เหตุแห่งการเบียดเบียน

“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์
อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนาอยู่ว่า
เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กัน
และกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มี
ข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันเล่า พระเจ้าข้า ? ”
จอมเทพ ! ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่
(มัจฉริยะ) นั่นแล เป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาค
คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนา
อยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มี
การเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็น
ผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียน
แก่กันและกันได้.
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น
มีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น (สมุทัย) มีอะไรเป็น
เครื่องทำให้เกิด (ชาติกะ) มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภวะ) ? เมื่ออะไรมีอยู่ ความ
อิจฉาและความตระหนี่จึงมี ? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่
จึงไม่มี พระเจ้าข้า ? ”
จอมเทพ ! ความอิจฉา และความตระหนี่ นั้น
มีสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (ปิยาปฺปิย) นั่นแล
เป็นต้นเหตุ... เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักไม่มีอยู่
ความอิจฉาและความตระหนี่ก็ไม่มี.
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รัก
นั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ...ฯลฯ... ? เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและ
สิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี ? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงไม่มี
พระเจ้าข้า ? ”
จอมเทพ ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น
มีฉันทะ (ความพอใจ ) เป็นต้นเหตุ...ฯลฯ... เมื่อฉันทะ ไม่มีอยู่
สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี...
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ศาสนาพุทธ วัด ปฏิบัติธรรม ทำบุญ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่