เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 1
http://ppantip.com/topic/35878838
เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 2
http://ppantip.com/topic/35887106
เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 3
ในเดือนกันยายน พ.ศ.2476 สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยส่งพระราชโอรสและพระราชธิดาเข้าเรียน ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ (Miremont) เพราะทรงเห็นว่าเป็นโรงเรียนที่ดีมีคุณภาพ และจะทำให้พระราชโอรสและพระราชธิดาได้รับประสบการณ์ที่ดี
จากการที่พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเริ่มไม่ไว้ใจพระยามโนปกรณ์นิติธาดามากยิ่งขึ้น จึงได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทุกตำแหน่ง และได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 โดยมี พ.ต.หลวงพิบูลสงครามและหลวงศุภชลาศัยเป็นกำลังสำคัญ และภายในเวลาไม่นานนัก วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2476 พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สองของประเทศไทยอย่างรวดเร็ว และพยายามรวบรวมกำลังของฝ่ายตนเองจนทำให้ฝ่ายของท่านมีกำลังที่เข้มแข็งมากขึ้น
หลังจากนั้นสิ่งหนึ่งที่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รีบจัดการคือการดึงนายปรีดี พนมยงค์ กลับมาร่วมบริหารประเทศเพราะเห็นว่านายปรีดีเป็นคนดีและมีศักยภาพและน่าจะช่วยท่านบริหารประเทศได้ ตอนนั้น พ.อ.พระยาพหลฯ ต้องการคนที่ไว้ใจได้มาช่วยในการบริหารบ้านเมือง ไม่ว่าท่านจะพยายามรวบรวมกำลังอย่างไร แต่คนที่คิดต่างก็ยังมี ท่านจึงไม่อยากประมาท จึงพยายามวางแผนในแนวทางที่จะพัฒนาประชาธิปไตยให้เจริญก้าวหน้าโดยไว
ในขณะที่นายปรีดี พนมยงค์ได้นั่งเครื่องบินจากปารีสมาประเทศไทย พระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องนั่งเครื่องบินจากประเทศไทยไปยังปีนังเพื่อลี้ภัยทางการเมืองและไม่มีโอกาสกลับมายังประเทศไทยอีกเลย
ในขณะนั้นมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลประชาธิปไตยของ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาหลายฝ่ายอยู่เหมือนกัน แต่ฝ่ายที่สามารถรวบรวมผู้คนได้มากหน่อยคือพระองค์เจ้าบวรเดช พระองค์กับพรรคพวกวางแผนแบบสายฟ้าแลบ โดยเริ่มทำการจู่โจมโดยที่อีกฝ่ายยังไม่ทันตั้งตัว พระองค์คิดว่าได้เตรียมการไว้อย่างดียิ่งแล้ว คงไม่ต้องรอเวลาอีกแล้ว จึงทำการจู่โจมหลายทางจนถึงขั้นยกทัพมายึดฐานทัพอากาศดอนเมืองและสถานีรถไฟบางเขน ตอนนั้นรัฐบาลของพลเอก พระยาพหลฯ จึงต้องเรียกประชุมเป็นการด่วนและประกาศกฎอัยการศึกในพระนครทันทีเพราะเกรงจะเสียทีพระองค์เจ้าบวรเดช
ที่ประชุมของรัฐบาลของพลเอก พระยาพหลฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ พ.ท.หลวงพิบูลสงครามเป็นแม่ทัพออกไปปราบพวกของพระองค์เจ้าบวรเดช ตอนนั้นพ.ท.หลวงพิบูลสงครามมีกองกำลังที่เข้มแข็งและปราดเปรื่องในเชิงทหารอย่างมาก จึงสามารถโจมตีกองกำลังของพระองค์เจ้าบวรเดชจนแตกพ่ายไปได้ หลังจากนั้น พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาพยายามจะไม่อยู่ในความประมาทอีก ท่านเลยจัดการกับพวกที่ท่านเรียกว่า “กบฎบวรเดช” จนสิ้นซาก
ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเมียร์มองต์อย่างต่อเนื่อง ช่วงนั้นพระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องของภาษาเป็นอย่างมาก ทรงเน้นศึกษาทางด้านภาษาหลายภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน จึงทำให้พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถและทรงนำไปต่อยอดได้ในหลายแนวทาง
ประเทศไทยในช่วงก่อนนั้น ทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่าย “กบฎบวรเดช” ตอบโต้กันด้วยกระสุนปืนกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ต้องเสด็จจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ไปยังจังหวัดสงขลาด้วยเรือพระที่นั่ง เพราะทรงเห็นว่าถ้าประทับ ณ พระราชวังไกลกังวลต่อไป ก็อาจจะทรงไม่ปลอดภัยได้ อีกเหตุผลหนึ่งก็เพื่อทรงเลี่ยงความเข้าใจผิดระหว่างพระองค์กับฝ่ายรัฐบาล
แต่ถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามเลี่ยงความเข้าใจผิดระหว่างพระองค์กับฝ่ายรัฐบาลมากเพียงใด แต่ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความขัดแย้งกับรัฐบาลของ พลเอก พระยาพหลฯ พระองค์ทรงเห็นว่าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลส่อไปในระบอบเผด็จการมากกว่าประชาธิปไตย ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคต แต่รัฐบาลก็ยืนยันว่า ทุกอย่างที่ทำไปก็เพื่อความปลอดภัยของประเทศชาติและราษฎรทุกหมู่เหล่า และนี่คือแนวทางแห่งการวางรากฐานการเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษ เพราะถ้าจะทรงประทับในเมืองไทยต่อไป ความขัดแย้งก็คงทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชหัตถเลขา สละราชสมบัติอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 ในขณะที่ประทับรักษาพระเนตร ณ บ้านโนล แครนลี ประเทศอังกฤษ โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า
“ ... ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คนใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและไม่ยอมฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร ...
... ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะบ่งนามผู้หนึ่งผู้ใดให้เป็นผู้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป ตามที่ข้าพเจ้ามีสิทธิจะทำได้ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการรับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ ...”
ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2477 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบในการอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป เนื่องจากพระองค์ทรงอยู่ในลำดับแรกแห่งการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล พ.ศ.2467 ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา และเนื่องจากยังทรงพระเยาว์ ทางรัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ปฏิบัติหน้าที่แทน โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์เป็นประธาน
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ทำให้สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ทรงย้ายที่ประทับของพระราชโอรสและพระราชธิดาจากแฟลตเลขที่ 16 ถนนทิสโซด์ ไปยังบ้านเช่าที่มีขนาดใหญ่ ณ เมืองพุยยี่ (Pully) ตั้งอยู่เลขที่ 51 Chamblandes dessusv อยู่ระหว่างถนน Tour Haldimand กับถนน General Guisan เพื่อให้สมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงตั้งชื่อที่ประทับแห่งนี้ว่า “วิลล่าวัฒนา” เป็นบ้าน 3 ชั้น ขนาด 13 ห้องนอน ตั้งอยู่บนเนินลาดในเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ มีบริเวณและสวนผลไม้ หันหน้าไปทางทะเลสาบเจนีวา (ทะเลสาบเลม็อง) และมองเห็นเทือกเขาแอลป์ ทรงย้ายเข้ามาอยู่ที่วิลล่าวัฒนา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2478 หลังจากทรงย้ายที่ประทับมายังพระตำหนักวิลล่าวัฒนาแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีโปรดให้ชีวิตประจำวันของพระราชโอรสและพระราชธิดาเป็นไปอย่างสามัญ เพราะทรงเห็นว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
แต่ก่อนหน้านั้น การเมืองในสยามก็ยังไม่สู้ดี มีปัญหากันไม่เว้นแต่ละวัน โดยมากจะเป็นปัญหาภายใน ปัญหาหนึ่งที่ทางคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องเจอคือการคุมเข้มจากรัฐบาล แถมยังมีเรื่องที่เห็นไม่ตรงกันอีกมากมาย แน่นอนว่าทางรัฐบาลอยากให้ทางคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เห็นคล้อยตาม จึงหาทางกดดันคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นที่ทำให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงปลงพระชนม์ชีพพระองค์เองด้วยพระแสงปืน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2478 เพราะทรงทนแรงบีบคั้นทางการเมืองไม่ไหว
โปรดติดตามตอนต่อไป
เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 3
ภาพจาก http://www.nextsteptv.com/?p=7148
เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 1 http://ppantip.com/topic/35878838
เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 2 http://ppantip.com/topic/35887106
เรื่องยาวกึ่งสารคดีเรื่อง ในหลวงในดวงใจ บทที่ 3
ในเดือนกันยายน พ.ศ.2476 สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยส่งพระราชโอรสและพระราชธิดาเข้าเรียน ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ (Miremont) เพราะทรงเห็นว่าเป็นโรงเรียนที่ดีมีคุณภาพ และจะทำให้พระราชโอรสและพระราชธิดาได้รับประสบการณ์ที่ดี
จากการที่พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเริ่มไม่ไว้ใจพระยามโนปกรณ์นิติธาดามากยิ่งขึ้น จึงได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทุกตำแหน่ง และได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 โดยมี พ.ต.หลวงพิบูลสงครามและหลวงศุภชลาศัยเป็นกำลังสำคัญ และภายในเวลาไม่นานนัก วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2476 พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สองของประเทศไทยอย่างรวดเร็ว และพยายามรวบรวมกำลังของฝ่ายตนเองจนทำให้ฝ่ายของท่านมีกำลังที่เข้มแข็งมากขึ้น
หลังจากนั้นสิ่งหนึ่งที่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รีบจัดการคือการดึงนายปรีดี พนมยงค์ กลับมาร่วมบริหารประเทศเพราะเห็นว่านายปรีดีเป็นคนดีและมีศักยภาพและน่าจะช่วยท่านบริหารประเทศได้ ตอนนั้น พ.อ.พระยาพหลฯ ต้องการคนที่ไว้ใจได้มาช่วยในการบริหารบ้านเมือง ไม่ว่าท่านจะพยายามรวบรวมกำลังอย่างไร แต่คนที่คิดต่างก็ยังมี ท่านจึงไม่อยากประมาท จึงพยายามวางแผนในแนวทางที่จะพัฒนาประชาธิปไตยให้เจริญก้าวหน้าโดยไว
ในขณะที่นายปรีดี พนมยงค์ได้นั่งเครื่องบินจากปารีสมาประเทศไทย พระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องนั่งเครื่องบินจากประเทศไทยไปยังปีนังเพื่อลี้ภัยทางการเมืองและไม่มีโอกาสกลับมายังประเทศไทยอีกเลย
ในขณะนั้นมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลประชาธิปไตยของ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาหลายฝ่ายอยู่เหมือนกัน แต่ฝ่ายที่สามารถรวบรวมผู้คนได้มากหน่อยคือพระองค์เจ้าบวรเดช พระองค์กับพรรคพวกวางแผนแบบสายฟ้าแลบ โดยเริ่มทำการจู่โจมโดยที่อีกฝ่ายยังไม่ทันตั้งตัว พระองค์คิดว่าได้เตรียมการไว้อย่างดียิ่งแล้ว คงไม่ต้องรอเวลาอีกแล้ว จึงทำการจู่โจมหลายทางจนถึงขั้นยกทัพมายึดฐานทัพอากาศดอนเมืองและสถานีรถไฟบางเขน ตอนนั้นรัฐบาลของพลเอก พระยาพหลฯ จึงต้องเรียกประชุมเป็นการด่วนและประกาศกฎอัยการศึกในพระนครทันทีเพราะเกรงจะเสียทีพระองค์เจ้าบวรเดช
ที่ประชุมของรัฐบาลของพลเอก พระยาพหลฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ พ.ท.หลวงพิบูลสงครามเป็นแม่ทัพออกไปปราบพวกของพระองค์เจ้าบวรเดช ตอนนั้นพ.ท.หลวงพิบูลสงครามมีกองกำลังที่เข้มแข็งและปราดเปรื่องในเชิงทหารอย่างมาก จึงสามารถโจมตีกองกำลังของพระองค์เจ้าบวรเดชจนแตกพ่ายไปได้ หลังจากนั้น พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาพยายามจะไม่อยู่ในความประมาทอีก ท่านเลยจัดการกับพวกที่ท่านเรียกว่า “กบฎบวรเดช” จนสิ้นซาก
ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเมียร์มองต์อย่างต่อเนื่อง ช่วงนั้นพระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องของภาษาเป็นอย่างมาก ทรงเน้นศึกษาทางด้านภาษาหลายภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน จึงทำให้พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถและทรงนำไปต่อยอดได้ในหลายแนวทาง
ประเทศไทยในช่วงก่อนนั้น ทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่าย “กบฎบวรเดช” ตอบโต้กันด้วยกระสุนปืนกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ต้องเสด็จจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ไปยังจังหวัดสงขลาด้วยเรือพระที่นั่ง เพราะทรงเห็นว่าถ้าประทับ ณ พระราชวังไกลกังวลต่อไป ก็อาจจะทรงไม่ปลอดภัยได้ อีกเหตุผลหนึ่งก็เพื่อทรงเลี่ยงความเข้าใจผิดระหว่างพระองค์กับฝ่ายรัฐบาล
แต่ถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามเลี่ยงความเข้าใจผิดระหว่างพระองค์กับฝ่ายรัฐบาลมากเพียงใด แต่ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความขัดแย้งกับรัฐบาลของ พลเอก พระยาพหลฯ พระองค์ทรงเห็นว่าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลส่อไปในระบอบเผด็จการมากกว่าประชาธิปไตย ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคต แต่รัฐบาลก็ยืนยันว่า ทุกอย่างที่ทำไปก็เพื่อความปลอดภัยของประเทศชาติและราษฎรทุกหมู่เหล่า และนี่คือแนวทางแห่งการวางรากฐานการเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษ เพราะถ้าจะทรงประทับในเมืองไทยต่อไป ความขัดแย้งก็คงทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชหัตถเลขา สละราชสมบัติอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 ในขณะที่ประทับรักษาพระเนตร ณ บ้านโนล แครนลี ประเทศอังกฤษ โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า
“ ... ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คนใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและไม่ยอมฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร ...
... ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะบ่งนามผู้หนึ่งผู้ใดให้เป็นผู้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป ตามที่ข้าพเจ้ามีสิทธิจะทำได้ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการรับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ ...”
ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2477 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบในการอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป เนื่องจากพระองค์ทรงอยู่ในลำดับแรกแห่งการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล พ.ศ.2467 ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา และเนื่องจากยังทรงพระเยาว์ ทางรัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ปฏิบัติหน้าที่แทน โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์เป็นประธาน
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ทำให้สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ทรงย้ายที่ประทับของพระราชโอรสและพระราชธิดาจากแฟลตเลขที่ 16 ถนนทิสโซด์ ไปยังบ้านเช่าที่มีขนาดใหญ่ ณ เมืองพุยยี่ (Pully) ตั้งอยู่เลขที่ 51 Chamblandes dessusv อยู่ระหว่างถนน Tour Haldimand กับถนน General Guisan เพื่อให้สมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงตั้งชื่อที่ประทับแห่งนี้ว่า “วิลล่าวัฒนา” เป็นบ้าน 3 ชั้น ขนาด 13 ห้องนอน ตั้งอยู่บนเนินลาดในเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ มีบริเวณและสวนผลไม้ หันหน้าไปทางทะเลสาบเจนีวา (ทะเลสาบเลม็อง) และมองเห็นเทือกเขาแอลป์ ทรงย้ายเข้ามาอยู่ที่วิลล่าวัฒนา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2478 หลังจากทรงย้ายที่ประทับมายังพระตำหนักวิลล่าวัฒนาแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีโปรดให้ชีวิตประจำวันของพระราชโอรสและพระราชธิดาเป็นไปอย่างสามัญ เพราะทรงเห็นว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
แต่ก่อนหน้านั้น การเมืองในสยามก็ยังไม่สู้ดี มีปัญหากันไม่เว้นแต่ละวัน โดยมากจะเป็นปัญหาภายใน ปัญหาหนึ่งที่ทางคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องเจอคือการคุมเข้มจากรัฐบาล แถมยังมีเรื่องที่เห็นไม่ตรงกันอีกมากมาย แน่นอนว่าทางรัฐบาลอยากให้ทางคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เห็นคล้อยตาม จึงหาทางกดดันคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นที่ทำให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงปลงพระชนม์ชีพพระองค์เองด้วยพระแสงปืน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2478 เพราะทรงทนแรงบีบคั้นทางการเมืองไม่ไหว
โปรดติดตามตอนต่อไป