วันนี้จะมาแชร์ประสบการณ์ว่าด้วยเรื่อง “อาการหัวใจเต้นเร็ว” หรือ “หัวใจเต้นผิดจังหวะ”
...........Background..................
เป็นคนกระฉับกระเฉง ว่องไว พลังงานเหลือเฟือ ไม่เหนื่อยง่าย
ไม่เคยมีเหงื่อออกตามฝ่ามือ (หรือมีตามปกติ ไม่เยอะ)
ถ้าลุกไว อาจมีอาการหน้ามืด เพราะความดันค่อนข้างต่ำ
ออกกำลังกาย พอสมควร แต่ไม่สม่ำเสมอ ขณะออกกำลังกายไม่มีแน่นหน้าอก หรืออาการใจสั่นใดๆ
อัตราการเต้นของหัวใจปกติ อยู่ที่ 60 - 70 ครั้ง / นาที
อัตราการเต้นของหัวใจ ขณะออกกำลังกาย โดยการเดินลู่ ที่ความเร็ว 4.5 จะอยู่ราวๆ 90 - 105 ครั้งต่อนาที
.........…จุดเริ่มต้นของอาการ และลักษณะอาการ ..............
อีฟมีอาการ ขอให้คำว่าอาการ คือ อาการที่เป็นนี่แหละ มีอาการครั้งแรก น่าจะ ม. 4
โดยอาการคือ จะเริ่มจากแน่นหน้าอกก่อน แน่นแบบจุกใกล้ๆ คอเลย แล้ว ตึก!!! หัวใจจะเต้นเร็ว กว่าปกติ
ซึ่งคนปกติจะเต้นประมาณ 72 ครั้ง / นาที แต่ถ้ามีอาการหัวใจอีฟจะเต้นประมาณ 180 - 200 ครั้ง / นาที
ความรู้สึกคือ จะแน่นหน้าอก จุกมาถึงคอ ตาพร่า หูอื้อ หัวใจจะเต้นเร็วและแรง จนมองดูที่เสื้อคือกระเพื่อมเลย
บางทีหัวโยกไปตามจังหวะที่หัวใจเต้น คือมันเต้นแรงมาก
, , , ดูแลตัวเองโดยการนอนนิ่งๆ หลับตา หายใจให้เป็นจังหวะ ช้าๆ
โดยอาการที่ว่า จะหายภายใน 30 นาที - 2 ชั่วโมงแล้วแต่ครั้ง ซึงอาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ
จะเกิดแค่ ปีละ 1 - 2 ครั้ง บางปีไม่เป็น บางปีหนักหน่อยจะ 4 - 5 ครั้ง
, , , สังเกตตัวเองได้ว่า มักมีอาการเมื่อกินอาหารไม่ตรงเวลา แล้วมีกรดไหลย้อนนำมาก่อน บางทีเป็นตอนหิว
(คนอื่นหิวคืออยาก แต่อีฟหิวคือ กรดในท้องจะเริ่มโครกคราก และเริ่มเสียดเแน่นหน้าอก)
หรือบางทีเป็นหลังกินอาหาร อิ่มมากๆ เช่นอัดบุฟเฟต์ แบบแน่นๆ มา
เคยมีอาการครั้งหนึ่งหลังกินหมูกระทะ ตอนนั้นน่าจะเรียน ปี 2 ไปถึงอาการหายพอดี เลยไม่ได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
วันนั้น คุณหมอที่ โรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ที่ห้องฉุกเฉิน บอกกับอีฟว่าไม่ใช่โรคหัวใจ
เป็นแค่โรคกระเพาะอาหาร คืออาการกรดไหลย้อน เลยอาจจะแสบแน่นหน้าอก และหัวใจเต้นเร็ว
อีฟก็เชื่อตามนั้นมาตลอด
เวลาผ่านไป ก็มีอาการเป็นระยะ ปีละครั้ง สองครั้ง และเป็นแบบที่บอกคือ เกิดอาการเมื่อมีกรดในกระเพาะ
เลยพยายามดูแลตัวเอง โดยการกินอาหารให้ตรงเวลา และพยายามหลีกเลี่ยงการเกิดกรดในกระเพาะให้มากที่สุด
.................เมื่อไปหาหมอตอนมีอาการ......................
ต่อมาเมื่อสัก สองหรือสามปีที่แล้ว อีฟไปหาหมอที่โรงพยาบาลประจำอำเภอแห่งหนึ่ง ไปตอนมีอาการพอดี
ไปถึงหัวใจเริ่มเต้นช้าลง แต่ก็ยังเร็วอยู่ ตอนนั้นหมอเจาะเลือดและส่งไปตรวจหาว่ามีอาการของไทรอยด์หรือไม่
(เพราะหัวใจเต้นเร็วอาจเกิดจากไทรอยด์ก็ได้) ครั้งนั้นได้นอน รพ. ประมาณ 2 คืน
เวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน ผลไทรอยด์ออกมาคือปกติ ไม่เป็นอะไร
ตอนนั้นอีฟยังคิดในใจว่า มันก็แค่โรคกระเพาะ ทำไมคุณหมอไม่เข้าใจ (คือเชื่อคุณหมอท่านแรกมาก)
.................เหตุการณ์ครั้งสำคัญ....................
จนกระทั่งวันที่ 26 มิถุนายน 2559 (ปีนี้นี่เอง)
คือวันนั้นมีกิจกรรมทั้งวัน (กิจกรรมคนอื่นนะคะ เราแค่นั่งดู) แต่มันสนุกมาก จนลืมตัว ลืมดูเวลา
จนบ่ายสอง ยังไม่ได้กินข้าว มีแค่ลูกชิ้น และขนมเล็กๆ น้อยๆ พอประทัง
สักพักอาการมาเลย เริ่มจุกแน่นที่คอ เรารู้ตัวแล้วตอนนั้น ว่าอาการมาแน่ๆ เลยตัดสินใจเดินขึ้นไปนอนพักที่ห้องพัก
โดยบอกเพื่อนไว้แล้ว ว่าขึ้นไปข้างบนก่อน เหมือนจะมีอาการ
และตามคาด สักพักอาการก็มา ตึก!!! ตึก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ หัวใจเต้นเร็วมาก หัวโยกไปตามจังหวะอีกครั้ง
เสื้อกระเพื่อมไปตามแรงที่หัวใจบีบตัว
เริ่มแน่นหน้าอก ตาพร่า หูอื้อ จุกแน่นจนถึงคอ
พยายามนอนนิ่งๆ เอามือกดหน้าอกตัวเองไว้ (เพราะมันเจ็บ)
เวลาผ่านไปราวๆ ครึ่ง ชม. ได้ เพื่อนขึ้นมาตาม และดูท่าไม่ดีแล้ว เลยพาไปโรงพยาบาลประจำอำเภอ
ไปถึง ก็เดินไปห้องฉุกเฉิน เหมือนไม่เป็นอะไร แต่เมื่อพยาบาลวัดชีพจรแล้ว ทุกคนพุ่งความสนใจมาที่อีฟคนเดียว
เจาะเลือด ฉีดยา วัดคลื่นหัวใจ บลา ๆ ๆ รวดเร็วไปหมด
ได้ยินเสียงพูดประมาณ ว่า “198 ครั้ง / นาที” “ฉีดอะดีโนซีน เลย”
ตอนนั้นในใจไม่ได้คิดอะไร ก็คิดว่ามันก็เหมือนทุกครั้งที่เป็น เดี๋ยวก็หาย ไม่มีอะไรมาก แค่โรคกระเพาะ
และก็นอน รพ. ตามระเบียบ 2 หรือ 3 คืนไมแน่ใจ
ระหว่างนั้น ทุกคนก็เป็นห่วงและบอกว่าไปตรวจหัวใจหน่อย
ตอนนั้น ก็ยังยืนยันคำเดิม (ในใจ) ว่า มันก็แค่โรคกระเพาะ กลัวอะไรกัน
แต่ก็เพื่อความสบายใจของทุกคน เมื่อออกจาก รพ. อีฟเลยไปตรวจที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
...........การวินิจฉัยครั้งสำคัญ...............
ประมาณต้นเดือน กรกฎาคม 2559 อีฟตัดสินใจไปหาหมอที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อไปถึงที่โรงพยาบาลศูนย์หัวใจ ก็ได้ตรวจคลื่นหัวใจ EKG และพบหมอ
คุณหมอบอกประมาณว่า (อีฟสรุปเองนะคะ ตอนนั้นหมอพูดอาจจะรายละเอียดไม่ตรงตามนี้)
คุณเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการส่งกระแสไฟฟ้าในหัวใจลัดวงจร ทำให้บางครั้งหัวใจเต้นเร็ว
อีฟเลยถามหมอไปว่า มันจะมีอาการเมื่ออีฟกินอาหารไม่ตรงเวลา หรือมีกรดในกระเพาะ
คนอื่นๆ จะเป็นเหมือนกันไหม
คุณหมอตอบว่า ที่คุณเป็นมันเป็นมาตั้งแต่แรก คือความผิดปกติของหัวใจ (ใช้คำว่ากล้ามเนื้อหัวใจหรือเปล่าไม่แน่ใจ)
โดยสิ่งกระตุ้นแต่ละคน อาจจะต่างกันออกไป บางคนอาจจะความเครียด บางคนการพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่คุณคือกรดในกระเพาะ
แต่ถ้าคนที่หัวใจเขาไม่มีลักษณะแบบคุณ ไม่ว่าเขาจะมีกรดอย่างไร เขาจะไม่มีอาการหัวใจเต้นเร็วแบบนี้
หมอแนะนำให้รักษาโดยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง และหลังจากนั้นหมอก็นัดวันให้คือต้นเดือนธันวาคม 2559
................อาการครั้งที่ 2 ของปี 2559...........................
หลังจากนั้น ก็ใช้ชีวิตตามปกติ พยายามหลีกเลี่ยงการเกิดกรดในกระเพาะอาหาร
จนกระทั่ง วันที่ 29 สิงหาคม 2559 วันนั้นไปเดินป่ากับเพื่อน ที่อุทยานแห่งหนึ่ง
ขณะที่กำลังนั่งรถ (รับจ้าง) นั้งที่กระบะรถเลยนะคะ กลับไปยังที่จอดรถ จุดเริ่มเดินป่า ก็มีอาการอีกครั้ง
เริ่มด้วยการแน่นหน้าอก จุกถึงคอ ตอนนั้นรู้แล้ว ว่าอาการอาจจะมา เลยรีบกินยาลดกรด และยาธาตุน้ำขาว
แต่ก็ไม่ทัน สักพัก ตึก!!!! ตึก ๆ ๆ ๆ ๆ มาอีกครั้ง ตอนนั้นเพื่อนถามว่าไหวไหม เลยตอบเพื่อนไปว่าไหวๆ
เดี๋ยวก็หาย และมาเจอ ม็อป ที่ภูทับเบิกพอดี รถเลยได้จอดนิ่งๆ อีฟเลยเข้าไปนอนข้างในรถ
สัก 15 นาที อาการก็หายไป (ครั้งนี้ มาไว เคลมไว ดีหน่อย) เหลืออาการแน่นหน้าอกเล็กน้อย แต่เดินไหว
หลังจากนั้นก็เดินฝ่าฝูงชน ประมาณ 3 – 4 กม. ไปหารถเจ้าหน้าที่เพื่อไปส่งที่จอดรถอีกที
= จบ = (ที่จริงไม่ต้องเล่าก็ได้เนาะ 555 )
.....................เมื่อถึงวันนัดรักษา....................................
วันที่ 12 ธันวาคม 2559
ไปรายงานตัวที่ รพ. ก่อนเวลา 12:00 น. วันนี้เป็นวันที่ต้องไปเตรียมตัวก่อนทำการรักษา
เราไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร กินทุกอย่างตามปกติ
พยาบาลทำการเจาะเลือด และนำเราไปเอ็กซ์เรย์ช่องอก
หลังจากนั้น เราไปพักที่ห้องพัก (ที่ทำการจองไว้ในวันนัด)
ตอนนี้เรายังกินทุกอย่างได้เป็นปกติ แต่เพิ่มเติมคือต้องบันทึกปริมาณน้ำที่เรารับเข้า และปัสสาวะออก
และต้องงดน้ำ งดอาหาร เวลา 24:00 น. และเริ่มเข้าน้ำเกลือ เช้าวันที่ 13 ธ.ค.
และอีฟได้เขารับการจี้รักษา ประมาณ 11:30 น.
.......................ขั้นตอนการรักษา คร่าวๆ (เหรอ) ....................................
อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีได้หลายชนิด
ได้แก่
- Fibrillation คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (irregular heartbeat rhythm)
- Tachycardia คือ หัวใจเต้นเร็วกว่า 100 ครั้ง / นาที
- Bradycardia คือ หัวใจเต้นช้า คือน้อยกว่า 60 ครั้ง / นาที
อ้างอิงตามลิ้งค์นี้ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=2U-_Zse5a-8
ซึ่งภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) แบ่งได้ตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ
- Supraventricular Tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน
- Ventricular Tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง
อ้างอิงจาก
https://www.bangkokhospital.com/pacific-rim/index_th.php?Conditions-Treated/Ventricular-Tachycardia
เนื่องจากลักษณะของความผิดปกติคือหัวใจมีการส่งกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติ
การรักษาจึงเป็นการจี้ ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (มันใช่เลเซอร์ป่าวอะ) เรียกย่อๆ ว่าจี้ละกัน
โดยจะทำการเจาะบริเวณ ต้นขา
ที่มา :
http://www.stopafib.org/images/diagram-catheter.jpg
วิธีการจี้รักษา (สามารถดูตามลิ้งค์ได้นะคะ)
ปล.ในลิ้งค์จะเป็นการจี้แบบ สามมิติ แต่ไม่แน่ใจว่าที่อีฟรักษาเป็นแบบนี้หรือเปล่า เพราะเราไม่ได้เห็นจอไปกับคุณหมอ
https://www.youtube.com/watch?v=_WkTQB4ARfM
ออ ไม่ได้วางยาสลบค่ะ ฉีดยาชา เพราะระหว่างทำการรักษา คุณหมอต้องกระตุ้นให้มีอาการ
เพื่อจะได้ดูว่า กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณใดที่ผิดปกติ และจะได้จี้รักษา
(วิธีการจี้รักษา ตามวีดีโอเลยนะคะ)
ขณะทำ มีการกระตุ้นให้เกิดอาการ (เหมือนตอนที่เป็นจริงๆ) บอกตามตรงว่าเจ็บแน่นหัวใจมากค่ะ
เหมือนตอนที่เรามีอาการ แต่มากกว่าปกติ หลายเท่า มากจนน้ำตาไหล แน่นหน้าอก ปวดร้าวไปทั้งไหล่ซ้าย
แต่รู้สึกอุ่นใจ เพราะคุณหมอพูดว่า "นี่ไง เจอแล้ว" "ตรงนี้ด้วย" ฟังแล้วเหมือนเจอตำแหน่งมีปัญหา
และรู้สึกว่ากำลังรักษาให้ปัญหาหายไป ตอนนั้น แอบอมยิ้ม เราจะหายแล้ว อดทน อดทนนะ
สักพักคุณหมอก็บอกว่า เอาจี้เลย เท่านั้นแหละ เจ็บมาก มันก็คือเจ็บหัวใจแหละ
ตอนนั้น เจ็บแต่นอนยิ้ม หัวใจก็เต้นเร็ว ไปเรื่อยๆ จนมีเสียงพยาบาลมากระซิบข้างหูว่า
เจ็บหน่อยนะคะ เดี๋ยวมันจะดีขึ้นค่ะ ระหว่างนั้น ก็อดทนต่อไป
หลังจี้รักษาเสร็จ คุณหมอเดินมาบอกว่า สำเร็จนะครับ โอกาสหายขาด 95 %
ตอนนั้น ดีใจมาก
ออกจากห้องจี้หัวใจราวๆ 12:00 น. และกดห้ามเลือดอีกประมาณ 10 นาที ก่อนไปพักที่ห้อง
โดยห้ามขยับขาข้างที่เจาะเป็นเวลา 6 ชม.
...................ทดลอง ให้ร่างกายมีกรดในกระเพาะ......................
นอนพักรักษาตัวต่ออีก 1 คืน (คือวันที่ 13 ธันวาคม) และวันต่อมาก็กลับมารักษาตัวต่อที่บ้าน
วันที่ 15 ธันวาคม ลองทดสอบตัวเองเล็กๆ โดยการกินข้าว แล้วนอนเลย
เพราะปกติ ถ้ากินแล้วนอนทันที จะมีอาการกรดไหลย้อน และเสี่ยงต่อการมีอาการอีก
ปรากฏว่า หลับสบาย ไม่มีอาการใดๆ
..................... สุดท้าย .......................
อีฟอยากฝากไปถึงทุกคนที่มีอาการเหมือนอีฟ หรือคล้ายๆ กับที่อีฟเป็น
หรือมีญาติ หรือคนใกล้ชิด มีอาการแน่นหน้าอก จุกแน่นที่คอ และหัวใจเต้นเร็ว
อย่าคิดว่าไม่เป็นไรหรอก ทนได้ เดี๋ยวก็หาย
ทั้งๆ ที่อาการที่เป็นนี้ ถ้าหัวใจเต้นเร็วนานๆ เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายได้
นั่นคือเสี่ยงต่อการตายได้
อีฟใช้ชีวิต โดยไม่คิดเลยว่า สิ่งที่ตัวเองเป็นมันอันตราย
อีฟไปเที่ยว แต่ละที่ ไปลุยเครื่องเล่นแต่ละอย่าง ไม่ได้คิดว่าตัวเองเสี่ยงต่อการตายเลยสักนิดเดียว
รถไฟเหาะตีลังกา เรือไวกิ้ง กระโดดหอ และกำลังวางแผนจะไปโดดบันจี้จั๊มป์
สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ ความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ อย่ามองข้าม
อย่าคิดว่าไม่เป็นไร อย่าคิดว่า เดี๋ยวก็หาย
เพราะ ในโลกนี้ มีคำว่าสายไปเสมอ
ขอให้ทุกคนโชคดี สุขภาพดี ไ่ม่มีโรคภัย แข็งแรง นะคะ
ปล. หัวใจเต้นเร็ว อาจเกิดได้หลายสาเหตุ
บางกรณีไม่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย แต่กรณีนี้มีโอกาสค่ะ
ใครมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถาม ทักเข้ามาทางข้อความได้เลยนะคะ
ยินดีให้คำแนะนำค่ะ
.........
แก้ไขเพิ่มเติม ..........
หลังจากที่เขียนแชร์ประสบการณ์เรื่องนี้ออกไป มีคนสอบถามเข้ามาเยอะมาก
ขอเสริมเป็นข้อๆ ดังนี้นะคะ
1. ไปที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ตรวจ EKG ตอนไม่มีอาการค่ะ ผลคือรู้เลยว่าเป็น Tachycardia
2. อาการหัวใจเต้นเร็ว ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจเสมอไป อาจเกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
หรือ Panic คืออาการที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนวัติ
3. ค่าใช้จ่าย สอบถามจากเจ้าหน้าที่แล้ว ค่าจี้รักษาคือ 200,000 บาทค่ะ
==== แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว ภัยร้าย ที่ไม่ควรมองข้าม====
...........Background..................
เป็นคนกระฉับกระเฉง ว่องไว พลังงานเหลือเฟือ ไม่เหนื่อยง่าย
ไม่เคยมีเหงื่อออกตามฝ่ามือ (หรือมีตามปกติ ไม่เยอะ)
ถ้าลุกไว อาจมีอาการหน้ามืด เพราะความดันค่อนข้างต่ำ
ออกกำลังกาย พอสมควร แต่ไม่สม่ำเสมอ ขณะออกกำลังกายไม่มีแน่นหน้าอก หรืออาการใจสั่นใดๆ
อัตราการเต้นของหัวใจปกติ อยู่ที่ 60 - 70 ครั้ง / นาที
อัตราการเต้นของหัวใจ ขณะออกกำลังกาย โดยการเดินลู่ ที่ความเร็ว 4.5 จะอยู่ราวๆ 90 - 105 ครั้งต่อนาที
.........…จุดเริ่มต้นของอาการ และลักษณะอาการ ..............
อีฟมีอาการ ขอให้คำว่าอาการ คือ อาการที่เป็นนี่แหละ มีอาการครั้งแรก น่าจะ ม. 4
โดยอาการคือ จะเริ่มจากแน่นหน้าอกก่อน แน่นแบบจุกใกล้ๆ คอเลย แล้ว ตึก!!! หัวใจจะเต้นเร็ว กว่าปกติ
ซึ่งคนปกติจะเต้นประมาณ 72 ครั้ง / นาที แต่ถ้ามีอาการหัวใจอีฟจะเต้นประมาณ 180 - 200 ครั้ง / นาที
ความรู้สึกคือ จะแน่นหน้าอก จุกมาถึงคอ ตาพร่า หูอื้อ หัวใจจะเต้นเร็วและแรง จนมองดูที่เสื้อคือกระเพื่อมเลย
บางทีหัวโยกไปตามจังหวะที่หัวใจเต้น คือมันเต้นแรงมาก
, , , ดูแลตัวเองโดยการนอนนิ่งๆ หลับตา หายใจให้เป็นจังหวะ ช้าๆ
โดยอาการที่ว่า จะหายภายใน 30 นาที - 2 ชั่วโมงแล้วแต่ครั้ง ซึงอาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ
จะเกิดแค่ ปีละ 1 - 2 ครั้ง บางปีไม่เป็น บางปีหนักหน่อยจะ 4 - 5 ครั้ง
, , , สังเกตตัวเองได้ว่า มักมีอาการเมื่อกินอาหารไม่ตรงเวลา แล้วมีกรดไหลย้อนนำมาก่อน บางทีเป็นตอนหิว
(คนอื่นหิวคืออยาก แต่อีฟหิวคือ กรดในท้องจะเริ่มโครกคราก และเริ่มเสียดเแน่นหน้าอก)
หรือบางทีเป็นหลังกินอาหาร อิ่มมากๆ เช่นอัดบุฟเฟต์ แบบแน่นๆ มา
เคยมีอาการครั้งหนึ่งหลังกินหมูกระทะ ตอนนั้นน่าจะเรียน ปี 2 ไปถึงอาการหายพอดี เลยไม่ได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
วันนั้น คุณหมอที่ โรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ที่ห้องฉุกเฉิน บอกกับอีฟว่าไม่ใช่โรคหัวใจ
เป็นแค่โรคกระเพาะอาหาร คืออาการกรดไหลย้อน เลยอาจจะแสบแน่นหน้าอก และหัวใจเต้นเร็ว
อีฟก็เชื่อตามนั้นมาตลอด
เวลาผ่านไป ก็มีอาการเป็นระยะ ปีละครั้ง สองครั้ง และเป็นแบบที่บอกคือ เกิดอาการเมื่อมีกรดในกระเพาะ
เลยพยายามดูแลตัวเอง โดยการกินอาหารให้ตรงเวลา และพยายามหลีกเลี่ยงการเกิดกรดในกระเพาะให้มากที่สุด
.................เมื่อไปหาหมอตอนมีอาการ......................
ต่อมาเมื่อสัก สองหรือสามปีที่แล้ว อีฟไปหาหมอที่โรงพยาบาลประจำอำเภอแห่งหนึ่ง ไปตอนมีอาการพอดี
ไปถึงหัวใจเริ่มเต้นช้าลง แต่ก็ยังเร็วอยู่ ตอนนั้นหมอเจาะเลือดและส่งไปตรวจหาว่ามีอาการของไทรอยด์หรือไม่
(เพราะหัวใจเต้นเร็วอาจเกิดจากไทรอยด์ก็ได้) ครั้งนั้นได้นอน รพ. ประมาณ 2 คืน
เวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน ผลไทรอยด์ออกมาคือปกติ ไม่เป็นอะไร
ตอนนั้นอีฟยังคิดในใจว่า มันก็แค่โรคกระเพาะ ทำไมคุณหมอไม่เข้าใจ (คือเชื่อคุณหมอท่านแรกมาก)
.................เหตุการณ์ครั้งสำคัญ....................
จนกระทั่งวันที่ 26 มิถุนายน 2559 (ปีนี้นี่เอง)
คือวันนั้นมีกิจกรรมทั้งวัน (กิจกรรมคนอื่นนะคะ เราแค่นั่งดู) แต่มันสนุกมาก จนลืมตัว ลืมดูเวลา
จนบ่ายสอง ยังไม่ได้กินข้าว มีแค่ลูกชิ้น และขนมเล็กๆ น้อยๆ พอประทัง
สักพักอาการมาเลย เริ่มจุกแน่นที่คอ เรารู้ตัวแล้วตอนนั้น ว่าอาการมาแน่ๆ เลยตัดสินใจเดินขึ้นไปนอนพักที่ห้องพัก
โดยบอกเพื่อนไว้แล้ว ว่าขึ้นไปข้างบนก่อน เหมือนจะมีอาการ
และตามคาด สักพักอาการก็มา ตึก!!! ตึก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ หัวใจเต้นเร็วมาก หัวโยกไปตามจังหวะอีกครั้ง
เสื้อกระเพื่อมไปตามแรงที่หัวใจบีบตัว
เริ่มแน่นหน้าอก ตาพร่า หูอื้อ จุกแน่นจนถึงคอ
พยายามนอนนิ่งๆ เอามือกดหน้าอกตัวเองไว้ (เพราะมันเจ็บ)
เวลาผ่านไปราวๆ ครึ่ง ชม. ได้ เพื่อนขึ้นมาตาม และดูท่าไม่ดีแล้ว เลยพาไปโรงพยาบาลประจำอำเภอ
ไปถึง ก็เดินไปห้องฉุกเฉิน เหมือนไม่เป็นอะไร แต่เมื่อพยาบาลวัดชีพจรแล้ว ทุกคนพุ่งความสนใจมาที่อีฟคนเดียว
เจาะเลือด ฉีดยา วัดคลื่นหัวใจ บลา ๆ ๆ รวดเร็วไปหมด
ได้ยินเสียงพูดประมาณ ว่า “198 ครั้ง / นาที” “ฉีดอะดีโนซีน เลย”
ตอนนั้นในใจไม่ได้คิดอะไร ก็คิดว่ามันก็เหมือนทุกครั้งที่เป็น เดี๋ยวก็หาย ไม่มีอะไรมาก แค่โรคกระเพาะ
และก็นอน รพ. ตามระเบียบ 2 หรือ 3 คืนไมแน่ใจ
ระหว่างนั้น ทุกคนก็เป็นห่วงและบอกว่าไปตรวจหัวใจหน่อย
ตอนนั้น ก็ยังยืนยันคำเดิม (ในใจ) ว่า มันก็แค่โรคกระเพาะ กลัวอะไรกัน
แต่ก็เพื่อความสบายใจของทุกคน เมื่อออกจาก รพ. อีฟเลยไปตรวจที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
...........การวินิจฉัยครั้งสำคัญ...............
ประมาณต้นเดือน กรกฎาคม 2559 อีฟตัดสินใจไปหาหมอที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อไปถึงที่โรงพยาบาลศูนย์หัวใจ ก็ได้ตรวจคลื่นหัวใจ EKG และพบหมอ
คุณหมอบอกประมาณว่า (อีฟสรุปเองนะคะ ตอนนั้นหมอพูดอาจจะรายละเอียดไม่ตรงตามนี้)
คุณเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการส่งกระแสไฟฟ้าในหัวใจลัดวงจร ทำให้บางครั้งหัวใจเต้นเร็ว
อีฟเลยถามหมอไปว่า มันจะมีอาการเมื่ออีฟกินอาหารไม่ตรงเวลา หรือมีกรดในกระเพาะ
คนอื่นๆ จะเป็นเหมือนกันไหม
คุณหมอตอบว่า ที่คุณเป็นมันเป็นมาตั้งแต่แรก คือความผิดปกติของหัวใจ (ใช้คำว่ากล้ามเนื้อหัวใจหรือเปล่าไม่แน่ใจ)
โดยสิ่งกระตุ้นแต่ละคน อาจจะต่างกันออกไป บางคนอาจจะความเครียด บางคนการพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่คุณคือกรดในกระเพาะ
แต่ถ้าคนที่หัวใจเขาไม่มีลักษณะแบบคุณ ไม่ว่าเขาจะมีกรดอย่างไร เขาจะไม่มีอาการหัวใจเต้นเร็วแบบนี้
หมอแนะนำให้รักษาโดยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง และหลังจากนั้นหมอก็นัดวันให้คือต้นเดือนธันวาคม 2559
................อาการครั้งที่ 2 ของปี 2559...........................
หลังจากนั้น ก็ใช้ชีวิตตามปกติ พยายามหลีกเลี่ยงการเกิดกรดในกระเพาะอาหาร
จนกระทั่ง วันที่ 29 สิงหาคม 2559 วันนั้นไปเดินป่ากับเพื่อน ที่อุทยานแห่งหนึ่ง
ขณะที่กำลังนั่งรถ (รับจ้าง) นั้งที่กระบะรถเลยนะคะ กลับไปยังที่จอดรถ จุดเริ่มเดินป่า ก็มีอาการอีกครั้ง
เริ่มด้วยการแน่นหน้าอก จุกถึงคอ ตอนนั้นรู้แล้ว ว่าอาการอาจจะมา เลยรีบกินยาลดกรด และยาธาตุน้ำขาว
แต่ก็ไม่ทัน สักพัก ตึก!!!! ตึก ๆ ๆ ๆ ๆ มาอีกครั้ง ตอนนั้นเพื่อนถามว่าไหวไหม เลยตอบเพื่อนไปว่าไหวๆ
เดี๋ยวก็หาย และมาเจอ ม็อป ที่ภูทับเบิกพอดี รถเลยได้จอดนิ่งๆ อีฟเลยเข้าไปนอนข้างในรถ
สัก 15 นาที อาการก็หายไป (ครั้งนี้ มาไว เคลมไว ดีหน่อย) เหลืออาการแน่นหน้าอกเล็กน้อย แต่เดินไหว
หลังจากนั้นก็เดินฝ่าฝูงชน ประมาณ 3 – 4 กม. ไปหารถเจ้าหน้าที่เพื่อไปส่งที่จอดรถอีกที
= จบ = (ที่จริงไม่ต้องเล่าก็ได้เนาะ 555 )
.....................เมื่อถึงวันนัดรักษา....................................
วันที่ 12 ธันวาคม 2559
ไปรายงานตัวที่ รพ. ก่อนเวลา 12:00 น. วันนี้เป็นวันที่ต้องไปเตรียมตัวก่อนทำการรักษา
เราไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร กินทุกอย่างตามปกติ
พยาบาลทำการเจาะเลือด และนำเราไปเอ็กซ์เรย์ช่องอก
หลังจากนั้น เราไปพักที่ห้องพัก (ที่ทำการจองไว้ในวันนัด)
ตอนนี้เรายังกินทุกอย่างได้เป็นปกติ แต่เพิ่มเติมคือต้องบันทึกปริมาณน้ำที่เรารับเข้า และปัสสาวะออก
และต้องงดน้ำ งดอาหาร เวลา 24:00 น. และเริ่มเข้าน้ำเกลือ เช้าวันที่ 13 ธ.ค.
และอีฟได้เขารับการจี้รักษา ประมาณ 11:30 น.
.......................ขั้นตอนการรักษา คร่าวๆ (เหรอ) ....................................
อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีได้หลายชนิด
ได้แก่
- Fibrillation คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (irregular heartbeat rhythm)
- Tachycardia คือ หัวใจเต้นเร็วกว่า 100 ครั้ง / นาที
- Bradycardia คือ หัวใจเต้นช้า คือน้อยกว่า 60 ครั้ง / นาที
อ้างอิงตามลิ้งค์นี้ค่ะ https://www.youtube.com/watch?v=2U-_Zse5a-8
ซึ่งภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) แบ่งได้ตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ
- Supraventricular Tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน
- Ventricular Tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง
อ้างอิงจาก https://www.bangkokhospital.com/pacific-rim/index_th.php?Conditions-Treated/Ventricular-Tachycardia
เนื่องจากลักษณะของความผิดปกติคือหัวใจมีการส่งกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติ
การรักษาจึงเป็นการจี้ ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (มันใช่เลเซอร์ป่าวอะ) เรียกย่อๆ ว่าจี้ละกัน
โดยจะทำการเจาะบริเวณ ต้นขา
ที่มา : http://www.stopafib.org/images/diagram-catheter.jpg
วิธีการจี้รักษา (สามารถดูตามลิ้งค์ได้นะคะ)
ปล.ในลิ้งค์จะเป็นการจี้แบบ สามมิติ แต่ไม่แน่ใจว่าที่อีฟรักษาเป็นแบบนี้หรือเปล่า เพราะเราไม่ได้เห็นจอไปกับคุณหมอ
https://www.youtube.com/watch?v=_WkTQB4ARfM
ออ ไม่ได้วางยาสลบค่ะ ฉีดยาชา เพราะระหว่างทำการรักษา คุณหมอต้องกระตุ้นให้มีอาการ
เพื่อจะได้ดูว่า กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณใดที่ผิดปกติ และจะได้จี้รักษา
(วิธีการจี้รักษา ตามวีดีโอเลยนะคะ)
ขณะทำ มีการกระตุ้นให้เกิดอาการ (เหมือนตอนที่เป็นจริงๆ) บอกตามตรงว่าเจ็บแน่นหัวใจมากค่ะ
เหมือนตอนที่เรามีอาการ แต่มากกว่าปกติ หลายเท่า มากจนน้ำตาไหล แน่นหน้าอก ปวดร้าวไปทั้งไหล่ซ้าย
แต่รู้สึกอุ่นใจ เพราะคุณหมอพูดว่า "นี่ไง เจอแล้ว" "ตรงนี้ด้วย" ฟังแล้วเหมือนเจอตำแหน่งมีปัญหา
และรู้สึกว่ากำลังรักษาให้ปัญหาหายไป ตอนนั้น แอบอมยิ้ม เราจะหายแล้ว อดทน อดทนนะ
สักพักคุณหมอก็บอกว่า เอาจี้เลย เท่านั้นแหละ เจ็บมาก มันก็คือเจ็บหัวใจแหละ
ตอนนั้น เจ็บแต่นอนยิ้ม หัวใจก็เต้นเร็ว ไปเรื่อยๆ จนมีเสียงพยาบาลมากระซิบข้างหูว่า
เจ็บหน่อยนะคะ เดี๋ยวมันจะดีขึ้นค่ะ ระหว่างนั้น ก็อดทนต่อไป
หลังจี้รักษาเสร็จ คุณหมอเดินมาบอกว่า สำเร็จนะครับ โอกาสหายขาด 95 %
ตอนนั้น ดีใจมาก
ออกจากห้องจี้หัวใจราวๆ 12:00 น. และกดห้ามเลือดอีกประมาณ 10 นาที ก่อนไปพักที่ห้อง
โดยห้ามขยับขาข้างที่เจาะเป็นเวลา 6 ชม.
...................ทดลอง ให้ร่างกายมีกรดในกระเพาะ......................
นอนพักรักษาตัวต่ออีก 1 คืน (คือวันที่ 13 ธันวาคม) และวันต่อมาก็กลับมารักษาตัวต่อที่บ้าน
วันที่ 15 ธันวาคม ลองทดสอบตัวเองเล็กๆ โดยการกินข้าว แล้วนอนเลย
เพราะปกติ ถ้ากินแล้วนอนทันที จะมีอาการกรดไหลย้อน และเสี่ยงต่อการมีอาการอีก
ปรากฏว่า หลับสบาย ไม่มีอาการใดๆ
..................... สุดท้าย .......................
อีฟอยากฝากไปถึงทุกคนที่มีอาการเหมือนอีฟ หรือคล้ายๆ กับที่อีฟเป็น
หรือมีญาติ หรือคนใกล้ชิด มีอาการแน่นหน้าอก จุกแน่นที่คอ และหัวใจเต้นเร็ว
อย่าคิดว่าไม่เป็นไรหรอก ทนได้ เดี๋ยวก็หาย
ทั้งๆ ที่อาการที่เป็นนี้ ถ้าหัวใจเต้นเร็วนานๆ เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายได้
นั่นคือเสี่ยงต่อการตายได้
อีฟใช้ชีวิต โดยไม่คิดเลยว่า สิ่งที่ตัวเองเป็นมันอันตราย
อีฟไปเที่ยว แต่ละที่ ไปลุยเครื่องเล่นแต่ละอย่าง ไม่ได้คิดว่าตัวเองเสี่ยงต่อการตายเลยสักนิดเดียว
รถไฟเหาะตีลังกา เรือไวกิ้ง กระโดดหอ และกำลังวางแผนจะไปโดดบันจี้จั๊มป์
สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ ความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ อย่ามองข้าม
อย่าคิดว่าไม่เป็นไร อย่าคิดว่า เดี๋ยวก็หาย
เพราะ ในโลกนี้ มีคำว่าสายไปเสมอ
ขอให้ทุกคนโชคดี สุขภาพดี ไ่ม่มีโรคภัย แข็งแรง นะคะ
ปล. หัวใจเต้นเร็ว อาจเกิดได้หลายสาเหตุ
บางกรณีไม่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย แต่กรณีนี้มีโอกาสค่ะ
ใครมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถาม ทักเข้ามาทางข้อความได้เลยนะคะ
ยินดีให้คำแนะนำค่ะ
.........แก้ไขเพิ่มเติม ..........
หลังจากที่เขียนแชร์ประสบการณ์เรื่องนี้ออกไป มีคนสอบถามเข้ามาเยอะมาก
ขอเสริมเป็นข้อๆ ดังนี้นะคะ
1. ไปที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ตรวจ EKG ตอนไม่มีอาการค่ะ ผลคือรู้เลยว่าเป็น Tachycardia
2. อาการหัวใจเต้นเร็ว ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจเสมอไป อาจเกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
หรือ Panic คืออาการที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนวัติ
3. ค่าใช้จ่าย สอบถามจากเจ้าหน้าที่แล้ว ค่าจี้รักษาคือ 200,000 บาทค่ะ