สวัสดีครับ ผมมีข้อมูลมาแบ่งปันเพื่อนที่น้องนักลงทุนทุกท่านน่ะครับ ผมอยากจะแบ่งกันการสรุปเนื้อหาของผม ขอฝากตัวด้วยนะครับ
เนื่องจากผมอัพโหลดรูปไม่เป็น หากใครอยากเห็นแบบมีรูปด้วย ข้อมูลเต็มจะอยู่ในลิ้งนี้น่ะครับ
https://www.facebook.com/notes/investdiary-แบ่งปันความรู้การลงทุน/kool-ลดโลกร้อนด้วยลมเย็นๆ/879193958882519
======================================================================
======================================================================
ถ้าพูดถึงพัดลมไอน้ำแล้วเราก็คงจะนึกถึงใครอื่นไปไม่ได้นอกจาก MASTERKOOL ส่วนตัวไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ แต่ทำไมถึงนึกยี่ห้อนี่ออกก็ไม่แน่ใจ คงเป็นเพราะว่าการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้ทำได้ค่อนข้างดี บริษัทเน้นไปทางพัดลมไอน้ำ ทำให้คนจำบริษัทได้ ต่างจากยี่ห้ออื่นที่ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างทำให้ไม่มีจุดเด่นที่คนทั่วไปสามารถจำได้ อนาคตของบริษัทหลังจากเข้าตลาดจะเป็นอย่างไรนั้นก็จะต้องมาดูอีกที
ข้อมูลทั่วไป
บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอเนชั่นแนล จำกัด
ธุรกิจหลักคือการออกแบบ จัดหา และจำหน่ายเครื่องทำความเย็น เช่น พัดลมไอเย็น พัดลมไอน้ำ ภายใต้แบรนด์ MASTERKOOL, Cooltop บริษัทไม่ได้ผลิตเองแต่จะออกแบบและให้ต่างประเทศผลิตให้เพราะมีต้นทุนต่ำกว่า หรือนำเข้ามาและเอาแบรนด์ตัวเองติดเข้าไป
จัดจำหน่ายผ่านตัวแทนทั่วประเทศและค้าปลีกทั่วไป และยังมีออนไลน์อีกด้วย
บริษัทย่อย 1 บริษัทคือ ingreen ทำธุรกิจจำหน่ายและให้บริการระบบโอโซนที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร ซึ่งมีคุณสมบัติเช่น การเพิ่มความสะอาดให้กับอากาศและช่วยประหยัดไฟ
ผลิตภัณฑ์ของ Kool แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
พัดลมไอน้ำ MASTERKOOL คือพัดลมและมีไอนำ้คล้ายๆสเปรย์
พัดลมไอเย็น MASTERKOOL ประหยัดพลังงานกว่าเครื่องปรับอากาศถึง 40%
พัดลมอุตสาหกรรม MASTERKOOL และ Cooltip
บริษัทยังมีบริการให้เช่าติดตั้งระบบปรับอากาศสำหรับพื้นที่กลางแจ้งอีกด้วย
รายได้หลักจะมาจากการขายพัดลมไอเย็นเป็นหลัก มีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่พัดลมไอน้ำนั้นก็ดูหมดความเป็นที่นิยมไปแล้ว และพัดลมไอเย็นจะเข้ามาแทนที่
บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโอโซนอีกด้วยคือกำจัดกลิ่นรองเท้า และเครื่องล้างผัก ซึ่งโอโซนมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดและเพิ่มความสดชื่น
แบรนด์ MASTERKOOL นั้นมีความคุ้นเคยกันมากในไทย และมีส่วนแบ่งมากที่สุดในตลาด มาจากการที่บริษัทมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเช่นสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ป้ายโฆษณา social media
จุดเด่นของสินค้าคืออยู่ตรงกลางระหว่างพัดลมและเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจริงๆแล้วตลาดตรงนี้ก็ใหญ่พอสมควร ในหน้าหนาวก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไอน้ำก็ได้ แต่พอหน้าร้อนก็สามารถดับร้อนได้ดี
นอกจากจะขายในประเทศไทยแล้วยังมีตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย
ในประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนมาก ทำให้ปัจจุบันมูลค่าเครื่องปรับอากาศในประเทศยังเติบโตขึ้นปีละ 8% - 9% CAGR แน่นอนว่าพัดลมไอเย็นก็ได้รับการเติบโตเช่นกัน
ช่องทางการจำหน่ายก็มีผลมากในการเติบโตของยอดขาย และต้องนี้ก็ได้รับประโยชน์จากการที่ค้าปลีกก็มีการขยายตัวมากขึ้น
จุดเด่น
มีแบรนด์ที่ผู้คนรู้จัก และจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆหากพูดถึงพัดลมไอน้ำ
มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
มีสิทธิบัตรคุ้มครองนวัตกรรม ทำให้ไม่สามารถเลียนแบบได้
มีบริการหลังการขาย รับประกันฟรี 1 ปี
เติบโตได้ดีในไทยเพราะว่าภูมิอากาศ ให้ความเย็นได้ดีกว่าพัดลมในช่วงหน้าร้อน และประหยัดไฟกว่าเครื่องปรับอากาศ
ความเสี่ยง
ตลาดโตแน่นอนว่าต้องมีผู้เล่นเข้ามาเล่นด้วย ถึงแม้แบรนด์จะค่อนข้างดีแต่ว่าการเข้ามาเล่นของรายใหม่ไม่ยาก
ผลิตภัณฑ์สามารถเลียนแบบได้ไม่ยากเนื่องจากไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำเกินไป ถึงแม้จะมีสิทธิบัตร แต่ว่าก็ไม่ครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ทดแทนเช่นพัดลมไอเย็น
มีผู้รับจ้างผลิตรายใหญ่ ผลิตเป็นสัดส่วนถึง 70% และบริษัทต้องหาผู้ผลิตรายอื่นทดแทน
เป็นสินค้าที่คนไม่ได้ซื้อใช้ซ้ำ จะต้องพัฒนาสินค้าใหม่อยู่เสมอเพื่อเพิ่มยอดขาย หากต้องการเติบโต
=======================
งบการเงิน
รายได้
รายได้มีเพิ่มขึ้นประมาณ 35% CAGR ซึ่งถือว่าสูงมาก ส่วนใหญ่มาจากพัดลมไอเย็น โดยที่ต้นทุนนั้นก็ยังอยู่ที่ประมาณ 50% - 60% ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละปีด้วย แต่ก็ถือว่ายังใช้ได้ที่รักษาระดับไว้ได้
ค่าใช้จ่ายที่น่าเป็นห่วงคือการตลาดและบริหารที่เพิ่มขึ้นจนแทบไม่เหลือกำไร แต่ว่าหากสามารถทำให้แบรนด์ติดตลาดไประยะยาวแล้ว ก็คุ้มค่ามากในระยะยาว
กำไรสุทธิลดลงแต่ว่าก็เพราะค่าใช้จ่ายการตลาด
ฐานะทางการเงิน
เงินสดที่เพิ่มมาเพราะการเพิ่มทุน ไม่มีจุดที่น่าสนใจในตรงนี้
ลูกหนี้ก็เพิ่มขึ้นตามยอดขาย และต้องมีการสต้อกของมากขึ้นเพื่อรองรับการขาย
สินทรัพย์หมุนเวียนก็โตไปตามการเติบโตของธุรกิจ
หนี้สินส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็นเจ้าหนี้การค้า เกิดจากการสั่งซื้อเข้ามาเพื่อรองรับการเติบโต
เงินกู้ระยะสั้น และมีแนวโน้มลดลงจากการจ่ายคืน
โดยรวมแล้วหนี้สินถือว่าน้อยหากเทียบกับการเติบโต แปลว่าบริษัทมีความสามารถในการเติบโตโดยที่ไม่ต้องกู้มาก ค่อนข้างปลอดภัยต่อสภาพคล่อง
กระแสเงินสด
ถึงแม้บริษัทจะดูมีกำไร แต่ว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานนั้นยังติดลบอยู่ น่าจะเพราะว่ามีการลงทุนและค่าใช้จ่ายซื้อสินค้ามามาก เพื่อรองรับการเติบโต
ซึ่งเงินที่เอามาใช้จ่ายนั้นกูคือเงินทุนจะการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้นเอง
อัตราส่วน
บริษัทมีการเก็บหนี้ที่ดีกว่าการจ่ายหนี้ ทำให้ยังพอมีอำนาจในการต่อรองอยู่บ้าง แต่ Cash cycle ที่เพิ่มขึ้นอย่าต่อเนื่องก็ต้องดูให้ดีๆ
อัตราการทำกำไรยังต่ำมากที่ 2% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะค่าบริหารที่มาก แต่ยังให้อภัยได้เพราะการเติบโตที่ดี ROE 4% ก็ต่ำเหมือนกัน แต่ยังให้อภัยได้เพราะว่าได้ทุนมาเพิ่มอาจจะยังไม่ได้ใช้ทำอะไรมาก
โดยรวมแล้วก็ถือว่าบริษัทมีอนาคตที่ดี ตลาดเติบโต มีแบรนด์ที่ดีใช้ได้ มีหนี้น้อย แต่จุดที่น่าเป็นห่วงก็คือตลาดที่เติบโตนี้ผู้เล่นอื่นก็เข้ามาได้ และหากเกิดการแข่งตัดราคาขึ้นมา บริษัทนั้นจบแน่ๆเพราะกำไรแทบจะไม่มีอยู่แล้ว ต้องตามดูต่อไปว่าบริษัทจะบริหารต้นทุนได้ดีขึ้นหรือไม่ให้ปลอดภัยกว่านี้มากขึ้น และสินค้านั้นก็ยังเป็นสินที่ค้าไม่ใช่ซื้อซ้ำ ดังนั้นหากต้องการจะโตต่อเนื่องได้คงต้องสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ บริษัทจะเป็นผู้นำได้มั้ยก็ต้องติดตามต่อไป
อ่อ สุดท้าย ลองฟัง Oppday ล่าสุดกันดูน่ะครับ
https://goo.gl/wXHCYQ
ที่มา
https://www.facebook.com/investdiary
KOOL - ลดโลกร้อนด้วยลมเย็นๆ
เนื่องจากผมอัพโหลดรูปไม่เป็น หากใครอยากเห็นแบบมีรูปด้วย ข้อมูลเต็มจะอยู่ในลิ้งนี้น่ะครับ
https://www.facebook.com/notes/investdiary-แบ่งปันความรู้การลงทุน/kool-ลดโลกร้อนด้วยลมเย็นๆ/879193958882519
======================================================================
======================================================================
ถ้าพูดถึงพัดลมไอน้ำแล้วเราก็คงจะนึกถึงใครอื่นไปไม่ได้นอกจาก MASTERKOOL ส่วนตัวไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ แต่ทำไมถึงนึกยี่ห้อนี่ออกก็ไม่แน่ใจ คงเป็นเพราะว่าการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้ทำได้ค่อนข้างดี บริษัทเน้นไปทางพัดลมไอน้ำ ทำให้คนจำบริษัทได้ ต่างจากยี่ห้ออื่นที่ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างทำให้ไม่มีจุดเด่นที่คนทั่วไปสามารถจำได้ อนาคตของบริษัทหลังจากเข้าตลาดจะเป็นอย่างไรนั้นก็จะต้องมาดูอีกที
ข้อมูลทั่วไป
บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอเนชั่นแนล จำกัด
ธุรกิจหลักคือการออกแบบ จัดหา และจำหน่ายเครื่องทำความเย็น เช่น พัดลมไอเย็น พัดลมไอน้ำ ภายใต้แบรนด์ MASTERKOOL, Cooltop บริษัทไม่ได้ผลิตเองแต่จะออกแบบและให้ต่างประเทศผลิตให้เพราะมีต้นทุนต่ำกว่า หรือนำเข้ามาและเอาแบรนด์ตัวเองติดเข้าไป
จัดจำหน่ายผ่านตัวแทนทั่วประเทศและค้าปลีกทั่วไป และยังมีออนไลน์อีกด้วย
บริษัทย่อย 1 บริษัทคือ ingreen ทำธุรกิจจำหน่ายและให้บริการระบบโอโซนที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร ซึ่งมีคุณสมบัติเช่น การเพิ่มความสะอาดให้กับอากาศและช่วยประหยัดไฟ
ผลิตภัณฑ์ของ Kool แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
พัดลมไอน้ำ MASTERKOOL คือพัดลมและมีไอนำ้คล้ายๆสเปรย์
พัดลมไอเย็น MASTERKOOL ประหยัดพลังงานกว่าเครื่องปรับอากาศถึง 40%
พัดลมอุตสาหกรรม MASTERKOOL และ Cooltip
บริษัทยังมีบริการให้เช่าติดตั้งระบบปรับอากาศสำหรับพื้นที่กลางแจ้งอีกด้วย
รายได้หลักจะมาจากการขายพัดลมไอเย็นเป็นหลัก มีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่พัดลมไอน้ำนั้นก็ดูหมดความเป็นที่นิยมไปแล้ว และพัดลมไอเย็นจะเข้ามาแทนที่
บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโอโซนอีกด้วยคือกำจัดกลิ่นรองเท้า และเครื่องล้างผัก ซึ่งโอโซนมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดและเพิ่มความสดชื่น
แบรนด์ MASTERKOOL นั้นมีความคุ้นเคยกันมากในไทย และมีส่วนแบ่งมากที่สุดในตลาด มาจากการที่บริษัทมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเช่นสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ป้ายโฆษณา social media
จุดเด่นของสินค้าคืออยู่ตรงกลางระหว่างพัดลมและเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจริงๆแล้วตลาดตรงนี้ก็ใหญ่พอสมควร ในหน้าหนาวก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไอน้ำก็ได้ แต่พอหน้าร้อนก็สามารถดับร้อนได้ดี
นอกจากจะขายในประเทศไทยแล้วยังมีตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย
ในประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนมาก ทำให้ปัจจุบันมูลค่าเครื่องปรับอากาศในประเทศยังเติบโตขึ้นปีละ 8% - 9% CAGR แน่นอนว่าพัดลมไอเย็นก็ได้รับการเติบโตเช่นกัน
ช่องทางการจำหน่ายก็มีผลมากในการเติบโตของยอดขาย และต้องนี้ก็ได้รับประโยชน์จากการที่ค้าปลีกก็มีการขยายตัวมากขึ้น
จุดเด่น
มีแบรนด์ที่ผู้คนรู้จัก และจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆหากพูดถึงพัดลมไอน้ำ
มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
มีสิทธิบัตรคุ้มครองนวัตกรรม ทำให้ไม่สามารถเลียนแบบได้
มีบริการหลังการขาย รับประกันฟรี 1 ปี
เติบโตได้ดีในไทยเพราะว่าภูมิอากาศ ให้ความเย็นได้ดีกว่าพัดลมในช่วงหน้าร้อน และประหยัดไฟกว่าเครื่องปรับอากาศ
ความเสี่ยง
ตลาดโตแน่นอนว่าต้องมีผู้เล่นเข้ามาเล่นด้วย ถึงแม้แบรนด์จะค่อนข้างดีแต่ว่าการเข้ามาเล่นของรายใหม่ไม่ยาก
ผลิตภัณฑ์สามารถเลียนแบบได้ไม่ยากเนื่องจากไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำเกินไป ถึงแม้จะมีสิทธิบัตร แต่ว่าก็ไม่ครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ทดแทนเช่นพัดลมไอเย็น
มีผู้รับจ้างผลิตรายใหญ่ ผลิตเป็นสัดส่วนถึง 70% และบริษัทต้องหาผู้ผลิตรายอื่นทดแทน
เป็นสินค้าที่คนไม่ได้ซื้อใช้ซ้ำ จะต้องพัฒนาสินค้าใหม่อยู่เสมอเพื่อเพิ่มยอดขาย หากต้องการเติบโต
=======================
งบการเงิน
รายได้
รายได้มีเพิ่มขึ้นประมาณ 35% CAGR ซึ่งถือว่าสูงมาก ส่วนใหญ่มาจากพัดลมไอเย็น โดยที่ต้นทุนนั้นก็ยังอยู่ที่ประมาณ 50% - 60% ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละปีด้วย แต่ก็ถือว่ายังใช้ได้ที่รักษาระดับไว้ได้
ค่าใช้จ่ายที่น่าเป็นห่วงคือการตลาดและบริหารที่เพิ่มขึ้นจนแทบไม่เหลือกำไร แต่ว่าหากสามารถทำให้แบรนด์ติดตลาดไประยะยาวแล้ว ก็คุ้มค่ามากในระยะยาว
กำไรสุทธิลดลงแต่ว่าก็เพราะค่าใช้จ่ายการตลาด
ฐานะทางการเงิน
เงินสดที่เพิ่มมาเพราะการเพิ่มทุน ไม่มีจุดที่น่าสนใจในตรงนี้
ลูกหนี้ก็เพิ่มขึ้นตามยอดขาย และต้องมีการสต้อกของมากขึ้นเพื่อรองรับการขาย
สินทรัพย์หมุนเวียนก็โตไปตามการเติบโตของธุรกิจ
หนี้สินส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็นเจ้าหนี้การค้า เกิดจากการสั่งซื้อเข้ามาเพื่อรองรับการเติบโต
เงินกู้ระยะสั้น และมีแนวโน้มลดลงจากการจ่ายคืน
โดยรวมแล้วหนี้สินถือว่าน้อยหากเทียบกับการเติบโต แปลว่าบริษัทมีความสามารถในการเติบโตโดยที่ไม่ต้องกู้มาก ค่อนข้างปลอดภัยต่อสภาพคล่อง
กระแสเงินสด
ถึงแม้บริษัทจะดูมีกำไร แต่ว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานนั้นยังติดลบอยู่ น่าจะเพราะว่ามีการลงทุนและค่าใช้จ่ายซื้อสินค้ามามาก เพื่อรองรับการเติบโต
ซึ่งเงินที่เอามาใช้จ่ายนั้นกูคือเงินทุนจะการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้นเอง
อัตราส่วน
บริษัทมีการเก็บหนี้ที่ดีกว่าการจ่ายหนี้ ทำให้ยังพอมีอำนาจในการต่อรองอยู่บ้าง แต่ Cash cycle ที่เพิ่มขึ้นอย่าต่อเนื่องก็ต้องดูให้ดีๆ
อัตราการทำกำไรยังต่ำมากที่ 2% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะค่าบริหารที่มาก แต่ยังให้อภัยได้เพราะการเติบโตที่ดี ROE 4% ก็ต่ำเหมือนกัน แต่ยังให้อภัยได้เพราะว่าได้ทุนมาเพิ่มอาจจะยังไม่ได้ใช้ทำอะไรมาก
โดยรวมแล้วก็ถือว่าบริษัทมีอนาคตที่ดี ตลาดเติบโต มีแบรนด์ที่ดีใช้ได้ มีหนี้น้อย แต่จุดที่น่าเป็นห่วงก็คือตลาดที่เติบโตนี้ผู้เล่นอื่นก็เข้ามาได้ และหากเกิดการแข่งตัดราคาขึ้นมา บริษัทนั้นจบแน่ๆเพราะกำไรแทบจะไม่มีอยู่แล้ว ต้องตามดูต่อไปว่าบริษัทจะบริหารต้นทุนได้ดีขึ้นหรือไม่ให้ปลอดภัยกว่านี้มากขึ้น และสินค้านั้นก็ยังเป็นสินที่ค้าไม่ใช่ซื้อซ้ำ ดังนั้นหากต้องการจะโตต่อเนื่องได้คงต้องสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ บริษัทจะเป็นผู้นำได้มั้ยก็ต้องติดตามต่อไป
อ่อ สุดท้าย ลองฟัง Oppday ล่าสุดกันดูน่ะครับ https://goo.gl/wXHCYQ
ที่มา https://www.facebook.com/investdiary