สวัสดีครับพี่ ป้า น้า อา แห่งห้องคนบ้ามือหมุนที่เคารพรักทั่วโลก
วันนี้ผมขอแนะนำเลนส์ระดับพรีเมียม ที่ถอดออกมาจากกล้องคลาสสิกค่ายรัสเซียที่ได้รับความนิยมที่สุดรุ่นหนึ่ง
ซึ่งความจริงแล้วผมได้เจ้ากล้องตัวนี้มาเกือบปีแล้วนะครับ เพียงแต่ไม่สบโอกาสนำออกมาเสนอต่อสาธารณชนเท่านั้น
มันคือกล้อง
LOMO 135M ครับ
จากข้อมูลบอกเราว่ากล้องตระกูลโลโม่ส่วนใหญ่จะใช้
“พลาสติก” ในการผลิตบอดี้
ให้ความรู้สึก
“ป๊อกแป๊ก” เวลาจับถือ ซึ่งมันเป็นเช่นนั้นจริงๆครับ
ผมเคยมีกล้องโลโม่อยู่หลายรุ่นที่ถอดเอาเลนส์ออกมาโมดิฟาย
ซึ่งเกือบทุกตัวล้วนเป็นพลาสติกครับ
แต่กับเจ้า
LOMO 135M ตัวนี้มันเป็น
“โลหะ” เกือบทุกส่วน
ทำให้รู้สึกถึงความบึกบึนขั้นเทพเวลาจับถือมันอยู่ในอุ้งมือ
โดย LOMO ในตระกูล 135 นี้มีอยู่ด้วยกัน 2 โมเดลหลักๆครับ
คือ
LOMO 135BC ซึ่งถูกผลิตขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1975-1982 โดยมียอดการผลิตทั้งสิ้น 85,902 ตัว
และในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้นก็ได้ทำการผลิตรุ่น
LOMO 135M ในระหว่างปี ค.ศ.1980-1984 ขึ้นมาแย่งตลาดกันเองอีก
โดย LOMO 135M มียอดการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ 89,500 ตัวครับ
ถือได้ว่า LOMO ในตระกูล 135 เป็นผลผลิตอันโด่งดังรุ่นหนึ่งจากโรงงาน LOMO ในเลนินกราดเชียวนะครับ
โดยในแต่ระรุ่นก็จะมีรุ่นแยกย่อยไปอีกเยอะแยะตาแป๊ะฉ่าย ซึ่งเราไม่ต้องไปให้ความสำคัญมากนักครับ
เอาเป็นว่าเกือบทุกโมเดลของ LOMO 135 นี้ จะใช้เลนส์
Industar-73 2.8/40 เป็นมาตรฐาน
มียกเว้นเพียง 2 โมเดลย่อยเท่านั้นที่ใช้เลนส์
Triplet T-43 4/40 จากกล้อง
Smena-8M เป็นมาตรฐาน
ซึ่งก็พบเห็นได้ไม่บ่อยนักครับ ถือว่าเข้าขั้น
“หายาก” ทีเดียว ถ้าพบเจอก็จงอย่าลังเลที่จะซื้อมาเก็บเอาไว้นะครับ
ผมได้
LOMO 135M สภาพสวยปิ๊งมาตัวหนึ่งโดย
“บังเอิญ” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
(เกือบปีแล้ว)
ชิ้นเลนส์จัดว่าเข้าขั้น
perfect ไร้ริ้วรอย ไร้รา ฝ้า ฝุ่นมากวนใจ
แต่ผู้ขายระบุว่า
For parts เนื่องจากชัตเตอร์ไม่ทำงาน จึงบอกราคารวมส่งเพียง
925 บาทเท่านั้น
ซึ่งถือว่าถูกมากครับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้น ราคาของรุ่นนี้ในสภาพ
“เน่าๆ” ยังวิ่งอยู่เกือบสองพันบาทไทยทั้งนั้น
ผมจึงไม่รีรอ และสั่งนำเข้าราชอาณาจักรไทยทันที โดยได้รับการอนุมัติเพื่อการยกเว้นภาษีนำเข้าจากรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อย
ผมจัดการถอดเลนส์ออกมา โดยใช้เวลาเพียงยี่สิบนาที
จากนั้นก็วิ่งไปโรงกลึงของพี่ชายย่านพระราม 2 ไม่ไกลจาก
“ศาลพันท้ายนรสิงห์” ที่ทุกผู้คนให้ความเคารพนับถือนั่นแหละ
ทั้งนี้เพื่อให้ช่างอ๋า มือวางอันดับหนึ่งของ
PK precission parts,co.ltd. เป็นผู้จัดการสร้างอแดปเตอร์ให้ตามแบบที่เขียนไว้
โดยการสร้างให้เป็นเมาท์
M39 ซึ่งช่างอ๋าใช้เวลาเพียง 9 นาที กับอีก 58.6 วินาที เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
กลายร่างเป็น
Industar-73 2.8/40 M39 พร้อมออกใช้งานได้ทันที
เพียงแต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่มีโอกาสนำไปทดสอบ จึงนอนนิ่งๆอยู่ในตู้เกือบหนึ่งปี HA HA HA!!!
Industar-73 เป็นเลนส์ขนาดกระทัดรัด ระยะทำการ 40mm เอฟสต๊อปกว้างสุด 2.8 ระยะ Minimum focus 1 เมตร
นอกเหนือจากที่ประจำการบนกล้อง
LOMO 135 แล้ว มันยังถูกติดตั้งอยู่บนกล้อง
Electra-112 อีกด้วย
เพียงแต่เวอร์ชั่นที่ติดอยู่บนกล้อง
Electra-112 นั้นจะมีหน้าตาที่
modern กว่าเท่านั้นเองครับ
ในโอกาสที่เดือนธันวาคมปีนี้อยู่ในสภาพ
“ว่างงาน” จึงถึงเวลาอันสมควรในการนำมันออกจากตู้เพื่อ
“ลองของ” ครับ
ผมทำการ
“ทดสอบ” โดยยอมเปลืองตังค์วิ่งรถไป
“เกาะเกร็ด” ย่านนนทบุรี เพื่อทำความรู้จักกับมันให้มากที่สุด
ซึ่งคราวนี้ผมจับประกบกับ
Fuji X-E1 เพื่อต้องการผลขององศาการรับภาพที่กว้างกว่าการใช้
Panasonic G3 เล็กน้อย
จากการเดินถ่ายภาพที่เกาะเกร็ดหนึ่งวันเต็มๆ
(ความจริงถ่ายถาพแค่ครึ่งวัน แต่นั่งดริงค์เบียร์เย็นๆริมน้ำอีกครึ่งวัน HA HA HA!!! )
พบว่ามันตอบสนองการใช้งานได้ดีอย่างเหลือเชื่อ เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้
ความคมที่ 2.8 ซึ่งเป็นค่าช่องรับแสงกว้างสุดนั้น แทบไม่พบอาการ
“ฟุ้ง” แต่อย่างใด
เพียงแต่ผมใช้ค่าช่องรับแสงระหว่าง 4.0 ถึง 8.0 เป็นหลักในการทดสอบครั้งนี้
มันให้ความคมที่กลมกล่อม ไม่คมขาด มีความนุ่มละมุนแฝงอยู่ให้เห็นตามสไตล์รัสเซียนเลนส์
เพราะฉะนั้นในประเด็นด้าน
“ความคมชัด” ของเลนส์ถือว่าสอบผ่านแบบสบายๆครับ
เรื่องของการถ่ายทอดสีสัน มันทำได้ดีมาก สีสันมีความอิ่มตัว สดใส และเที่ยงตรง แม้ในสภาพแสงที่อยู่ในที่ร่ม
ส่วนในสภาพแสงแดดจัด มันยิ่งทำได้ดียิ่งขึ้น มีความ
Bright เสมือนเลนส์ราคาแพงทั้งหลายในท้องตลาด
ที่สำคัญคือแทบไม่ปรากฎอาการแสงฟุ้งเข้าหน้าเลนส์เลย แม้ไม่ได้ใช้
Hood ในการช่วยบังแสง
ซึ่งมันแตกต่างจากเลนส์รัสเซียเกรด
“ธรรมดา” ทั่วๆไปครับ
การเก็บรายละเอียดในสภาพแสงที่มีความเปรียบต่างสูง มันทำได้
“เกือบดี” ครับ
เนื่องจากหากมีความต่างของแสงมากกว่า 4 stop ส่วนที่มืดก็จะไม่เห็นรายละเอียด
หรือส่วนที่สว่างก็จะขาวโพลนทีเดียว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกเอาแบบไหน
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ถือว่าเป็น
“ข้อด้อย” แต่อย่างใด เนื่องจากมันเป็นผลผลิตเมื่อเกือบ
“สี่สิบ” ปีก่อนนะครับ
กล้องในยุคสมัยนั้นก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้นแหละ ต่อให้เป็นกล้องจากค่ายเยอรมันก็เถอะ
ซึ่งเจ้า
Industar-73 สามารถทำได้ขนาดนี้ ก็ถือว่าเข้าขั้นยอดเยี่ยมแล้ว
แต่หากความเปรียบต่างของแสงต่างกันเพียง 2 ถึง 3 stop มันสามารถให้รายระเอียดได้อย่างไม่มีที่ติจริงๆครับ
องศาการรับภาพในพิกัด
40mm บน
APSC format ถือว่าเหมาะกับการเดินเก็บบรรยากาศรอบตัวเป็นอย่างยิ่ง
ไม่กว้าง และไม่แคบจนเกินไป เป็นเลนส์ประเภท
“ตัวเดียว เที่ยวทั่วไทย” ที่ดีที่สุดตัวหนึ่งในความเห็นของผม
ในส่วนของการเล่นกับการ
“ระเบิด” ฉากหลัง
หรือการละลาย
background ที่หลายท่านอาจนิยมให้ละลายแบบหลุดโลกไปเลยนั้น
ต้องขอบอกว่ามันไม่เหมาะกับผู้ที่มี
“รสนิยม” แบบนั้นสักเท่าไหร่นัก
เนื่องจากมันถูกผลิตขึ้นมาเพื่อการเก็บรายละเอียดแบบครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุดในสไตล์กล้องคอมแพค
เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นเลนส์ที่มี
“ระยะชัดลึก” ที่กว้างมากครับ
คล้ายๆกับเลนส์มาตรฐานบนกล้อง
compact ทั่วๆไปนั่นแหละ
หากต้องการระเบิดฉากหลังจริงจัง ก็ต้องโฟกัสที่ระยะใกล้ที่สุด แล้วทิ้ง
background ให้เบลอก็ได้เหมือนกัน
แต่มันก็จะเบลอในแบบฉบับของ wide angle ที่มีความ
“บาน” ออกเล็กน้อยนะครับ ไม่ต้องแปลกใจ
ทั้งนี้ในความเห็นส่วนตัวของผมสรุปได้ว่า
Industar-73 ตัวนี้มันให้คุณภาพที่เกินราคาไปมากจริงๆครับ
สามารถใช้งานในแบบ
“จริงจัง” ได้อย่างไม่เคอะเขิน คุณภาพไฟล์ที่ได้สามารถขยายภาพขนาด
20x24 นิ้วได้สบายๆ
เก็บรายละเอียดได้ดี แต่อาจไม่ถึงขั้น
perfect เมื่อเทียบกับเลนส์รุ่นใหม่ๆ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าครับ
หากจะเทียบเคียงกับเลนส์รัสเซียเมาท์
M39 ในพิกัดเดียวกันอย่าง
Industar-61 ,
Industar-26M หรือ
Industar-61LD
ผมเห็นว่ามันมีความใกล้เคียงกันมาก แต่
Industar-73 มันให้ความรู้สึกที่
Bright กว่าเล็กน้อย
แต่หากเทียบกับพวก
Helios-44 series แล้วละก็ มันยัง
“ด้อย” กว่านิดเดียวจริงๆครับ
ที่ว่าด้อยกว่า ก็เป็นประเด็นด้าน
Minimum focus เท่านั้นเองจริงๆ
สุดท้ายนี้หากสมาชิกท่านใดสามารถโมดิฟายมันได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนัก
ก็ขอแนะนำให้เก็บเข้า
waiting list ได้เลยครับ รับรองว่าไม่ผิดหวังจริงๆสำหรับ
Industar-73 ตัวนี้
เลนส์ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทาน ภาพลักษณ์ที่คลาสสิก คุณภาพเป็นเลิศไม่แพ้เลนส์ราคาเทพๆทั้งหลาย
แต่หากว่าต้องหาซื้อกล้องและต้องมาจ่ายค่า
“โม” รวมแล้วสองพันบาทขึ้นไป
ก็ขอแนะนำว่า
“กรุณาใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ต่อไป โดยไม่ต้องมีมันก็ได้” จะดีกว่าครับ HA HA HA!!!
ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง เดินทางด้วยความไม่ประมาทเสมอครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ!!!
LOMO 135M / Industar-73 2.8/40 Modify and Test!!!
สวัสดีครับพี่ ป้า น้า อา แห่งห้องคนบ้ามือหมุนที่เคารพรักทั่วโลก
วันนี้ผมขอแนะนำเลนส์ระดับพรีเมียม ที่ถอดออกมาจากกล้องคลาสสิกค่ายรัสเซียที่ได้รับความนิยมที่สุดรุ่นหนึ่ง
ซึ่งความจริงแล้วผมได้เจ้ากล้องตัวนี้มาเกือบปีแล้วนะครับ เพียงแต่ไม่สบโอกาสนำออกมาเสนอต่อสาธารณชนเท่านั้น
มันคือกล้อง LOMO 135M ครับ
จากข้อมูลบอกเราว่ากล้องตระกูลโลโม่ส่วนใหญ่จะใช้ “พลาสติก” ในการผลิตบอดี้
ให้ความรู้สึก “ป๊อกแป๊ก” เวลาจับถือ ซึ่งมันเป็นเช่นนั้นจริงๆครับ
ผมเคยมีกล้องโลโม่อยู่หลายรุ่นที่ถอดเอาเลนส์ออกมาโมดิฟาย
ซึ่งเกือบทุกตัวล้วนเป็นพลาสติกครับ
แต่กับเจ้า LOMO 135M ตัวนี้มันเป็น “โลหะ” เกือบทุกส่วน
ทำให้รู้สึกถึงความบึกบึนขั้นเทพเวลาจับถือมันอยู่ในอุ้งมือ
โดย LOMO ในตระกูล 135 นี้มีอยู่ด้วยกัน 2 โมเดลหลักๆครับ
คือ LOMO 135BC ซึ่งถูกผลิตขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1975-1982 โดยมียอดการผลิตทั้งสิ้น 85,902 ตัว
และในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้นก็ได้ทำการผลิตรุ่น LOMO 135M ในระหว่างปี ค.ศ.1980-1984 ขึ้นมาแย่งตลาดกันเองอีก
โดย LOMO 135M มียอดการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ 89,500 ตัวครับ
ถือได้ว่า LOMO ในตระกูล 135 เป็นผลผลิตอันโด่งดังรุ่นหนึ่งจากโรงงาน LOMO ในเลนินกราดเชียวนะครับ
โดยในแต่ระรุ่นก็จะมีรุ่นแยกย่อยไปอีกเยอะแยะตาแป๊ะฉ่าย ซึ่งเราไม่ต้องไปให้ความสำคัญมากนักครับ
เอาเป็นว่าเกือบทุกโมเดลของ LOMO 135 นี้ จะใช้เลนส์ Industar-73 2.8/40 เป็นมาตรฐาน
มียกเว้นเพียง 2 โมเดลย่อยเท่านั้นที่ใช้เลนส์ Triplet T-43 4/40 จากกล้อง Smena-8M เป็นมาตรฐาน
ซึ่งก็พบเห็นได้ไม่บ่อยนักครับ ถือว่าเข้าขั้น “หายาก” ทีเดียว ถ้าพบเจอก็จงอย่าลังเลที่จะซื้อมาเก็บเอาไว้นะครับ
ผมได้ LOMO 135M สภาพสวยปิ๊งมาตัวหนึ่งโดย “บังเอิญ” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ (เกือบปีแล้ว)
ชิ้นเลนส์จัดว่าเข้าขั้น perfect ไร้ริ้วรอย ไร้รา ฝ้า ฝุ่นมากวนใจ
แต่ผู้ขายระบุว่า For parts เนื่องจากชัตเตอร์ไม่ทำงาน จึงบอกราคารวมส่งเพียง 925 บาทเท่านั้น
ซึ่งถือว่าถูกมากครับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้น ราคาของรุ่นนี้ในสภาพ “เน่าๆ” ยังวิ่งอยู่เกือบสองพันบาทไทยทั้งนั้น
ผมจึงไม่รีรอ และสั่งนำเข้าราชอาณาจักรไทยทันที โดยได้รับการอนุมัติเพื่อการยกเว้นภาษีนำเข้าจากรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อย
ผมจัดการถอดเลนส์ออกมา โดยใช้เวลาเพียงยี่สิบนาที
จากนั้นก็วิ่งไปโรงกลึงของพี่ชายย่านพระราม 2 ไม่ไกลจาก “ศาลพันท้ายนรสิงห์” ที่ทุกผู้คนให้ความเคารพนับถือนั่นแหละ
ทั้งนี้เพื่อให้ช่างอ๋า มือวางอันดับหนึ่งของ PK precission parts,co.ltd. เป็นผู้จัดการสร้างอแดปเตอร์ให้ตามแบบที่เขียนไว้
โดยการสร้างให้เป็นเมาท์ M39 ซึ่งช่างอ๋าใช้เวลาเพียง 9 นาที กับอีก 58.6 วินาที เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
กลายร่างเป็น Industar-73 2.8/40 M39 พร้อมออกใช้งานได้ทันที
เพียงแต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่มีโอกาสนำไปทดสอบ จึงนอนนิ่งๆอยู่ในตู้เกือบหนึ่งปี HA HA HA!!!
Industar-73 เป็นเลนส์ขนาดกระทัดรัด ระยะทำการ 40mm เอฟสต๊อปกว้างสุด 2.8 ระยะ Minimum focus 1 เมตร
นอกเหนือจากที่ประจำการบนกล้อง LOMO 135 แล้ว มันยังถูกติดตั้งอยู่บนกล้อง Electra-112 อีกด้วย
เพียงแต่เวอร์ชั่นที่ติดอยู่บนกล้อง Electra-112 นั้นจะมีหน้าตาที่ modern กว่าเท่านั้นเองครับ
ในโอกาสที่เดือนธันวาคมปีนี้อยู่ในสภาพ “ว่างงาน” จึงถึงเวลาอันสมควรในการนำมันออกจากตู้เพื่อ “ลองของ” ครับ
ผมทำการ “ทดสอบ” โดยยอมเปลืองตังค์วิ่งรถไป “เกาะเกร็ด” ย่านนนทบุรี เพื่อทำความรู้จักกับมันให้มากที่สุด
ซึ่งคราวนี้ผมจับประกบกับ Fuji X-E1 เพื่อต้องการผลขององศาการรับภาพที่กว้างกว่าการใช้ Panasonic G3 เล็กน้อย
จากการเดินถ่ายภาพที่เกาะเกร็ดหนึ่งวันเต็มๆ (ความจริงถ่ายถาพแค่ครึ่งวัน แต่นั่งดริงค์เบียร์เย็นๆริมน้ำอีกครึ่งวัน HA HA HA!!! )
พบว่ามันตอบสนองการใช้งานได้ดีอย่างเหลือเชื่อ เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้
ความคมที่ 2.8 ซึ่งเป็นค่าช่องรับแสงกว้างสุดนั้น แทบไม่พบอาการ “ฟุ้ง” แต่อย่างใด
เพียงแต่ผมใช้ค่าช่องรับแสงระหว่าง 4.0 ถึง 8.0 เป็นหลักในการทดสอบครั้งนี้
มันให้ความคมที่กลมกล่อม ไม่คมขาด มีความนุ่มละมุนแฝงอยู่ให้เห็นตามสไตล์รัสเซียนเลนส์
เพราะฉะนั้นในประเด็นด้าน “ความคมชัด” ของเลนส์ถือว่าสอบผ่านแบบสบายๆครับ
เรื่องของการถ่ายทอดสีสัน มันทำได้ดีมาก สีสันมีความอิ่มตัว สดใส และเที่ยงตรง แม้ในสภาพแสงที่อยู่ในที่ร่ม
ส่วนในสภาพแสงแดดจัด มันยิ่งทำได้ดียิ่งขึ้น มีความ Bright เสมือนเลนส์ราคาแพงทั้งหลายในท้องตลาด
ที่สำคัญคือแทบไม่ปรากฎอาการแสงฟุ้งเข้าหน้าเลนส์เลย แม้ไม่ได้ใช้ Hood ในการช่วยบังแสง
ซึ่งมันแตกต่างจากเลนส์รัสเซียเกรด “ธรรมดา” ทั่วๆไปครับ
การเก็บรายละเอียดในสภาพแสงที่มีความเปรียบต่างสูง มันทำได้ “เกือบดี” ครับ
เนื่องจากหากมีความต่างของแสงมากกว่า 4 stop ส่วนที่มืดก็จะไม่เห็นรายละเอียด
หรือส่วนที่สว่างก็จะขาวโพลนทีเดียว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกเอาแบบไหน
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ถือว่าเป็น “ข้อด้อย” แต่อย่างใด เนื่องจากมันเป็นผลผลิตเมื่อเกือบ “สี่สิบ” ปีก่อนนะครับ
กล้องในยุคสมัยนั้นก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้นแหละ ต่อให้เป็นกล้องจากค่ายเยอรมันก็เถอะ
ซึ่งเจ้า Industar-73 สามารถทำได้ขนาดนี้ ก็ถือว่าเข้าขั้นยอดเยี่ยมแล้ว
แต่หากความเปรียบต่างของแสงต่างกันเพียง 2 ถึง 3 stop มันสามารถให้รายระเอียดได้อย่างไม่มีที่ติจริงๆครับ
องศาการรับภาพในพิกัด 40mm บน APSC format ถือว่าเหมาะกับการเดินเก็บบรรยากาศรอบตัวเป็นอย่างยิ่ง
ไม่กว้าง และไม่แคบจนเกินไป เป็นเลนส์ประเภท “ตัวเดียว เที่ยวทั่วไทย” ที่ดีที่สุดตัวหนึ่งในความเห็นของผม
ในส่วนของการเล่นกับการ “ระเบิด” ฉากหลัง
หรือการละลาย background ที่หลายท่านอาจนิยมให้ละลายแบบหลุดโลกไปเลยนั้น
ต้องขอบอกว่ามันไม่เหมาะกับผู้ที่มี “รสนิยม” แบบนั้นสักเท่าไหร่นัก
เนื่องจากมันถูกผลิตขึ้นมาเพื่อการเก็บรายละเอียดแบบครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุดในสไตล์กล้องคอมแพค
เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นเลนส์ที่มี “ระยะชัดลึก” ที่กว้างมากครับ
คล้ายๆกับเลนส์มาตรฐานบนกล้อง compact ทั่วๆไปนั่นแหละ
หากต้องการระเบิดฉากหลังจริงจัง ก็ต้องโฟกัสที่ระยะใกล้ที่สุด แล้วทิ้ง background ให้เบลอก็ได้เหมือนกัน
แต่มันก็จะเบลอในแบบฉบับของ wide angle ที่มีความ “บาน” ออกเล็กน้อยนะครับ ไม่ต้องแปลกใจ
ทั้งนี้ในความเห็นส่วนตัวของผมสรุปได้ว่า Industar-73 ตัวนี้มันให้คุณภาพที่เกินราคาไปมากจริงๆครับ
สามารถใช้งานในแบบ “จริงจัง” ได้อย่างไม่เคอะเขิน คุณภาพไฟล์ที่ได้สามารถขยายภาพขนาด 20x24 นิ้วได้สบายๆ
เก็บรายละเอียดได้ดี แต่อาจไม่ถึงขั้น perfect เมื่อเทียบกับเลนส์รุ่นใหม่ๆ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าครับ
หากจะเทียบเคียงกับเลนส์รัสเซียเมาท์ M39 ในพิกัดเดียวกันอย่าง Industar-61 , Industar-26M หรือ Industar-61LD
ผมเห็นว่ามันมีความใกล้เคียงกันมาก แต่ Industar-73 มันให้ความรู้สึกที่ Bright กว่าเล็กน้อย
แต่หากเทียบกับพวก Helios-44 series แล้วละก็ มันยัง “ด้อย” กว่านิดเดียวจริงๆครับ
ที่ว่าด้อยกว่า ก็เป็นประเด็นด้าน Minimum focus เท่านั้นเองจริงๆ
สุดท้ายนี้หากสมาชิกท่านใดสามารถโมดิฟายมันได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนัก
ก็ขอแนะนำให้เก็บเข้า waiting list ได้เลยครับ รับรองว่าไม่ผิดหวังจริงๆสำหรับ Industar-73 ตัวนี้
เลนส์ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทาน ภาพลักษณ์ที่คลาสสิก คุณภาพเป็นเลิศไม่แพ้เลนส์ราคาเทพๆทั้งหลาย
แต่หากว่าต้องหาซื้อกล้องและต้องมาจ่ายค่า “โม” รวมแล้วสองพันบาทขึ้นไป
ก็ขอแนะนำว่า “กรุณาใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ต่อไป โดยไม่ต้องมีมันก็ได้” จะดีกว่าครับ HA HA HA!!!
ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง เดินทางด้วยความไม่ประมาทเสมอครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ!!!