คืออยากรู้จริงๆครับ ว่าเจอกับใครทีมอะไรระดับไหนถึงจะเล่นเพรสซิ่ง (ช่วยกันวิ่งช่วยกันไล่บอล)
แม็ทเจอญี่ปุ่นโดนเพรสซิ่งกดดันทั้งเกมส์ ชนิดไม่มีโอกาสบุกหรือสวนกลับแม้แต่นิดเดียว ยืนคุมโซนต่ำปล่อยให้เขามีโอกาสเล่นตามแผนที่วางไว้แพ้2-0แบบหมดสภาพ(คาบ้าน) ก็พากันพอใจว่าโดนไม่เยอะ(ทั้งที่ความเป็นจริงน่าจะโดน4-5ลูก) ถามว่าทำไมครึ่งหลังเราไม่วางแผนแก้เกมส์หรือเล่นเพรสซิ่งกลับ(อย่างน้อยก็ช่วยกันวิ่งไล่บอลก็ยังดี) คำตอบที่ได้จากกูรู นั้นทีมระดับโลกน่ะเว้ย(สปีดเขาเหนือกว่าเรา ความสามารถเขาเหนือกว่าเรา พละกำลังเขาเหนือกว่าเรา นักเตะยุโรปค่าตัวแพงๆทั้งนั้น)สรุปคือยืนคุมโซนห่างๆปล่อยให้เขาย่ำยี่น่ะดีแล้ว ขืนไปเล่นเพรสซิ่งคืนมีหวังโดนไม่ต่ำกว่าครึ่งโหล!!
ระยะเวลา10-20-30ปีพอเจอญี่ปุ่นทีไรก็ได้แต่ยืนคุมโซนอุดตลอดเลย ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงสไตล์การเล่นรูปแบบใหม่ๆ ช่วยกันวิ่งไล่บอลหรือบีบพื้นที่ โอเคครับอาจจะจริงอย่างที่กูรูว่าไว้ญี่ปุ่นเขาคงเป็นทีมนอกโลกจริงๆ
แต่สงสัยพอมาเจออินโดทีมระดับต่ำกว่าก็บอกว่าควรเล่นสไตล์ที่ตนเองถนัดไม่จำเป็นต้องเล่นเพรสซิ่งเพียงแค่เล่นตามแผนที่วางไว้ก็พอแล้ว ยิงนำ1-0ครึ่งแรกลงมาครึ่งหลังต่อบอลไปมาไม่รีบไม่วิ่งไล่บอล ปล่อยให้ผู้เล่นอินโดมีพื้นที่ว่าง แทนที่จะเล่นเพรสซิ่งเร็วช่วยกันวิ่งไล่บอลกดดันเพื่อยิงประตูที่2-3 สุดท้ายผลก็เป็นอย่างที่เห็น.....
สรุปคำถามที่ผมอยากรู้คือทีมชาติไทยเราต้องเจอกับทีมระดับไหนครับถึงจะเล่นเกมส์เพรสซิ่ง!! ทีมญี่ปุ่น-เกาหลีใต้-เกาหลีเหนือเวลาคัดบอลโลกทุกครั้งที่เจอ เขาจะใช้เกมส์เพรสซิ่งกับแทบทุกทีมจนเขาได้ไปบอลโลก คำถามคือเราจะใช้รูปแบบนี่เมื่อไหร่? ตอนไหน?
เพราะถ้าจำไม่ผิดซูซูกิคัพคราวที่แล้วที่เราเจอกับเวียดนามรอบรองเราเพรสซิ่งช่วยกันวิ่งไล่ทั้งเกมส์(จนทีมเวียดนามแพ้หมดรูป)ถึงขนาดออกมายอมรับสภาพแถมเขายังชมว่าเราได้ก้าวข้ามอาเซื่ยนไปแล้ว.......
ปล.แต่ไม่ว่าวันนี้โค๊ชจะวางแผนการเล่นรูปแบบไหน ก็ขอเอาใจช่วยนักกีฬาทีมชาติไทยสู้ๆครับ!!
ถามแบบไม่รู้น่ะครับ "เมื่อไหร่ฟุตบอลทีมชาติไทยจะเล่นเกมส์เพรสซิ่ง"
แม็ทเจอญี่ปุ่นโดนเพรสซิ่งกดดันทั้งเกมส์ ชนิดไม่มีโอกาสบุกหรือสวนกลับแม้แต่นิดเดียว ยืนคุมโซนต่ำปล่อยให้เขามีโอกาสเล่นตามแผนที่วางไว้แพ้2-0แบบหมดสภาพ(คาบ้าน) ก็พากันพอใจว่าโดนไม่เยอะ(ทั้งที่ความเป็นจริงน่าจะโดน4-5ลูก) ถามว่าทำไมครึ่งหลังเราไม่วางแผนแก้เกมส์หรือเล่นเพรสซิ่งกลับ(อย่างน้อยก็ช่วยกันวิ่งไล่บอลก็ยังดี) คำตอบที่ได้จากกูรู นั้นทีมระดับโลกน่ะเว้ย(สปีดเขาเหนือกว่าเรา ความสามารถเขาเหนือกว่าเรา พละกำลังเขาเหนือกว่าเรา นักเตะยุโรปค่าตัวแพงๆทั้งนั้น)สรุปคือยืนคุมโซนห่างๆปล่อยให้เขาย่ำยี่น่ะดีแล้ว ขืนไปเล่นเพรสซิ่งคืนมีหวังโดนไม่ต่ำกว่าครึ่งโหล!!
ระยะเวลา10-20-30ปีพอเจอญี่ปุ่นทีไรก็ได้แต่ยืนคุมโซนอุดตลอดเลย ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงสไตล์การเล่นรูปแบบใหม่ๆ ช่วยกันวิ่งไล่บอลหรือบีบพื้นที่ โอเคครับอาจจะจริงอย่างที่กูรูว่าไว้ญี่ปุ่นเขาคงเป็นทีมนอกโลกจริงๆ
แต่สงสัยพอมาเจออินโดทีมระดับต่ำกว่าก็บอกว่าควรเล่นสไตล์ที่ตนเองถนัดไม่จำเป็นต้องเล่นเพรสซิ่งเพียงแค่เล่นตามแผนที่วางไว้ก็พอแล้ว ยิงนำ1-0ครึ่งแรกลงมาครึ่งหลังต่อบอลไปมาไม่รีบไม่วิ่งไล่บอล ปล่อยให้ผู้เล่นอินโดมีพื้นที่ว่าง แทนที่จะเล่นเพรสซิ่งเร็วช่วยกันวิ่งไล่บอลกดดันเพื่อยิงประตูที่2-3 สุดท้ายผลก็เป็นอย่างที่เห็น.....
สรุปคำถามที่ผมอยากรู้คือทีมชาติไทยเราต้องเจอกับทีมระดับไหนครับถึงจะเล่นเกมส์เพรสซิ่ง!! ทีมญี่ปุ่น-เกาหลีใต้-เกาหลีเหนือเวลาคัดบอลโลกทุกครั้งที่เจอ เขาจะใช้เกมส์เพรสซิ่งกับแทบทุกทีมจนเขาได้ไปบอลโลก คำถามคือเราจะใช้รูปแบบนี่เมื่อไหร่? ตอนไหน?
เพราะถ้าจำไม่ผิดซูซูกิคัพคราวที่แล้วที่เราเจอกับเวียดนามรอบรองเราเพรสซิ่งช่วยกันวิ่งไล่ทั้งเกมส์(จนทีมเวียดนามแพ้หมดรูป)ถึงขนาดออกมายอมรับสภาพแถมเขายังชมว่าเราได้ก้าวข้ามอาเซื่ยนไปแล้ว.......
ปล.แต่ไม่ว่าวันนี้โค๊ชจะวางแผนการเล่นรูปแบบไหน ก็ขอเอาใจช่วยนักกีฬาทีมชาติไทยสู้ๆครับ!!