สรุป พ.ร.บ.คอม กับ ซิงเกิ้ลเกตเวย์ คือการประกาศกฎอัยการศึก ในโลกไซเบอร์ใช่ไหมครับ?

ถ้าคิดแบบรัฐศาสตร์ คิดแบบนี้จะถูกหรือเปล่า ?

สฤณี อาชวานันทกุล ‏@Fringer  9 ชั่วโมง9 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ใครที่ยังเชื่อรัฐว่า #พรบคอม ไม่เกี่ยวกับ Single Gateway ชวนอ่าน
เม่าอุ้มห่านเม่าอ่านหนังสือพิมพ์
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
คำถามที่หลายคนอาจจะงงๆ ในวันนี้ (หรือไม่ก็มีเพื่อนงง) คือ พ.ร.บ. คอมฯ ที่เพิ่งผ่านการพิจารณากันไปนั้น มันใช่ "ซิงเกิลเกตเวย์" หรือไม่ใช่กันแน่
.
นี่เป็นประเด็นที่รัฐบาลพยายามสร้างความเข้าใจในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้หลายครั้ง โดยบอกว่าไม่ได้บรรจุ "ซิงเกิลเกตเวย์" ไว้ "อย่าบิดเบือน"
.
คำตอบสั้นๆ ต่อคำถามที่ว่ามีซิงเกิลเกตเวย์ในพ.ร.บ. ฉบับนี้ไหม?
.
ก็คือ "ไม่มีซิงเกิลเกตเวย์"
.
-- 7 บรรทัด --
.
แต่คำตอบยาวๆ ล่ะเป็นอย่างไร?
.
เมื่อวานเราได้สัมภาษณ์คุณสฤณี อาชวานันทกุลจากเครือข่ายพลเมืองเนต (ThaiNetizen) ถึงการเลือกใช้คำว่า Single Gateway ในการรณรงค์เรื่องนี้
.
"เรื่องระบบเซนเซอร์เป็นที่มาที่ทำให้เราใช้คำว่า Single Gateway ในการรณรงค์ ซึ่งภาครัฐก็บอกว่าเราบิดเบือนโดยที่ไม่ได้พยายามทำความเข้าใจกับประเด็นหรือการมองของเรา เราพยายามจะบอกว่า แน่นอนว่า Single Gateway ทางกายภาพเรื่องการรวมท่อยังไม่ใช่กฎหมายนี้ ซึ่งไม่ได้แปลว่าจะไม่กลับมา ในกฎหมายมั่นคงไซเบอร์อาจจะกลับมา แต่ถ้าถามว่าเป้าหมายของการคิดเรื่อง Single Gateway คืออะไร เป้าหมายก็คือการให้รัฐมาควบคุมการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร ได้ว่าประชาชนจะดูอะไรและไม่ดูอะไร ซึ่งถ้าดูกฎหมายนี้ก็จะเห็นว่ามีเจตนารมย์นี้อยู่ ซึ่งทำอย่างซับซ้อนและรวมศูนย์มากขึ้น โดยมีการควบคุมมากถึงสามชั้น
.
ชั้นแรก ในร่างประกาศกระทรวงให้อำนาจในการบล็อกเว็บ มีอำนาจบล็อกได้เองโดยไม่ต้องรอเอกชน แต่ถ้าเอกชนจะมาเชื่อมต่อก็เชื่อมได้ ซึ่งต้องใช้คำสั่งศาล แต่ก็มีข้อมูลสถิติรูปธรรมว่า ศาลไม่มีเวลากลั่นกรองทั้งหมด เมื่อเจ้าหน้าที่ยื่นมา 7-800 เว็บ ศาลก็ไม่มีเวลา และเมื่อบล็อกแล้ว ก็บล็อกเลย ไม่มีกระบวนการอุทธรณ์ ไม่มีกระบวนการเยียวยาอะไรทั้งสิ้น
.
ชั้นที่สองคือคณะกรรมการบล็อกเว็บ ซึ่งเพิ่มจาก 5 คนเป็น 9 คน อำนาจก็ยังเหมือนเดิมคือมีอำนาจเสนอศาลว่าอะไรที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ซึ่งก็ยังใช้ระบบเสียงส่วนใหญ่อยู่ไม่ได้ใช้ระบบเอกฉันท์
.
ชั้นที่สามอยู่ในกฎหมายมาตรา 15 คือระบบแจ้งเตือนและให้เอาออกของผู้ให้บริการ ซึ่งดูเผินๆ เหมือนจะดี เพราะถ้าคุณแจ้งแล้วผู้ให้บริการเอาเนื้อหาออกภายใน 3 วัน ผู้บริการก็จะถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเหมือนจะดี แต่ปัญหาก็คือ ใครๆ ก็บอกให้เอาออกได้ ซึ่งถ้าผู้ให้บริการพิจารณาแล้วมีความผิดก็จะเอาออก ซึ่งความผิดในที่นี้ก็ต้องกลับไปดูที่มาตรา 14 ซึ่งคลุมเครืออยู่แล้ว คือ เท็จ บิดเบือน อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบความปลอดภัยสาธารณะอะไรต่างๆ ซึ่งก็ตีความได้มากมายหลากหลาย สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือผู้ให้บริการที่ไม่อยากเสี่ยง ก็จะมีแรงจูงใจว่างั้นก็ควรจะบล็อกไปก่อนเลย ก็จะทำให้เกิด self-censorship ซึ่งไม่ต้องมีหมายศาลด้วย
.
ผลลัพธ์ของระบบเซนเซอร์สามชิ้นนี้ก็จะนำไปสู่การควบคุมข้อมูลข่าวสารที่รัฐอยากจะควบคุมข้อมูลข่าวสารซึ่งจะนำไปสู่สิ่งที่รัฐต้องการใน Single Gateway ในทางเจตนารมย์เพียงแต่ว่าถูกผลักดันผ่านกลไกทางกฎหมายต่างๆ เท่านั้นเอง"
.
สรุปคือ ถึงแม้จะไม่มี Single Gateway ในเชิง Physical Level จริง ตามที่หลายๆ คนบอก แต่ผลลัพธ์ของมันไม่ต่างกันนัก นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนเลือกใช้คำนี้ในการพูดถึง และบางคนก็ใช้คำว่า Single Control หรือ "การรวมศูนย์การควบคุม" นั่นเอง
.
อ่านบทสัมภาษณ์เรื่อง "พ.ร.บ. คอม ผ่านแล้ว จะทำอย่างไรดี" ได้ที่ http://thematter.co/byte/oh-no-its-coming-nooooo/14536
.
#TheMATTER #พรบคอม #SingleGateway


Cr. Thematter page
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  อินเทอร์เน็ต รัฐศาสตร์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่