฐี โดยเหน็บมีดปลายแหลมไว้ที่ชายพก แล้วแทรกตัวปะปนไปกับฝูงชน จนได้โอกาสเข้าไปใกล้ตัวเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐี เมื่อถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้ว ก็รู้สึกปลื้มปีติลุกขึ้นประกาศกับฝูงชนว่า "ท่านทั้งหลาย การที่ข้าพเจ้าได้บุญใหญ่ในวันนี้ ก็เพราะมีบุคคลหนึ่งได้เผาพระคันธกุฎีหลังเก่าไป ถ้าหากไม่มีเขา ข้าพเจ้าก็คงไม่ได้บุญใหญ่เช่นนี้อีก ข้าพเจ้าจึงขอแบ่งส่วนบุญนี้ให้เขาเป็นคนแรก" โจรร้าย เมื่อได้เห็นน้ำใจเศรษฐี ก็เกิดความละอาย นึกเสียใจในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป จึงคุกเข่าลงตรงหน้าเศรษฐี กราบขอขมาด้วยความสำนึกผิด เศรษฐีก็ให้อภัย พิธีฉลองพระคันธกุฎีหลังใหม่ จึงดำเนินไปอย่างมีความสุขถ้วนหน้า
เหตุร้ายต่าง ๆ นั้น เป็นเหมือนบททดสอบใจ ใจใครเย็นแค่ไหน จะรู้ได้ก็เมื่อเกิดเหตุร้ายนี่เอง เช่นเหตุการณ์ที่พระคันธกุฎีถูกไฟเผาผลาญจนมอดไหม้ แต่ใจของสุมงคลเศรษฐีกลับมิได้รุ่มร้อนไปด้วยเลย ใจเย็น ๆ เช่นนี้ ทำให้มองเห็นโอกาสดี ๆ ในชีวิตได้เสมอ เพราะเมื่อใจเราเย็น ปัญญาย่อมเกิด และเมื่อเกิดปัญญา....เรื่องที่เป็นปัญหาก็จางหาย เรื่องร้ายก็กลับกลายเป็นดี เมื่อเรารู้ความข้อนี้ ก็ไม่ควรเสียใจกับปัญหาที่ต้องพบ ควรรับไว้ด้วยความยินดี สร้างปัญญาบารมีต่อไป
ขอบคุณเนื้อหาจาก : หนังสือ "แรงบันดาลใจ"
ภาพ : https://www.facebook.com/picturesofaday/?ref=ts&fref=ts